Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
ระเบียงหรือทางผ่าน...?             
โดย เอกรัตน์ บรรเลง
 

   
related stories

มิงกาลาบา-ซินจ่าว เมื่อ East มาบรรจบ West
เปิดกำแพงมรกต: “เมี๊ยะ-วดี”
“แม่สอด” เมืองคู่แฝดที่ยังรอวันตกผลึก

   
search resources

Economics
International
East-West Economic Corridor
Greater Mekong Subregion




ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นกรอบหนึ่งของความร่วมมือของกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ที่วางเอาไว้มานานหลายปีแล้ว

ระเบียงเศรษฐกิจสายนี้เป็นเส้นทาง เชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคนี้ตามแนวขวาง จากมหาสมุทรแปซิฟิกที่ท่าเรือด่าหนังของเวียดนาม (ฝั่งตะวันออก) ผ่าน สปป.ลาว ประเทศไทย มาจนถึงฝั่งทะเลอันดามัน และมหาสมุทรอินเดียที่เมืองเมาะละแหม่ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า)

ตลอดระเบียงเศรษฐกิจสายนี้ยังคงมีประเด็นท้าทายให้ค้นหา ก่อนที่กรอบใหญ่ของ 10 ประเทศในภูมิภาคนี้จะก้าวสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ในปี 2015 (พ.ศ.2558)

โดยเฉพาะภายหลังจากที่พม่าเปิดประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ภายหลังการเลือกตั้งใหญ่ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา

เพราะการพัฒนาภายใต้กรอบ EWEC เดิม จำกัดอยู่ภายใต้โครงข่ายการเชื่อมโยงเพียง 3 ประเทศจากฝั่งตะวันออก คือ ไทย ลาว และเวียดนาม ยังไม่สามารถ ต่อยอดไปสิ้นสุดในฝั่งตะวันตกที่พม่าได้ เนื่องจากขณะนั้นพม่ายังคงปิดประเทศ

ประกอบกับรัฐบาลลาวมีวิสัยทัศน์ที่จะแปรจุดอ่อนของประเทศจากดินแดนที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล (Land Lock) ให้กลายเป็นจุดแข็งในการเป็นดินแดนซึ่งสามารถเชื่อมต่อประเทศต่างๆ ในภูมิภาค เข้าหากัน (Land Link)

น้ำหนักความสนใจของผู้คนภายใต้ กรอบ EWEC ที่ผ่านมา จึงลงมาอยู่ที่ลาว

พ.ศ.2537 สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ข้ามแม่น้ำโขงแห่งแรก เปิดใช้อย่าง เป็นทางการเพื่อเชื่อม จ.หนองคาย กับนครหลวงเวียงจันทน์

ต้นปี พ.ศ.2550 สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เชื่อม จ.มุกดาหาร กับแขวงสะหวันนะเขต เริ่มเปิดใช้งาน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2554 (ปี 2011) สะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 เปิดใช้อย่างเป็นทางการตามฤกษ์ 11-11-11 เพื่อเชื่อม จ.นครพนมกับแขวงคำม่วน

ภาพการเป็น Land Link ของลาว มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

เพราะสะพานมิตรภาพทั้ง 3 แห่ง เป็นจุดเขื่อมโยงสำคัญ ทำให้การเดินทางของผู้คน การขนส่งสินค้าผ่านลาวสามารถทำได้หลากหลายเส้นทางมากขึ้น

สะพานแห่งแรก เป็นประตูเปิดเข้าสู่นครหลวงเวียงจันทน์ ซึ่งมีเส้นทางหมายเลข 13 ที่สามารถเชื่อมลาวภาคเหนือและใต้เข้าด้วยกัน

ทางเหนือ จากนครหลวงเวียงจันทน์สามารถไปถึงเส้นทางสาย R3a เข้าสู่เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนันของจีน

ส่วนทางใต้ สามารถลงมาสู่แขวงเซกอง อัตตะปือ สาละวัน และจำปาสัก ที่มีพรมแดนติดกับกัมพูชาและเวียดนาม

สะพานแห่งที่ 2 เปิดเส้นทางท่องเที่ยวและขนส่งสินค้าจากมุกดาหาร ผ่านแขวงสะหวันนะเขต ไปตามเส้นทางหมายเลข 9 จนถึงเมืองดองฮา เมืองเว้ โดยมีท่าเรือที่เมืองด่าหนัง เป็นทางออกสู่ทะเลของสินค้า

ซึ่งจากจุดนี้ยังได้บรรจบเส้นทางหมายเลข 1 ของเวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางเชื่อมภาคเหนือและภาคใต้ของเวียดนาม โดยมีปลายทางด้านเหนืออยู่ที่เมืองหนานหนิง เมืองเอกของเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงในมณฑลกว่างสีของจีน ขณะที่ด้านใต้เป็นดินแดน 3 เหลี่ยมเชื่อมเวียดนามกับลาวและกัมพูชา

สะพานแห่งที่ 3 ซึ่งเพิ่งเริ่มใช้งานก็ทำให้บทบาทของเส้นทางหมายเลข 12 ของลาวโดดเด่นขึ้นในฐานะเส้นทางการค้าสายใหม่ (New Trade Lane) ที่ตัดผ่านลาวเข้าสู่เวียดนามที่ด่านน้ำพาว เมืองวินห์ เมืองฮาตินห์ ไปบรรจบกับเส้นทางหมายเลข 1 โดยมีท่าเรือหวุงอ๋างเป็นทางออกสู่ทะเลให้กับสินค้า

ยังมีเส้นทางหมายเลข 8 ที่เชื่อมแขวงบ่อลิคำไซกับเมืองวินห์ ขึ้นไปจนถึงท่าเรือไฮฟองของเวียดนาม

กลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว (2554) หลังพม่าเริ่มส่งสัญญาณการเปิดประเทศอย่าง เป็นรูปธรรมสู่สาธารณะ ผู้จัดการ 360 ํ มีโอกาสเดินทางไปกับโครงการ Structured Visit for Business to Business along EWEC หรือ B2B EWEC ซึ่งสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute: MI) มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้น

มีผู้ประกอบการ SMEs ของไทยซึ่งเป็นนักธุรกิจจากจังหวัดต่างๆ ตามแนวระเบียง เศรษฐกิจสายนี้ตั้งแต่จังหวัดตาก พิษณุโลก ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร พร้อมกับ ผู้ประกอบการ SMEs และตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของลาว ร่วมด้วยอีก 6 คน เดินทาง ข้ามสะพานมิตรภาพฯ แห่งที่ 2 ผ่านไปตามเส้นทางหมายเลข 9 มุ่งหน้าเข้าสู่เวียดนาม

ซึ่งที่นั่นมีผู้ประกอบการ SMEs ของเวียดนามและพม่ารอสมทบอยู่

อย่างไรก็ตาม ตลอดเส้นทางที่ต้องผ่าน 4 เมืองใหญ่แขวงสะหวันนะเขต คือ เมืองไกสอน พมวิหาน เมืองอุทุมพร เมืองพิน และเมืองเซโปน ระยะทางร่วม 250 กิโลเมตรนั้น แม้จะมีการพัฒนาถนนหมายเลข 9 ให้เป็นถนนลาดยางขนาด 2 เลนมาหลายครั้ง จากครั้งแรกเมื่อกว่า 30 ปีก่อนก็ตาม แต่ผู้คนตลอด 2 ฝั่งเส้นทางนี้ ดูเหมือนจะได้รับส่วนแบ่งจากการพัฒนาเส้นทางยุทธศาสตร์ สายนี้ไม่มากนัก

กุมแก้วอุทุม แก้วมะโน เลขาธิการสภาการค้าและอุตสาหกรรม แขวงสะหวัน นะเขต บอกว่าหลังจากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 เปิดใช้ มีคนเดินทางผ่านถนนหมายเลข 9 ทั้งจากไทยไปเวียดนาม และเวียดนามไปไทย แต่ก็เป็นการเดินทางผ่าน ไป-มาเป็นส่วนใหญ่ไม่ได้มีการแวะพักในลาวมากนัก

นอกจากนี้หลังจากไทยมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ ก็ยังทำให้ยอดนักท่องเที่ยวเดินทางผ่านเส้นทางสายนี้ลดลงไปกว่าครึ่ง

“จะมีก็แต่เพียงการเข้าไปเที่ยวที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวันเซโนเท่านั้น ซึ่งก็ไม่ได้ส่งผลต่อผู้ประกอบการในท้องถิ่น เท่าใดนัก เพราะแม้แต่รถรับส่งนักท่องเที่ยว ก็มีโครงการรับส่งเองทั้งหมด”

แม้ว่าถนนหมายเลข 9 กำลังจะได้ รับการพัฒนาอีกครั้ง โดยการขยายให้เป็นถนน 4 เลนตลอดสาย โดยหน่วยงานจากญี่ปุ่น ที่ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลลาวไปแล้วว่าจะให้ความช่วยเหลือ

นอกจากนี้จีนก็แสดงความจำนงที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาให้ คาดว่าจะดำเนิน การภายในปีหน้า (2556) เพื่อให้แล้วเสร็จภายใน พ.ศ.2558 ที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะเริ่มต้นขึ้นก็ตาม

แต่กุมแก้วอุทุมก็ยังกังวลว่า คนลาวจะได้เพียงประโยชน์ส่วนน้อยเท่านั้น

เพราะแม้ว่ายอดสินค้าที่ส่งออกผ่านท่าเรือด่าหนังของเวียดนามได้มีสินค้าจาก สปป.ลาวที่ขนผ่านเส้นทางหมายเลข 9 เพิ่มขึ้นเป็นกว่า 10% แล้วก็ตาม แต่ก็เป็นเพียง สินแร่ทองแดงของบริษัท ล้านช้าง มิเนอรัล ซึ่งเป็นบริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาล (ปัจจุบันนักลงทุนจีนถือหุ้นใหญ่) ส่งออกไปจีน กับสินค้าไม้เป็นหลัก

ไม่มีสินค้าที่คนลาวเป็นผู้ผลิตเองที่ส่งออกผ่านเส้นทางสายนี้แต่อย่างใด

ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบนเส้นทางหมายเลข 9 เท่านั้น แต่ยังนับเป็นประเด็นท้าทาย AEC ตลอดจนกรอบความร่วมมือพัฒนาตามยุทธศาสตร์อื่นๆ ในอาเซียนด้วย

ตลอดแนวเส้นทางยาวกว่า 1,450 กม. ของ EWEC จากท่าเรือด่าหนังของเวียดนามมาถึงเมืองเมาะละแหม่งของพม่า เต็มไปด้วยความหลากหลาย ทั้งในมิติของ ชาติพันธุ์ วิถีชีวิต ความเหลื่อมล้ำทางรายได้ประชากร ฯลฯ

“EWEC รวมถึง AEC ต้องค่อยเป็น ค่อยไป เพราะผู้คนในประเทศสมาชิกมีความแตกต่างและหลากหลายมาก ทั้งเรื่อง รายได้ วัฒนธรรม คุณภาพชีวิต เราต้องทำให้ผู้คนในพื้นที่เหล่านี้ได้รับผลพวงจากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน” Tun Aung กรรมการ UMFCCI ที่บินข้ามจากกรุง ย่างกุ้งเพื่อไปเข้าร่วมโครงการ B2B EWEC ที่ด่าหนัง สะท้อนให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟัง

เช่นเดียวกับธนโชติ โชติบุญศักดิ์ รองประธานหอการค้า จ.มุกดาหาร ที่สะท้อนความเห็นว่า แม้ AEC ถือเป็นนิมิต หมายอันดี แต่ยังมีประเด็นที่ต้องทำให้ SMEs เข้าใจ AEC ก่อน คือ บุคลากรที่เข้าใจการค้าต่างประเทศ, การเข้าถึงเงินทุน ฯลฯ จากวิถีเดิมที่เป็นรูปแบบการค้าชาย แดนถึงแม้จะคล่องตัวกว่าการเป็นผู้ส่งออก รายใหญ่ แต่ก็มีข้อจำกัดในเรื่องเงินทุน บุคลากร และการตลาด

นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความแตกต่างของประเทศภาคี ซึ่งดูแล้ว 3 ประเทศคือ ลาว เวียดนาม กัมพูชา น่าจะเกาะกลุ่มกันได้ก่อน จากนั้นก็พัฒนาไปสู่ไทยกับพม่าต่อไป

อย่างไรก็ตาม หากดูสถิติในประชาคมโลกจะพบว่าการรวมกลุ่มเป็นประชาคมจาก ประเทศที่แตกต่างกันมักมีปัญหาจนส่งผลกระทบกับการค้าทั้งโลก เช่น ประชาคมยุโรป และอเมริกากลาง ที่เป็นอยู่ในขณะนี้

“ความแตกต่างของแต่ละประเทศที่มี GDP ห่างกัน ความรู้ของบุคลากร เป็นอุปสรรคสำคัญของการรวมตัวเป็นประชาคม ถ้าเราบริหารความแตกต่างนี้ได้ การเข้าสู่ AEC ก็จะมีปัญหาน้อยลง”

ธนโชติยังฝากให้ MI ที่เป็นสถาบันที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหลายประเทศ ต้องเร่งรัดพัฒนาบุคลากรของแต่ละประเทศให้มีความรู้ใกล้เคียงกัน เปิดโอกาสให้ SMEs ของแต่ละประเทศเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น รวมถึงการสร้างความเชื่อใจระหว่างกันด้วย นั่นหมายถึงการผลักดันให้ SMEs ตลอดแนวระเบียงเศรษฐกิจสายนี้ที่ถือเป็นฐานเศรษฐกิจ สำคัญเข้าไปมีส่วนร่วมในวงจรการผลิต เพื่อกระจายผลแห่งการพัฒนาเข้าไปสู่มือของประชากรตลอดแนวที่เส้นทางพาดผ่าน

มิใช่เป็นเพียงเส้นทางผ่านของคนและสินค้าเท่านั้น

“เฉพาะในพื้นที่ 9 จังหวัดของไทยที่ EWEC พาดผ่าน มี SMEs ประมาณ 7,000 กว่าราย ตอนนี้เรารวบรวมข้อมูลได้แล้วประมาณ 1,500 ราย เพื่อที่จะอัพโหลดขึ้นใน www.ewecdatabase.com ในเร็ววันนี้” Madhurjya Kumar Dutta ผู้จัดการโปร แกรม Trade & Investment Facilitation (TIF) ของ MI ระบุ

เขาบอกว่า MI จะรวบรวมโปรไฟล์ของ SMEs ตามระเบียงเศรษฐกิจสายนี้ทั้งที่อยู่ในไทย พม่า ลาว และเวียดนาม เพื่อ สร้างเป็นฐานข้อมูลและช่องทางให้ผู้ผลิตรายใหญ่จากทั่วโลกสามารถเข้ามาดูได้ว่า จะนำเครือข่ายเหล่านี้ป้อนผลผลิตอะไรกับเขาได้บ้าง

ถือเป็นช่องทางหนึ่งที่จะพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการรายย่อยใน AEC พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่เต็มไปด้วยโอกาส และความหลากหลายของผู้คนและปัญหาที่รออยู่ ก่อนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเกิดขึ้นเต็มตัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us