Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา เมษายน 2555
“China 2030” อนาคตจีนอีก 20 ปีข้างหน้า             
 


   
search resources

Economics




การประชุมที่เรียกว่า “การประชุมเรือกลไฟ” (steamship conference) ของจีนเมื่อปี 1985 คือเหตุการณ์ซึ่งกลายเป็นตำนานบทหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน การประชุมในเรือกลไฟ ชื่อ Bashan ของจีน ขณะล่องไปตามแม่น้ำแยงซีเกียง ระหว่างนักเศรษฐศาสตร์ต่างชาติ ที่หนึ่งในนั้นเคยได้รับรางวัลโนเบลกับนักวิชาการจีนที่มาจากทั้งรัฐบาลและแวดวงวิชาการ ใช้เวลานานเป็นสัปดาห์ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการคัดท้ายนาวาเศรษฐกิจจีน ที่ยังเดินไม่ตรงทางระหว่างแผนที่วางไว้กับความเป็นจริงในตลาด

การประชุมเรือกลไฟจัดขึ้นโดยธนาคารโลก ตามคำร้องขอ ของรัฐบาลจีน กลายเป็นตำนานบทสำคัญของการปฏิรูปเศรษฐกิจ จีน เมื่อเร็วๆ นี้ธนาคารโลกก็เพิ่งออกรายงานที่เป็นผลของความร่วมมือระหว่างจีนกับธนาคารโลกอีกครั้งหนึ่ง และหวังว่าจะกลายเป็นตำนานอีกครั้ง เหมือนกับความร่วมมือในครั้งก่อน

รายงาน “China 2030” ของธนาคารโลก เป็นการตรวจสอบว่า จีนจะสามารถทำความฝันให้เป็นจริงได้อย่างไร ในการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในเวลา 20 ปีข้างหน้า โดยที่ทั้งตัวจีนเองและเพื่อนบ้านต่างมีความสุขกันถ้วนหน้า และสิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมเรือกลไฟครั้งนั้น ผู้เข้าร่วมประชุมฝ่ายจีนให้ความสนอกสนใจกับความคิดความเห็นของนักวิชาการต่างชาติเป็นอันมาก

แม้วันนี้เกือบ 30 ปีผ่านมาแล้วจากการประชุมครั้งนั้น จีน จะยังคงเป็นเรื่องใหญ่ของธนาคารโลก แต่ธนาคารโลกกลับไม่ได้อยู่ในความสนใจของจีนมากนัก แม้ยังคงให้เงินสนับสนุนโครงการ พัฒนาในจีน ตั้งแต่การสร้างถนนใน Ningxia ไปจนถึงการบูรณะ โบราณสถานในบ้านเกิดของขงจื๊อ แต่เงินกู้จากธนาคารโลกจำนวน 20,600 ล้านดอลลาร์นั้น มีค่าเท่ากับเพียง 0.6% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนเท่านั้น

รายงาน China 2030 ของธนาคารโลก เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกกับกลุ่ม think tank ของรัฐบาลจีนชื่อ Development Research Centre (DRC) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลจีน DRC อาศัยชื่อของธนาคารโลกบังหน้าสิ่งที่ตัวเองอยาก พูดลงไปในรายงานนี้ ส่วนอิทธิพลของ DRC ในจีน ก็ช่วยให้เสียง ของธนาคารโลกมีคนได้ยินในจีน

ในรายงานดังกล่าว คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอการเติบโตลงอย่างช้าๆ หรือ soft landing โดยในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ เศรษฐกิจจีนจะโตเฉลี่ย 7% และลดลงเหลือ 5% ในระหว่างปี 2026-2030 แต่นั่นก็ยังคงเพียงพอที่จะทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกและมีรายได้สูง ธนาคารโลกคาดว่า รายได้ต่อหัวของจีนอาจสูงถึง 16,000 ดอลลาร์ แต่เตือนว่า จีนจะไม่สามารถไปถึงจุดนั้นได้ ถ้าหากไม่ใช้นโยบาย ปฏิรูป

รายงานนี้เรียกร้องรัฐบาลจีนให้หยุดเข้าไปจุ้นจ้านในตลาด ในหลายๆ เรื่อง เช่น เรื่องเงินทุน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยถูกกำหนดโดยรัฐบาลจีน ไม่ใช่ด้วยกลไกการแข่งขัน เรื่องแรงงาน ซึ่งแรงงาน จากชนบทอยู่อย่างลำบากในเมือง และเรื่องที่ดิน ซึ่งข้าราชการจีนมักใช้วิธีบังคับเวนคืนที่ดินของชาวบ้าน เอาไปพัฒนาเป็นเมือง

นอกจากนี้ รัฐบาลจีนควรจะส่งเสริมให้เกิดบริษัทหน้าใหม่ๆ ในตลาด เพื่อเพิ่มการแข่งขัน เพราะขณะนี้มีแต่บริษัทของรัฐที่ครองตลาด ส่วนรัฐบาลจีนก็ควรถอยออกไป เพื่อมุ่งเน้นการทำหน้าที่วางกฎเกณฑ์ต่างๆ แทนที่จะเข้าไปยุ่ง เพื่อช่วยให้ตลาดทำหน้าที่ของตัวเองได้

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ รายงานของธนาคาร โลกระบุว่าเป็นเรื่องเดียวกัน และเป็นเพียง 1 ใน 6 นโยบายปฏิรูปที่รัฐบาลจีนต้องทำ และต้องทำอย่างเร่งด่วนทุกนโยบาย

สาเหตุที่จีนต้องปฏิรูปอย่างเร่งด่วนพร้อมๆ กันถึง 6 เรื่อง รายงานธนาคารโลกระบุว่า เป็นเพราะปัญหาของจีนมีมากมาย และเพียงการบิดเบือนหรือลำเอียงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็สามารถนำไปสู่การเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมาก

ตัวอย่างเช่น หลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่นของจีนคือ ผลงานด้านเศรษฐกิจ ทำให้บรรดาข้าราชการท้องถิ่นของจีนแย่งกันเสนอที่ดินราคาถูกๆ ลดค่าไฟ และเก็บภาษีต่ำๆ แก่นักลงทุน และทำทุกอย่างเพื่อจะดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาตั้งโรงงานในเมืองหรือในมณฑลของตนให้ได้ นี่จึงเป็นสาเหตุว่า ทำไมการเติบโตของจีนส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพาการลงทุน อย่างมาก

การเติบโตที่ต้องพึ่งพาการลงทุนเช่นนี้ ส่งผลกระทบต่อไปยังสิ่งแวดล้อมของจีน ทรัพยากรธรรมชาติของจีนพร่องหายไปอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เนื่อง จากเกิดมลพิษทางน้ำและทางอากาศ ซึ่งเป็นความเสียหายที่มากถึง 9% ของรายได้ประชาชาติจีนในปี 2008 ดังนั้น ทั้งการปฏิรูปการคลัง และการปฏิรูปการรักษาสิ่งแวดล้อม จึงเป็นอีก 2 ใน 6 นโยบายปฏิรูปเร่งด่วนที่ระบุอยู่ในรายงาน China 2030 ของธนาคารโลก ในรายงานยังอ้างถึงการประสบความสำเร็จของโครงการทดลองในมณฑลกวางตุ้ง ที่ทดลองใช้ “ดัชนีความสุข” วัดความก้าวหน้าของท้องถิ่น และให้รางวัลข้าราชการที่สามารถสร้างความสุขให้แก่ประชาชน

การเติบโตที่เน้นหนักในด้านการลงทุนของจีนยังส่งผลกระทบต่อแรงงานจีน ซึ่งได้รับส่วนแบ่งเค้กการเติบโตทางเศรษฐกิจ ชิ้นเล็กเหลือเกิน ทำให้การบริโภคในจีนโตไม่เร็วเท่ากับการโตของเศรษฐกิจ การที่คนจีนไม่ซื้อสินค้าที่ตัวเองผลิตไปขายในต่างประเทศ ส่งผลต่อไปให้เกิดปัญหาดุลการค้า การเกินดุลการค้าอย่างมหาศาลของจีน ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับมิตรประเทศ และปัญหาดุลการค้าก็คือนโยบายที่ 4 ใน 6 นโยบายปฏิรูป ที่รายงานของธนาคารโลกระบุว่า ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน

แต่การปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนถูกกำหนดโดยการเมืองและการเมืองว่าด้วยการปฏิรูปในจีนมีผู้เล่นรายใหญ่คือรัฐวิสาหกิจ รายงานของธนาคารโลกคาดว่า ความผูกพันใกล้ชิดระหว่างรัฐ วิสาหกิจจีนกับกลุ่มบริษัทขนาดยักษ์อันทรงอิทธิพล ซึ่งรัฐวิสาหกิจ เหล่านี้เป็นเจ้าของจะยังคงอยู่ต่อไป

บริษัทเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์มากมายจากการเป็นบริษัทของรัฐ โดยมีภาระรับผิดชอบน้อยมาก มีหน้าที่เพียงแบ่งกำไรเพียง 15% ส่งเข้ารัฐ

รายงานของธนาคารโลกระบุว่า หากบริษัทเหล่านี้เพิ่มการนำส่งรายได้เข้ารัฐให้มากขึ้นเป็น 50% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่รัฐวิสาหกิจในประเทศร่ำรวยทั่วไปทำกัน จะทำให้รัฐบาลจีนมีรายได้เป็นงบประมาณเพิ่มขึ้น 3% ของ GDP ทันที และสามารถนำเงินรายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ไปใช้ในโครงการสวัสดิการต่างๆ เพื่อสังคม ได้ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจคือนโยบายปฏิรูปเรื่องที่ 5 ที่ธนาคารโลกเสนอให้จีนทำ และแน่นอนว่า ถูกรัฐวิสาหกิจของจีนคัดค้าน

ดังนั้น ธนาคารโลกจึงเรียกร้องให้จีนรักษาการทดลองการปฏิรูปในระดับท้องถิ่นต่อไป เพราะความสำเร็จในการปฏิรูปในระดับท้องถิ่นของจีน มักจะมีผู้สนับสนุนอยู่เสมอ

ม้าไม้เมืองทรอย
หนึ่งในสถาบันหลักของจีนที่มักใช้กลยุทธ์การทดลองปฏิรูป คือธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China: PBOC) ฝ่ายวิจัยและสถิติของธนาคารกลางจีน เพิ่งออกรายงานแผนการผ่อนคลายการควบคุมตลาดทุนของจีน ซึ่งจะใช้เวลา 10 ปีนับจากนี้ ในรายงาน China 2030 ของธนาคารโลก ก็กล่าวถึงการเปิดตลาดทุนของจีนไว้เช่นกัน แต่ระบุว่า มีเงื่อนไขหลายอย่างที่จีนจะต้องทำก่อนเปิดตลาดทุน ได้แก่การเปิดเสรีอัตราแลกเปลี่ยน การเลิกควบคุมอัตราดอกเบี้ย ปรับปรุงการตรวจสอบธนาคารเอกชน และปฏิรูปตลาดเงิน

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางจีนเห็นว่า หากจะรอให้จีนบรรลุเงื่อนไขเหล่านั้น เช่นการเปิดเสรีอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย อาจต้องรอไปตลอดชาติ และการเปิดตลาดทุนจีนคงจะไม่มีวันมาถึง

ดังนั้น ธนาคารกลางจีนจึงคิดต่างไปจากธนาคารโลก โดย จะพยายามผ่อนคลายการควบคุมเงินทุนก่อน ซึ่งจะไปช่วยเร่งการเปิดเสรีอัตราแลกเปลี่ยนและผ่อนคลายการควบคุมอัตราดอกเบี้ยได้ ถ้าหากธนาคารเอกชนของจีนสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยตามความต้องการของตลาด และหากผู้ออมเงินในจีนมีอิสระที่จะเลือกฝากเงินกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า เงินทุนก็จะไหลเข้าออกได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลย้อนกลับมาทำให้ธนาคารกลางจีนต้องผ่อนคลายการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน

การไหลของเงินทุนยังจะก่อให้เกิดแรงกดดันที่ธนาคารกลางจีนกำลังต้องการอย่างยิ่ง เพื่อจะเอาชนะการต่อต้านภายในประเทศที่มีต่อการปฏิรูปตลาดทุน นักวิเคราะห์ตะวันตกเรียกแผนการของธนาคารกลางจีนนี้ว่า “แผนม้าไม้เมืองทรอย” (Trojan horse)

ด้านฝ่ายปฏิรูปก็พยายามช่วยป่าวร้องผลพลอยได้จากการเปิดตลาดทุนด้วยว่า จะช่วยให้นักลงทุนของจีนสามารถซื้อบริษัทต่างชาติได้ง่ายดายขึ้น ในเวลานี้ซึ่งนักลงทุนตะวันตกกำลังอยู่ในสภาพกระเป๋าแห้ง และราคาสินทรัพย์ต่างชาติแสนจะถูก นอกจากนี้ยังจะทำให้เงินหยวนของจีนกลายเป็นสกุลเงินระหว่างประเทศด้วย

อย่างไรก็ตาม การเป็นสกุลเงินระดับโลกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย รายงานของธนาคารกลางจีนชี้ว่า ความต้องการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และกระทบความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนเชื่อว่า เศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกอย่างจีน คู่ควรกับศักดิ์ศรีการเป็นสกุลเงินระดับโลกไม่น้อยหน้าไปกว่าสหรัฐฯ และยอมรับว่า การที่เงินหยวนจะเป็นสกุลเงินระดับโลก อาจไม่ให้ประโยชน์กับจีนมากนัก แต่เป็นคุณค่าที่จีนคู่ควร


แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ดิ อีโคโนมิสต์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us