Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
Positioning Magazine9 กุมภาพันธ์ 2555
ผลสำรวจชี้ผู้บริโภคนึกถึงขนมสุขภาพมากขึ้น             
 


   
search resources

Snack and Bakery




ขนมขบเคี้ยวเป็นสินค้าที่อยู่เคียงคู่กับครัวเรือน และเข้าไปจับตลาดลูกค้าได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ใช่เฉพาะลูกค้าวัยรุ่นหรือเด็กๆ อีกต่อไป

การพัฒนาของขนมขบเคี้ยวในอนาคต มีอยู่ด้วยกัน 2 แนวทางหลักคือ สนใจการดูแลสุขภาพของลูกค้า และสนใจการพัฒนารสชาติให้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด

การสำรวจของ Mintel บริษัทสำรวจทางการตลาดในสหรัฐเมื่อไม่นานมานี้ ชี้ให้เห็นว่าการรับรู้เกี่ยวกับผลต่อสุขภาพและนิยามของขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพของผู้บริโภคแต่ละคนยังมีความแตกต่างกัน แสดงถึงองค์ความรู้เรื่องขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพที่ยังไม่ชัดเจน

สิ่งที่น่าสนใจในมุมของนักการตลาดและผู้บริโภคที่ควรเรียนรู้จากผลการสำรวจดังกล่าวได้แก่ 86% ของนักชอปปิ้งเห็นว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพคือขนมขบเคี้ยวที่ทำมาจากผลไม้สด 73% ของนักชอปปิ้งเห็นว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพคือ ขนมขบเคี้ยวที่มาจากผัก 71% ของนักชอปปิ้งเห็นว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพคือ ขนมขบเคี้ยวที่มาจากนัตหรือตระกูลถั่วและธัญพืช

สิ่งที่น่าแปลกใจจากการสำรวจครั้งนี้คือ 12% เชื่อว่านักชอปปิ้งเห็นว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพ คือ ไอศกรีม และ 9% ระบุว่าคุกกี้

ในกลุ่มที่ตอบเรื่องขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีก เช่น 44% ตอบว่าตนมักบริโภคขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพเกือบตลอดเวลาหรือเป็นส่วนใหญ่ 42% ตอบว่าได้จัดระดับขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพว่าเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ดีต่อสุขภาพ 39% ตอบว่า ในบางเวลาบางโอกาสก็ยังต้องการขนมขบเคี้ยวที่ไม่ใช่ขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพ

ที่ผ่านมาจุดขายของขนมขบเคี้ยวคือการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจหรือความอยากที่จะบริโภคขนมขบเคี้ยวเพื่อลิ้มลองรสชาติที่ดูว่าน่าจะอร่อย และการจัดจุดวางจำหน่ายที่อำนวยความสะดวกในการซื้อ ล่อตาล่อใจ

นอกจากนั้น ผู้บริโภคจำนวนไม่น้อย ที่เห็นว่าขนมขบเคี้ยวเป็นทางเลือกของการบริโภคที่สามารถทดแทนอาหารมื้อหลักได้ 46% ของผู้ตอบคำถาม ตอบว่ามีความยากลำบากในการหาขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพตามตู้ซื้อขนมขบเคี้ยวอัตโนมัติที่มีวางจำหน่ายตามชุมชนต่างๆ หรือตามสถานที่เดินทางผ่านเพื่อกลับบ้านหรือไปทำงาน 16% ระบุว่าหากจะหาขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพจริงๆ จะต้องใช้เวลามากกว่าปรกติมาก

ข้อเสนอแนะจากผลการสำรวจครั้งนี้คือ นักการตลาดต้องเพิ่มจุดวางจำหน่ายให้มีขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพให้เห็นมากกว่านี้ และทำให้มีความสะดวกในการพกพาหรือหิ้วกลับไปรับประทานได้ง่ายขึ้น

นอกจากนั้น การศึกษาของ NPD Group ในการออกรายงานประจำปี ครั้งที่ 23 เกี่ยวกับแพตเทิร์นการกินอาหารของคนอเมริกัน และระบุว่ามีความชัดเจนขึ้นว่าคนอเมริกันเลือกที่จะบริโภคอาหารที่มีผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มีไขมันหรือไขมันต่ำ

พฤติกรรมดังกล่าวมาจากการเลือกอาหารที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ แต่ไม่ใช่การมุ่งที่จะไดเอตเป็นหลักอย่างที่เคยสำรวจพบในอดีตแต่อย่างใด โดยความใส่ใจต่อสุขภาพนี้เกิดขึ้นทั้งการเลือกอาหารหลักและการเลือกซื้อขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพ

สำหรับคนอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพควรจะมีส่วนผสมของผลไม้อยู่ด้วย ไม่มากก็น้อย

ที่สำคัญคนอเมริกันมีการวางแผนการซื้อขนมขบเคี้ยวล่วงหน้ามากขึ้น แทนที่จะซื้อด้วยแรงกระตุ้นเป็นหลักเหมือนก่อน โดย 70% ของคนที่สำรวจระบุว่าตนเลือกซื้อขนมขบเคี้ยวล่วงหน้าประมาณ 6 ชั่วโมงก่อนที่จะบริโภคจริง

พฤติกรรมการบริโภคขนมขบเคี้ยวก็มีการปรับเปลี่ยน แทนที่จะกินแบบเพียวๆ ไปเป็นการกินขนมขบเคี้ยวในระหว่างการดื่มกาแฟ และควบคู่กับกลุ่มถั่วนัต ผลไม้ และธัญพืช และมักนิยมกินในตอนมื้อเช้ามากขึ้น

นอกจากนั้น ยังมีการค้นพบว่าคนอเมริกันเริ่มกินอาหารเช้ากันมากขึ้น จนทำให้อัตราส่วนของคนที่อดอาหารเช้าลดลงต่ำที่สุดตั้งแต่มีการสำรวจเรื่องนี้มา

ที่สำคัญอาหารมื้อเช้าจะต้องมีผลไม้รวมอยู่ด้วย และอาหารเช้ายอดนิยมคือแซนด์วิชที่มีบรรดาผักชนิดต่างๆ อย่างเพียบพร้อม โดยแซนด์วิชกลายเป็นอาหารหลักในมื้อเช้าอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ ส่วนรองลงมาคือ การเลือกกินสลัดที่มีผักชนิดต่างๆ ก็มีความถี่ไม่น้อยกว่า 1 ครั้งใน 2 สัปดาห์เช่นกัน

ผลการสำรวจที่สอดคล้องกันทั้งสองกรณี ชี้ว่าขนมขบเคี้ยวแนวสุขภาพ อาจจะปรับตำแหน่งทางการตลาดไปเป็นอาหารเช้ามื้อสุขภาพของคนที่ไม่ชอบกินอะไรหนักๆ ได้ไม่ยากนัก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us