Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
โลกร้อนเมื่อ 56 ล้านปีก่อน             
โดย พัชรพิมพ์ เสถบุตร
 


   
search resources

Environment




อากาศร้อน ฝนตกหนัก พายุหมุน น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และอะไรๆ ที่ผิดปกติอีกหลายๆ อย่างทั่วโลกเวลานี้ ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน จริงเท็จอย่างไรก็ต้องยอมรับ เพราะไม่มีอะไรอธิบายได้ดีกว่านี้!

ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ ถึงความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล ให้ได้ใกล้เคียงที่สุด โดยพิจารณาสภาวการณ์ต่างๆ (Scenarios) ตั้งแต่แบบเลวร้ายที่สุดที่มีการเผาผลาญเชื้อเพลิงน้ำมันอย่างไม่บันยะบันยัง ไปจนถึงแบบที่เบาที่สุด คือมีการควบคุมการ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างดีตามเป้าหมาย ดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะออกมาเป็นแบบไหนก็ตาม มนุษย์เราก็ต้องทนรับภัยพิบัติที่ไม่ธรรมดากันอย่างถ้วนหน้า

ในขณะที่พวกหนึ่งมองเหตุการณ์ ในอนาคตเพื่อบรรเทามหันตภัยที่กำลังจะเกิดขึ้น อีกพวกหนึ่งก็มองย้อนกลับไปสู่อดีตกาลอันไกลโพ้น เพื่อหาสาเหตุและความเป็นมาเป็นไปที่ผ่านมาของโลกใบนี้ และก็ไม่ผิดหวัง! เพราะจากการศึกษาค้นคว้าของนักวิจัยกลุ่มหนึ่ง พวกเขาได้ค้นพบว่า ในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ได้เกิดปรากฏการณ์โลกร้อนมาแล้วเมื่อ 56 ล้านปีก่อน อันมีเหตุมาจากการสะสมของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับภาวะโลกร้อนในปัจจุบันนี้เป็นอย่างมาก

อะไรทำให้เกิดปรากฏการณ์ก๊าซเรือนกระจกในครั้งนั้น
ในครั้งนั้นโลกร้อนจนน้ำแข็งขั้วโลกละลายหมด อุณหภูมิของน้ำทะเลรอบๆ ขั้วโลกเหนือ (Arctic Circle) สูงถึง 38 องศาเซลเซียส ทำให้ระดับน้ำทะเล สูงกว่าปัจจุบันถึง 60 เมตร แผ่นดินของหลายทวีปในโลกจมอยู่ใต้ทะเล อะไรเป็น สาเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในครั้งนั้น ด้วยยุค 56 ล้านปีก่อน ก็ไม่น่ามี รถยนต์ เครื่องบิน โรงไฟฟ้าและประชากร ที่มากมายอย่างทุกวันนี้ นักวิจัยจึงลงมือค้นคว้ากันอย่างจริงจัง ไม่นานก็พบเบาะ แสที่สำคัญมาเป็นพยานหลักฐาน ข้อมูลอ้างอิงมาจากฟอสซิลของแพลงก์ตอนจากใต้ทะเลลึก ฟอสซิลของแพลงก์ตอนเหล่านี้ ตกตะกอนสะสมกันอยู่ในก้นทะเล ลึกของมหาสมุทรแอตแลนติกบริเวณใกล้ กับขั้วโลกใต้หรือแอนตาร์กติก ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วง 56 ล้านปีก่อน นักวิจัยเจาะตัด เอาแท่งตะกอนดินนี้ขึ้นมา และสังเกตเห็น สีของฟอสซิลแพลงก์ตอนที่เกาะอยู่แตกต่างกันได้ชัดเจน ส่วนหนึ่งเป็นสีขาวนวล อีกส่วนหนึ่งเป็นสีส้มน้ำตาลตัดกันชัดเจน ส่วนสีขาวชี้ชัดได้ว่า เป็นแพลงก์ตอนที่มีปริมาณแคลเซียมคาร์บอเนตอยู่มากจนออกสีขาวนวล ส่วนที่ออกสีส้มน้ำตาลคือ แพลงก์ตอนที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตต่ำ เพราะน้ำทะเลที่มีสภาพเป็นกรดสูง ละลายแคลเซียมออกไป คาดว่าความเป็น กรดของน้ำทะเลที่ทำให้แท่งตะกอนแพลงก์ตอนเปลี่ยนสีนั้น เกิดจากน้ำทะเล ที่ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่ปริมาณสูงในบรรยากาศ ในระยะเวลาที่รวดเร็วทางธรณีวิทยา (ประมาณว่า 2-3 ศตวรรษ)

สมมุติฐานที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกสูงนั้น ยังไม่สามารถระบุถึงสาเหตุ ได้แน่ชัด แต่ประมาณว่ามีอยู่หลายปัจจัย

ปัจจัยแรกก็คือ การขยับตัวของแผ่นดินที่แยกระหว่างทวีปยุโรปและกรีนแลนด์ ซึ่งทำให้เกิดทะเลแอตแลนติก เหนือขึ้นมา ก่อให้เกิดการปะทุของภูเขา ไฟใต้น้ำขนานใหญ่ ปลดปล่อยก๊าซคาร์ บอนไดออกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ที่สะสมอยู่ในแกนกลางโลกออกมาจำนวนมหาศาลจากใต้ทะเลลึก ก๊าซเหล่านี้ล้วนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ดูดซับความร้อนในบรรยากาศทั้งสิ้น

ปัจจัยอันที่สองคือ เกิดปรากฏการณ์บางอย่าง (อาจจะเป็นการปะทุของภูเขาไฟ หรือการเบี่ยงเบนของแกนโลก หรือวงโคจรของโลกเบี่ยงเบน) ที่กระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนที่สะสมอยู่ใต้โลกออกมาจำนวนมาก ก๊าซมีเทนมีอานุภาพในการดูดความร้อนมากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 20 เท่า และยังอยู่คงทนได้นานกว่า นักวิทยาศาสตร์หลายคนยังตั้งข้อสังเกตเลยเถิดไปว่า เหตุทำนองนี้อาจเกิดขึ้นอีกกับโลกปัจจุบันก็เป็นได้ ด้วยการขุดเจาะและเผาผลาญเชื้อเพลิง น้ำมันอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ อาจเป็นปัจจัย กระตุ้นให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซมีเทนขึ้นมาอีกเหมือนครั้งกระโน้น ซึ่งจะทำให้สภาวการณ์ โลกร้อนที่เป็นอยู่ในเวลานี้เลวร้ายขึ้นอีกหลายเท่าทวีคูณ

นักวิจัยสรุปว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ในครั้งนั้นสูงขึ้นกว่าเดิมถึง 9 องศาฟาเรนไฮต์ ซึ่งเทียบเท่ากับความร้อนที่ได้จากการเผาไหม้ น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ที่มีสำรองอยู่ทั้งหมดในโลกปัจจุบัน

ได้เกิดอะไรขึ้นต่อชีวิตโลกและ
สภาพแวดล้อมในครั้งนั้น
หลังจากพิสูจน์ว่าปรากฏการณ์ครั้งนั้น เกิดจากก๊าซเรือนกระจกจริง นักวิทยาศาสตร์ จากสถาบัน Smithsonian สหรัฐอเมริกา ได้สืบค้นต่อไปจากซากฟอสซิลของใบไม้ในดิน ซึ่งเผยให้เห็นความเป็นมาในยุคนั้นได้เป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์ พบว่า พื้นที่สำรวจในลุ่ม น้ำ Big Horn ทางตะวัน ออกของสหรัฐฯ นั้นเคยเป็นป่ารกทึบมาก่อนที่จะเกิดปรากฏการณ์โลกร้อน ในช่วงที่ร้อนขึ้นนั้น พื้นดินได้กลายสภาพไปโดยสิ้นเชิง จากความชุ่ม ช่ำเป็นสภาพดินที่แห้ง แล้ง สูญเสียสิ่งปกคลุมดิน มีพืชขึ้นอยู่ประปราย โดยมากเป็นพืชตระกูลถั่ว (beans) ที่มิใช่ชนิด ที่เรานำมารับประทาน แต่ถั่วเหล่านี้ดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาก เติบโตเร็ว แต่มีสารอาหารโปรตีนต่ำ แล้วพื้นโลกก็ฟื้นตัวเมื่อ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลง (จากการดูดซับ ของน้ำทะเลและพืช และการกระจายออกสู่นอกชั้นบรรยากาศโลก) ฝนตกและความชื้นเพิ่มขึ้น พืชพันธุ์ชนิดใหม่ๆ ได้คืบคลานเข้ามาจากภูเขา พื้นที่ลุ่มไปจนถึงชายฝั่งทะเลเกิดวิวัฒนาการขึ้นใหม่ อันเป็นต้นรากของสิ่งมีชีวิตพืชสัตว์แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ร่องรอยที่พบในฟอสซิลใบไม้ยังระบุว่า ใบไม้มีร่องรอยแมลงกัดกินอยู่ถึง 60% ซึ่งบ่งว่าในยุคโลกร้อนครั้งนั้น สัตว์พวกแมลง คงสุขสมกับสภาพแวดล้อมเป็นอันมาก และยังพบหินก้อนใหญ่ๆ ในสภาพกระจายทั้งบนภูเขา พื้นราบ และชายฝั่งทะเล เหมือนถูกกระแสน้ำพัดพามาติดอยู่ แสดงว่าสภาพอากาศคงจะมีมรสุมฝนตกหนัก น้ำไหลหลาก ล้นฝั่งอย่างรุนแรง สัตว์หลายชนิดมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการลดขนาดตัวลง แสดงให้เห็นว่าเมื่อสถานการณ์บีบรัดตัว วิวัฒนาการก็จะเกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว สิ่งที่เป็นหลักฐานก็คือ ฟอสซิลของม้าที่พบในยุคเปลี่ยนถ่ายหลังจาก 56 ล้าน ปีและก่อนยุคปัจจุบัน มีขนาดเพียงครึ่งหนึ่งของม้าในปัจจุบัน เพราะหญ้าที่เป็นอาหารมีโปรตีนต่ำ มีคาร์บอนสูง รวมทั้งเผ่าพันธุ์ลิงและมนุษย์เราได้ปรากฏขึ้นในยุคหลังโลกร้อน นี้เอง

ฉะนั้น ภาวะโลกร้อนก็มิใช่จะให้ผลที่ เลวร้ายไปเสียทั้งหมด บางอย่างก็เป็นประโยชน์ เช่น กระตุ้นให้เกิดวิวัฒนาการใหม่ๆ บางครั้งเราก็ต้องยอมรับวิวัฒนาการว่าเป็นสิ่งธรรมดาของโลกและไม่ยึดติด

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ค้นคว้าวิจัยย้อนกลับไปยังอดีต ก็มีจุดประสงค์เพื่ออนาคตของ มนุษยชาตินั่นเอง ทำนอง “Back to the Future” ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อจะได้เข้าใจกระบวน การเปลี่ยนแปลงในอดีตที่ได้เคยเกิดขึ้นแล้วในลักษณะคล้ายคลึงกัน และเตรียมการตั้งรับภัยในอนาคตได้อย่างดีที่สุดนั่นเอง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us