Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
นิวเคลียร์ หรือ ทดแทน แนวทางที่ไทยต้องเลือกให้ถูก             
โดย Jerome Rene Hassler
 

   
related stories

นโยบายทุน เทคโนโลยี เปลี่ยนธรรมชาติเป็นพลังงานไม่รู้จบ
พลังงานทดแทน มั่นคงได้ไม่แพ้นิวเคลียร์
พลังงานทดแทนของไทย มีศักยภาพแต่ยังไม่มีบทเด่น
ปัญหาแค่ชั่วคราว แต่โอกาสยั่งยืน
เงินทุนเพื่อการกอบกู้โลก

   
search resources

Energy
Environment




ส่วนที่ 3 นโยบายด้านพลังงานทดแทนของรัฐบาลไทย

นโยบายพลังงานของไทยปรากฏอยู่ในเอกสารสำคัญ 3 ฉบับคือ แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า แผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ 2553-2573 และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 2551-2565 ซึ่งรัฐบาลไทยทั้งชุดก่อนและชุดปัจจุบัน กำลังปฏิบัติตามแผนเหล่านี้เพื่อแก้ปัญหาพลังงานของไทย

ทั้งแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายของวิธีผลิตพลังงานในไทย

ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า ต้องการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แห่งในไทยภายในปี 2573 เนื่องจากเกิดเหตุ โศกนาฏกรรมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Fukishima ในญี่ปุ่นเมื่อ 1 ปีก่อน ทำให้ต้องชะงักแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไว้ก่อน แต่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้ส่งสัญญาณแล้วว่า พร้อมจะเดินหน้าแผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป (อ่าน “ ‘นิวเคลียร์’ ตัวเลือกที่ ‘ถูก’ (ต้อง) จริงหรือ?” ฉบับเดือนมกราคม 2554 ในบทความกล่าวถึงอันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศต่างๆ)

ส่วนแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้สัดส่วน 20% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดในไทย โดยภายในปี 2565 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตั้งเป้าจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน 5,600 เมกะวัตต์ หลังจากปี 2565 เป็นต้นไป จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนให้ได้ 8,000 เมกะวัตต์ ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่จะทำได้โดยง่าย แต่รัฐบาลไทยทั้งชุดก่อนและชุดปัจจุบันออกมาตรการหลายอย่างเพื่อสนับสนุนภาคพลังงานทดแทนในไทย

มาตรการที่สำคัญที่สุดคือมาตรการที่เรียกว่า มาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานทดแทนระบบ feed-in-tariff (FT) เนื่องจากในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน และราคาไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทน แพงกว่าไฟฟ้าที่ผลิต จากเชื้อเพลิงฟอสซิล ดังนั้น เพื่อช่วยให้พลังงานทดแทนแข่งขันกับราคาไฟฟ้าจากฟอสซิลและนิวเคลียร์ที่ถูกกว่าได้ หลายประเทศในโลกจึงริเริ่มนำระบบอุดหนุนที่ซับซ้อนและใช้กลไกทางกฎหมาย เพื่อช่วยให้พลังงานทดแทนเข้าถึงตลาดพลังงานได้ง่ายขึ้น และเป็นเครื่องมือสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ก็คือมาตรการ feed-in-tariff นี่เอง

มาตรการ FT คือการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตด้วยพลังงานทดแทนในอัตราพิเศษ เป็นเครื่องมือเชิงนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อ เร่งการลงทุนในการผลิตไฟฟ้าด้วยเทคโน โลยีพลังงานทดแทน นโยบายนี้ประสบความสำเร็จ ด้วยการเสนอสัญญาระยะยาว แก่ผู้ผลิตพลังงานทดแทน โดยขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตพลังงานทดแทนที่เลือกใช้แต่ละประเภท

ดังนั้น ภายใต้ระบบ FT นี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ไปจนถึงเกษตรกรรายเล็กๆ สามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ตามต้นทุนที่แท้จริงในการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนได้ทั้งสิ้น

โดยพลังงานลมมีราคารับซื้อต่ำสุดต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) แต่ไฟฟ้าที่ผลิตจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ (PV) และพลังงานน้ำจะได้ราคาสูงกว่า เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตสูงกว่าพลังงานลม

มาตรการ FT ให้ประโยชน์หลัก 3 ประการแก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนคือ 1-รับประกันการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้า 2-สัญญาระยะยาวในการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานทดแทน และ 3-ราคารับซื้อที่ขึ้นอยู่กับต้นทุนการผลิตตามจริง

FT เป็นข้อตกลงรับประกันการรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานทดแทน โดยอยู่ในกรอบของการทำสัญญาระยะยาว 15-25 ปี นโยบาย feed-in-tariff ถูกนำไปใช้ในกว่า 50 ประเทศแล้ว ได้แก่ แอลจีเรีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม บราซิล แคนาดา จีน ไซปรัส สาธารณรัฐเชก เดนมาร์ก เอสโทเนีย ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี อิหร่าน ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี เคนยา เกาหลีใต้ ลิทัวเนีย ลักเซม-เบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สวิตเซอร์แลนด์ แทนซาเนีย ตุรกี และไทย ซึ่งนำมาตรการ feed-in tariff มาใช้เมื่อปี 2549 โดยจ่ายเงินเพิ่มให้แก่ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ในอัตราที่แตกต่างกันตามชนิดของเทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่นำมาใช้ และขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และรับประกันการรับซื้อไฟฟ้านาน 7-10 ปี โดยพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับราคาสูงสุดคือ 8 บาทต่อ kWh   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us