Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528
แบงก์ทหารไทยบุก "ไชน่าทาวน์" กว่าจะได้ก็เล่นเอาเหงื่อตกกีบ             
 


   
search resources

ธนาคารทหารไทย
Banking
กาญจนา ชีวนินทกุล




ความคิดที่จะเปิดสาขาของธนาคารทหารไทย ในเขตเยาวราช "ไชน่าทาวน์" ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในสมองของผู้บริหารระดับสูงของธนาคารมาหลายปี

เพราะลำพังสาขาตลาดน้อยที่ติดกับโรงภาพยนตร์โอเดียนด้านข้าง ไม่พอรับมือกับธุรกิจนานัปการในย่านนั้น ไม่พักต้องคิดถึงคู่แข่ง ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ด้วยกันที่ตั้งหลักปักฐานมาก่อนนานปี

เพียรขออนุญาตเปิดสาขา ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอยู่นาน กว่าจะได้ใบอนุญาตมา เมื่อ 2 ปีก่อน แต่ก็ต้องมาเจอตออันเบ้อเร่อ ในเรื่องการหาที่ตั้งสาขา เนื่องจากที่ดินบนถนนเยาวราชนั้นแพงแสนแพง แถมยังหาซื้อยาก

"คือถึงเราจะมีใบอนุญาตแล้วก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะสามารถเปิดสาขาตรงไหนก็ได้บนถนนเยาวราช เขากำหนดให้เปิดห่างจากสาขาธนาคารพาณิชย์อื่นอย่างน้อย 200-300 เมตร พูดง่ายๆ กว่าเราจะหาซื้อที่ได้ก็สาหัสเชียวคุณเอ๊ย" ปฏิภาณ กาญจนวิโรจน์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ควานหาซื้อที่ดินร่วม 1 ปี ก็ไปได้อาคารเก่าของบริษัทเงินทุนไทยมาเลย์ (ใกล้สี่แยกราชวงศ์) ซึ่งเลิกทำการและร้างมานาน บนเนื้อที่ 40 ตารางวา บวกตัวอาคาร 3 คูหา ที่จะต้องมาตกแต่งใหม่ทั้งหมดแห่งนี้ ธนาคารทหารไทย ต้องจ่ายเงินไปประมาณ 20 ล้านบาท ตกตารางวาละ 5 แสนบาท เท่านั้นบรื๋อ...อ...อ

ใบอนุญาตมีแล้ว อาคารสำนักงานก็มีแล้ว ที่เหลือก็คือบุคลากร โดยเฉพาะคนที่จะต้องไปนั่งเป็นผู้จัดการ ต้องเฟ้นกันเป็นพิเศษ เพราะในพื้นที่เขตนี้จำเป็นต้องได้บุคคลที่มีคุณสมบัติจำเพาะ ต่างกับผู้จัดการสาขาแห่งอื่นมากพอสมควร

แต่ดูเหมือนฝ่ายบริหารของธนาคารทหารไทยไม่ต้องเสียเวลากับเรื่องนี้มากนัก เนื่องจากมีบุคคลที่เหมาะสมอย่างยิ่ง ต่อการเข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่ง ผู้จัดการสาขาเยาวราช เธอผู้นั้นก็คือ "กาญจนา ชีวนินทกุล"

"เท่าที่ทราบเมื่อ 2-3 ปี ก่อนที่จะมาเปิดสาขาที่นี่ ผู้ใหญ่เขาก็พูดล่วงหน้าไว้ว่า จะให้มาเป็น หรือคนในแบงก์บางคนพอคำสั่งออกมา เขาก็มาพูดว่าเก็งไว้ไม่มีผิด" กาญจนา ชีวนินทกุล เล่าให้ฟัง

เมื่อ "ผู้จัดการ" ถามว่ารู้สึกอย่างไร เมื่อรู้ว่าต้องมาเป็นผู้จัดการสาขาเยาวราช เธอก็บอกให้

ฟังว่า

"ตอนแรกก็ปอดเหมือนกัน เพราะไม่เคยคิดว่าจะเป็นผู้จัดการสาขา ไม่เคยมีความทะเยอทะยานขนาดนั้น แต่เมื่อผู้ใหญ่สนับสนุนก็มา รวมทั้งเราเป็นเด็กที่เติบโตมาในย่านนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็มีกิจการอยู่ที่นี่ ทำให้เรารู้จักคนมากเลยกล้ารับงานชิ้นนี้"

พื้นฐานของผู้จัดการสาขาเยาวราชของธนาคารทหารไทย นอกเหนือจากเธอจะเป็นคนในย่านการค้าแห่งนี้แล้ว ด้านการศึกษาเธอจบปริญญาโททางพัฒนาเศรษฐกิจ จากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ รวมทั้งเคยเรียนในโรงเรียนสอนภาษาจีน จนกระทั่งมีความรู้อ่านออกเขียนได้อยู่ในขั้นดี

เริ่มทำงานกับธนาคารทหารไทย เมื่อปี 2517 ทำงานในส่วนพัฒนาธุรกิจที่ตอนหลังกลายเป็นฝ่ายการตลาดอันเกริกไกร จากนั้นย้ายมาทำงานด้านวิเคราะห์สินเชื่อ และมาเป็นผู้จัดการสาขาเยาวราช เมื่อวันที่ 12 เมษายน ศกนี้

"ลำพังเป็นคนที่นี่อย่างเดียวคงไม่พอ อาศัยชื่อแบงก์ของเราเป็นที่รู้จักกันดีและมีแต่ข่าวในทางดีทำให้การทำงานไม่มีปัญหามากนัก จะมีบ้างที่เขาคิดว่าเป็นของทหาร เราก็ชี้แจงให้ฟัง เพราะเคยทำมาแล้วตั้งแต่ยังอยู่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ…ที่ว่าคนกลัวชื่อยังไม่เห็นเจอ แถบนี้เขาจะแยกว่าเป็นแบงก์หรือทรัสต์เสียเป็นส่วนใหญ่ ถ้าเป็นทรัสต์เขาไม่เอา" เป็นอีกประโยคหนึ่งที่คุณกาญจนาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

ปัญหาด้านการทำงานที่คงเป็นปัญหาทั่วไป สำหรับสาขาธนาคารหน้าใหม่ที่เพิ่งเปิดก็คือหาลูกค้า ที่เกือบทั้งหมดเป็นลูกค้าของธนาคารอื่นที่ตั้งมาก่อนอยู่แล้ว แต่อาศัยความสามารถเฉพาะตัวของผู้จัดการสาขา บวกกับการเฟ้นตัวพนักงานอีก 10 คน ซึ่งนอกเหนือจากผ่านงานสาขาอื่นมาแล้ว ทุกคนต้องสามารถพูดภาษาจีนได้ ทำให้ผลงานแค่ 2 เดือนแรก บรรลุเป้าหมาย ยิ้มออกทั้งฝ่ายสาขาและสำนักงานใหญ่

"มีอยู่รายหนึ่งที่ประทับใจมากก็คือ เป็นอาแป๊ะแก่ๆ คนหนึ่งจูงหลานเข้ามาในแบงก์ มาฝากเงิน 1 แสนบาท ดิฉันก็ลงไปหา เอาน้ำชาให้ดื่ม ชวนหลานแกคุยว่าอายุเท่าไหร่ เรียนที่ไหน ปรากฏว่าเขาชอบมาก รุ่งขึ้นหลานชายจูงแม่มาเลย ให้ถอนเงินจากแบงก์อื่นมาฝากที่นี่อีกแสนห้า อีกวันถอนจากที่อื่นอีก 8 หมื่น 5 พันบาท แหมเราดีใจแม้ไม่ใช่เงินมาก" กาญจนาเล่าด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นเอาจริงๆ

เมื่อถามถึงภาวะเศรษฐกิจย่านเยาวราช กาญจนา ชีวนินทกุล บอกว่าซบเซามากมีแต่คนบ่น แต่เธอก็ไม่ให้เป็นอุปสรรคในการเงินฝากของเธอ โดยแนะนำว่าเมื่อเศรษฐกิจไม่ดี ก็อย่าเพิ่งลงทุนเอาเงินมาฝากแบงก์ไว้ดีกว่า ซึ่งก็ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

"แหม…แบบนี้เราก็ไม่พูดเรื่องสินเชื่อสิ เรื่องเงินฝากก็เรื่องเงินฝาก อย่างใครมาขอสินเชื่อรายเจ๋งๆ เราก็พาไปสำนักงานใหญ่เลย และเขาประทับใจมาก เพราะทุกจุดที่ไปติดต่อได้รับการบริการเป็นอย่างดี พอกลับมาเงินที่เขาขายได้วันแรกเขามาเปิดบัญชีเลย 6 แสนบาท วันที่สอง 7 แสนบาท วันที่สามคราวนี้ 1 ล้านบาทเลย" อีกรูปแบบหนึ่งในการขยายธุรกิจให้กับแบงก์ของกาญจนา

ทั้งหมดที่ "ผู้จัดการ" ได้รับรู้เกี่ยวกับการเปิดสาขาของธนาคารทหารไทยในย่านเยาวราช ทำให้เราหมดความเชื่อที่ว่า นักธุรกิจจีนนั้นกลัวชื่อ "ทหารไทย" และเชื่อถือในฝีมือการเลือกเฟ้นคน ที่เหมาะกับงานของผู้บริหารแบงก์นี้

แต่ทั้งๆ ที่ผลงานของสาขาแห่งนี้ที่เดิมผู้บริหาร "เกร็ง" กันมาก เป็นที่น่าพอใจแม้จะใช้เวลาพิสูจน์ในระยะสั้น ประโยคสุดท้ายที่กาญจนา ชีวนินทกุล เล่าให้ฟัง ทำให้ได้รู้ว่าทำไมธนาคารทหารไทยถึงมาแรงนัก

"ท่านรอง (อนุตร์ อัศวานนท์ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่) โทร. มาเรื่อยว่า เงินฝากเป็นอย่างไร กลับมาจากยุโรป (เดือน พ.ค.) ท่านก็โทร. มา บอกให้เร่งมือหน่อยนะ แต่ดิฉันไม่ได้ขอให้ท่านหาลูกค้าให้นะ เพราะต้องการพิสูจน์การทำงานของตัวเอง แทนที่จะไปรบกวนท่าน"

เฮ้อ…ท่านรองนะท่านรอง ไม่สงสารลูกน้องบ้างเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us