|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
หลังจากผมได้พูดเรื่องการศึกษามาหลายฉบับ ผมขอกลับมาพูดเรื่องที่ดูเหมือนจะไกลตัวเราไปสักนิด แม้ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องใกล้ตัวเรากว่าที่คิดมาก นั่นคือเรื่องเกี่ยวกับภาวะผู้นำในประเทศไทย ผมไม่ได้พูดถึงท่านนายกรัฐมนตรีกับภาษาอังกฤษผิดๆ ถูกๆ ที่สื่อเอาไปตีเป็นประเด็น เพราะผมมองว่านายกรัฐมนตรีไม่ใช่ล่ามจะไปเอาพวกดีแต่พูดภาษาที่สละสลวยแล้วทำงานไม่เป็นมาทำไม แต่ถ้าเกิดว่าทำงานไม่เป็นแล้วพูดไม่ได้เรื่องยิ่งไปกันใหญ่ ส่วนใครจะคิดอย่างไรเอาเป็นว่าผมเชื่อว่าเป็นสิทธิของแต่ละท่านที่ผมต้องการเขียนถึงคือวิสัยทัศน์ของผู้นำ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง ธุรกิจไม่ว่าจะระดับประเทศหรือระดับ SMEs เพราะคำว่าผู้นำไม่ได้จำกัดแค่ผู้นำประเทศเท่านั้น แต่การเป็นผู้นำอาจเริ่มจากความพร้อมต่อประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงด้วย
ขณะที่เรามองหาผู้นำที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยโดยที่เรามีแนวคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษที่ยอดเยี่ยมไม่ให้อายชาวโลก ซื่อสัตย์สุจริตหรือหล่อสวย มาก่อน หรือมีความรู้และจบจากสถาบัน ที่ดูแสนจะเท่ หรือบางคนอยากได้ CEO ที่มาบริหารประเทศไทยเหมือนบริษัทเอกชน ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นความต้องการผู้นำ ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันออกไปตามวิสัยทัศน์และเหตุผลของแต่ละท่าน แต่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้ผู้นำบางรูปแบบอาจจะไม่ได้เป็นผู้นำที่มีศักยภาพที่แท้จริงในโลกที่แสนจะไม่แน่นอน เพราะสิ่งที่เราคิดว่าใหม่อาจจะกลายเป็นสิ่งที่เก่าไปอย่างไม่น่าเชื่อก็ได้
ยกตัวอย่างเช่นในอดีตเราอยากได้ผู้นำที่ซื่อสัตย์เป็นคนดี ธรรมะธัมโมด้วยยิ่งดี ปรากฏว่าการที่เราได้นายกรัฐมนตรี ตรงตามสเป็กแบบนี้เช่นอาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ชวน หลีกภัย และพลเอกสุรยุทธ์ ปรากฏว่าเรามีคนดีที่ได้ฉายาว่า รัฐบาลมะเขือเผา ชวนเชื่องช้า หรือฤาษีเลี้ยงลิง ไม่ก็รัฐบาลเกียร์ว่าง ส่วนคนที่อยากได้รัฐบาลหล่อลากดินทั้งหน้าตาและวุฒิก็มีอภิสิทธิ์ ซึ่งก็โดนข้อหาดีแต่พูด ส่วนคนที่อยากได้ CEO ที่มีวิสัยทัศน์ระดับโลกเราก็มีทักษิณซึ่งโดนไปกี่ฉายาผสมกับข้อกล่าว หาจนผมขี้เกียจที่จะพิมพ์เพราะมันมากเกินไป ส่วนผู้นำล่าสุดที่เราอยากได้คนใหม่ไม่เคยทำงานการเมืองมาก่อน ก็ได้ยิ่งลักษณ์ที่โดนสื่อรุมสกรัมเรื่องภาษาอังกฤษกับศักยภาพการแก้ปัญหาน้ำท่วมจนไม่ต้องอธิบาย
ดังนั้นไม่มีผู้นำชนิดไหนที่จะสามารถถูกใจบรรดาพ่อยกแม่ยกได้ตลอดเวลา แต่สำหรับโลกที่เปลี่ยนทุกวันนี้ ในระดับสากลเขามองผู้นำในสองลักษณะ แบบแรกคือผู้นำที่เปี่ยมล้นด้วยศักยภาพทางการบริหารแบบมืออาชีพที่เราสามารถ เห็นได้ในวงการธุรกิจหลายแห่ง แบบที่เรียกกันว่านักบริหารมืออาชีพ ในขณะที่ผู้บริหารชนิดที่สองคือผู้นำที่มี charisma ซึ่งภาษาไทยแปลว่ามีเสน่ห์หรือมีบารมี ซึ่งผมมองว่าไม่ใช่คำแปลที่ตรงตัว อย่างสตีฟ จ๊อบ ซึ่งไม่ได้มีบารมีแบบที่เราพูดๆ กัน และยังดูไม่มีเสน่ห์ตรงไหน แต่ไม่มีฝรั่งคนไหนบอกว่าเขาไม่มี charisma เพราะเขามีอย่างเปี่ยมล้นจนแทบทะลักทีเดียว โดยพื้นฐานแล้ว charisma ไม่มีคำแปลเป็น ไทยอย่างตายตัวเหมือนกับฝรั่งไม่สามารถแปลคำว่าเกรงใจของเราได้ และที่สำคัญตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาแม้แต่ชาวต่างชาติก็เชื่อว่าผู้นำแบบ charisma นั้นฝึกไม่ได้ ต้องเกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ชนิดนี้โดยเราจะเรียกกันว่าผู้นำโดยธรรมชาติ
อดีตที่ผ่านมาเราจะมีวิชาเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่อสร้างผู้นำแบบแรกคือ ผู้บริหารมืออาชีพที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ แม้ว่าบุคลิกภาพภาย นอกอาจจะไม่มี charisma นัก โดยเฉพาะ ช่วงตอนปลายศตวรรษที่ 20 เราจะมุ่งเน้น ผู้บริหารที่มีความสามารถตามระบบ โดย ที่เป็นมืออาชีพในการทำงาน ผมจำได้ว่าตอนที่ผมเริ่มสนใจการบริหารจัดการครั้งแรกจากการอ่านหนังสือของสุจินต์ จันทร์นวล เรื่องเขาว่าผมเป็นมืออาชีพ ทำให้ผมทราบถึงข้อแตกต่างระหว่างผู้บริหารและหัวหน้างานอย่างชัดเจน การบริหารงาน ที่เป็นมืออาชีพต้องสามารถบริหารพนักงาน รวมทั้งแก้ปัญหาต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม นักบริหารที่มีศักยภาพอย่างสูงในช่วงที่ผ่านมาอาจจะไม่มี charisma แต่นั่นก็เพียงพอที่จะบริหารองค์กรระดับประเทศหรือแม้แต่ระดับโลกให้ราบรื่นไปได้
เราจะได้ยินน้อยมากว่า ใครคือประธานบริษัท โคคา โคลา นิสสัน มิตซูบิชิ บีเอ็มดับเบิลยู ซิตี้แบงก์ ดอยช์แบงก์ ไอบี เอ็ม หรือจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน ทั้งๆ ที่ บริษัทเหล่านี้เป็นธุรกิจขนาดมหึมาที่มียอด ขายมากกว่าจีดีพีของหลายๆ ประเทศเสีย ด้วยซ้ำไป ในประเทศไทย ผู้บริหารอย่างเฉลียวของอาณาจักรกระทิงแดง มีมูลค่านับหมื่นๆ ล้าน รวมทั้งนักธุรกิจหมื่นล้านจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเครือธนาคารแทบ ทุกแห่ง เครือห้างสรรพสินค้า บริษัทอสังหา ริมทรัพย์ บริษัทโทรคมนาคมหลายแห่ง แม้แต่นักบริหารชื่อดังอย่างมิ่งขวัญ หรือ ดร.สมคิดต่างก็เป็นนักบริหารที่มีศักยภาพ สูงแต่ไม่มี charisma เพราะว่า charisma นั้นไม่จำเป็นสำหรับนักบริหารเสมอไป รวมทั้งเราเชื่อกันว่า charisma เป็นสิ่งที่เกิด มากับตัวไม่ใช่สิ่งที่ฝึกฝนกันขึ้นมาได้
อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 21 เราเข้าสู่ยุคของธุรกิจชนิดใหม่ที่มอบทั้งโอกาสให้กับผู้ที่มีวิสัยทัศน์และมอบความพินาศให้กับบริษัทที่ทำงานแบบ routine เราได้เห็นบริษัทระดับโลกหลายแห่งที่ต้องปิดตัวลง หรือขอให้รัฐเข้ามาอุ้ม ไม่ก็ขอเข้า สู่ภาวะพิทักษ์ทรัพย์และล้มละลายหรือ Chapter 11 เพื่อปฏิรูปบริษัทให้เล็กลง หรือการจัดการที่เป็นระเบียบมากขึ้น เช่นบริษัทฟิล์มโกดักและโคนิก้า สายการบินต่างๆ เช่น โอลิมปิก หรือวาริก ยักษ์ใหญ่ยานยนต์โลกอย่างเจเนอรัลมอเตอร์ แดวูของเกาหลีใต้ ธนาคารลอยด์ ทีเอสบี แม้แต่อดีตผู้ยิ่งใหญ่วงการประกันโลกอย่างเอไอจี ยังโดนพิทักษ์ทรัพย์ก่อนที่จะแยกบริษัทที่มีกำไรอย่างเอไอเอออกมาดำเนินการแยกจากบริษัทแม่
ในประเทศไทยเองเราก็เห็นการเปลี่ยนแปลงแบบน่าตกใจ ธนาคารที่เราเห็นทุกวันนี้แทบจะเรียกว่าเป็นธนาคารใหม่ ทั้งหมด ยกเว้นแต่ธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทย ทหารไทย และกรุงศรีอยุธยาแล้ว ที่เห็นกันในไทยต่างก็เป็นธนาคารใหม่ทั้งสิ้น เช่น ธนาคารธนชาต ทิสโก้ เกียรตินาคิน ทั้งๆ ที่ในอดีตธนาคารเหล่านี้เป็นบริษัทเงิน ทุนหลักทรัพย์ ในขณะที่ธนาคารที่โดนควบ กิจการต่างเคยเป็นธนาคารใหญ่มาก่อน ตรงนี้ไม่รวมถึงบริษัทต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่และเทกโอเวอร์ธุรกิจเดิมๆ ด้วยวิธีการต่างๆ
ในช่วงแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้เองทำให้เกิดความจำเป็นของนักบริหารหรือผู้นำที่มี charisma เนื่องจากโดยพื้นฐาน แล้วผู้นำหรือนักบริหารที่มี charisma คือผู้บริหารที่มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาโดยมีแนวคิดที่ค่อนข้างออกนอกกรอบ และไม่กลัวที่จะเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรใดๆ ทั้งสิ้น ผู้นำและนักบริหารแบบนี้เป็นสิ่งที่หายากยิ่ง เพราะไม่เคยมีบริษัทไหนที่อยากปฏิรูปตนเองบ่อยๆ ในช่วงตอนปลาย ศตวรรษที่ 20 นักบริหารแบบ charisma ในอเมริกาจะมีโดดเด่นไม่มาก เช่น โฮเวิร์ด ฮิวจ์ เท็ด เทอร์เนอร์ โดนัลด์ ทรัมป์ หรือ ลิโด ไออาคอคค่า แต่ในบรรดา 4 คน ผม มองว่าไออาคอคค่าคือต้นแบบของนักบริหารที่มี charisma แบบสมัยใหม่เนื่อง จากเขาเข้ามาปฏิรูปบริษัทไครส์เลอร์ให้พ้น จากการล้มละลายในปลายทศวรรษ 1970 ไปถึงต้นทศวรรษ 90 การปฏิรูปของไออาคอคค่าคือการปฏิรูปทั้งระบบ รวมถึงความ กล้าในการตัดสินใจปรับคนออกหรือสร้างตำแหน่งใหม่ในบริษัทนั้นๆ เนื่องจากความ ต้องการของนักบริหารแนวปฏิรูปในยุคที่ผ่านมาไม่เป็นที่ต้องการเท่าที่ควร
อย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ 21 กระแสต่างๆ โดนตีกลับ เพราะการเปลี่ยน แปลงที่รวดเร็วทำให้บริษัทต่างๆ ต้องเจอมรสุมความเปลี่ยนแปลง แอปเปิลเป็นหนึ่ง ในตัวอย่างที่ดี ในยุคต้นเราจะเห็นว่าบอร์ด ผู้บริหารไม่ต้องการสตีฟ จ๊อบ ผู้มากcharisma ถึงขั้นไล่จ๊อบออกจากบริษัทที่เขาก่อตั้ง แต่เมื่อวิกฤติรุมเร้าเข้ามาทางแอปเปิล ในตอนปลายศตวรรษที่ 20 บริษัทต้องขอให้สตีฟ จ๊อบ กลับมากู้วิกฤติ โดยเขาเริ่มปลดหน่วยงานที่เขาไม่ ชอบออกอย่างไม่ลังเล ก่อนจะออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด จนทำให้แอปเปิลไม่เพียงผงาดในโลกคอมพิวเตอร์ เท่านั้น แม้แต่ไอโฟนก็เข้ามาชิงพื้นที่มือถือไปอย่างน่าทึ่ง
อีกบริษัทหนึ่งที่ต้องหันมาใช้ผู้นำแบบ charisma คือนิสสัน ยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นที่ตัดสินใจปฏิรูปก่อนวิกฤติ โดยว่าจ้างคาร์ลอส กอนห์ นักบริหารชาวบราซิลเชื้อสายเลบานอนที่มีประวัติการกู้วิกฤติยางมิชลินในอเมริกาใต้กับฟื้นธุรกิจยางบีเอฟ กู้ดริช ที่วิกฤติในอเมริกาให้ผงาดขึ้นมาอีกครั้ง กอนห์แสดงผลงานไม่ว่าจะเป็น การยุบแผนกยุบรุ่นรถที่ขาดทุน ปิดโรงงาน หาตลาดใหม่ ทำให้นิสสันผงาดเป็นบริษัทรถยนต์อันดับที่สองของญี่ปุ่น
แม้ charisma จะเป็นพรสวรรค์ที่อาจจะต้องมีมาตั้งแต่กำเนิด แต่ทุกวันนี้เราสามารถฝึกฝนการเป็นผู้นำที่มี charisma ได้โดยการฝีกเข้าคอร์สส่งเสริมบุคลิกภาพประกอบกับคอร์สฝึกการพูด ควบคู่ไปกับการเรียนด้านบริหารจัดการ ซึ่งบางแห่งเอา การโต้วาทีมาฝึกให้รู้วิธีการโต้แย้งแบบมีหลักการ ในขณะที่การบริหารจัดการจะสามารถเพิ่มศักยภาพในการตัดสินใจและการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพ ลักษณะของการคิดนอกกรอบเพื่อมีวิสัยทัศน์ที่ดีในอนาคต ในขณะที่การพูดภาษาอังกฤษที่ดี การพูดได้หลายภาษาหรือการออกเสียง ให้ถูกต้อง การพูดเก่งตามที่พรรคการเมือง บางพรรคและสื่อมวลชนเสนอนั้นไม่เคยอยู่ในบริบทของการเป็นผู้นำหรือนักบริหาร ไม่ว่าจะเป็นสายบริหารธุรกิจหรือรัฐศาสตร์ ความคิดแบบคิดเองเออเอง แบบนี้จึงมาจากจิตใต้สำนึกหรือปมด้อยที่เรามีในอดีต เช่น ภาษาอังกฤษที่ไม่แข็งแรง หรือภาษาต่างประเทศไม่แตกฉาน รวมทั้งการไม่สามารถพูดต่อหน้าคนมากๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อรวมปัจจัยต่างๆ เราจึงไปตั้งความหวังไว้กับผู้นำว่าเราต้องการผู้นำที่สามารถเติมเต็มในสิ่งที่เราขาด แต่นั่นไม่ใช่ผู้นำที่โลกต้องการ
กระแสโลกในปัจจุบันเราต้องการผู้นำที่มีศักยภาพในการบริหารและมี charisma รวมทั้งกล้าตัดสินใจและไม่กลัว ที่จะเปลี่ยนแปลงมากกว่า ผมไม่ได้บอกให้ เราเดินตามกระแสโลกแต่บางครั้งการที่เราสวนกระแสโดยไม่ดูว่าคนอื่นเขาไปถึงไหนแล้วก็ไม่ได้ การที่เราต้องการที่จะได้อะไรนั้นสำคัญน้อยกว่าเราจำเป็นต้องมีอะไร เพราะสิ่งที่เราต้องการอาจจะไม่ใช่สิ่งที่มีประโยชน์หรือคุณค่าเท่ากับสิ่งที่เราจำเป็นต้องมีการเรียนการสอนของไทยมุ่งเน้นตามความต้องการของสื่อกระแสหลักหรือของสังคม ขณะที่การศึกษาทั่วโลกมุ่งเน้นการเรียนแบบบูรณาการ หรือ multidisciplinary การศึกษาไทยยังคงยึดติดกับ single disciplinary เพราะเราต้อง การที่จะไม่เปลี่ยนแปลง เราต้องการที่จะสร้างคนที่รู้ลึก ในขณะที่ต่างประเทศเขาต้องการคนที่รู้รอบ เมื่อหันมามองผู้นำทำให้ผมคิดถึงคำพูดของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ที่ท่าน เปรียบเทียบคนเป็นบ่อน้ำที่กว้างหรือบ่อน้ำที่ลึก คนที่มีวิสัยทัศน์และรู้รอบย่อมต้องเป็นบ่อน้ำที่กว้าง และคำว่ากว้างไม่ได้แปลว่าตื้นเขิน แต่ ต้องลึกโดยเปรียบได้กับคนที่มีความรู้หลายแขนงย่อมมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลกว่าบ่อน้ำที่ลึก คือมุ่งเน้น ย้ำคิด ย้ำทำอยู่กับสิ่งเดียว
โลกทุกวันนี้ต้องการผู้นำที่เหมือนบ่อน้ำที่กว้าง เพราะสามารถที่จะมองภาพรวมและทำให้บริษัทหรือแม้แต่ประเทศชาติเดินไปข้างหน้าได้ไกล ขณะที่สามารถเลือกใช้คนที่รู้ลึกมาเป็นแขนขาให้องค์กรนั้นๆ สมบูรณ์ได้เช่นกัน
|
|
|
|
|