Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มีนาคม 2555
พม่ากับสิงคโปร์และความเป็นเพื่อน             
 


   
search resources

Myanmar
Political and Government




สิงคโปร์ชื่นชมอดีตนายพลพม่าผู้กลายมาเป็นประธานาธิบดีพลเรือนนักปฏิวัติคนแรกของพม่า

บุคคลระดับชั้นหัวกะทิของพม่ามักจะเดินทางไปสิงคโปร์อยู่บ่อยๆ ด้วยกิจธุระจำเป็นหลายอย่าง ทั้งไปชอปปิ้ง ไปเช็กความเรียบร้อยของบัญชีเงินฝากที่อยู่ในธนาคารสิงคโปร์ ไปหาหมอ พาลูกไปเข้าโรงเรียนที่นั่น ไปเสี่ยงโชคสนุกๆ ในบ่อนกาสิโนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และไปดูให้เห็นกับตาถึงความมั่งคั่งที่เป็นผลมาจากโลกาภิวัตน์

ประธานาธิบดี Thein Sein ของพม่า ก็เพิ่งเดินทางไปสิงคโปร์เมื่อเร็วๆ นี้ โดยพ่วงคณะเจ้าหน้าที่พม่าชุดใหญ่ไปด้วย เพื่อไปลงนามในข้อตกลงความร่วมมือหลายด้านกับสิงคโปร์ ตั้งแต่การท่องเที่ยวไปจนถึงด้านกฎหมาย และเพื่อขอบคุณสิงคโปร์ที่สนับสนุนพม่ามาตลอดระยะเวลาอันยาวนานโดยไม่เคยทอดทิ้ง อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องส่วนรวมแล้ว ประธานาธิบดี Thein Sein ยังเดินทางไปสิงคโปร์ครั้งนี้ เพื่อรับการยกย่องชื่นชมเป็นการเฉพาะอีกด้วย

คล้ายกับเด็กนักเรียนที่ภาคภูมิใจกับรางวัลที่ได้รับ จึงไม่รู้สึก หวั่นเกรงต่อสายตาที่จ้องจับผิดของครูอีกต่อไป ประธานาธิบดี Thein Sein อดีตนายพลของกองทัพพม่า ผู้กลายมาเป็นประธานาธิบดีพลเรือนคนแรกของพม่าในรอบครึ่งศตวรรษ เป็นผู้นำในการริเริ่มกระบวนการเปิดเสรีภาพทางการเมืองอันน่าตื่นตาของพม่า ที่โดดเด่น ที่สุดคือ การที่ระบบการเมืองของพม่าได้อ้าแขนรับอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่าและพรรคการเมืองของเธอ ซูจีสามารถลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ซึ่งจะมีขึ้นต้นเดือนเมษายนนี้ และหลังจากนั้น Thein Sein อาจนำซูจีเข้าร่วมรัฐบาลของเขา

หลังจากพม่าตกอยู่ใต้การปกครองของกองทัพที่จำกัดเสรีภาพ มาอย่างยาวนาน การเปลี่ยนแปลงข้างต้นจึงนับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของพม่าและสิงคโปร์ รวมไปถึงชาติเพื่อนบ้านอื่นๆ ของพม่าในอาเซียน ก็ไม่รีรอที่จะอ้างความดีความชอบ สำหรับการที่ชาติ อาเซียนได้ใช้นโยบาย “เกี่ยวพัน” กับพม่าอย่างได้ผล ในการกล่าวต่อการประชุมประจำปีของที่ประชุม World Economic Forum ที่เมืองดาวอส, สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเดือนมกราคมปีนี้ Kishore Mahbubani อดีตนักการทูตของสิงคโปร์ และขณะนี้เป็นนักเขียนด้านการระหว่างประเทศ กล่าวอ้างอย่างยินดีว่า นโยบายการทูตแบบ “น้ำหยด” ของอาเซียน ซึ่งใช้วิธีละมุนละไมแบบค่อยเป็นค่อยไปกับพม่า ในที่สุดก็สามารถพิสูจน์ได้แล้วว่า ใช้ได้ผลเป็นอย่างดี


พม่าคงยอมรับการกล่าวอ้างข้างต้นและรู้สึกขอบคุณสิงคโปร์ที่ไม่เคยทอดทิ้ง และยังคงทำการค้าและลงทุนในพม่ามาโดยตลอด แม้ในช่วงที่คณะนายพลผู้ปกครองพม่าถูกชิงชังรังเกียจจากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตาม ความจริงก็คือแรงจูงใจที่แท้จริง ที่อยู่เบื้องหลัง การลุกขึ้นมาปฏิรูปของรัฐบาลพม่า ก็คือ ความมุ่งมาดปรารถนาที่จะเห็นมาตรการ ลงโทษของชาติตะวันตกถูกยกเลิก

และการอ้างความดีความชอบให้แก่นโยบายการทูตแบบนี้ ก็เป็นการกล่าวอ้างที่มีหลักวิชาการรองรับ เพราะนี่คือการทูตแบบ win-win ซึ่งทุกฝ่ายสามารถอ้างได้ว่าตนเป็นฝ่ายที่ถูกต้อง หลักการนี้เป็นจริงสำหรับกระบวนการเปิดเสรีภาพทางการเมืองในพม่าเช่นกัน นักโทษการเมืองพม่าที่ได้รับการปล่อยตัว และฝ่ายค้านพม่าที่เรียกร้องประชาธิปไตย สามารถอ้างได้ว่า ตนเป็นฝ่ายชนะ เช่นเดียวกับที่ผู้นำของอดีตรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งความมั่งคั่งร่ำรวยและเสรีภาพของพวกเขาไม่ได้รับความกระทบกระเทือนเลยแม้แต่น้อยจากการ ที่พม่าปฏิรูปการเมือง ก็สามารถอ้างชัยชนะได้เช่นเดียวกัน

ในการเดินสายหาเสียง อองซาน ซูจี เริ่มหยิบยกประเด็นยากๆ ขึ้นมาเอ่ยถึง อย่างเช่นการแก้รัฐธรรมนูญพม่า ซึ่งปกป้องการ เป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของกองทัพพม่า ด้วยการกำหนดว่า การจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญในข้อนี้ จะต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเท่านั้น

คงจะดีไม่น้อย ถ้าหากว่าประชาธิปไตยจะเป็นเรื่องที่สามารถ win-win กันทุกฝ่ายได้ เหมือนดังเช่นนโยบายการทูตที่ใช้กับพม่า แต่ความจริงคือ แม้แต่พม่าเองก็ไม่อาจหนีพ้นการที่จะต้องมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้พ่ายแพ้

อันเป็นไปตามธรรมชาติของระบอบประชาธิปไตย


แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง ดิ อีโคโนมิสต์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us