Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
House of Beers House of Youngster             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

   
related stories

เทรนด์เซตเตอร์ จาก “ไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์” สู่ “ไฮบริดมอลล์”
เอสเอฟ-อิเกีย ธุรกิจ “ยีน” เดียวกัน

   
search resources

นพพร วิฑูรชาติ
Alcohol
เทพอาจ กวินอนันต์
HOBS




ทั้งนพพร วิฑูรชาติ และเทพอาจ กวินอนันต์ ต่างมีฝันในการทำธุรกิจ คนแรกมีฝันอยากสร้างไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์ที่เป็นแหล่งดื่ม กิน และเที่ยวอย่างมีรสนิยมและคุณภาพ ส่วนคนหลังพยายามปลุกปั้นร้านเบียร์เบลเยียม “HOBS” หรือ House of Beers เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรมการดื่มเบียร์ที่ดีและสวยงาม กลายเป็นจุดที่คลิกกันได้พอดี

จริงๆ แล้ว เทพอาจ กวินอนันต์ ไม่ใช่หน้าใหม่ในวงการ เขาเคยเปิดบริษัท ทิส เวิลด์ไวด์มาร์เก็ตติ้ง (1997) ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่มหรือ “อาร์ทีดี (Ready to Drink)” ยี่ห้อไนท์ ครุยเซอร์ และมัลเชค แต่ความเป็นมือใหม่ในเวลานั้น อายุยี่สิบต้นๆ ขยายไลน์ธุรกิจมากเกินไปจนต้องกลับ มาทบทวนแนวทางใหม่ ตัดสินใจปิดบริษัท ทิสฯ และเปลี่ยนรูปแบบ การดำเนินธุรกิจ

เขาจัดการแยกธุรกิจเป็น 3 ส่วน เพื่อการบริหารที่ชัดเจน ประกอบด้วยบริษัท ไทยสปิริตแอนด์ไวน์ จำกัด เป็นผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีบริษัท บริวเวอรี่ จำกัด เป็นผู้นำเข้าเบียร์พรีเมียม จากประเทศเบลเยียม และบริษัท ฮอบส์ อินเตอร์เนชั่นแนล โฮลดิ้ง ซึ่งดึงกลุ่มเพื่อนๆ ร่วมรุ่นโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ปทุมวัน เข้ามาช่วยกันบริหาร เพื่อต่อยอดธุรกิจจากบริษัทบริวเวอรี่

เพราะเวลานั้นคนไทยส่วนใหญ่รู้จักแค่เบียร์เยอรมัน ขณะที่ เทพอาจใช้ชีวิตอยู่ในยุโรป โดยเฉพาะประเทศเบลเยียมเป็นเวลานาน ซึมซับการดื่มอย่างมีศิลปะ จนเกิดอาการร้อนวิชาอยากถ่ายทอดความรู้ให้นักดื่มชาวไทยและยังเป็นการเปิดตลาดเบียร์กลุ่มใหม่ที่มีช่องว่างการขยายตัวได้อีกมาก หากคนไทยมีโอกาสได้ลิ้มลองและติดใจรสชาติเบียร์ดีๆ จากเบลเยียม

เวลาเพียง 3 ปีกว่าๆ ร้าน HOBS ของกลุ่มนักธุรกิจคนรุ่น ใหม่และเพื่อนนักเรียนสาธิตฯ ปทุมวัน เปิดแล้ว 4 สาขา เริ่มจาก สาขาแรกย่านทองหล่อในคอมมูนิตี้มอลล์ เพนส์นี บัลโคนี่ (Penny’s Balcony) ตรงข้ามโครงการเจ อะเวนิว สาขา 2 ย่านซอยอารีย์ใน “อารีย์การ์เด้น” สาขา 3 ใน “ลาวิลล่า” ซอยอารีย์ และสาขาล่าสุดที่เฟสติวัลวอล์ค

หัวใจหลักของร้านเบียร์แห่งนี้อยู่ที่เคาน์เตอร์บาร์ที่รวมความหลากหลายของเบียร์เบลเยียมมากกว่า 50 ยี่ห้อและเบียร์สด อีก 5 แบรนด์ มีเบียร์ยอดนิยม Hoegaarden รสชาติหวานหอม, Leff Blonde เบียร์สีทอง รสชาติเข้มข้น, Stella Artois เป็นลาเกอร์ สีใส, Leffe Brune เบียร์ดำ และ Boddingtons เบียร์นำเข้าจาก อังกฤษที่มีฟองละเอียดอ่อน

ที่สำคัญ HOBS ยังเน้นวัฒนธรรมการดื่มตามต้นฉบับเบลเยียมแบบ 100% เบียร์แต่ละยี่ห้อมีแก้วของตัวเอง ไม่มีการใช้ ซ้ำกัน ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงามเพียงอย่างเดียว อย่างแก้วของ Hoegaarden เป็นแก้วทรงหกเหลี่ยม เวลาสัมผัสแก้ว อุ้งมือจะสัมผัสเฉพาะเหลี่ยม ไม่โดนตัวเบียร์ทำให้คงอุณหภูมิความเย็นได้นานและปากแก้วกว้างทำให้สูดดมกลิ่นหอมของเบียร์อย่างเต็มที่

การรินเบียร์ต้องตีฟอง เพราะฟองเป็นตัวเก็บความหอม การดื่มเบียร์พร้อมฟองจะเพิ่มอรรถรสมากขึ้น แต่คนไทยมักดื่มแบบไม่มีฟอง ซึ่งไม่ใช่แค่การสูญเสียกลิ่นหอมหวนของเบียร์แล้ว เมื่อดื่มเข้าไป ฟองจะไปตีตามคอและซ่าอยู่ในท้อง เกิดอาการท้องอืดอีก

สิงคาร อำนวยพรรณ ผู้จัดการร้าน HOBS กล่าวกับ นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ว่า องค์ความรู้เหล่านี้ถือเป็นจุดขายหลัก ของร้าน ซึ่งบริษัทเตรียมเปิดสาขาที่ 5 ในเดือนเมษายนนี้ ภายใต้ แนวคิด “ห้องสมุดเบียร์” หรือ Library of Beer บริเวณถนนพระราม 3 ในโครงการอินท์ อินเตอร์เซค ถือเป็นจุดขายใหม่ในวงการ

ใครสนใจอยากใฝ่หาความรู้เกี่ยวกับ “เบียร์” นอกจากการเรียนรู้ด้วยการดื่มแล้ว ยังสามารถเปิดอ่านหนังสือที่จัดวางบน ชั้นหนังสือในร้าน ประวัติศาสตร์ ชนิด และอุปกรณ์การผลิต ตั้งแต่ การหมัก ต้ม จนบรรจุเป็นขวด หรือการรินเบียร์สดจากถังที่เก็บใน อุณหภูมิ 4 ํC เพื่อให้คนไทยเข้าใจกระบวนการผลิตทั้งหมด

“ผมมองตลาดเติบโตต่อเนื่อง คนไทยเริ่มมีไลฟ์สไตล์การดื่มกิน ยอมเสียเงินเพิ่มขึ้นเพื่อดื่มเบียร์ที่มีรสชาติดีและมีคุณภาพ โอกาสยังขยายได้ อย่างสาขาที่เฟสติวัลวอล์คเป็นร้านแรกที่ตัดสิน ใจทำขนาดใหญ่ 300 ที่นั่ง เพราะมีบทเรียนจากสาขาทองหล่อและ อารีย์ มีปัญหาเรื่องที่นั่งไม่เพียงพอจากทั้งหมด 120 ที่นั่ง ลูกค้าต้องโทรจองและลงคิวนานเป็นชั่วโมงจนเสียลูกค้าบางกลุ่มไป”

จะว่าไปแล้ว ร้าน HOBS ตั้งอยู่ในคอมมูนิตี้มอลล์ทุกสาขา ทั้งเพนส์นี บัลโคนี่ อารีย์การ์เด้น ลาวิลล่า เฟสติวัลวอล์ค และอินท์ อินเตอร์เซค ซึ่งคอมมูนิตี้มอลล์ยุคปัจจุบันมีความเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์มากขึ้นอย่างชัดเจน เพียงแต่กลุ่มเป้าหมายต่างกัน

ย่านทองหล่อเป็นกลุ่มคนใช้ชีวิตในเมือง ฝรั่ง และวัยรุ่นที่มีเงิน ขณะที่ย่านซอยอารีย์เต็มไปด้วยตึกสำนักงาน บริษัทใหญ่ ธนาคาร ลูกค้าแทบทั้งหมดจึงเป็นกลุ่มคนทำงานที่หลังเลิกงานจะมาพูดคุยงานหรือสังสรรค์ ส่วนถนนเกษตร-นวมินทร์ ออกไปทาง กลุ่มครอบครัวที่มีฐานะ วัยรุ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งร้าน HOBS จะมีดีไซน์สอดคล้องกับคอมมูนิตี้มอลล์แต่ละแห่งและกลุ่มลูกค้า มีทั้งสไตล์บาร์ฝรั่ง ร้านในสวนและแบบอาร์ตๆในเฟสติวัลวอล์ค

แต่เอกลักษณ์หลักที่ทุกคนรู้คือ เคาน์เตอร์บาร์ เบียร์หลากชนิด แก้วและโถที่จัดเรียงละลานตา

วันนี้ การเติบโตของไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์กำลังขยายฝันของกลุ่มยังสเตอร์ HOBS ใหญ่โตมากขึ้น จะไม่ใช่แค่เอาท์เล็ตหนึ่ง สัดส่วนไม่ถึง 10% จากตลาดเบียร์มูลค่ากว่า 90,000 ล้านบาท แต่ต้องเกิดในฐานะผู้ผลิตเบียร์เบลเยียมในไทย แม้นี่ยังเป็นเพียงแค่บทเริ่มต้นก็ตาม   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us