Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
แม่ทัพใหม่เคทีซี             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 

 
Charts & Figures

ผลประกอบการธุรกิจบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

บัตรกรุงไทย, บมจ.
ระเฑียร ศรีมงคล
Credit Card




หลังจากนิวัฒน์ จิตตาลาน อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารได้เกษียณจากเคทีซี บอร์ดตัดสินใจเลือก “ระเฑียร ศรีมงคล” ขึ้นเป็นแม่ทัพใหม่ และภารกิจแรกของเขาคือการตัดค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นต้นทุนจนกลายเป็นจุดอ่อนขององค์กร

เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ เคทีซีได้เปิดตัว “ระเฑียร ศรีมงคล” ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารอย่างเป็นทางการ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2555 แทนนิวัฒน์ จิตตาลาน หลังจากตัดสินใจเกษียณอายุครบ 60 ปี

ระเฑียร ศรีมงคล วัย 52 ปี มีประสบการณ์ทำงานอยู่ในธุรกิจการเงินมา ประมาณ 26 ปี เขาเริ่มทำงานเป็น Chief Dealer ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บริษัทหลักทรัพย์เอกธนาจำกัด (มหาชน) เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มปฏิบัติการ ธนาคารนครหลวงไทย และปรับเปลี่ยนไป เป็นรองกรรมการผู้จัดการ สนับสนุนธุรกิจ ธนาคารธนชาต หลังจากที่ธนาคารธนชาต ได้เข้าซื้อกิจการนครหลวงไทยและรวมกิจการเบ็ดเสร็จเมื่อปลายปี 2554

ก่อนที่ระเฑียรจะก้าวเข้าสู่เส้นทาง การเงิน เขาเคยเป็นหมอมาก่อน เขาเรียนจบแพทยศาสตรบัณฑิต (ศิริราช) มหา วิทยาลัยมหิดล และเรียนต่อบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมถึงปริญญาโทรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และเรียนปริญญาบัตร หลักสูตรการป้องกัน ราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.รุ่น 21) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ

ระเฑียรในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหารเคทีซี คนที่ 2 หลังจากบริษัทเข้า ตลาดหลักทรัพย์ย่างปีที่ 10 นับเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะอดีตซีอีโอคนเก่าได้สร้างผลงานเริ่มต้นไว้ค่อนข้างดี ทั้งรายได้ กำไร รวมถึงทำให้เคทีซีมียอดผู้ใช้บัตรเครดิตจากจุดเริ่มต้น 2 แสนราย กระโดดขึ้นเป็น 2 ล้านรายในระยะไม่กี่ปี จนขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งในตลาดบัตรเครดิต

ในตอนนั้นเคทีซีใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในแวดวงสถาบัน การเงิน เช่น ลดค่าธรรมเนียม ไม่เก็บค่าบริการแรกเข้า ไม่เก็บค่าธรรมเนียมรายปี จนกลายเป็นยุครุ่งเรืองของเคทีซี

แม้ว่าเคทีซีจะทำได้ดีในการสร้างผลกำไรและรายได้ โดยใช้กลยุทธ์ด้านการ ตลาดซึ่งเป็นจุดแข็งก็ตาม การเพิ่มจำนวน บัตรเครดิตทำให้บริษัทต้องทุ่มงบประมาณ การตลาดและลงทุนหลายด้าน เช่น การเอาท์ซอร์สระบบไอทีดูแลบริการบัตรเครดิต ระบบคอลเซ็นเตอร์ และบริการเทเลมาร์ เก็ตติ้ง งานสิ่งพิมพ์ต่างๆ กลายเป็นต้นทุน ที่สูงร้อยละ 46-48 สูงมากกว่าอุตสาหกรรม ที่ดำเนินธุรกิจในรูปแบบเดียวกัน

ต้นทุนที่สูงสะท้อนให้ผลประกอบการในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมามีรายได้และผลกำไรลดลง โดยเฉพาะในปี 2552 เคทีซี ประสบภาวะขาดทุนจำนวน 394.84 ล้านบาท และกำไรจะเพิ่มขึ้นในปีถัดไป แต่ก็เป็นไปในรูปแบบขึ้นๆ ลงๆ

ล่าสุดเมื่อต้องประสบภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่ในไตรมาส 4 ปี 2554 บริษัทยอมรับว่าได้รับผลกระทบค่อนข้างมากและแม่ทัพคนใหม่ถึงกับเอ่ยปากว่า ผลการ ดำเนินงานในปี 2554 จะออกเป็นตัวแดง

ฉะนั้นการเข้ามาของระเฑียรในช่วง เวลานี้จึงมีภารกิจหนักไม่น้อย เขาเองก็ยอมรับว่าเป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะสิ่งแรกที่เขาต้องทำคือการลดต้นทุน ซึ่งเป็นนโยบายต้องทำในปีนี้และตลอดทั้งปี

ซีอีโอคนใหม่กำหนดเป้าหมายไว้ว่า ในปีนี้จะต้องลดต้นทุนให้เหลือร้อยละ 40 หรือต่ำกว่าอุตสาหกรรมทั้งหมด

ส่วนในปี 2556 ระเฑียรประกาศอย่างมั่นใจว่าบริษัทจะกลับมาสร้างผลกำไร ให้ได้มากกว่า 650 ล้านบาทซึ่งมากที่สุดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หลังจากบริษัทเคย ทำกำไรสูงสุด 650 ล้านบาทเมื่อปี 2549 และในปี 2557 ระเฑียรประกาศอย่างมั่นใจ ว่าบริษัทจะกลับมาเป็นผู้นำอันดับ 1 ของธุรกิจบัตรเครดิตอีกครั้ง

ต้นทุนหลักที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมาจากการจ้างเอาท์ซอร์ส หรือว่าจ้างให้บริษัท ภายนอกบริหารบริการบางประเภท ดังนั้นแนวทางการลดต้นทุนของผู้บริหารคนใหม่ ที่เปิดเผยต่อสื่อมวลชน คือการหันกลับมาเริ่มต้นทำเองใหม่เกือบทั้งหมด

ที่ผ่านมาได้เอาท์ซอร์สงานหลายอย่างให้ข้างนอกทำ เช่น เทเลมาร์เก็ตติ้ง คอลเซ็นเตอร์ รวมถึงว่าจ้างระบบไอที Fidility Information System (FIS) ให้บริการบัตรเครดิตปัจจุบันที่ใช้มาเป็นเวลา 8 ปี สิ้นสุดสัญญาไตรมาสที่ 2 ปีนี้ บริษัทตัดสินใจลงทุนระบบไอทีใหม่เรียกว่าระบบ การ์ดลิงค์ ซึ่งเป็นการลงทุนเพิ่มเติมจำนวน หลายร้อยล้านบาท และระบบใหม่จะมาแทนที่หลังจากสัญญาสิ้นสุดลง

งานสิ่งพิมพ์เป็นต้นทุนอีกส่วนหนึ่ง เพราะปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการบัตรเครดิตราว 1.2 ล้านราย ลูกค้าเหล่านี้จะได้รับเอกสารเพื่อแจ้งการร่วมกิจกรรมกับร้านค้า บริการท่องเที่ยวทุกเดือน ทำให้บริษัทมีแนวคิดจะใช้ออนไลน์ เครดิตการ์ด มาร์ เก็ตติ้ง มาใช้มากขึ้น

ระเฑียรบอกว่าการลดต้นทุนของเคทีซี จะไม่ลดจำนวนพนักงาน เพราะเขา ไม่เชื่อว่าการลดพนักงานเป็นหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว แต่มีแผนพัฒนาคนเพิ่มซึ่งคาดว่าจะเพิ่มงบประมาณเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพคน ทำให้ในปีนี้บริษัทกำหนด ใช้เงินลงทุนจำนวน 900 ล้านบาท

นอกจากเป้าหมายการลดต้นทุน และอบรมพนักงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ระเฑียรยังปรารถนาที่จะสร้างดีเอ็นเอใหม่ของบริษัท เพราะในสายตาของเขายอมรับว่าแม้เคทีซีจะเป็นองค์กรมืออาชีพ มีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีความสนุกสนานและสบายๆ แต่สิ่งที่สร้าง เพิ่มขึ้นก็คือ ทำให้พนักงานและผู้บริหารมีความรู้สึกว่า เคทีซีเป็นของเขา ไม่ใช่ดูแลแต่งานในส่วนของตนเอง แต่ต้องทำงานโดยคำนึงถึงภาพรวมขององค์กร

“ความท้าทายในเคทีซี คือการลด cost to income โดยไม่แตะต้องพนักงาน ดูเหมือนง่าย แต่ไม่ง่าย” ระเฑียรกล่าว

คำกล่าวของระเฑียรได้สะท้อนให้เห็นว่าการเข้ามารับตำแหน่งซีอีโอคนใหม่ของเคทีซี ต้องใช้เวลาเพื่อพิสูจน์ฝีมือของเขาว่า สิ่งที่กล่าวไว้ในแผนธุรกิจจะลงสู่ภาค ปฏิบัติได้มากน้อยเพียงใด เปรียบเหมือนสุภาษิตที่กล่าวไว้ว่า “ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us