5 ปีหลังเปิดใช้เส้นทางสาย 18B ภาพการพัฒนาของแขวงต่างๆ ในเขตลาวใต้ได้ปรากฏภาพออกมาให้เห็นชัด โดยเฉพาะกระแสการลงทุนจากเวียดนามที่หลั่งไหลเข้าไปในพื้นที่ซึ่งเคยกันดารแห่งนี้
จากช่องทางเบ่ออี (จังหวัดกอนตุม เวียดนาม) ถึงใจกลางเมืองปากเซ (แขวงจัมปาสัก) เมืองใหญ่อันดับที่สองของลาว มีระยะทางเกือบ 350 กิโลเมตร ตลอดเส้นทางจะเห็นความสามัคคีแบบเสมอต้นเสมอปลายและความร่วมมือแนบแน่น ระหว่างจังหวัดบิ่ญดิ่ญ เวียดนาม กับบรรดาแขวงต่างๆ ของลาวใต้
เปิดถนนใหญ่
จากช่องทางเบ่ออีเสียเวลาทำตามระเบียบการเข้าเมืองเพียง 45 นาที จากนั้น เดินทางเข้าอาณาเขตประเทศลาวบนทาง หลวงแห่งชาติหมายเลข 18B
ถนนสายนี้ยาว 113 กิโลเมตร เปิดใช้ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2549 ถนนเส้นนี้ก่อสร้างด้วยทุนกู้ยืมจากเวียดนามมูลค่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตัดผ่านแนวป่าดงดิบและภูเขาสูงหลายลูก สองข้างทางหลายแห่ง ทะลุผ่านภูเขาลาดชันสูงถึง 70-80 เมตร บางครั้งจะพบเห็นบ้านชนเผ่าของลาวหลังเล็กๆ ยกพื้นสูง 2-3 หมู่บ้านอยู่ใต้แนวป่าดงดิบ
ตราง พนักงานขับรถของบริษัทใหญ่ PISICO ผู้ซึ่งนำคณะทำงานของบริษัทนี้ไปยัง ลาวเพื่อสำรวจ-ส่งเสริมโครงการลงทุนต่างๆ กล่าวว่า ถนนเส้นนี้สามารถเดินทางด้วย รถยนต์ไปได้ถึง 3 ประเทศ คือเวียดนาม ลาวและไทยภายในวันเดียว ตอนเช้าสามารถ นั่งซดกาแฟที่เมืองปากเซ (ลาว) ตอนเย็นเที่ยวตลาดชายแดนที่ช่องเม็กของจังหวัดอุบลราชธานี (ไทย)
“เส้นทางทะลุสามประเทศด้วยรถยนต์ภายในวันเดียวเช่นนั้น ยังจะมีอะไรที่ไม่เหมาะสมอีก”
เปรียบเทียบกับเวียดนาม ประชากร ในแขวงต่างๆ ของลาวใต้ค่อนข้างเบาบาง มีเพียงประมาณ 25 คน/ตารางกิโลเมตร ไม่นานมานี้การขาดแคลนแหล่งกำลังคนและท่าเรือทะเลกลายเป็นสิ่งกีดขวางทำให้การพัฒนาของเขตดินแดนที่อุดมด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจแห่งนี้ล่าช้า
เมื่อเปิดเส้นทาง 18B มีการเปิดกว้าง ช่องทางนานาชาติเบ่ออี เป็นระเบียงตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมต่อจากไทยผ่านลาวถึงเวียดนาม สามารถออกทะเลตะวันออกอย่าง เปิดเผย เปิดโอกาสใหม่ให้แก่แขวงต่างๆ ใน ลาวใต้พัฒนาเร็วขึ้น
ถึงแม้เพิ่งเปิดมาเพียง 5 ปีกว่า แต่ถนนเส้นนี้ได้นำผลชัดเจนมาให้หลายอย่าง เมื่อก่อนนี้ประชาชนแขวงอัตตะปือ แขวงเซกอง แขวงสาละวัน คิดว่าผืนดินของตนเหมือนเกาะห่างไกลแห่งหนึ่ง ถนนหมายเลข 18B เปิดให้พวกเขาออกไปค้าขายกับคนอื่นๆ สุดทะเลตะวันออก รวมทั้งไปถึงทุกภาคของประเทศเวียดนาม
อาศัยการคมนาคมที่สะดวก ปัจจุบัน แต่ละวันมีนักท่องเที่ยวหลายสิบคณะจากเวียดนามผ่านลาวเข้ามาถึงไทยบนถนนสายนี้ นอกจากนี้เวลาที่ผ่านมามีนักลงทุนหลายคน ของจังหวัดบิ่ญดิ่ญและจังหวัดอื่นๆ ของเวียดนาม ได้ไปหาความเข้าใจและดำเนินโครงการลงทุนที่แขวงต่างๆ ในลาวใต้
ตามข้อมูลสถิติเบื้องต้น ตั้งแต่เมื่อเปิดถนนหมายเลข 18B เฉลี่ยแต่ละเดือนมีคนสัญจรผ่านช่องทางเบ่ออีประมาณ 1,500- 2,000 คน ส่วนมากเป็นคนเวียดนามไปยังลาวเพื่อทำมาหากินและท่องเที่ยว บนถนนช่วงจากช่องทางเบ่ออีถึงเมืองปากเซจะพบ เห็นรถยนต์โดยสารของเวียดนามค่อนข้างมากติดป้ายทะเบียนจังหวัดบิ่ญดิ่น จังหวัดยาลาย จังหวัดกอนตุม นครโฮจิมินห์ เป็นต้น ทั้งวิ่งตามกันและสวนทางกันไปมา
ผลของความสามัคคี
ในแขวงต่างๆ ของลาวใต้ปัจจุบัน มีการลงทุนของสถานประกอบการเวียดนาม หลายสิบโครงการ ในนั้นเป็นสถานประกอบ การของจังหวัดบิ่ญดิ่ญ 11 โครงการบนดินแดนลาวใต้ ด้วยยอดเงินลงทุนเกิน 48.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
บริษัทปรุงยา-สิ่งอุปกรณ์สาธารณสุข บิ่ญดิ่ญ (BIDIPHAR) เป็นสถานประกอบการ แห่งแรกของจังหวัดบิ่ญดิ่ญ ที่เริ่มดำเนินโครงการร่วมมือกับแขวงต่างๆ ในลาวใต้ปี 2537 BIDIPHAR ร่วมธุรกิจกับวิสาหกิจแปรรูปเภสัชกรรมจัมปาสัก (ลาว) ก่อตั้งบริษัทเภสัชกรรม CBF ด้วยมูลค่าการลงทุน รวม 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
การเริ่มต้นนี้บรรดานักลงทุนจาก บิ่ญดิ่ญได้ดำเนินการต่ออีกหลายโครงการบน ดินแดนลาวใต้ เช่น โครงการปลูกยางพารา 5,000 เฮกตาร์ที่แขวงเซกองของบริษัทยางพารามิตรภาพลาว-เวียดนาม, โครงการปลูก ยางพารา 9,500 เฮกตาร์และก่อสร้างโรงงาน แปรรูปยางพาราของบริษัทหุ้นส่วนอุตสาหกรรมการเกษตรบิ่ญดิ่ญ (BIDINA) เป็นต้น
ถึงวันนี้ สถานประกอบการทั้งสองนี้ ได้เช่าที่ดินในแขวงเซกองและปลูกยางพารา ได้เกิน 5,500 เฮกตาร์ ในนั้นมีเกือบ 1,500 เฮกตาร์ จะให้น้ำยางในต้นปี 2555 ถึงแม้ยังลำบากหลายอย่าง แต่บรรดาโครงการปลูกยางพาราและพืชอุตสาหกรรมที่แขวงต่างๆ ในลาวใต้ของบรรดานักลงทุนบิ่ญดิ่ญ เริ่มได้รับผลดี สร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ดำเนินโครงการอื่นๆ ต่อไป
นอกจากการปลูกยางพาราในท้องถิ่น ต่างๆ ที่ดำเนินโครงการ บรรดานักลงทุนยังจัดทำถนน ก่อสร้างระบบน้ำจืด โครงข่าย สายไฟฟ้า และแก้ไขปัญหาการว่างงานให้แก่ประชาชน มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าชนบทที่นี่
เมื่อก่อนนี้ส่วนใหญ่ชาวชนบทในแขวงเซกองปลูกข้าวอย่างเดียวเป็นสำคัญ และผลิตข้าวได้เพียงปีละครั้ง ความเป็นอยู่จึงยังลำบากมาก ด้วยบรรดาโครงการปลูกยางพารา เยาวชนหลายพันคนของแขวงเซกองได้มีงานทำอย่างมั่นคง ดังนั้น จากเขตที่ดินยากจนข้นแค้น วัตถุพื้นฐานขาด แคลน เวลานี้เซกองได้สวมเสื้อตัวใหม่ด้วยแนวป่ายางพารากว้างไกลสุดสายตา ถนนหนทางไปมาสะดวก
เหงียน อาน เดี่ยม ประธานสภาบริหารบริษัท BIDINA กล่าวอย่างมั่นใจว่า เมื่อมีการดำเนินการปลูกยางพาราถึงที่ไหน โครงสร้างพื้นฐานรับใช้ความเป็นอยู่ของประชาชนก็พัฒนาถึงที่นั่น
เพื่อปลูกยางพารา 2,500 เฮกตาร์ บริษัทได้ทำเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อบรรดาหมู่บ้าน สถานีอนามัย โรงเรียน เขตชุมชน ทั้งรับใช้การปลูกยางพารา ทั้งรับใช้ประชาชนในเขตโครงการ ความสนใจและการลงทุนนี้ ประชาชนในเขตโครงการจึงได้เชื่อถือในบรรดานักลงทุนบิ่ญดิ่ญช่วยปกป้องผลพวงของสถานประกอบการต่างๆ เหมือนกับปกป้องผลงานของตนเอง
นอกจากนั้นที่แขวงต่างๆ ในลาวใต้ บรรดาสถานประกอบ การของจังหวัดบิ่ญดิ่ญ ยังช่วยเหลือแขวงต่างๆ ของเพื่อนในบางขอบเขตเช่น การฝึกอบรมภาษาเวียดนาม การให้ทุนการศึกษาแก่ นักศึกษา การช่วยเหลือด้านพันธุ์พืชและสัตว์เลี้ยง เป็นต้น
หากกล่าวถึงความร่วมมือระหว่างจังหวัดบิ่ญดิ่ญกับแขวงต่างๆ ในลาวใต้ต่อไป เหงียน วัน เถี่ยน เลขาธิการคณะพรรค จังหวัดบิ่ญดิ่ญประเมินว่า การเดินทางของคณะผู้แทนระดับสูงจากจังหวัดบิ่ญดิ่ญไปยังบรรดาแขวงลาวใต้ครั้งนี้ได้รับความสำเร็จ มาก ความสำเร็จไม่เพียงเป็นการสร้างโอกาสเพื่อบรรดาสถานประกอบการของบิ่ญดิ่ญได้เข้าใจและขยายโครงการลงทุนที่นี่ แต่ยังเพิ่มการกระชับมิตรภาพเก่าแก่ระหว่างบิ่ญดิ่ญกับบรรดาแขวงลาวใต้ และระหว่างสองประเทศ คือเวียดนามและลาว
|