Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
สมการรักษ์โลกของเทสโก้ โลตัส             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 


   
www resources

Tesco Lotus Homepage

   
search resources

เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม, บจก.
Retail
Environment




เทสโก้ โลตัส (Tesco Lotus) มีนโยบายดำเนินธุรกิจ โดยคำนึงถึงลูกค้า พนักงาน และชุมชน ซึ่งองค์ประกอบหลังมีพันธกิจหลักด้านการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เทสโก้ โลตัสเลือกใช้ เพื่อแสดงการใส่ใจต่อชุมชนในภาพใหญ่

การให้ความสำคัญและแสดงความรับผิดชอบต่อปัญหาโลกร้อนของเทสโก้กรุ๊ป เริ่มอย่างจริงจังเมื่อปี 2548 ภายใต้การคิด ริเริ่มของ Sir Terry Leahy ซีอีโอของเทสโก้ กรุ๊ปในขณะนั้น เขาอยู่กับเทสโก้นานถึง 14 ปีก่อนจะเกษียณจากตำแหน่งเมื่อเดือนมีนาคม 2554 ที่ผ่านมา

เซอร์เทอร์รี่ได้ชื่อว่าเป็นผู้เปลี่ยน แปลงและแนะนำเคล็ดลับความสำเร็จให้กับวงการค้าปลีกไว้มากมาย ก่อนจะจากไป ยังทิ้งโจทย์ใหญ่ซึ่งทำให้เทสโก้ใช้สร้างจุดเด่นให้กับตัวเองในธุรกิจค้าปลีกได้อีกด้วย

โจทย์ตั้งต้นที่เซอร์เทอร์รี่กำหนดไว้ภายใต้พันธกิจที่ประกาศออกไป คือให้ร้าน ค้าปลีกเทสโก้ใน 13 ประเทศทั่วโลกที่เปิดให้บริการอยู่และสาขาที่จะเปิดเพิ่มขึ้น ลดการปลดปล่อยคาร์บอนลงให้ได้ 50% ในปี 2563 (ค.ศ.2020) และลดให้เหลือ 0% หรือ ไม่มีการปลดปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นเลยโดยกำหนดให้การปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้น บรรยากาศของปี 2549 เป็นปีฐาน

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจทั้งหมดระหว่างปี 2549-2563 เฉพาะสาขาในประเทศไทยที่เทสโก้ โลตัสคำนวณไว้ คาดว่าจะมีการปลดปล่อย ก๊าซคาร์บอน 1,502,956 ตัน หากต้องลดลง 50% ก็จะต้องทำให้อัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนเหลือเพียง 752,478 ตัน

“7 แสนกว่าตันคาร์บอนคือสัดส่วน ที่เราต้องลด พูดง่ายๆ ก็คือ เราต้องหาวิธี ว่า ทำอย่างไรไม่ให้ปริมาณคาร์บอนจำนวนนี้ปลดปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ไม่ได้หมายความเราไม่ใช้พลังงาน แต่ต้องหาวิธีลด ซึ่งโดยปกติการใช้พลังงานซึ่งมีผลต่อการปลดปล่อยคาร์บอนจะเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนการเจริญเติบโตของธุรกิจ ต้องใช้เวลาและเทสโก้กรุ๊ปก็ให้เวลาถึง 14 ปี ทำให้พันธกิจส่งผล ต้องบอกว่าค่อนข้างยาก” สมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ผู้อำนวยการฝ่ายอสังหา ริมทรัพย์ เทสโก้ โลตัส บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าว

สำหรับเทสโก้ โลตัสในเมืองไทย ถือว่ามีการดำเนินงานค่อนข้างดีในด้านนี้ เพราะเริ่มต้นทำตัวกรีนมาก่อนที่เทสโก้ กรุ๊ป จะประกาศพันธกิจนี้เสียอีก โดยเริ่มพัฒนา กรีนสโตร์แห่งแรกในเมืองไทย หรือสโตร์ประหยัดพลังงานแห่งแรกที่สาขาพระราม 1 ตั้งแต่ปี 2547

กรีนสโตร์เป็นหนึ่งในบทเรียนเพื่อหาวิธีการลดการใช้พลังงานในร้านของเทสโก้ โลตัสในไทย ซึ่งมีสภาพแวดล้อมและลักษณะอากาศของความเป็นเมืองร้อน ซึ่งแตกต่างจากสาขาของบริษัทแม่ในอังกฤษ และแตกต่างจากสาขาของเทสโก้ในอีกหลายแห่งที่กระจายอยู่ทั่วโลก หนึ่งสาขาของเทสโก้ โลตัสในไทยใช้พลังงานเฉลี่ยกว่า 6 หมื่นหน่วยต่อเดือน เมื่อคำนวณออกมาก็คือจำนวนการปลดปล่อยคาร์บอน

“วิธีคิดง่ายๆ ลดคาร์บอนก็คือลดการใช้พลังงาน เพราะยิ่งใช้พลังงานมากเท่าไรก็สร้างคาร์บอนในชั้นบรรยากาศมาก เท่านั้น เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามศึกษา คิดค้นและริเริ่มอยู่เสมอคือการหาวิธีลดการใช้พลังงานควบคู่ไปกับการหาพลังงาน ทดแทนมาใช้งานในสโตร์”

ปี 2547 กรีนสโตร์สาขาแรกของเทสโก้ โลตัสที่พระราม 1 เกิดขึ้นเพื่อหา Initiative ในการลดการใช้พลังงานในร้าน สิ่งที่ได้มาตอนนั้น ได้แก่ ทำให้แสงสว่าง เข้าไปในร้านมากขึ้น ทำการเปลี่ยนจากใช้ หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ธรรมดามาเป็น T8 ที่ประหยัดพลังงานมากกว่า และอัพเกรดเป็น T5 ในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดแค่ที่พระราม 1 แต่นำไปใช้กับทุกสาขาเท่าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ทำให้หลอดไฟ T5 กลายเป็นรูปแบบการประหยัดพลังงานมาตรฐานในร้านค้าปลีกอื่นๆ ด้วย

“เราเป็นค้าปลีกรายแรกในเมืองไทย ที่ติดตั้งโซลาร์ฟาร์ม พอเปิดกรีนสโตร์สาขา สองที่ศาลายา เราก็เป็นค้าปลีกรายแรกที่นำกังหันลมผลิตไฟฟ้าเข้ามาใช้ ดีไซน์สโตร์ ให้มีน้ำล้อมรอบเพื่อลดความร้อนที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในเครื่องปรับอากาศ”

สมพงษ์บอกว่า นอกจากหาวิธีการลดการใช้พลังงานโดยตรงในสาขาเพื่อตอบ โจทย์ ยังมีอีกหลายกิจกรรมที่เทสโก้ โลตัส คิดและพยายามทำเพื่อส่งเสริมความเป็นมิตรด้านสิ่งแวดล้อมมาตลอดนับแต่เปิดกรีนสโตร์แห่งแรก เช่น การพัฒนาไบโอดีเซล (ปี 2550) ออกฉลากผลิตภัณฑ์สีเขียว (Green Product) และฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของตัวเอง เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภค มีส่วนร่วมรณรงค์ใช้ถุงผ้าโดยสมนาคุณเป็น แต้มสะสมให้ลูกค้า แม้แต่ทำโครงการปลูกป่า เป็นต้น เรียกว่าพยายามไปสู่เป้าหมายในการลดการปลดปล่อยคาร์บอนให้ได้มากที่สุดทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม

“สิ่งสำคัญที่เราพยายามปลูกฝังมาตลอดคือ การลดการใช้พลังงานหรือลดการ ปลดปล่อยคาร์บอนไม่ใช่แค่การเปลี่ยนเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของจิตสำนึกในการ ใช้พลังงาน การทำงาน นอกจากทำเรื่องพวกนี้เรายังอบรมพนักงานให้รู้จักการใช้พลังงานอย่างรู้ค่า การเปิดปิดไฟอย่างถูกต้อง รวมถึงส่งเสริมให้ลูกค้าใช้พลังงานหรือ ให้ช่วยกันรักษาโลก โดยสร้างแรงจูงใจที่ให้ลูกค้าได้ประโยชน์เช่นได้แต้มสะสมเมื่อใช้ถุงผ้ามาซื้อของ เป็นต้น”

อย่างไรก็ตาม ธีรรัตน์ สุขดี ผู้จัด การร้านตลาดโลตัส สาขาบางพระ ให้ข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคว่า ณ วันนี้มีผู้บริโภคที่เริ่มถามถึงแนวทางที่เทสโก้ โลตัส ทำในสาขาและให้ความสนใจมากพอๆ กับลูกค้ากลุ่มที่ไม่ได้แสดงความรู้สึกใดๆ แต่เท่าที่เธอสัมผัสได้ลูกค้ามีแนวโน้มสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เวลาชอปปิ้งก็จะสำรวจดูสิ่งต่างๆ ที่บริษัทนำมาใช้ในสโตร์ ตามสื่อต่างๆ ที่เคยได้ยินได้ฟังมา หรือจาก ข้อมูลที่บริษัทเผยแพร่อยู่ในร้าน บางรายก็สอบถามถึงรายละเอียดของวิธีการต่างๆ ที่ใช้อยู่ในร้านอย่างสนใจ

ตลาดโลตัส สาขาบางพระ เป็นสาขาแรกของเทสโก้ โลตัสที่ประกาศเป็นสโตร์ปลอดคาร์บอน หรือ Zero Carbon Store

สโตร์ปลอดคาร์บอนในนิยามของเทสโก้ โลตัสคือ เป็นร้านที่เมื่อนำการใช้พลังงานประเภทที่ปลดปล่อยคาร์บอนมาคำนวณรวมกันแล้วนำไปเทียบกับปีฐาน ส่วนที่เกินมานั้นคือเป้าหมายที่ต้องลดการใช้พลังงานลงให้ได้

“3 ตัวหลักที่เราใช้ในการคำนวณการปลดปล่อยคาร์บอน คือ 1-ไฟฟ้า ได้แก่ ระบบแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบทำความเย็น และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ 2-น้ำยาระบบทำความเย็นของตู้แช่ประเภทต่างๆ และ 3-ก๊าซ LPG สำหรับการหุงต้ม และเตรียมอาหาร พอรู้ปริมาณเราก็ไปหามาตรการประหยัดและลดพลังงาน ลดมลภาวะเช่นเรื่องสารทำความเย็นก็เท่ากับลดการปล่อยก๊าซแล้วในขั้นตอนแรก จากนั้นเมื่อเราหาพลังงานทดแทนได้มากกว่าหรือเท่ากับพลังงานที่ใช้ไป จึงเท่ากับเราสามารถดำเนินการได้โดยการปลดปล่อยก๊าซ คาร์บอนเท่ากับศูนย์ นี่คือนิยามของสโตร์ปลอดคาร์บอน”

ประเสริฐ กำธรกิตติกุล ผู้จัดการอาวุโส-พลังงาน อธิบาย เขาย้ำด้วยว่าสโตร์นี้เป็นสโตร์ปลอดคาร์บอนแห่งแรกในเอเชีย ไม่ใช่แค่ในประเทศไทย

“สาขานี้ขายไม่ค่อยดี เปิดมาได้ปีกว่าแล้ว สาขาที่เป็นกรีน คนก็ไม่ค่อยเข้า ขายไม่ค่อยได้” เสียงจากผู้คุ้นเคยกับการซื้อของในเทสโก้ โลตัสกระซิบบอก

ขณะที่ข้อมูลจากสมพงษ์บอกว่า สาขาที่เป็นกรีนจะต้องใช้เงินลงทุนสูงกว่าและมีระยะเวลาคืนทุนนานกว่าสาขาปกติเกือบ 3 เท่าอีกด้วย

กรณีสาขาบางพระใช้เวลาดีไซน์นานเป็นปี ก่อสร้างเสร็จใน 90 วัน สำหรับพื้นที่รวม 1,200 ตารางเมตร เป็นพื้นที่ขาย 700 ตารางเมตร ใช้งบประมาณก่อสร้าง 147 ล้านบาท ติดตั้งอุปกรณ์ประหยัดพลังงานในโครงการจำนวน 44 ล้านบาท คำนวณแล้วต้องใช้ระยะเวลาคืนทุนในส่วน ของสโตร์นานถึง 18 ปี ขณะที่สโตร์ขนาดเดียวกันทั่วไปใช้แค่ 5-6 ปี ระบบโซลาร์เซลล์ 17 ปี หลอดประหยัดไฟ LED 13 ปี และระบบควบคุมแรงดันไฟฟ้า 2 ปี

“ไซส์ตลาดถ้าปกติจะใช้เงินลงทุนประมาณ 40-50 ล้านเท่านั้น ที่เราทำให้ที่นี่เป็นสโตร์ปลอดคาร์บอนก็เพราะต้อง การรวม initiative ทั้งหมดมาไว้ที่นี่ แล้วใช้เป็นศูนย์เรียนรู้ เปิดกว้างให้ดูฟรีสำหรับ ทุกหน่วยงาน รวมถึงเป็นแหล่งเรียนรู้ในกลุ่มเทสโก้ด้วยกันเอง” สมพงษ์กล่าว

จะว่าไปก็อาจจะคิดเสียว่านี่เป็นการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนา

บางบทเรียนจากกรีนสโตร์ที่ผิดพลาดก็ถูกปรับและทดลองใหม่ที่ซีโร่คาร์บอนสโตร์แห่งนี้ เช่น กรณีกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่ศาลายาซึ่งเลือกใช้กังหันแบบความเร็วสูงนำเข้าจากต่างประเทศ เมื่อมา เจอแรงลมเมืองไทยที่พัดเบากว่าทางยุโรปทำให้ประสิทธิภาพของไฟฟ้าต่ำ ที่บางพระ เลยเริ่มทดลองใหม่ ติดตั้งกังหันความเร็วต่ำเพียงตัวเดียว กังหันผลิตโดยคนไทยแบบเดียวกับที่ใช้ในโครงการพระราชดำริชั่งหัวมัน จ.เพชรบุรี หากทดสอบแล้วได้ ผลดีจะติดตั้งเพิ่มเพื่อผลิตพลังงานต่อไป

วิธีการประหยัดพลังงานในกรีนสโตร์ และซีโร่คาร์บอนสโตร์เรื่องใดที่ประสบผลสำเร็จดี เทสโก้ โลตัสก็จะนำไปใช้ในสาขา ต่างๆ ที่มีอยู่กว่า 661 สาขาในไทย เท่าที่ปรับใช้ได้ เช่น กรณีสาขาสร้างใหม่การดีไซน์ให้ประหยัดพลังงานก็ทำได้ตั้งแต่เริ่ม ส่วนกรณีของโลตัส เอ็กซ์เพรสซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเช่าพื้นที่อาคารพาณิชย์ ก็จะมีข้อจำกัดด้านการอออกแบบ สิ่งที่ปรับใช้ได้ก็อาจจะมีเพียงเรื่องของอุปกรณ์ไฟฟ้าและสารทำความเย็น เป็นต้น

สาขาของเทสโก้ โลตัสประเภทที่มีมากที่สุด ได้แก่ โลตัส เอ็กซ์เพรส 449 สาขา ไฮเปอร์มาร์เก็ต (สาขาขนาดใหญ่สุด) 90 สาขา ตลาดโลตัส (สาขาที่มีพื้นที่ ประมาณ 1,000 ตารางเมตร) 76 สาขา และร้านคุ้มค่า 33 สาขา

ดังนั้นไม่ใช่ทุกสาขาที่จะมีภาพของกรีนสโตร์จนเป็นโชว์เคส แต่ทีมงานเทสโก้ในไทยค่อนข้างมั่นใจว่าแม้ภารกิจนี้จะยาก แต่การทุ่มเทอย่างต่อเนื่องก็จะค่อยๆ ปรับเปลี่ยนให้ทุกสาขามีส่วนร่วมกันผลักดันพันธกิจนี้ให้สำเร็จลุล่วง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us