Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
ตลาดลำไยในจีน             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท อาร์ เค ฟู๊ด จำกัด

   
search resources

Agriculture
Food and Beverage
อาร์ เค ฟู๊ด, บจก.
กาญจนา พงศ์พฤกษทล




ประเทศจีนมีอัตราการเติบโตของจีดีพี 8 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากความต้องการอุปโภคบริโภค ทำให้ตลาดประเทศไทยได้รับผลดีในการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะธุรกิจไม้ค่อนข้างได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และหนึ่งในนั้นก็คือ ลำไย

จะเห็นได้ว่าในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ลำไยจะขายในตลาดเมืองไทยน้อยลง ทั้งนี้เป็นเพราะว่าผู้ประกอบการเห็นโอกาสตลาดจีนที่กว้างใหญ่มหาศาล

หากจำภาพในอดีตที่มีกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือตอนบนรวมตัวกันประท้วงเรื่องราคาลำไยบ่อยครั้งเนื่องจากราคาตกต่ำไม่กี่บาทต่อกิโลกรัม แต่เมื่อยุค สมัยเปลี่ยนไป ต่างชาติที่ติดใจในรสชาติ ลำไยเนื้อหนา หอมหวานกรอบ โดยเฉพาะ ตลาดในประเทศจีน

การตอบรับของตลาดต่างประเทศ ทำให้ลำไยกลายเป็นสินค้าส่งออกของผู้ค้า ภาคเหนือ ส่งผลให้คนไทยต้องซื้อลำไยในราคาแพงและต้องจ่ายในราคากิโลกรัมละ 30-50 บาท

ดูเหมือนแนวโน้มราคาลำไยจะสูง ขึ้นเป็นลำดับ เมื่อความต้องการในตลาดจีน เวียดนาม เกาหลี เพิ่มมากขึ้น จนทำให้ เห็นผู้ค้าต่างประเทศบางรายเข้ามาจองซื้อถึงในสวนขณะที่ลำไยยังไม่ออกผล โดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวจะเห็นพ่อค้าต่าง ชาติเข้ามาพักตามโรงแรมทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนเพื่อมาดูสวนด้วยตนเอง จึงเห็นได้ว่ามีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงระหว่างผู้ค้าคนไทยและผู้ค้าต่างชาติ


กาญจนา พงศ์พฤกษทล กรรมการ ผู้จัดการ บริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด ผู้ประกอบการค้าลำไยอบแห้ง มีประสบการณ์ ทำธุรกิจมากว่า 16 ปี เล่าถึงสถานการณ์ธุรกิจลำไยว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการคนไทยที่ทำธุรกิจลำไยอบแห้งอยู่ประมาณ 100 ราย ซึ่งยังไม่นับรวมคู่ค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและไต้หวัน

การแข่งขันธุรกิจลำไยค่อนข้างดุเดือด เพราะตลาดลำไยมีผลผลิตจำกัด และอยู่ในเขตภาคเหนือตอนบน ในขณะที่ความต้องการของตลาดมีปริมาณที่สูงมาก

นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพ ของลำไยในจีน ไทย เวียดนาม ที่เป็นคู่แข่ง กันเอง ลำไยของประเทศไทยมีคุณภาพดีที่สุด หอม เนื้อหนา หวาน กรอบ โดยเฉพาะพันธุ์สีทอง เขียวเบี้ยว และพันธุ์อีดอ ในขณะที่จีนและเวียดนามมีลำไยเปลือกหนา เม็ดใหญ่ เนื้อบาง

จากข้อมูลของสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจผลไม้ภาคเหนือ รายงานว่า เมื่อปี 2554 มีปริมาณการผลิต ลำไย 414,784 ตัน จาก 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน พะเยา ตาก น่าน แพร่ และลำปาง ซึ่งตลอดระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาปริมาณการผลิตเฉลี่ยใกล้เคียง กันระหว่าง 4-5 แสนตันต่อปี

ราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ปริมาณลำไยที่มี จำกัด จึงทำให้ชาวสวนมีโอกาสเลือกขายราคาที่ดีที่สุด โดยราคาจะมีการเปลี่ยน แปลงวันต่อวัน

บริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด ต้องอยู่ในสถานการณ์ปรับตัวตลอดเวลา โดยเฉพาะการสร้างสายสัมพันธ์กับเจ้าของสวน ที่มีมายาวนาน 16 ปี และมีโรงงานอบแห้ง อยู่ในจังหวัดลำพูน 2 แห่ง คือ อำเภอป่าซาง บนพื้นที่ 36 ไร่ และอำเภอลี้ บนพื้นที่ 40 ไร่

การทำธุรกิจลำไยจะทำตามฤดูกาล ผลผลิตออกเพียง 2 เดือน คือ กรกฎาคม และสิงหาคม จึงทำให้โรงงานอบแห้งต้องทำงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ผลผลิต คุณภาพ โดยธรรมชาติของลำไยหากเก็บและทิ้งค้างคืนไว้จะทำให้ลำไยมีน้ำมาก เกิดการเน่าเสียได้ง่าย

ดังนั้นเตาอบต้องมีจำนวนเพียงพอเพื่อรองรับการทำงานให้ได้ภายใน 2 เดือน และบริษัท อาร์ เค ฟู้ด มีจำนวนเตาอบในโรงงานป่าซาง 60 เตา ขณะที่อำเภอลี้ มี 50 เตา ปัจจุบันทั้งสองโรงงานมีปริมาณ การผลิตลำไย (ผลสด) 19,220,000 กิโลกรัมต่อ 2 เดือน และหลังจากอบแห้ง (ผลแห้ง) จะเหลือ 6,200,000 กิโลกรัม

โดยเฉลี่ยการผลิตลำไยพันธุ์อีดอ และเขียวเบี้ยวเนื้อสด 10 กิโลกรัม เมื่อไปสู่ กระบวนการอบแห้งจะเหลืออยู่ 3 กิโลกรัม ส่วนพันธุ์สีทองสด 10 กิโลกรัม ได้ลำไยอบแห้งเพียง 1 กิโลกรัมเท่านั้น

บริษัทมองว่าช่องทางการทำธุรกิจลำไยยังมีอีกมากในอนาคต โดยเฉพาะมีพันธุ์ลำไยใหม่ ผลโต เนื้อหนา ทำให้บริษัท ตัดสินใจขยายโรงงานลำไยอบแห้งเพิ่มอีก 1 แห่งในจังหวัดเชียงราย ที่อำเภอพาน บนพื้นที่ 20 ไร่ มีตู้อบ 24 ตู้ คาดว่าโรงงาน จะแล้วเสร็จในกลางปีนี้

การปรับตัวของบริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจุดเริ่มต้น รับอบส่งออกในรูปแบบโออีเอ็ม (Original Equipment Manufacturer: OEM) หรือรับจ้างผลิตสินค้าให้แบรนด์ต่างๆ ให้กับผู้ค้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนและไต้หวัน

เมื่อ 6 ปีที่ผ่านมา บริษัทเริ่มหันมา สร้างแบรนด์ของตัวเอง ภายใต้แบรนด์สินค้าภาษาจีนชื่อว่า ต้าฉงเหมา โดยใช้หมีสีแดงและสีเขียว ช้างขาวเป็นสัญลักษณ์

บริษัทผลิตสินค้าในระดับพรีเมียม สินค้าจะส่งไปจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ เช่น คาร์ฟูร์ และวอลล์มาร์ท ส่วนเมืองหลักๆ ที่เข้าไปทำการตลาด ได้แก่ เซี่ยงไฮ้ เซินเจิ้น หนานจิง ชินเตา เป็นต้น

การทำตลาดในประเทศจีน บริษัทได้เข้ามาตั้งสำนักงานอยู่ในเมืองเซี่ยงไฮ้ เพื่อทำหน้าที่มองหาตลาดใหม่ๆ และช่องทางการจำหน่าย จากพฤติกรรมการบริโภค ลำไยของจีน จะนิยมซื้อในช่วง เทศกาลสำคัญ เช่น วันสารทจีน ไหว้พระจันทร์ หรือวันตรุษจีน

“ลำไยที่ขายในประเทศ จีน คนจีนยังเข้าใจผิดว่าเป็นผลไม้ของประเทศจีนที่ผลิตมาจากฝูเจี้ยน และมีความเชื่อว่าสินค้าของไทยไม่ดี แม้ผู้ค้าลำไย จีนเองต่างก็รู้ดีว่าลำไยที่ดีที่สุด คือลำไยของเมืองไทย”

ลำไยอบแห้งที่ขายในปัจจุบัน บริษัทจะขายเนื้อทองและเนื้อดำ สำหรับเนื้อดำจะส่งออกไปประเทศเกาหลี จะนำไปผลิตเป็นยา

นอกจากนี้บริษัทยังส่งไปตลาดเวียดนาม มาเลเซีย ไต้หวัน โดยเฉพาะสิงคโปร์จะมีนายหน้าติดต่อซื้อขายเพื่อนำไปขายต่อ โดยการส่งสินค้าของบริษัทปัจจุบันจะนำส่งไปยังท่าเรือแหลมฉบังและส่งต่อไปต่างประเทศ

การทำธุรกิจลำไยที่ต้องอิงกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลในช่วงระยะเพียง 2 เดือน (กรกฎาคมและสิงหาคม) เพื่ออบ ส่วนเวลาที่เหลือเป็นการบริหารจัดการสต็อก สินค้า รวมถึงการทำตลาด

ดังนั้น โกดังเก็บสินค้าของบริษัท อาร์ เค ฟู้ด ที่ว่างเว้นจากฤดูเก็บเกี่ยวก็จะ รับอบข้าวโพดเพื่อทำเมล็ดพันธุ์ให้กับบริษัท Syngenta จำกัด ประเทศอินเดีย

ธุรกิจลำไยของบริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด กำลังอยู่ระหว่างมองหาตลาดใหม่ๆ เพิ่มเติม และเป็นช่วงเวลาที่กาญจนาในฐานะผู้บริหารรุ่นแรกกำลังถ่ายทอดประสบ การณ์การทำงานให้กับรุ่น 2 ลูกสาวและลูกเขยที่อยู่ระหว่างการเรียนรู้

เป้าหมายหลักการทำตลาดของบริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด คือการมุ่งขยาย ตลาดในประเทศจีนที่มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคนมากที่สุดในโลก และการขยายตัวของชนชั้นกลางที่มากขึ้น ย่อมทำให้มีความ ต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

จากประสบการณ์การทำธุรกิจของกาญจนากับประเทศจีนมาตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงสามารถพูดภาษาจีนได้จึงทำให้โอกาสเข้าสู่ตลาดได้ง่ายขึ้น

ในขณะเดียวกันได้ส่งลูกสาวคนโต รดา ไปเรียนต่อที่ประเทศจีน พร้อมกับลูกเขย ศรันย์ อดุลตระกูล และรดารับบทบาทผู้จัดการฝ่ายการเงิน ในขณะที่ศรันย์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด

เป้าหมายของศรันย์ในฐานะลูกเขย บอกว่าต้องการสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าคอนซูเมอร์มากขึ้น จาก ปัจจุบันคนที่รู้จักจะเป็นผู้ค้าด้วยกันเอง นอกจากนี้จะพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพ เพื่อขยายตลาดไปยุโรป โดยเฉพาะเน้นกระบวนการผลิตอาจมีเครื่องจักรทำหน้าที่ แกะลำไย เพราะมาตรฐานค่อนข้างเข้มงวด รวมถึงในอนาคตคาดว่าจะผลิตน้ำลำไยจำหน่าย เหมือนกับชาเขียวที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน

บริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัดมีรายได้จากการดำเนินธุรกิจราว 1 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายได้หลักจากธุรกิจลำไยราว 900 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นรายได้จากอบข้าวโพดและพืชไร่ตามฤดูกาล

รายได้เกือบพันล้านบาทของธุรกิจลำไยที่ดำเนินธุรกิจหลักๆ ช่วงระยะเวลาเพียง 2 เดือนของบริษัท อาร์ เค ฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตรายใหญ่ภาคเหนือ สะท้อนให้เห็นว่า ตลาดธุรกิจลำไยท่ามกลางการแข่งขันอย่างดุเดือด ยังมีโอกาสอยู่เสมอโดยเฉพาะตลาดในจีน ที่ใครๆ ก็ยกให้เป็นพี่ใหญ่ของเอเชีย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us