Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
เอสเอฟ-อิเกีย ธุรกิจ “ยีน” เดียวกัน             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

   
related stories

เทรนด์เซตเตอร์ จาก “ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” สู่ “ไฮบริดมอลล์”
House of Beers House of Youngster

   
www resources

โฮมเพจ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์
โฮมเพจ IKEA

   
search resources

สยามฟิวเจอร์ดีเวลอปเมนท์, บมจ.
Furniture
Shopping Centers and Department store
นพพร วิฑูรชาติ
IKEA ประเทศไทย




“อิเกีย” IKEA มีแผนมานานเกือบสิบปีว่าจะเข้ามาบุกตลาดประเทศไทย โดยไม่มีข่าวการเจรจากับพันธมิตรรายใดเล็ดลอดออกมา แต่ท้ายที่สุดธุรกิจเฟอร์นิเจอร์ครบวงจรระดับโลกสัญชาติสวีเดนตัดสินใจตกร่องปล่องชิ้นกับบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) สร้างโครงการเมกาบางนา มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท และเปิด “อิเกียสโตร์” สาขาแรกในไทย

เมื่อไลฟ์สไตล์แมนอย่าง “นพพร วิฑูรชาติ” มาเจอกับไลฟ์ สไตล์แบบสวีเดนที่ให้ความสำคัญกับการตกแต่งบ้าน เน้นความสว่างจากแสงอาทิตย์ อากาศบริสุทธิ์ และทุกสิ่งที่เป็นธรรมชาติ

นั่นกลายเป็นส่วนผสมที่ลงตัว เป็นธุรกิจ “ยีน” เดียวกัน

เรื่องราวของ IKEA เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1926 จากเด็กน้อยวัย 5 ขวบ ที่ชื่อ Ingvar Kamprad เขาเกิดที่เมือง SmŒland ทางใต้ ของประเทศสวีเดน เขาเริ่มรู้จักนำไม้ขีดไฟมาแบ่งขายให้เพื่อนบ้าน ใกล้เคียง จากนั้นอีกสองปี เขาเริ่มขยายตลาดด้วยการปั่นจักรยาน ออกไปขายในพื้นที่ที่ไกลขึ้น โดยซื้อไม้ขีดราคาส่งที่สตอกโฮล์มแล้วนำมาขายปลีกในราคาถูก จากไม้ขีดก็เพิ่มสินค้ามากขึ้น มีทั้ง เมล็ดพันธุ์ดอกไม้ การ์ดอวยพร อุปกรณ์ตกแต่งต้นคริสต์มาส ดินสอและปากกาลูกลื่น

เมื่อ Ingvar อายุ 17 ปี เขาใช้เงินรางวัลเรียนดีจากพ่อก่อตั้งธุรกิจ ใช้ชื่อว่า IKEA ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของคำ 4 คำ เริ่มจากชื่อเขาเอง คือ I และ K ส่วน E มาจากชื่อฟาร์มที่เขาอยู่ Elmtaryd และ A มาจากชื่อหมู่บ้าน Agunnaryd ที่เขาเติบโตขึ้น โดยเริ่มขายของเบ็ดเตล็ด เช่น ปากกา กระเป๋าสตางค์ กรอบรูป ผ้าคาดโต๊ะ นาฬิกา เครื่องประดับ และถุงน่อง ก่อนขยับขยายเข้ามาจำหน่ายสินค้ากลุ่มเฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน รวบรวมดีไซเนอร์ออกแบบสินค้าคอลเลกชันต่างๆ

สิ่งสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของอิเกียคือ การนำเสนอสินค้าในราคาย่อมเยาแต่คุณภาพไม่ลดลง สินค้าที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ และสินค้าที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ความเป็นธรรมชาติ

ลาร์ช สเวนสัน ผู้จัดการฝ่ายการตลาด อิเกีย ประเทศไทย กล่าวกับนิตยสารผู้จัดการ 360 ° ว่า เป้าหมายของอิเกียที่ไปแต่ละ ประเทศ คือ ทำให้ทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้น อย่างน้อยตื่นมาเห็นเฟอร์นิเจอร์เก๋ๆ เน้นฟังก์ชัน การออกแบบอย่างฉลาด ราคาเบาๆ คน ทั่วไปสามารถซื้อหาได้และนำกลับไปใช้ได้ทันทีในวันนั้น ซึ่งเป็นจุดขายของอิเกียทั่วโลก รวมทั้งมีการรับประกัน เช่น กลุ่มสินค้าประเภทตู้ต่างๆ รับประกัน 25 ปี โซฟา 5 ปี หายากในบริษัทอื่น และมีการทดสอบคุณภาพตลอด ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ออกขายไปแล้ว เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้และเด็ก

ขณะเดียวกัน ไม่ใช่แค่ดีไซน์เฉพาะตัวของนักออกแบบจาก อิเกียสำนักงานใหญ่ ที่นี่ยังมีสไตล์การจับจ่ายที่แตกต่างจากคู่แข่ง อย่างสิ้นเชิง

ระบบ “เซลฟ์เสิร์ฟ” (Self Serve) ที่ให้ลูกค้าเลือกชมสินค้าตามโชว์รูมตัวอย่าง คิดและสร้างสรรค์การตกแต่งให้เข้ากับ พื้นที่ห้องและความชอบส่วนตัว ทดสอบความแข็งแรง ดูสีสันต่างๆ จนตัดสินใจได้แล้ว

ลูกค้าต้องมีดินสอและใบจดรายการสินค้า หรือ “ชอปปิ้งลิสต์” เพื่อจดรหัสสินค้าที่ต้องการ หมายเลขช่องชั้นวางสินค้า เพื่อไปหยิบสินค้าจากคลังขนาดใหญ่และนำไปชำระด้วยตัวเอง ซึ่งกระบวนการที่ให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในการจับจ่ายสินค้าแบบเต็ม 100% ช่วยลดต้นทุนด้านบุคลากรจำนวนมากและสะท้อนกลับมาที่ราคาสินค้าทุกชิ้นของอิเกีย

ปัจจุบันอิเกียมีสาขาร้าน 325 แห่ง ใน 35 ประเทศทั่วโลก เฉพาะสาขาเมกาบางนามีพนักงานทุกแผนก ตั้งแต่คลังสินค้า ฝ่าย บัญชี ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ร้านอาหาร ประมาณ 400 กว่าคน ถ้าไม่มีระบบเซลฟ์เสิร์ฟ พนักงานต้องมีจำนวนมากขึ้นหลายเท่าในสโตร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 40,000 ตารางเมตร ราคาสินค้าย่อมแพงกว่าที่เป็นอยู่หลายเท่าเช่นกัน

ระบบเซลฟ์เสิร์ฟยังซ่อนความหมายเกี่ยวกับการใช้ชีวิตแบบ สมถะ อยู่อย่างประหยัด การแบ่งหน้าที่ของแต่ละฝ่าย ซึ่งถือเป็น ปรัชญาและวัฒนธรรมองค์กรของอิเกียตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงจนถึงพนักงานทุกคน การเดินทางติดต่องานในต่างประเทศของผู้บริหารและพนักงาน ทุกคนต้องใช้บริการสายการบินในที่นั่งชั้นประหยัดเท่านั้นและพักโรงแรม 3 ดาว หรืออย่างมากสุด 4 ดาว ใช้ระบบการประชุมแบบออนไลน์ แม้กระทั่งการผลิตสินค้าในปริมาณมากๆ บรรจุในกล่องแบบแบน ขนาดกะทัดรัด ทั้งหมดเพื่อลดต้นทุนและผลิตสินค้าตอบสนองลูกค้าทุกกลุ่ม

“การที่อิเกียจากสวีเดนเข้ามาในประเทศไทยหรือประเทศไหนก็ตาม เราจะสร้างความแตกต่างทันที เราเอาความคุ้มค่าที่เน้น ทั้งดีไซน์ ราคาและคุณภาพ ทำให้คนในประเทศนั้นๆ สนใจเรื่อง การตกแต่งบ้านมากขึ้น คู่แข่งในตลาดพยายามแข่งขันเพื่อสู้กับเราหรือสู้กันที่ราคา ซึ่งราคาของอิเกียเป็นราคาที่ย่อมเยา คุณภาพ ไม่ได้ลดลง ท้ายที่สุด ผู้บริโภคได้ประโยชน์จริงๆ การมาเมืองไทย ท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง อิเกียต้องแน่ใจว่าสินค้ามีคุณภาพจริงๆ” ลาร์ชกล่าว

ตามแผนในปี 2555 “อิคาโน่” ผู้บริหารธุรกิจ “อิเกีย” ยัง ตั้งเป้าเร่งขยายตลาดใหม่ในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในไทยมีแผนขยายสาขาอีก 3 แห่ง ภายในระยะเวลา 10 ปี แม้มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมืองหรือวิกฤตการณ์น้ำท่วมหนักเมื่อปีที่แล้ว

“เราตั้งความหวังจะโตและขายดีขึ้น แม้น้ำท่วมก็มีคนเข้ามาเรื่อยทำให้เราต้องเร่งทำอะไร เตรียมเปิดสโตร์แห่งที่สอง หรือถ้ามีทุนก็จะไปลดราคาสินค้าเพื่อทำให้ขายได้มากขึ้น เพราะตลาด ไทยมีศักยภาพมากและอิเกียผ่านเหตุการณ์ในไทย ภัยธรรมชาติหรือภัยไม่ธรรมชาติ เหมือนวลีของคนสวีเดนที่มักพูดกัน”

No bad weather but poor clothing.

You do your part. We do our part. Together we save money.

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ “นพพร” ตัดสินใจจับมือกับพันธมิตรต่างชาติรายนี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us