|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
“ลาวเป็นแบตเตอรี่ของไทย ถ้าลาวถอดปลั๊ก ผู้ประกอบการไทยคงเจอปัญหาใหญ่” คำกล่าวรายงานต่อที่ประชุมสหประชาชาติที่กรุงเทพฯ ของหม่อมราชวงศ์พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม เมื่อเร็วๆ นี้เป็นเพียงคำกล่าวสั้นๆ แต่สามารถสรุปสถานการณ์ความมั่นคงด้านพลังงานของไทยได้เป็นอย่างดี
ไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งๆ ที่ไม่สามารถผลิตพลังงานให้เพียงพอใช้ได้ด้วยตนเอง ต้องพึ่งพาพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า 1 ใน 5 ของกำลังไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ได้แก่ ผู้ผลิต ธนาคารพาณิชย์ไทย บริษัทผลิตไฟฟ้า ธนาคารเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ องค์กรช่วยเหลือต่างๆ และนักวิจัยในมหาวิทยาลัย มีข้อมูลตรงกันว่า ไทยมีศักยภาพมากมายในการผลิตพลังงานทดแทน (Renewable Energ: RE) ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวมวล และพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ที่สำคัญพลังงานทดแทนเหล่านี้สามารถสนองตอบความต้องการการใช้พลังงานที่เติบโตอย่างรวดเร็วในไทยได้
เพียงแต่ความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติที่มีอยู่ให้เป็นพลังงานยังมีปัญหาและอุปสรรค ทั้งฝั่งผู้ผลิตและนักลงทุน ทั้งในการสร้างและการขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตพลังงานทดแทนอยู่มาก แต่หากมีทุน เทคโนโลยี องค์ความรู้ และการผลักดันนโยบายให้ปรับไปในทิศทางเดียวกัน ก็มีโอกาสหยิบศักยภาพจากธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ของไทยมาพัฒนาเป็นพลังงานได้ไม่รู้หมด
จะด้วยวิธีใด ผู้จัดการ 360 ํ พาไปหาคำตอบและค้นลึกถึงสาเหตุอย่างละเอียด ภายใต้เรื่องจากปกฉบับนี้ ซึ่งจะแบ่งเนื้อหาเป็น 5 ส่วน ได้แก่
1. จะกล่าวถึงบริบทด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยและของโลก ซึ่งจะชี้ชัดว่าพลังงานทดแทนจะช่วยแก้ปัญหาพลังงาน ทำให้ไทยมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือเรียกง่ายๆ ว่า ปัญหาโลกร้อนได้อย่างไร
2. ความสำคัญของพลังงานทดแทนต่อสังคมเศรษฐกิจไทย
3. นโยบายด้านพลังงานที่สำคัญๆ ของรัฐบาลไทย
4. ปัญหาและอุปสรรคสำคัญๆ ที่ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนกำลังเผชิญอยู่ในตลาดพลังงานของไทย
และ 5. ว่าด้วยเรื่องสถาบันการเงิน เพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่เล็งมาที่ไทย เพื่อสนับสนุนด้านเงินทุนที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
เมื่อจบทุกบททุกตอนก็จะนำไปสู่คำตอบว่า นับจากเวลานี้ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยควรจะเริ่มจริงจังเพื่อนำศักยภาพของธรรมชาติที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงและยั่งยืนของชาติจริงๆ เสียที
|
|
|
|
|