Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
พลังงานทดแทนของไทย มีศักยภาพแต่ยังไม่มีบทเด่น             
โดย Jerome Rene Hassler
 

   
related stories

นโยบายทุน เทคโนโลยี เปลี่ยนธรรมชาติเป็นพลังงานไม่รู้จบ
พลังงานทดแทน มั่นคงได้ไม่แพ้นิวเคลียร์
นิวเคลียร์ หรือ ทดแทน แนวทางที่ไทยต้องเลือกให้ถูก
ปัญหาแค่ชั่วคราว แต่โอกาสยั่งยืน
เงินทุนเพื่อการกอบกู้โลก

   
search resources

Economics
Energy




ส่วนที่ 2 ความสำคัญของพลังงานทดแทนต่อสังคมเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุใดไทยจึงมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างมาก

ไทยประสบความสำเร็จอย่างสูงในการใช้กลยุทธ์สร้างการเติบโต เป็นหนึ่งในประเทศเอเชียที่มีการเติบโตทางสังคมและเศรษฐกิจสูงมากในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ซึ่งช่วยลดความยากจนและทำให้ชนชั้นกลางเติบโต

ข้อมูลจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของไทย (NESDB) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจที่โตเร็วที่สุดในโลกในช่วงปี 2528-2538 โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ย 8-9% ต่อปี หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤติต้มยำกุ้งหรือวิกฤติการเงินในเอเชียเมื่อปี 2540-2541 เศรษฐกิจไทยก็ฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว ด้วยการเติบโตเฉลี่ย 5.7% ระหว่างปี 2545-2546 การเติบโตติดต่อกันมานานทำให้ความยากจนลดฮวบลงจาก 42.0% ในปี 2531 เหลือเพียง 8.5% ในปี 2550

ที่สำคัญน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ไทยมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจ โลกมากเพียงไร ระบบ supply chain ของโลกในอุตสาหกรรมรถยนต์และคอมพิวเตอร์ถึงกับต้องหยุดชะงักบางส่วน เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และคอมพิวเตอร์ที่สำคัญของโลก

บริษัทไทยประสบความสำเร็จในการขยายธุรกิจในระดับโลก บริษัทในภาคพลังงานของไทยที่ประสบความสำเร็จดังกล่าวคือ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) (PTT) อยู่ในอันดับที่ 128 ในรายชื่อบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก ของนิตยสาร Fortune บริษัทพลังงานอื่นๆ ของไทยก็ขยายธุรกิจออกนอกประเทศไปยังภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ เช่น บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี ประสบความสำเร็จ ในการขยายธุรกิจผลิตไฟฟ้าไปยังออสเตรเลีย ไทยรุกสู่ ตลาดโลก ทำให้ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 25 เมื่อปี 2552 (ดีขึ้นจากอันดับที่ 27 ในปี 2548) ใน “ดัชนีประสิทธิภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรม” (Competitive Industrial Performance Index) ขององค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) แซงหน้าประเทศพัฒนาแล้ว อย่างเดนมาร์ก แคนาดา สเปน และนอร์เวย์

ส่วนในเอเชีย ความสามารถในการแข่งขันของไทย เป็นรองก็แต่เพียงญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน ฮ่องกงและอิสราเอลเท่านั้น

แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วมีราคาที่ต้องจ่าย นั่นคือ ราคาพลังงานที่แพงขึ้นและสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาว่า ทำอย่างไรจึงจะรักษาอัตราการเติบโตที่สูงต่อไปได้ ในขณะที่ไทยต้องการพลังงานมากขึ้นและจะยิ่งมากขึ้นอีกในอนาคต แต่ราคาพลังงานโลกกลับแพงขึ้นเรื่อยๆ

ไทยยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ซึ่งมีความจำกัดในการสนองความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้น การคาดการณ์ว่าแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะลดลงภายในปี 2560 จะยิ่งกดดันให้ไทยต้องหาแหล่งพลังงานใหม่ๆ หากไม่ต้องการตกเป็นเหยื่อของราคาพลังงานที่แพงขึ้นในตลาดพลังงานโลก

ถึงแม้ไทยจะมีการอุดหนุนราคาพลังงานอย่างหนัก แต่ไทยกลับเป็นประเทศที่มีราคาพลังงานแพงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นสิงคโปร์ ไทยไม่สามารถผลิตพลังงานได้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ดังนั้นจึงต้องนำเข้าไฟฟ้ามากกว่า 2,000 เมกะวัตต์ (ประมาณ 7% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดในไทย) ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2554 จากประเทศลาวและพม่า และจะนำเข้าไฟฟ้ามากขึ้นอีกในอนาคต

แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลไทยประจำปี 2550-2573 ตั้งเป้าจะจัดหาพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 54,000 เมกะวัตต์ โดย 22% ของจำนวนนี้จะซื้อจากประเทศ เพื่อนบ้าน

ไทยจึงเป็นประเทศที่นำเข้าพลังงานสุทธิ ธนาคารและผู้ผลิตพลังงานในไทย ต่างเตรียมทุ่มลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในลาว และโครงการสร้าง โรงงานนิวเคลียร์ 2 แห่งในไทย แต่แหล่งพลังงานทั้ง 2 อย่างนี้กำลังคุกคามคนจำนวนมาก จากการสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่และสร้างความเสี่ยงต่อสุขภาพของชาวบ้าน

ขณะที่ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และชีวมวล จะอยู่ในช่วงกำลังเติบโตในไทย แต่ก็ยังผลิตไฟฟ้าได้น้อยมากเมื่อเทียบกับศักยภาพที่มีอยู่ โดยรัฐบาลประเมินไว้ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทน 2551-2565 ว่า ไทยมีศักยภาพใน การผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ได้มากถึง 50,000 เมกะวัตต์ แต่ในแผนฯ ฉบับเดียวกันนี้ กลับตั้งเป้าผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ไว้ที่เพียง 500 เมกะวัตต์ภายในปี 2565 เท่านั้น

ขณะที่พลังงานจากชีวมวล ซึ่งไทยเป็นประเทศเกษตรที่มีขยะอินทรีย์จากภาคเกษตรจำนวนมากจากพื้นที่เกษตรมากกว่า 1.9 แสนตารางกิโลเมตร ระบุไว้ในแผนว่าจะนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าได้ 6,000 เมกะวัตต์

เพียงแค่แหล่งพลังงานทดแทนจาก 2 ปัจจัยพื้นฐานที่ไทยมี แสดงถึงศักยภาพมหาศาลทั้งด้านการบริโภคและการผลิตพลังงานทดแทนของไทยว่ามีอยู่มากเพียงไร เหลือแค่เพียงว่า เราจะทำให้ศักยภาพที่มีอยู่นี้ถูกฉายชัดขึ้นมามีบทบาทต่อการการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจของไทยให้เป็นรูปธรรมเช่นไร   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us