Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ตุลาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ตุลาคม 2528
นามนั้นสำคัญไฉน (สำคัญแน่) ธนาคารทหารไทยหรือคลังสรรพาวุธไทย?!             
 


   
search resources

ธนาคารทหารไทย
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ,จอมพล
Banking




ใครบอกชื่อไม่ใช่เรื่องสำคัญ เข้าอีหรอบนามนั้นสำคัญไฉนแล้วล่ะก็ มาฟังเรื่องชื่อธนาคารทหารไทยหน่อยปะไร

ธนาคารทหารไทยนั้น เดิมทีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ท่านจะให้ชื่อว่า "ธนาคารทหารบก"

เพราะท่านต้องการจำกัดวงให้บริการของธนาคารในหมู่ทหารบก และครอบครัวทหารบกเท่านั้น

แต่พอได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง ให้ตั้งธนาคารขึ้นมาได้ และกำลังเตรียมการจัดตั้งอยู่นั้น พรรคพวกเพื่อนฝูงในกองทัพเรือ กองทัพอากาศเห็นดีเห็นงามไปด้วย จึงอยากขอมีเอี่ยวด้วย

เมื่อเพื่อนฝูงอยากร่วมจะไปขัดก็ดูกระไร ท่านจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็ยอมให้เข้ามาร่วมในการตั้งธนาคารทั้ง 3 เหล่าทัพ ในเมื่อเป็นธนาคารที่ให้บริการทั้ง 3 เหล่าทัพ จะใช้ชื่อ "ธนาคารทหารบก" เหมือนที่ตั้งใจไว้ก็ไม่ได้ จึงจำต้องเปลี่ยนชื่อ "ธนาคารทหารไทย" ดังเช่นปัจจุบัน

เปลี่ยนแล้วไปยื่นจดทะเบียนกับกระทรวงเศรษฐการ หรือกระทรวงพาณิชย์ปัจจุบัน ก็เกิดปัญหาอีก เพราะกระทรวงเศรษฐการ อ้างว่า เคยมีมติคณะรัฐมนตรีมิให้จดทะเบียนห้างร้าน บริษัทที่ใช้ชื่อ "ทหาร" หรือ "ตำรวจ"

ดังนั้น กระทรวงเศรษฐการจึงไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ นอกจากจะมีการแก้ไขชื่อของธนาคารในหนังสือบริคณห์สนธิ หรือมิฉะนั้นจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ใช้ชื่อตามที่ขอจดทะเบียนเสียก่อน

เรื่องเดือดร้อนถึงจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ต้องนำปัญหาเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 26 ตุลาคม 2499 และคณะรัฐมนตรีจึงได้พิจารณาอนุมัติตามข้อเสนอที่ขอใช้ชื่อ "ธนาคารทหารไทย" เป็นกรณีพิเศษ การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิจึงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ต่อมาภายหลังในยุคที่ธนาคารทหารไทยมีรองผู้จัดการชื่อ วิสิษฐ์ ตันสัจจา ก็เคยมีการพยายามผลักดันให้มีการเปลี่ยนชื่อธนาคารแห่งนี้ เพราะต้องการสร้างภาพพจน์ใหม่ ให้เป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มตัว ไม่ต้องมีข้อครหานินทาว่า ต้องอิงกับสถาบันทหารไทย

แต่ข้อเสนอนั้นต้องตกไป เพราะประดาผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 อันดับแรกของธนาคารแห่งนี้ ประกอบไปด้วยกองทัพบก กองทัพอากาศ และกองทัพเรือ ไม่เห็นด้วย และยังให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การเปลี่ยนชื่อใหม่นั้นไม่จำเป็น เพราะชื่อก็เป็นแต่เพียงชื่อ ชื่อธนาคารทหารไทยก็ใช่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มตัวไม่ได้ มิหนำซ้ำหากเปลี่ยนชื่อแล้วยังต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมา ในการเปลี่ยนป้ายชื่อและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจ

ผู้บริหารประจำปี

อันที่จริงตอนที่ธนาคารทหารไทยจัดสัมมนาที่พัทยา ช่วง 4-6 พฤษภาคม 2528 ที่ผ่านมานี้ คนของ "ผู้จัดการ" เผอิญไปปะหน้าเพื่อนเก่า ที่ปัจจุบัน เป็นรองผู้จัดการสาขาอยู่ในจังหวัดแถบภาคใต้ ได้ยินเพื่อนบ่นว่า ชื่อ "ทหารไทย" นี่ทำให้บุกเบิกตลาดยากเย็นกว่าธนาคารอื่น

เพราะคนใต้บางจังหวัดมีประสบการณ์ค่อนข้างขมขื่น กับ "ทหารไทย" ในความหมายของทหารจริงๆ มาไม่น้อย พอเห็นชื่อธนาคารทหารไทยเท่านั้น นึกไขว้เขวไปว่าเป็นหน่วยงานของทหาร…ผันหน้าหนีไม่ยอมมาฝากมากู้ "ผู้จัดการ" ก็ปลอบไปว่าอีกหน่อยเขาก็คงเข้าใจเอง โลกเดี๋ยวนี้การสื่อสารมันติดต่อถึงกันได้เร็ว และง่ายกว่าแต่ก่อนมากนัก รวมทั้งนโยบายของกองทัพทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่ยึดถือแต่การปราบแหลกเหมือนแต่ก่อน

ที่เจ็บจริงๆ ในเรื่องชื่อ คนของธนาคารทหารไทยระดับบริหารเล่าให้ฟังว่า ไม่ได้อยู่ที่ชื่อภาษาไทยหรอก แต่เป็นชื่อภาษาอังกฤษที่เขียนว่า THE THAI MILITARY BANK

เพราะความหมายของหมู่คำชุดนี้ ในภาษาอังกฤษถ้าถอดความมาเป็นภาษาไทยกันให้ตรงเป๊ะ แปลว่า "คลังสรรพาวุธไทย" ครับผม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us