Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
การศึกษาไทยกับความเป็นนานาชาติ 3             
โดย ชาคริต เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Education




สองฉบับที่ผ่านมาผมพูดถึงการศึกษาไทยกับการไปสู่นานาชาติในระดับประถมและมัธยมศึกษา ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงระดับอุดมศึกษา จากผลการวิจัยความพร้อมของไทยเกี่ยวกับอาเซียน ผลปรากฏว่าความพร้อมของประเทศไทยตอนนี้อาการน่าเป็นห่วง ตามข่าวที่หลายแห่งนำเสนอ ตรงนี้ไม่รวมถึงการซื้อขายปริญญาในมหาวิทยาลัยบางแห่ง จนเป็นข่าวฉาวโฉ่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำถามที่เราต้องตอบคือ ปัญหาของการศึกษาไทยในระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ไหน อะไรคืออุปสรรคของเราในการไปสู่ระดับนานาชาติ

ปัญหาในปัจจุบันสามารถแยกเป็นประเด็นใหญ่ๆ คือ ปัญหาจากสังคมและค่านิยมของไทยที่มีผลต่อการศึกษา ปัญหาจากการวางแผนและแนวคิดต่อการศึกษาระดับนานาชาติ ส่วนแรกขอพูดถึงค่านิยมของคนไทยก่อน ทุกครั้งที่ผมออกไปพูดเกี่ยวกับการศึกษาให้กับนักศึกษาหรือผู้ปกครองของไทย จะพบว่าทัศนคติของผู้ปกครองคือลูกต้องเรียน มหาวิทยาลัยปิดของรัฐที่พวกเขาคิดว่าดีที่สุด โดยไม่ได้ศึกษาว่านอกจากค่านิยมแบบ stereotype เดิมๆ ที่พวกเขาโดนปลูกฝังมา เช่น ต้องให้ลูกเรียนดีๆ เรียนหนักๆ เพื่อเข้า มหาวิทยาลัยรัฐบาลที่ดีๆ ดังนั้นจึงต้องให้ลูกๆ เรียนหนัก 6 วันตั้งแต่ 3 ขวบ ต้องหาอนุบาล ดีๆ เรียนห้าหกวัน จบอนุบาลมาบวกลบคูณหารเป็น ผมมองว่าที่ได้ยินมาจากเพื่อนๆ แม้แต่ญาติๆ พาลูกไปเข้าเรียนจะเจอกับคำพูดว่า อนุบาลของเราเน้นให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่ มีวิชาการที่แน่น สามารถเข้าโรงเรียนเอกชนดีๆ โรงเรียนสาธิตที่นั่นที่นี่ได้ เราเน้นการเรียน พิเศษ เรียนเสริม และอื่นๆ ทำให้ผู้ปกครองในรุ่นเดียวกับผมมีสีหน้าเคลิบเคลิ้มราวกับว่า เพียงลูกเดินเข้าอนุบาลนี้ความสำเร็จจะลอยมา จากนั้นก็ไปค่อนแคะลูกของคนอื่นๆ ว่า ลูกเธอ 4 ขวบแล้วทำไมยังไม่เข้าอนุบาลอีก ผมก็อยากจะถามเหมือนกันว่าท่านผู้อ่านที่ประสบความสำเร็จท่านใดพอที่จะออกไปบอกว่า “ที่ผมประสบความสำเร็จทุกวันนี้ เพราะผมเรียนอนุบาลที่... อนุบาลนี้สอน 6 วันต่อสัปดาห์ ผมเอาแต่เรียนๆๆ เลยมีทุกวันนี้”

ผมมองสังคมกับค่านิยมไทยแล้วคิดดังๆ ว่า มิน่าประเทศเราถึงแตกความสามัคคี เรียนหนังสือยังแสดงความโลภ ความเห็นแก่ตนเอง ไปปลูกฝังเด็กว่าต้องเรียนมากๆ ต้องโกยมากๆ สอนเด็กให้คิดเหมือนคนอื่นเลยต้องแข่งกับคนอื่น คนทั้งโลกเป็นศัตรู เป็นคู่แข่ง แต่ผมยังไม่เคยเห็นอนุบาลสักแห่งในไทย ที่บอกว่า มาที่นี่จะสอนความรู้รอบตัวให้ลูกๆ ของคุณคิดเพื่อสังคม มีจิตสาธารณะ เห็นคนพิการก็ช่วยเหลือ อยู่บนรถไฟฟ้าก็รู้จักลุกให้คนแก่นั่ง เราจะเน้นพรหมวิหาร 4 สอน ลูกหลานคุณให้มีเมตตาคนที่ด้อยกว่า กรุณาทุกคนที่เราเห็นว่าเราควรช่วย มุทิตากับคนที่เสมอกัน รู้จักยินดีกับเพื่อนที่ประสบความสำเร็จ อุเบกขาเวลาที่เราเห็นคนที่เราไม่ชอบประสบความสำเร็จ ถ้ามีโรงเรียนอนุบาลแบบ นี้ผมจะเอาลูกหลานไปเข้าให้หมด เพราะนี่คือ การคิดแบบต่างประเทศ การคิดเพื่อคนอื่น ทำไมอเมริกา อังกฤษ แคนาดา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ เขาเจริญกว่าเรา เพราะในอนุบาลเขาปลูกจิตสาธารณะให้คนอื่น ประเทศ ที่เรียนกันเพื่อตนเอง คิดเหมือนคนอื่นอย่างจีนแดง ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม อินเดีย และไทย ไม่เห็นจะเจริญสู้ประเทศพวกนี้ได้เลย เพราะนิยามของความสำเร็จเริ่มขึ้นที่จิตใต้สำนึก ว่าเราเป็นคนเห็นแก่ตน เองหรือไม่ แล้วสังคมเราจะดีเองถ้าเรารู้จักคิดเพื่อผู้อื่น

เมื่อวกมาเรื่องมหาวิทยาลัยรัฐ ผมก็อดที่จะพูดไม่ได้ว่าในความเป็นจริงแล้วมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีๆ ในไทยนั้นได้รับการ ประเมินดีกว่ามหาวิทยาลัยรัฐโดยทั้งภาครัฐและองค์กรอิสระอย่าง สกอ. หรือ สมศ. เสียอีก เพราะมหาวิทยาลัยเอกชนมีความพร้อมด้านเงินทุนในการว่าจ้างบุคลากรที่มีศักยภาพ ทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการลงทุนในอุปกรณ์เทคโนโลยีอย่างเห็นได้ชัด ผมยกตัวอย่างจากประสบการณ์ว่า สมศ. และ สกอ. ประเมินมหาวิทยาลัยรังสิตในระดับยอดเยี่ยม

ขณะที่การประเมินเดียวกันของ สกอ. หรือ สมศ.บ่งชี้ว่ามหาวิทยาลัยรัฐที่หลายคนชอบกล่าวอ้างว่าต้องไปให้ถึงกลับอยู่อันดับดี หรือพอใช้ ไม่ใช่ยอดเยี่ยมแบบมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำของไทยหลายท่านก็บอกกับผมตรงๆ ว่า ด้านนี้มหาวิทยาลัยรัฐตามหลังมหาวิทยาลัยเอกชนในระดับเดียวกันไม่รู้ว่ากี่ปี เพราะบางอย่างอาจจะเรียนจากตำราว่ามันมีอยู่และใช้อย่างไรจากตำรา หรือมีตัวอย่างแค่ 1-2 ตัวให้นักศึกษานับร้อยได้ดู ขณะที่มหาวิทยาลัย เอกชนชั้นนำนักศึกษาจะได้จับอุปกรณ์ของจริงแทบทุกคน มหาวิทยาลัยรัฐที่ยอดเยี่ยมมักจะได้รับคะแนนด้านวิจัยที่สูงลิบลิ่วแต่บาง แห่งด้านการเรียนการสอนต่ำกว่ามหาวิทยาลัย เอกชนชั้นนำ แต่เมื่อมาเฉลี่ยคะแนนก็ได้อันดับที่สูงกว่า

ผมก็ไม่แปลกใจแต่อย่างใดเพราะว่า สมัยที่ผมทำงานที่สถาบันวิจัยในต่างประเทศ ผมจะทราบว่ามหาวิทยาลัยหลายแห่งเน้นวิจัยกันมากกว่าสอนนักศึกษาปริญญาตรี นักศึกษาที่จะได้ประโยชน์คือปริญญาโทหรือปริญญาเอก เพราะอาจารย์จะมีเวลามาสอนวิจัยให้ ขณะที่ปริญญาตรีก็สอนแบบตามหน้าที่ บางแห่งที่ได้ทอป 15 ของโลกกลับให้นักศึกษาปริญญาเอกเป็นอาจารย์พิเศษสอนนักศึกษาปริญญาตรี อย่างไอวี่ลีกก็มีหนังสือออกมาโจมตีว่านิยมจ้างอาจารย์พิเศษหรือ Adjunct Professor เพื่อลดภาระการสอนของบรรดาศาสตราจารย์ดังๆ ให้ทำการวิจัยกับนักศึกษาปริญญาเอกของตนเอง โดยไปจ้าง อาจารย์พิเศษมาจากมหาวิทยาลัยอื่นหรือยกระดับนักศึกษาปริญญาเอกมาเป็น Adjunct ก็มีมาก ตรงนี้รวมถึงมหาวิทยาลัยระดับโลกที่เราได้ยินมาแทบทุกแห่ง เพราะคะแนนวิจัยเมื่อนำมาประเมินนั้นเท่ากับ 50% ของคะแนน ทั้งหมด แต่ใครได้ประโยชน์จากตรงนี้ ผมต้องขอออกตัวสักนิดว่าผมเองก็เป็นนักวิจัย แต่ก็อดสะอึกไม่ได้เวลาที่เจอศาสตราจารย์ด้านวิจัยจากมหาวิทยาลัยดังๆ ในโลกทั้งจากอเมริกา อังกฤษ หรือไทย ที่พูดในงานสัมมนาวิชาการเป็นการส่วนตัวกันหลายหนว่า สอนปริญญาตรีนี่เสียเวลา ไม่เห็นต้องสอนเลย เด็กพวกนี้เรียนแค่พื้นฐาน ให้นักศึกษาปริญญา เอก หรือจ้างคนนอกมาสอนก็ได้ มาถึงปริญญาโทเมื่อไหร่ค่อยเหมาะสมที่จะสอน ถ้าผู้ปกครองรู้แบบนี้ผมเองก็อยากทราบเหมือน กันว่า ค่านิยมที่คุณคิดมาตลอดว่าต้องให้ลูกเข้าเรียนที่นั่นที่นี่ เพราะคือความสำเร็จจะคิดอย่างไร เมื่อศาสตราจารย์ชั้นนำในโลกหลายคนมองลูกๆ ของคุณตอนเรียนปริญญา ตรีว่าเป็นส่วนเกินของพวกเขา ในขณะที่มหาวิทยาลัยที่เน้นการสอนจะให้พื้นฐานที่ดีที่สุดจากคณาจารย์ที่เขาคัดสรรมาแล้ว

ทำไมผู้ปกครองหรือเด็กถึงมีทัศนคติแบบนั้น ผมมองจากสองประเด็น 1. ลูกคือความหวังของพ่อแม่ เมื่อตอนเด็กๆ พ่อแม่หลายคนอยากเรียนที่มหาวิทยาลัยดังๆแต่ไม่มีโอกาส เมื่อมีลูกก็จะตั้งความหวังให้ลูกเรียนที่ที่ตนอยากเข้าแทน ตรงนี้ผมเจอค่อนข้างมาก 2. การไม่หาข้อมูลแต่รอกระแสสังคมว่าที่นั่นดีกว่าที่นี่ เป็นเหตุการณ์ที่ผมได้ บอกมาตั้งแต่ฉบับที่แล้วว่าทำให้เกิด lost generation กับเด็กๆ ในระดับมัธยมศึกษา เมื่อผมมีโอกาสเปรียบเทียบเด็กไทยกับเด็กต่างประเทศผมจะอดคิดไม่ได้ว่าน่าเป็นห่วงประเทศไทย เพราะเมื่อผมถามเด็กไทยว่าเลือกอะไร โดยมากจะยกมือบอกแพทย์หรือวิศวกรรมศาสตร์ แต่พอผมถามว่าทำไม น้อย คนที่จะหาคำตอบให้ผมได้ ที่ได้ยินมีตั้งแต่พ่อแม่บอกว่าดี หรือโดนไซโคมาแล้วเลยบอก ว่าอยากเป็น ผมมักจะถามต่อว่า ทำไมอยาก เป็น เพราะเมื่อเขาเชิญผมไปแนะแนวผมต้อง แน่ใจว่าคนที่มาฟังเป็นตัวจริงหรือไม่ คำตอบ ที่จะมีคนกล้าตอบจะลดลงไปอีก บ้างก็บอกเกี่ยวกับเรื่องเงินว่าเงินดี ซึ่งผมมองว่านั่นคือก้าวแรกของการเดินผิดทาง ถ้าเราทำอะไรเพื่อ เงิน เราจะขาดอุดมการณ์ทางความคิด ขาดจิตใจที่จะทุ่มเทเพื่องานนั้นจริงๆ และสุดท้ายเด็กเหล่านั้นจะประสบความล้มเหลวเพราะเขาเดินผิดทางมาตลอดชีวิตนั่นเอง

ผมไม่เคยบอกว่าการเรียนแพทย์หรือวิศวกรรมเป็นวิชาที่ไม่ดี เพราะทั้งสองสายคือ วิชาที่ดีที่สุดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เมื่อเราหันมามองจริงๆ เราจะพบปัญหาจากหมอหรือวิศวกรอย่างชัดเจน ข้อแรกคือหมอส่วนมากโดยเฉพาะในไทยจะออกมาวิพากษ์วิจารณ์คน หรือภาควิชาอื่นมาก โดยเฉพาะสายการเมือง เศรษฐกิจ หรือแม้แต่กฎหมาย ตรงนี้ไม่ใช่ว่าเขาเป็นพวกอยากจะแสดงความเป็นพหูสูต เพราะที่วิจารณ์หลายต่อหลายหนก็ผิดหลักการ จนทำให้นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ หรือนักเศรษฐศาสตร์มีเคืองเพราะสร้างความสับสนให้ประชาชนว่าเรื่องกฎหมายจะฟังหมอความ หรือหมออายุร เรื่องรัฐศาสตร์จะเชื่อดอกเตอร์ ออฟฟิลอซอฟี หรือเมดิคอลดอกเตอร์ เรื่องเศรษฐกิจจะฟังดอกเตอร์การเงินหรือหมอศัลย ก็คงจะเหลือไม่กี่อาชีพที่คุณหมอไม่ไปแย่งวิจารณ์ เพราะประกอบด้วยหมอเหมือนกันเช่น โหราศาสตร์ เขามีหมอดูอยู่แล้ว คุณหมอสูติคงไม่อยากไปวิจารณ์ให้เสียอารมณ์ ถ้าดาราคนไหนท้องไม่ท้องคุณหมอเขาพิสูจน์ได้ตามหลักการแพทย์ไม่ต้องคอนเฟิร์มออกหน้าจอโทรทัศน์ ตรงนี้เราอาจจะสงสัยว่าทำไมหมอที่มีหน้าที่รักษาคนไข้ในประเทศไทยจำนวนหนึ่ง กลับชอบออกสื่อวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ที่เขาไม่ได้เชี่ยวชาญ

ผมไม่ได้บอกว่าคนเป็นหมอไม่เก่ง แต่ถ้าอยู่ๆ มีนักจิตวิทยามาบอกว่า “การที่เราไปตรวจสุขภาพสามารถสร้างความตึง เครียดให้กับคนไข้เพราะถ้าฟังหมอมากๆ แล้ว จะเครียดจนสุขภาพจิตเสีย จึงขอสรุปว่าไม่ตรวจไม่เจอ ไม่ไปหาหมอไม่เป็นโรค” ถ้าโดน logic แบบนี้ผมเชื่อว่าคุณหมอคงมีเคืองนักจิตวิทยาสมมุติที่บังอาจมาก้าวก่ายงานของหมอแต่ในทางเดียวกันหมอบางท่านก็อาจจะทำความเคืองให้นักกฎหมาย นักรัฐศาสตร์ นักการเงินเหมือนกันเพราะมาจาก logic เดียวกัน ผมต้องมองว่าปัญหานี้มาจากไหน ผมมองว่าคุณหมอที่ออกมาวิจารณ์เรื่องใดก็ตามแปลว่าลึกๆ แล้วนั่นคือสิ่งที่หมอท่านนั้น สนใจอยากเป็น แต่สภาพสังคมบอกว่าคุณต้องเป็นหมอเพื่อพิสูจน์ตนเอง เช่นเดียวกับนักวิศวกรรมที่ในประเทศเอเชียจะพบไม่น้อยว่าเมื่อทำงานสักพักก็จะไปศึกษาต่อปริญญาโทด้านธุรกิจ หรือด้านรัฐศาสตร์แล้วเบนเข็มไปด้านอื่น นั่นก็เพราะว่าสังคมไทยต้องการให้ นักศึกษาพิสูจน์ตนเองว่าต้องเป็นหมอ เป็น วิศวะถึงจะเก่ง แล้วทำให้เกิดค่านิยมผิดๆ รวมทั้งทำให้เกิดการเปลี่ยนสายการทำงานอย่างน่าเสียดาย

ปัญหาที่สองย่อมสืบเนื่องมาจากปัญหาแรก เพราะกลุ่มที่พบตนเองย่อมเป็นส่วนน้อย และที่พบแล้วกล้าหาญที่จะเปลี่ยนสายงานนั้นย่อมน้อยกว่ามากแล้ว ส่วนมากจะเกิดอะไรขึ้นหรือครับ เขาก็จะย้ำคิดย้ำทำกับงานที่เขาไม่ชอบและประสบความล้มเหลว ในที่สุด ผมมองว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว เขาให้ความสำคัญกับทุกอาชีพทำให้เงินเดือน อยู่ในอัตราที่ไล่เลี่ยกัน การศึกษาไม่ได้เป็นตัววัดค่าของสังคม คนที่จบปริญญาเอกก็เป็น นักวิชาการไปตามที่ตนเองเลือก คนที่เรียนจบปริญญาโทหรือปริญญาตรีก็ต่างกันแค่สายงาน คนจบอาชีวะก็ทำงานสายอาชีพ ดังนั้นคนที่เลือกที่จะเดินทางไหนต้องมาจากใจของเขาจริงๆ โดยที่ค่าตอบแทนต้องดูที่เนื้องานและศักยภาพของคน ไม่ใช่ว่าจบช่างมาแล้วต้องได้เงินน้อยกว่าวิศวกร แต่เป็นแค่คนละหน้าที่ไม่มีใครเหนือกว่าใคร เมื่อหันมา มองในบ้านเราผู้ปกครอง ญาติ เพื่อนและสังคมเลือกทางเดินชีวิตให้นักเรียน หลายครั้งกลับเป็นทางที่เด็กเขาไม่ชอบแล้วเขาต้อง อยู่กับมันไปตลอดชีวิต คิดว่าสิ่งนั้นเป็นความ สุขของลูกๆ หรือไม่ครับ เพราะว่าหมอหรือวิศวกรเป็นอาชีพ ไม่ใช่แค่ค่านิยมในการเรียน แต่มันคือชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขา

เมื่อหันมามองค่านิยมที่เจอทุกวันนี้ก็หนีไม่พ้นกับการที่จะบอกว่าอยากให้ลูกหลานของท่านเรียนมหาวิทยาลัยในไทยแต่เป็นโปรแกรมนานาชาติ ซึ่งผมก็ไม่ได้แปลกใจอะไร เพราะตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาเราเห็นความสำคัญของการศึกษาในระดับสากลโดยการให้บุตรธิดาไปเรียนต่างประเทศ ในทัศนคติของผม การเรียนโปรแกรมนานาชาติ ไม่ได้อยู่แค่การเรียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ผมยังมองเสียด้วยซ้ำว่าในภาคอีสาน ภาคใต้ หรือภาคเหนือ ควรที่จะจัดเรียนโปรแกรมนานาชาติภาษาลาว ภาษาจีน ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษาฝรั่งเศส หรือภาษามลายูเสียด้วยซ้ำ ไม่ใช่เรียนแต่ภาษานะครับ ผมหมายถึงเรียนวิชาการเป็นภาษานั้นๆ เพราะเราเสียเปรียบเพื่อนบ้านของเราตลอดเวลา ลาว เขมร พม่า เวียดนาม เขารับสื่อไทยได้ เขารู้ว่าเราคิดอย่างไร แต่เวลาเขาปรึกษากันเป็นภาษาของ เขา เราไม่ทราบว่าเขาคิดอย่างไร ถ้าวัดตาม พิชัยสงครามเราแพ้เขาตั้งแต่อยู่ในมุ้งแล้ว เพราะเราไม่รู้เขา แต่เขารู้ทั้งเราและรู้ตนเองด้วย เพราะเมื่อบ้านเราทุกวันนี้ให้ความสำคัญ กับภาษาอังกฤษเพราะแม้แต่อาเซียนทุกวันนี้ ยังใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง

ประเทศไทยของเราในอดีตที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่เริ่มการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ตาม ด้วยองค์กรระหว่างประเทศหรือเอกชน เช่น AIT ที่เน้นการเรียนการสอนในระดับปริญญาโทและเอก ตามด้วยโปรแกรมศิลป์และของนิด้าในเวลาต่อมาที่เน้นระดับปริญญาโทและ เอก ในระดับปริญญาตรีหลังจากเอแบคแล้ว มหาวิทยาลัยเอกชนคือ มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยกรุงเทพทำการเปิดโปรแกรม นานาชาติในช่วงปี 2533 ก่อนที่มหาวิทยาลัย รัฐคือ มหาวิทยาลัยมหิดล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และน้องใหม่คือมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มเปิดโปรแกรมนานา ชาติ รวมถึงเอกชนอย่างสแตมฟอร์ด ศรีปทุม หรือพายัพ ที่ออกมาเล่นในวงการนี้ ผมขอแบ่งโปรแกรมนานาชาติเป็นสองแนวหลักๆ ที่เราเห็นในประเทศไทย จะมาดูจุดอ่อนและจุดแข็งของโปรแกรมเหล่านี้

โปรแกรมนานาชาติแบบแรกคือโปรแกรมของไทย นำมาแปลเป็นภาษาอังกฤษและสอนเป็นภาษาอังกฤษ ในหลายมหาวิทยาลัย โปรแกรมเหล่านี้จะบริหารโดยคณะต้นแบบเอง เช่น คณะบัญชีมหาวิทยาลัย รังสิต เปิดโปรแกรมนานาชาติของตนเอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เปิดรับตรงโปรแกรมความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ หรือคณะบัญชี จุฬาลงกรณ์มหา วิทยาลัย เปิดโปรแกรมบริหารธุรกิจ จุดอ่อน และจุดแข็งของโปรแกรมเหล่านี้มีอยู่รวมกัน จุดแข็งคือการได้เรียนได้สอนจากคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เนื่องจากโปรแกรม นานาชาติเป็นโปรแกรมที่มีค่าตอบแทนที่สูงกว่าโปรแกรมไทย คณาจารย์หลายท่านจึงเต็มใจที่จะสอนในระดับปริญญาตรี ในขณะที่ โปรแกรมไทยอาจจะไม่ได้โอกาสเช่นนี้ เมื่อพูดถึงจุดเด่นแล้วก็ต้องมีจุดด้อย นั่นคือการบริหารโดยส่วนคณะจะไม่สามารถดึงดูดนักศึกษาต่างชาติได้เท่าที่ควร ทำให้กว่า 80 เปอร์เซ็นต์คือนักศึกษาไทย ต่อให้เรียนเป็นภาษาอังกฤษ สุดท้ายศักยภาพที่ออกมาก็ไม่ดีไปกว่าโปรแกรมไทยสักเท่าไร เพราะนักศึกษาจะเรียนแต่กับเพื่อนชาวไทย แต่ต้องจ่ายค่าเทอมที่แพงกว่า 2-3 เท่า

โปรแกรมแบบที่สองคือโปรแกรมที่เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศแต่จะมีน้อยมาก ในบ้านเรา คือโปรแกรมแบบบูรณาการ หรือ ที่ฝรั่งเขาเรียกกันว่า Multi-disciplinary หรือ Interdisciplinary ในจุดอ่อนแล้วโปรแกรมแบบนี้จะไม่ได้ขึ้นกับคณะใดคณะหนึ่งแต่จะเป็นโปรแกรมที่บริหารจัดการโดยวิทยาลัยนานาชาติของแต่ละมหาวิทยาลัยทำให้การสรรหาคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญจากแขนงต่างๆ มาทำการสอนต้องทำการว่าจ้างใหม่หรือขอความร่วมมือจากคณะต่างๆ ส่งผลให้มีค่าเล่า เรียนที่สูงกว่าโปรแกรมแบบแรกเสียอีก แต่ในจุดอ่อนก็คือจุดแข็ง เพราะวิชาเหล่านี้ แท้ จริงแล้วคือกระดูกสันหลังในการพัฒนาของประเทศที่พัฒนาแล้ว ขณะที่ผมต้องบอกว่าเวลาอธิบายให้ผู้ปกครองไทยที่เซลล์สมองมุ่ง แต่หมอ วิศวะ อักษร นิติ ฟังแล้วผมก็ออกจะเห็นใจนักเรียนไทย เพราะบ้านเราไม่ทราบ ถึงความสำคัญของการศึกษาเชิงบูรณาการ เพราะไม่รู้ว่าคืออะไร เรียนแล้ว จะทำอะไรได้ จุดแข็งที่สำคัญคือการสร้างให้นักศึกษามีความรู้ในวงกว้างและลึก โปรแกรมเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่มีคณาจารย์ไทยที่สอนได้น้อย มากจึงต้องว่าจ้างอาจารย์ต่างชาติหรืออาจารย์ ไทยรุ่นใหม่ที่สอนหรือเรียนแขนงนี้ ในต่างประเทศ ทำให้มีวิสัยทัศน์ที่เหมาะกับศตวรรษ ที่ 21 อย่างแท้จริง นอกจากนี้โปรแกรมเหล่านี้ อาจจะดึงดูดนักศึกษาไทยได้น้อยแต่นักศึกษา ต่างชาติกลับเข้ามาเรียนมาก สัดส่วนนักศึกษาต่างชาติอยู่ที่ 35-55% ทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนา Skills ด้านภาษาได้อย่างแท้ จริง เช่น โปรแกรม Philosophy, Politics and Economics ของมหาวิทยาลัยรังสิตที่เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่มีสิทธิสอน

ผมมักจะ surprise ที่ผู้ปกครองไทย ถามว่าใครเรียนกัน เรียนทำไม ปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ผมมองว่าในสหภาพ ยุโรปเขาพิสูจน์แล้วว่าคนที่มีความรู้แบบนื้คือ สุดยอด เพราะโลกถูกขับเคลื่อนโดยการเมือง และเศรษฐกิจ แต่สิ่งที่ขับเคลื่อนคือมนุษย์ที่มีความหลากหลายทำให้เราต้องเรียนปรัชญา เพื่ออ่านคน ผมบอกว่าในไทยเราอาจจะใหม่ แต่ถ้าในต่างประเทศนั้น มหาวิทยาลัย Oxford เป็นผู้ริเริ่ม ก่อนจะลามไปที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ของโลกอย่างฮาร์วาร์ด เยลล์ แมนเชสเตอร์ เอกซ์เตอร์ ลุดวิคมักซิมิลลัน โอทาโก ลาโทรป แคนเทอเบอรี่ วาเซดะ ปักกิ่ง ต่างแย่งกันเปิด เพื่อพัฒนาประเทศและบุคลากรของตนเอง ส่วนที่ถามว่าใครบ้างที่เรียนแล้วประสบความ สำเร็จ ก็ให้ดูเดวิด คาเมรอน อภิสิทธิ์ เวชชา ชีวะ จากการเมือง สตีเฟน เฮสเตอร์ CEO ของธนาคารระดับโลกอย่าง RBS เอสเตียน เดอ วิลล์ ประธานกรรมการสื่อระดับโลกอย่าง BBC ซึ่งผู้ที่จะประสบความสำเร็จในโลกอนาคตคือคนที่รู้จักการมองที่กว้าง มีวิสัยทัศน์ ที่มองเห็นโอกาส

นอกจากวิชา PPE แล้ว มหาวิทยาลัย หลายแห่งก็จะเปิดโปรแกรมบูรณาการ เช่น BBA แขนง International Business ซึ่งเน้นการทำธุรกิจระหว่างประเทศ โปรแกรมนิเทศ ศาสตร์ หรือ Communication Arts ก็เป็นโปรแกรมหลักที่มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยกรุงเทพแย่งชิงพื้นที่การเป็นอันดับหนึ่งของไทย เพราะมหาวิทยาลัยรังสิต ก็ได้ลงทุนนำเทคโนโลยีระดับฮอลลีวูดมาลง เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นของจริงกันทีเดียว วิชา Information and Communication Technology ก็เป็นแขนงใหม่ที่เปิดกันในหลายสถาบันทั่วไทย International Relations and Development จะเป็นแขนงที่เน้นการทูตและการพัฒนาที่มหาวิทยาลัยรังสิตและธรรมศาสตร์ให้ความสำคัญ ส่วนของมหาวิทยาลัยรังสิตก็มีโปรแกรมน้องใหม่อย่าง Asian Business Leadership ซึ่งเน้นการเป็นผู้นำเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2005 และโปรแกรม International Marketing, Brand Management and e-Business ที่มุ่งเน้นในการแก้ไขปัญหาหลักของไทยคือการสร้างยี่ห้อไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับโลก เพราะเราอาจจะมีสินค้าดีๆ มากมายแต่เราไม่มีศักยภาพที่จะพัฒนาไประดับโลกเพราะเราเน้นแต่การเรียนที่ย้ำคิดย้ำทำอยู่ในกรอบโดยไม่คิดนอกกรอบ เลยไปได้ไม่ไกลเสียที และนี่คือข้อแตกต่างระหว่างคนไทยกับคนต่างประเทศ เพราะฝรั่งเขาเรียนรู้ ภาพกว้างและเน้นการคิดการพิจารณาและ analyse ข้อมูลในเชิงลึก

ในขณะที่การศึกษาของไทยเน้นการท่องจำ การรู้ให้ลึก แต่ไม่รู้เหตุและผลของสิ่ง ที่เกิดขึ้น ไม่มีความกล้าที่จะเดินออกไปนอกกฎเกณฑ์ที่พ่อแม่ครูและสังคมกำหนด คนที่จะประสบความสำเร็จ คือคนที่มีความฝันและ กล้าที่จะก้าวเดินตามฝันของตนไม่ว่าจะยากเย็นเพียงใด เพราะเขามีหัวใจที่จะทำ ในขณะ ที่คนที่มีเป้าหมายแต่เดินโดยขาดจิตใจก็จะหลงทาง ผมมักจะตั้งคำถามว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเขาต้องการอะไร เป้าหมาย ที่มาจากความฝัน หรือเป้าหมายจากผลตอบ แทน คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าเพื่อความฝันแล้ว เรายอมที่จะสู้แม้ว่ามันจะยากเพียงใดจะต้องล้มลุกคลุกคลานสักกี่หน แต่ถ้าทำเพราะเงิน เพราะมีคนบอกว่าดี หรือเพราะค่าตอบแทน คุณเชื่อหรือว่า นักเรียนแพทย์ที่อยากเป็นแพทย์เพราะเงินจะมีอุดมการณ์สู้หมอที่เป็นหมอด้วยใจได้ นักเรียนกฎหมายที่อยากเป็นผู้พิพากษาเพราะเงินเดือนที่ดี จะเป็นผู้พิพากษาที่ดีสู้คนที่ยึดมั่นในความยุติธรรมได้อย่างไร

ถ้าใครอยากเป็นอะไรสักอย่างเพื่อเงิน ผมคงบอกเขาว่าอย่าทำเลย ถ้าทำเพราะคนอื่น บอกว่าดี เขาถามตนเองหรือยังว่าเขาเป็นใคร เขาอยากทำอะไร ฝรั่งเขาให้ลูกเขาหาตัวเองให้เจอ คนทุกคนของเขาที่ไปเรียนด้วยใจจึงออกมาเป็น Effective Population ในขณะที่ คนไทยไปวางกรอบว่าอนุบาลต้องเรียน 6 วัน ประถมต้องเรียนพิเศษ มัธยมต้องเรียนสายวิทย์ มหาวิทยาลัยต้องเข้าสายไหน เพราะคิด แบบนี้เราถึงออกมาเป็น Lost Generation ถึงเวลาหรือยังครับ ที่สถาบันศึกษาของไทยเริ่มคิดว่าตนเองเกิดมาเพื่อใคร โรงเรียนอนุบาล ประถม มัธยม แม้แต่มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นมาเพื่อนักเรียนนะครับ สิ่งที่คุณมอบให้เขาไม่ใช่แค่การเรียนที่พ่อแม่เด็กพอใจ แต่คุณต้องทำให้เด็กพึงพอใจและประสบความสำเร็จด้วย ส่วนหน้าที่ของครูบาอาจารย์คืออะไร คือการวิจัยเพื่อยกวิทยฐานะ หรือเพื่อการสร้าง profile ไประดับโลกหรือเพื่อจัดโปรแกรมโหดๆ พ่อแม่เด็กจะได้จ่ายเงินเยอะๆ หรือ เปล่าเลย ผมเป็นอาจารย์เพราะผมศรัทธาจากคำสอนของศาสตราจารย์ของผม ท่านสอนผมว่าหน้าที่การสอนของอาจารย์ที่ดีมีสามอย่าง

1. สอนนักศึกษาให้เขารู้อย่างแตกฉาน ในเชิงวิชาการ

2. สอนให้เขารู้จักชีวิตโดยใช้ประสบ การณ์ของเราบอกเขา สอนให้เขาได้ทดลองและสนุกกับการใช้ชีวิตและให้เขาค้นพบตนเอง เพราะวัยเรียนคือวัยเดียวที่นักเรียนจะได้ลองผิดลองถูก จะสามารถทำผิดได้โดยไม่มีบทลงโทษจากสังคมและกฎหมาย

3. สอนให้เขารู้จักความรับผิดชอบต่อสังคม รู้จักรักคนอื่น รู้จักการเสียสละเพื่อผู้อื่น นิยามนี้ไม่ได้จำกัด แค่อาจารย์มหา วิทยาลัยเท่านั้น แต่หมายถึงทุกคนที่เป็นครูไม่ว่าจะอยากเป็นคิดที่จะเป็น จำใจเป็น ออกสื่อแล้วอยากให้คนเรียกว่าอาจารย์ ผมก็ขอให้ทุกท่านจำไว้ว่า เมื่ออยากให้คนเรียกว่า ครู ว่า อาจารย์ ก็ขอให้ทำหน้าที่ของอาจารย์ ให้สมบูรณ์ ถ้าคิดว่าจะเป็นเพื่อเงิน เพราะหา งานไม่ได้ เพื่อความเท่ เพราะเป็นอาจารย์แก่ๆ ยังดูดีกว่าอาชีพอื่นก็ขอให้เปลี่ยนทัศนคติ เสียหรือหาทางเดินใหม่ เพราะถ้าครูไม่ได้เป็นด้วย ใจก็ไม่สามารถที่จะสร้างประชาชนที่ดีให้สังคม ได้ อย่าคิดว่าเด็กเขาไม่รู้นะครับ เด็กเขาทราบ เสมอว่าใครเป็นครูที่ดี

ในสังคมของเราผมเองก็เชื่อว่าเมื่อเราทำให้เกิดสังคม เรารู้จักคิดเพื่อผู้อื่นไม่ใช่แข่งขันกับคนอื่น รู้จักให้เด็กได้คิดได้เป็นตัว ของเราเอง เราก็พร้อมที่จะก้าวไปสู่ระดับโลก อย่างไม่มีใครมาฉุดเราได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us