Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
เปิดกำแพงมรกต: “เมี๊ยะ-วดี”             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

มิงกาลาบา-ซินจ่าว เมื่อ East มาบรรจบ West
ระเบียงหรือทางผ่าน...?
“แม่สอด” เมืองคู่แฝดที่ยังรอวันตกผลึก

   
search resources

International
Myanmar




พม่าในวันนี้กำลังเกิดการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ ภาพการเดินเข้าสู่ถนนประชาธิปไตยหลังเลือกตั้งใหญ่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 มีการเจรจาสันติภาพกับชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาล ถือเป็นปัญหาสำคัญในการพัฒนาพื้นที่ตลอดแนวพรมแดน

นักวิเคราะห์มองว่าขณะนี้พม่าเปรียบเหมือนกระดานหมากรุกของโลกที่มหาอำนาจทั้งจากตะวันตกอย่างสหรัฐ อเมริกาและยุโรป รวมถึงจากตะวันออกคือจีน เป็นผู้เล่นหลัก

ท่าทีของชาติตะวันตกที่มีต่อพม่าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่ฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา เดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว (2554) ตามด้วยตัวแทนรัฐบาลอีกหลายประเทศแถบยุโรปที่เดินทางเยือนพม่ากันแบบถี่ยิบ พร้อมกับให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ

ประเมินกันว่าสหรัฐอเมริกาและยุโรปจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรพม่าภายในกลางปีนี้ (2555) หลังใช้มาตรการนี้กดดันพม่ามานานหลายสิบปี ซึ่งจะทำให้พม่า ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี รวมถึงโควตาส่งออกสินค้าเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก

ขณะเดียวกัน จีนในฐานะผู้ที่เคยให้ความช่วยเหลือหลักแก่พม่า ก็กำลังเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลพม่า หลังจากท่าทีที่เปลี่ยนแปลงไปมีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของจีนในพม่าหลายๆ ด้าน

แน่นอนว่า เกมหมากรุกบนกระดานนี้ย่อมมีผลกระทบต่อไทยอย่างเลี่ยงไม่พ้น

“ขณะนี้รัฐสภาพม่ากำลังพิจารณากฎหมายส่งเสริมการลงทุน รองรับการลงทุนจาก ต่างประเทศอยู่ โดยอาจจะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนานถึง 8 ปี ซึ่งน่าจะประกาศใช้ได้ อีกไม่นานต่อจากนี้”

Myo Nyunt Aung ผู้อำนวยการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดี (Myawadi Border Trade Zone) กล่าวกับผู้จัดการ 360 ํ เป็นการให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศเป็นครั้งแรก หลังด่านเมียวดีถูกเปิดอย่างเป็นทางการขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมปีที่แล้ว หลังถูกปิดมานานกว่า 1 ปี

“เมียวดี” หรือ “เมี๊ยะวดี” แปลว่ากำแพงมรกต (เมี๊ยะแปลว่ามรกต วดีแปลว่ากำแพง) สารานุกรมออนไลน์วิกิพีเดียระบุว่า คนพื้นเมืองเรียกเมืองนี้ว่า “บะล้ำบะตี๋” ตั้ง อยู่ในรัฐกะเหรี่ยงตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก เดิมประชากรส่วนใหญ่เป็นพม่า ต่อมาเริ่มมี ชาวจีน แขก กะเหรี่ยง มุสลิมเข้ามาค้าขาย จนขยายตัวเติบโตขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นช่องทางการค้าไทย-พม่า ที่มีมูลค่าการค้าปีละหลายหมื่นล้านบาท

ล่าสุดเดือนมกราคมที่ผ่านมา (2555) ด่านฯ แม่สอด-เมียวดีมีมูลค่าการค้าเกิดขึ้น มากถึง 3,000 ล้านบาท สูงที่สุดในภาคเหนือ

เมียวดีจึงถือเป็น 1 ในพื้นที่เป้าหมายหลักในการพัฒนาของรัฐบาลพม่า

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขมูลการค้าผ่านด่านแม่สอด-เมียวดีที่ปรากฏในฝั่งไทยกับพม่า แตกต่างกัน เพราะตัวเลขการค้าผ่านศุลกากรเมียวดีตั้งแต่ปี 2006-2011 อยู่ในระดับสูงสุด เพียง 158.277 ล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2008-2009 เท่านั้น ต่างจากตัวเลขฝั่งไทยหลายเท่า

(อ่าน “แม่น้ำเมย: ลำน้ำหมื่นล้าน” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

ภายใต้นโยบายปฏิรูปประเทศพัฒนาเศรษฐกิจ-การเมือง-สังคม พม่าวางแผนตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษขึ้น 19 แห่งให้ครบทั่วทั้งประเทศ รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร รวมทั้งการประมงและอื่นๆ โดยในปีนี้ (2555) พม่าจะประกาศตั้งเขตเศรษฐกิจ พิเศษประมาณ 8 เขตก่อน เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดี-ผาอัน, มะละแหม่ง, ย่านลิน, เมืองท่าเรือชายฝั่งอันดามัน, ทวาย, เกาะสอง, ด่านเจดีย์สามองค์และกรุงเนปิดอ

ส่วนที่เหลืออีก 11 แห่งจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เริ่มมีผลอย่างเป็นทางการ แนวทางพัฒนาดังกล่าว จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับพรมแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งสิ้น 13 จุด แบ่งเป็นพรมแดนที่ติดกับจีน 4 จุด อินเดีย 2 จุด บังกลาเทศ 2 จุด ไทย 5 จุด ซึ่งที่ผ่านมามีการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือเขตเศรษฐกิจชายแดน จนมีมูลค่าการค้าระหว่างกันเกิดขึ้นปีละหลายหมื่นล้านบาท เช่น เขตเศรษฐกิจเจียก้าว ลุ่ยลี่ เขตปกครองตนเองชนชาติไต-จิงโพ่ เต๋อหงของจีน ซึ่งติดกับเขตเศรษฐกิจพิเศษมูเซ ของพม่า ที่มีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนจำนวนมาก เป็นต้น

(อ่าน “เต๋อหง” ช่องทางสินค้าจีนที่ไทยไม่อาจมองข้าม” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดีแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณจุดสิ้นสุดถนนเมียวดี-กอกาเร็ก หรือกรุกกริก ช่วงแรกที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุง เพื่อเป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องจราจร

รัฐบาลพม่าให้สัมปทานแก่ 5 บริษัทเอกชนคือ บริษัท Asia Wealth, บริษัท Eden Construction, บริษัท Ngwe Sin Construction, บริษัท Shwe Nagar Min Construction และบริษัท Lah Construc-tion เข้ามาพัฒนาพื้นที่ 466 เอเคอร์ หรือประมาณ 1,165 ไร่ ขึ้นเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษภายใต้อายุสัมปทาน 30 ปี

(อ่าน “มิงกลาบา: เมียวดี” นิตยสาร ผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2552 หรือใน www.gotomanager.com ประกอบ)

ที่นี่จะเป็นศูนย์บริการนำเข้า-ส่งออก ระหว่างพม่ากับไทยผ่านชายแดนเมียวดี-แม่่สอด ในลักษณะ One Stop Service รวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการค้าพาณิชย์, ศุลกากร, สรรพากร, ธนาคารพาณิชย์, ตำรวจ และหน่วยตรวจคนเข้าเมือง มีการ นำระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์มาให้บริการ นอกจากนี้ยังก่อสร้างโกดัง คลังสินค้าขึ้นมารองรับอีก 23 แห่ง อาคารพาณิชย์อีก 226 ยูนิต ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว 125 ยูนิต

ผู้อำนวยการเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดียังบอกอีกว่า Myawadi Border Trade Zone จัดเตรียมพื้นที่บางส่วนที่จะใช้ก่อสร้างโรงแรม ที่พักอาศัย รวมทั้งห้องเย็นขึ้นมารองรับธุรกรรมทาง การค้า การท่องเที่ยวที่จะขยายตัวตามแนว ทางการพัฒนาเส้นทางคมนาคมแม่สอด-เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี-บางกาน และจังหวัดกอกาเร็ก ซึ่งมีระยะทางช่วงแรกจาก เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี 17 กิโลเมตร

มีการปรับปรุงและโครงการก่อสร้าง เส้นทางสายใหม่ระยะทาง 28 กิโลเมตร จากบางกานจนถึงจังหวัดกอกาเร็ก รวม 45 กิโลเมตร งบประมาณ 1,114 ล้านบาท ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) ซึ่งมีบริษัทสี่แสงการโยธาของไทยชนะการประมูลรับเหมาก่อสร้างและกำลังคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดีน่าจะเสร็จสมบูรณ์ภายในไม่เกิน 2 ปีต่อจากนี้ พร้อมกับช่วงเวลาที่ถนนได้รับการปรับปรุงแล้วเสร็จ จนรถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้ จากทุกวันนี้ ที่ต้องจัดให้การเดินรถเพื่อขนส่งสินค้าและผู้คน จากเมียวดีเข้าพื้นที่ชั้นในแบบสลับกันวันเว้นวันมาตลอด

ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น การเดินทางจากเมียวดีไปยังเมาะละแหม่งจนถึงกรุงย่างกุ้งจะทำได้ภายในวันเดียว เพราะมีระยะทางเพียง 400 กว่ากิโลเมตรเท่านั้น

นอกจากนี้พม่ายังเตรียมพื้นที่ด้านตะวันตกของเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดี ไว้สำหรับพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมในอนาคต เบื้องต้นจะเปิดพื้นที่พัฒนาก่อน 950 เอเคอร์ หรือประมาณ 2,300 กว่าไร่ แต่สามารถขยายได้อีก 1,200 เอเคอร์ หรือไม่น้อยกว่า 3,000 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในไม่เกิน 2 ปีต่อจากนี้เช่นกัน

“เราก็หวังว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเมียวดีจะได้รับการพัฒนาเหมือนมูเซ-เจียก้าว โดยมีเป้าหมายดึงนักลงทุนไทยเข้ามาลงทุน” Myo Nyunt Aung บอก

บรรพต ก่อเกียรติเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดตาก และติน ติน เมี๊ยะ ประธานหอการค้าจังหวัดเมียวดี กล่าวเสริมในเรื่องนี้ว่า ขณะนี้มีนักธุรกิจและนักลงทุนจากต่างประเทศ ทั้งไทย จีน สิงคโปร์ รวมถึงสหรัฐอเมริกาและยุโรปได้ทำหนังสือถึงผู้นำพม่า เพื่อ ขอเข้าไปลงทุน ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเมียวดีแล้วหลายราย

โดยแจ้งความประสงค์จะประกอบธุรกิจในพม่าทั้งขนาดเล็ก มีสัดส่วนประมาณ 60% ขนาดกลาง 26% และขนาดใหญ่ (อุตสาหกรรมหนัก) 18%

“เฉพาะนิคมอุตสาหกรรมผาอันก็มีนักลงทุนไทยที่จะเข้าไปลงทุนแล้ว 8 ราย” ติน ติน เมี๊ยะบอก

นี่คือสัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่กำลังขึ้น ณ แนวรบ ด้านตะวันตกของไทย ซึ่งถือเป็นชุมทางฝั่งตะวันออกของพม่าที่ชัดเจนยิ่ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us