Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
สวนของโคล้ด โมเนต์ที่จีแวร์นี             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




รายการโทรทัศน์ของฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล เมื่อย่างเข้าหน้าร้อน รายการประจำค่อยๆ หายไป ด้วยว่าผู้จัดผลัดกันไปพักร้อน ปล่อยให้ “ผู้ที่พักร้อน” มาตลอดปี

มีโอกาสจัดรายการในฤดูตากอากาศ รายการหนึ่งที่ชอบดูคือ Secrets d’histoire-เรื่องลับในประวัติศาสตร์ จัดโดยสเตฟาน แบร์น (Stephane Berne) หนุ่มสังคมผมหยิกหย็องทางช่อง France 2 สเตฟาน แบร์นถือเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องราชวงศ์ในยุโรป

ในแต่ละตอนของ Secrets d’histoire สเตฟาน แบร์นจะพาไปชมสถานที่ที่เกี่ยวเนื่อง พร้อมกับสัมภาษณ์นักประวัติศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในแขนงนั้นๆ จึงได้เกร็ดความรู้หลากหลาย แม้จะไม่สามารถอ้างอิง ได้ก็ตาม

ตอนหนึ่งของ Secrets d’histoire เกี่ยวกับจีแวร์นี (Giverny) ของโคล้ด โมเนต์ (Claude Monet) สวนสวยของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ไม่น่าจะเข้ากับรายการ Secrets d’histoire ได้ ต่อเมื่อคำนึงถึงผู้เข้าชมนิทรรศการของโคล้ด โมเนต์นับล้าน คนที่ปารีสในปี 2010 อีกทั้งนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่เดินทางไปชมบ้านและสวนของโคล้ด โมเนต์ที่จีแวร์นีแล้ว สเตฟาน แบร์นจึงทำสารคดีเกี่ยวกับจีแวร์นี เพราะโคล้ด โมเนต์และจีแวร์นีเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ แม้จะเป็นประวัติศาสตร์ศิลป์ก็ตาม

รายการเริ่มจากเล่าประวัติและวิถีชีวิตของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ผู้นี้ โคล้ด โมเนต์ชอบเขียนการ์ตูนล้อเลียนครูที่กำลังสอน ไม่ค่อยสนใจการเรียน ภาพล้อเลียนนำไปฝากขายที่ร้านของอา บังเอิญให้เออแจน บูแดง (Eugene Boudin) จิตรกรทิวทัศน์มาเห็นเข้า จึงขอพบเพราะเห็นว่าเส้นสายที่ขีดเขียนบ่งบอกอนาคตรุ่งในการเขียนรูป เขาชวนโคล้ด โมเนต์ไปเขียนรูปแนะนำให้สังเกตแสงสีของทะเล ท้องฟ้าและธรรมชาติ หลังจากนั้นโคล้ด โมเนต์ก็มุ่งสู่ปารีส ขณะนั้นอายุเพียง 19 ปี เข้าร่วม กลุ่มกับอัลเฟรด ซิสเลย์ (Alfred Sisley) กามีย์ ปิสซาโร (Camille Pissarro) และชักชวนกันไปเขียนรูปนอกสถานที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ป่าฟงแตนโบล (Fontainebleau) หรือนอร์มองดี (Normandie)

จิตรกรไส้แห้งคงไม่เกินความจริง ด้วยว่าโคล้ด โมเนต์มีชีวิตค่อนข้างขัดสน แต่โชคดีที่ได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง ต่อเมื่อภาพเขียนของเขาต้องใจเศรษฐีอเมริกัน เขาจึงพอลืมตาอ้าปากได้

โคล้ด โมเนต์แต่งงานครั้งแรกกับกามีย์ ดงซิเออซ์ (Camille Doncieux) มีลูกด้วยกัน 2 คน คือ ฌอง (Jean) และ มิเชล (Michel) กามีย์เสียชีวิตขณะอายุเพียง 32 ปี โคล้ด โมเนต์เศร้าโศกมาก เขา เขียนรูปภรรยาป่วยหนักบนเตียงและในโลงศพ

แอร์เนสต์ โอชเด (Ernest Hoschede) ขอให้โคล้ด โมเนต์เขียนฉากสำหรับประดับปราสาทรอตเตมบูรก์ (chateau de Rottembourg) แต่เขาล้มละลายเสียก่อน ต่อมาภรรยาของเขาพาลูกไปพักผ่อนบ้านเดียวกับครอบครัวของโคล้ด โมเนต์ อลิซ โอชเด (Alice Hoschede) และโคล้ด โมเนต์แอบมีสัมพันธ์กัน เมื่อแอร์เนสต์ โอชเดเสียชีวิต อลิซ จึงกลายมาเป็นภรรยาคนที่สอง ของโคล้ด โมเนต์ อลิซมาจากครอบครัวผู้มีอันจะกิน เธอสนับสนุนให้สามีรังสรรค์งานศิลป์ พร้อมจะรับรองเพื่อนอาร์ติสต์อย่างปอล เซซานน์ (Paul Cezanne) ปิแอร์ บอนนารด์ (Pierre Bonnard) โอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ที่บ้านที่จีแวร์นี

โคล้ด โมเนต์ติดใจธรรมชาติที่จีแวร์นี จึงซื้อที่และสร้างบ้าน ทำสวนสวยด้วยดอกไม้หลากสีและนานาพันธุ์ เขามีความสุขกับที่นี่ เลือกมุมเขียนรูป เขาเดินทางไปเขียนรูปโบสถ์เมืองรูออง (Rouen) อันมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่สวยงาม เขาเขียน ภาพโบสถ์ทีเดียวหลายรูป เนื่องจากแสง แดดเปลี่ยนไปตามเวลา จากเช้าตรู่ภาพหนึ่ง สายหน่อยภาพหนึ่ง บ่ายอีกภาพหนึ่ง บ่าย จัดอีกภาพหนึ่ง ปฏิบัติเช่นนี้เสมอมา วันใดที่อากาศทึมๆ เขาจะรู้สึกเศร้าและไม่สามารถเขียนรูปได้ เป็นที่รู้กันว่าอากาศใน นอร์มองดีจะชื้นด้วยฝนและทึมๆ โคล้ด โมเนต์จะเขียนจดหมายถึงอลิซคร่ำครวญว่าจะเลิกเขียนรูปที่รูอองแล้ว แต่พลันที่แสงแดดมาก็เกิดพลังที่จะเขียนรูปต่อ การ เขียนรูปแบบนี้ทำให้โคล้ด โมเนต์ต้องจากบ้านไปคราวละนานๆ

อลิซเป็นคู่ชีวิตที่อยู่เคียงข้างโคล้ด โมเนต์เสมอมา เมื่อเธอเสียชีวิตลง โคล้ด โมเนต์จึงเศร้าโศกยิ่งกว่าเก่า เขาซึมเศร้าและเลิกเขียนรูปไปเลย หากเขาได้เพื่อนดีอย่างจอร์จส์ เคลมองโซ (Georges Clemenceau) ทั้งสองมีรสนิยมเดียวกัน ชอบอาหารอร่อย ศิลปะจีน เมืองเวนิส และ สวนสวย ทั้งสองเขียนจดหมายถึงกันกว่า 150 ฉบับ จอร์จส์ เคลมองโซขู่ว่าถ้าโคล้ด โมเนต์เลิกเขียนรูป เขาจะไม่มาพบอีกเลย และจอร์จส์ เคลมองโซนี่เองที่คะยั้นคะยอให้เพื่อนไปผ่าต้อกระจกเพื่อจะได้เขียนรูป Nympheas-ดอกบัว ต่อให้เสร็จ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง โคล้ด โมเนต์จึงมอบภาพขนาดใหญ่อย่าง Nympheas ให้รัฐ โดยมอบผ่านจอร์จส์ เคลมองโซซึ่งต้องต่อสู้ให้ติดตั้งภาพนี้ที่พิพิธภัณฑ์ออรอง เจอรี (Orangerie) ในบริเวณสวนตุยเลอรีส์ (Tuileries)

อลิซมีลูก 3 คนคือ ซูซาน (Suzanne) บลองช์ (Blanche) และฌาคส์ (Jacques) ภายหลังบลองช์แต่งงานกับฌอง โมเนต์ ลูกชายคนโตของโคล้ด โมเนต์ เมื่อฌองเสีย ชีวิต บลองช์กลับมาพำนักที่บ้านที่จีแวร์นี เธอเป็นลูกเลี้ยงที่ติดตามโคล้ด โมเนต์ไปเขียนรูปตั้งแต่เด็ก กลับมาครั้งนี้เธอก็ทำแบบเดิม ตั้งขาตั้งเคียงกัน ต่างคนต่างเขียน รูป เป็นความสุขในบั้นปลายของโคล้ด โมเนต์

ผลจากการผ่าตาต้อ ทำให้โคล้ด โมเนต์มองเห็นแสงผิดแผกจากธรรมชาติ ดังเห็นได้จากภาพเขียนที่มีสีรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีแดง ฝีแปรงพลอยแรงไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญงานศิลป์เห็นว่าจิตรกรดัง ผู้นี้เปลี่ยนสไตล์การเขียนรูปจากอิมเพรส ชั่นนิสต์สู่วิถีแอ็บสแทร็คต์

ในรายการ Secrets d’histoire เกี่ยวกับจีแวร์นีนี้ แขกรับเชิญคนหนึ่งของ สเตฟาน แบร์นคือ ฟิลิป ปีเกต์ (Philippe Piguet) หลานโหลนของโคล้ด โมเนต์นั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us