|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กสิกรไทยร่วมกับกรุงศรีฯ ปล่อยกู้รวม 1,517 ล้านบาท สร้างไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์ฟาร์ม) 3 แห่งที่โคราช ร่วมทุนสร้างโดยเอสพีซีจี และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง 2 ยักษ์ใหญ่แห่งวงการพลังงาน กำลังผลิต 3 โรง รวม 18 เมกะวัตต์ มุ่งเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2556 ด้านราชบุรีโฮลดิ้งเป็นผู้นำการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานทางเลือกที่ครบที่สุด ส่วนเคแบงก์ย้ำมุ่งสู่ความเป็นอันดับหนึ่งในการสนับสนุนทางการเงินแก่ธุรกิจผลิตไฟฟ้า
วันดี กุญชรยาคง ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัด การใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด ระบุว่า บริษัทเดินหน้าโครงการ โซลาร์ฟาร์มมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำด้านพลังงาน แสงอาทิตย์ของไทยและอาเซียน ล่าสุดจับมือกับบริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด ร่วมลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ 3 แห่ง ที่จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ โครงการโซลาร์ เพาเวอร์ โคราช 3 (Solar Power Korat 3 Project) โครงการโซลาร์เพาเวอร์ โคราช 4 (Solar Power Korat 4 Project) และ โครงการโซลาร์เพาเวอร์ โคราช 7 (Solar Power Korat 7 Project) เป็นโครงการโซลาร์ฟาร์มขนาด 6 เมกะวัตต์ รวม 3 โครงการมีกำลังการผลิตรวม 18 เมกะวัตต์
โครงการทั้ง 3 แห่ง ใช้เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากแผงพลังงานแสงอาทิตย์แบบ Polycrystalline ของบริษัท Kyocera จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์หลักในอุตสาหกรรมมานานกว่า 40 ปี สำหรับโครงการดังกล่าว ร่วมลงทุนโดยบริษัท โซล่า เพาเวอร์ จำกัด (Solar Power Co., Ltd.) บริษัทในเครือเอสพีซีจีในสัดส่วน 60% และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งในสัดส่วน 40%
ปัจจุบันเอสพีซีจีมีโครงการโซลาร์ฟาร์มแล้วจำนวน 34 โครงการ รวมกำลังการผลิตกว่า 240 เมกะวัตต์ ขายไฟฟ้าให้แก่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้ว 7 โครงการ ได้แก่ โคราช 1 สกลนคร 1 นครพนม 1 โคราช 2 เลย 1 ขอนแก่น 1 และโคราช 3 มีกำลังผลิตรวม 42 เมกะวัตต์ อยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 9 โครงการ คาดว่าจะจำหน่ายไฟฟ้าได้ในไตรมาส 3 ของปี 2555 และจะเริ่มพัฒนาอีก 18 โครงการ ภายในปี 2555 ซึ่งทุกโครงการเอสพีซีจีได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากธนาคารกสิกรไทยอย่างดี
พีระวัฒน์ พุ่มทอง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ วางแผนและพัฒนาธุรกิจ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี-โฮลดิ้งกล่าวว่า บริษัทมุ่งมั่นขยายการลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทน ซึ่งเป็นหนึ่งในสาม ธุรกิจหลักของบริษัท โดยมุ่งหวังสนองตอบนโยบายภาครัฐที่ต้อง การลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลผลิตกระแสไฟฟ้าในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่มีบทบาทสำคัญในการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าของประเทศนอกเหนือจากพลังงานลม และชีวมวลแล้ว ยังมีการลงทุนในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในช่วงเวลากลางวัน
“ปัจจุบัน บริษัทได้ลงทุนร่วมกับกลุ่มเอสพีซีจีพัฒนาโซลาร์ฟาร์ม 3 โครงการ คาดว่าจะสามารถขยายความร่วมมือกับ กลุ่มเอสพีซีจีในการพัฒนาโครงการแห่งอื่นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ โดยโซลาร์ฟาร์มทั้งสามแห่งมีพัฒนาการก้าวหน้าตามแผนงานที่วางไว้และความสำเร็จในการจัดหาเงินกู้ครั้งนี้สะท้อนถึงศักยภาพ ของโครงการที่สถาบันการเงินให้ความเชื่อมั่น อีกทั้งยังแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการพัฒนาโครงการพลังงานทดแทนจากนี้ต่อไปจะได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง”
กฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเสริมว่า การปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการพลังงาน ไฟฟ้าแสงอาทิตย์อย่างต่อเนื่องนี้ก็เพื่อเป็นการประกาศย้ำแนวทาง การสนับสนุนโครงการสีเขียวของธนาคาร โดยโครงการโซล่าเพาเวอร์ โคราช 3, 4 และ 7 นี้ เป็นโครงการแรกที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 2 องค์กรพลังงานยักษ์ใหญ่คือ กลุ่มบริษัทโซล่า เพาเวอร์ และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง โดยธนาคารกสิกรไทยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการเงินกู้ (Mandated Lead Arranger) พร้อมปล่อยเงินกู้ร่วมจำนวนรวม 1,517 ล้านบาท ระหว่างธนาคาร กสิกรไทยและธนาคารกรุงศรีฯ ในสัดส่วน 55% และ 45% ตามลำดับ เพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP)
นอกจากนี้ ธนาคารกสิกรไทยยังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนฝั่งธนาคารพาณิชย์ (Facility Agent) และตัวแทนหลักประกัน (Security Agent) และทำหน้าที่ให้บริการวงเงินอื่นๆ เช่น การเปิดเอกสาร Letter of Credit ในการนำเข้าแผงพลังงาน แสงอาทิตย์ พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวงเงินเพื่อป้องกันความเสี่ยงในด้านอัตราแลกเปลี่ยนอีกด้วย
ธะเรศ โปษยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงาน ลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ธนาคารกรุงศรีฯ แสดงความยินดีที่ได้มีส่วนร่วมในความสำเร็จของบริษัท เอสพีซีจี และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้ง ในโครงการโซล่า เพาเวอร์ โคราช 3, 4 และ 7 ซึ่งธนาคารกรุงศรีฯ ได้ร่วมสนับสนุนวงเงิน Syndication กับ ธนาคารกสิกรไทย โดยตระหนักถึงผลกระทบของปัญหาสิ่งแวด ล้อมต่อสภาวะโลกร้อน และความสำคัญของพลังงานทางเลือกในปัจจุบัน
“ธนาคารมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนโครงการธุรกิจและกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งนอกเหนือ จากการสนับสนุนทางการเงิน ธนาคารกรุงศรีฯ มีการจัดงานสัมมนาเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดโครงการช่วยเหลือสังคมต่างๆ เพื่อช่วยลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมออีกด้วย”
ทั้งนี้ กฤษฎา ล่ำซำ ระบุว่า ธนาคารกสิกรไทยมีเป้าหมาย ในการให้การสนับสนุนโครงการพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวขึ้นเป็นธนาคารอันดับ 1 ด้านธุรกิจพลังงานและพลังงานทดแทน และครองส่วนแบ่งตลาด 80% โดยในอนาคตจะมีผู้เล่นรายใหม่ในตลาดที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจพลังงานมากขึ้น ซึ่งจะหมายถึงการร่วมมือกันทางธุรกิจที่มากยิ่งขึ้น ตลอดจนการขยายการลงทุนไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่มีการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ในส่วนประเทศไทยศักยภาพไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์สามารถไปได้ไกลกว่า 5,000 เมกะวัตต์ การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จะมีมากกว่า 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมดใน 10 ปีข้างหน้า ซึ่งมีเม็ดเงินลงทุนในธุรกิจพลังงานทดแทนมากกว่า 500,000 ล้านบาท
ดังนั้น การสนับสนุนทางการเงินในอนาคตของธนาคารกสิกรไทยจะต้องใช้ความได้เปรียบจากความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ที่มุ่งเน้นไปในด้านการเป็นที่ปรึกษาโครงการ และเป็นที่ปรึกษาการร่วมทุนทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยการพึ่งเงินกู้จากธนาคารอาจจะเป็นเพียงแค่ส่วนสนับสนุนหนึ่งเท่านั้น แต่ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็นถึงการเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินแบบใหม่เพื่อช่วยลูกค้าระดมทุนในตลาดทุน รวมถึงการระดมทุนในรูปแบบทันสมัย คือ Infrastructure Fund ซึ่งจะสามารถตอบโจทย์ทั้งในส่วนของเงินทุนและเงินกู้ โดย ธนาคารอยู่ระหว่างการดำเนินการในเรื่องนี้
|
|
|
|
|