|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด ผู้บริหารธุรกิจค้าปลีกและศูนย์การค้า “เทสโก้ โลตัส” เปิดเสนอขายหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเทสโก้ โลตัส รีเทล โกรท (TLGF) ต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) และจะนำหน่วยลงทุนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป โดยตั้งเป้าระดมทุนมากกว่า 18,000 ล้านบาท
ครั้งนี้ถือเป็นการเสนอขาย IPO ของ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุดใน ประวัติศาสตร์ไทยและเป็นการทำ IPO ที่ใหญ่ ที่สุดนับตั้งแต่ปี 2549
สำหรับทรัพย์สินที่กองทุนรวม TLGF จะลงทุนครั้งแรก คือ ศูนย์การค้าเทสโก้ โลตัส 17 แห่ง พื้นที่เช่ารวมทั้งสิ้น 230,000 ตารางเมตร เป็นสาขาที่มีอัตราการเช่าพื้นที่เฉลี่ยสูงถึง 99% และมีลูกค้ามาใช้บริการกว่า 2.3 ล้านรายต่อเดือน
นอกจากนี้มีแผนที่เพิ่มทุนโครงการ โดยการนำศูนย์การค้า อีก 2 แห่งเข้ามาอยู่ในกองทุนภายในปีนี้ด้วย
ทั้งนี้ กองทุนรวม TLGF จะเป็นเจ้าของศูนย์การค้าที่เข้าลงทุน (Freehold) กว่าร้อยละ 73 ของมูลค่าประเมิน ซึ่งจะทำให้ กองทุนรวมมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และสามารถจัดหาประโยชน์จากศูนย์การค้าได้ไม่มีการหมดอายุ เทสโก้ โลตัสจะยังคงเป็นผู้เช่าหลัก โดยเช่าพื้นที่ไฮเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์อาหารภายในบริเวณศูนย์การค้าทั้งหมด นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์อีกด้วย
คริส บุช ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอก-ชัย ดิสทริ บิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวว่า เทสโก้ โลตัสเข้ามาดำเนินธุรกิจ ในไทยเป็นปีที่ 17 ใช้เงินลงทุนในเมืองไทยไปแล้วกว่า 130,000 ล้านบาท ซึ่งการจัดตั้งกองทุนจะทำให้บริษัทสามารถขยายการลงทุนได้มากขึ้นและเร็วขึ้นจากเดิมที่อาศัยเม็ดเงินจากบริษัทแม่และผลประกอบการ
การขับเคลื่อนของเทสโก้ โลตัส ทำให้วงการค้าปลีกเปิดการแข่งขันรอบใหม่และรุนแรงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากเม็ดเงิน 18,000 ล้านบาท หมายถึงศักยภาพในการขยายอาณาจักรค้าปลีก เพื่อสกัดกั้นคู่แข่งทุกรูปแบบ ทั้งการปรับปรุงสาขา ขยายสาขาใหม่ ปรับปรุงระบบจำหน่าย การสร้างศูนย์กระจายสินค้าให้ครอบคลุม ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะการปรับสาขาเดิมเป็นรูปแบบเอ็กซ์ตร้า ซึ่ง ประสบความสำเร็จมากจากการปรับเปลี่ยนสาขาพระราม 4 ให้ เป็นสาขาต้นแบบโลตัส เอ็กซ์ตร้า เพราะสามารถสร้างยอดขายเพิ่มจากสาขารูปแบบเดิมประมาณ 20% และเปิดสาขารูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะสาขาขนาดเล็ก “โลตัส เอ็กซ์เพรส” ที่เป็นรูปแบบ ร้านสะดวกซื้อเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และตลาดโลตัส ซูเปอร์ มาร์เก็ตขนาดเล็ก
ปัจจุบันเทสโก้ฯ มีรูปแบบสาขา 5 รูปแบบ ได้แก่ พลัสมอลล์ เอ็กซ์ตร้า ไฮเปอร์มาร์เก็ต ตลาดเทสโก้ และเอ็กซ์เพรส ซึ่งเป็นการเจาะตลาดแทบทุกกลุ่ม ตั้งแต่ชุมชนขนาดเล็ก ชุมชนขนาดใหญ่ และชุมชนที่มีกำลังซื้อ มีไลฟ์สไตล์ โดยวางแนวทางการขยายสาขาในลักษณะชอปปิ้งมอลล์มากขึ้น รวมไปถึงการเจาะ ตลาดคอมมูนิตี้มอลล์ที่นำร่องสาขาไปแล้ว 3 รูปแบบ คือ @Oasis, @Park และ @Garden
ทั้งเม็ดเงินและรูปแบบสาขากำลังสร้างโจทย์ใหม่ให้คู่แข่งอย่างบิ๊กซี ไม่ใช่แค่ “โรลแบ็ค” ชน “เช็กไพรส์” หรือ “คลับการ์ด” ปะทะ “บิ๊กการ์ด” แต่เกมเปลี่ยนมาเป็น “สาขา” ชน “สาขา”
เห็น “เทสโก้ โลตัส” ต้องเห็น “บิ๊กซี” แต่ต้องวัดฝีมือกันเรื่อง “รูปแบบ” ใครจะดึงลูกค้าได้มากกว่ากัน
|
|
 |
|
|