Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
Right Time? The New Chapter             
โดย สุภัทธา สุขชู นภาพร ไชยขันแก้ว
 

   
related stories

ROLE MODEL 2011 ศุภชัย เจียรวนนท์
Right Man?
มุมเล็กๆ กับชีวิตในแบบ “ศุภชัย”

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ทรู คอร์ปอเรชั่น, บมจ.
ศุภชัย เจียรวนนท์
Telecommunications




ภายหลังที่ทรูเข้าซื้อกิจการบริษัทฮัทชิสัน ทำให้สามารถต่อยอดการทำงานออกไปได้อีก 14 ปี จากสัมปทานจะสิ้นสุดในปีหน้า การขยายเทคโนโลยี 3G จะช่วยเติมเต็มบริการยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ให้สมบูรณ์มากขึ้น ประหนึ่งว่าทรูกำลังกลายเป็นเสือติดปีก

ภาพรวมตลาดธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบันมีผู้เล่นฝั่งเอกชน 3 รายหลักคือ กลุ่ม เอไอเอส ดีแทค และกลุ่มทรู โดยมีเอไอเอสครองส่วนแบ่งการตลาดในอันดับหนึ่งมาตลอด เอไอเอสมีลูกค้าประมาณ 32 ล้านราย ดีแทคมีลูกค้าประมาณ 23 ล้านราย ส่วนทรูมีลูกค้าราว 18 ล้านราย

ทรูเป็นผู้ให้บริการมาทีหลังเอไอเอสและดีแทค จึงอยู่อันดับ 3 มาตลอด แต่หากถามใจลึกๆ ของทรูว่าต้องการเป็นเป็นเบอร์ 3 ตลอดไปหรือไม่ คำตอบน่าจะ “ไม่”

ความเสียเปรียบของทรู สำหรับผู้มาทีหลังและระยะเวลาสัมปทานที่สั้นกว่ารายอื่นๆ และจะสิ้นสุดในปีหน้า (ปี 2556) ทำให้ทรูดิ้นรนหาทางออกเพื่ออยู่รอด

ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นยอมรับว่า บริษัทฮัทชิสัน ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบซีดีเอ็มเอ ภายใต้แบรนด์สินค้าฮัทช์ เปรียบเหมือนขอนไม้ที่ลอยมาและต้องคว้าไว้ก่อน เพราะระบบโทรศัพท์ซีดีเอ็มเอของฮัทช์สามารถพัฒนาไปเป็นระบบ 3G

หลังจากการเจรจาซื้อกิจการบริษัทฮัทชิสันจบลงด้วยมูลค่า 6,300 ล้านบาทเมื่อต้นปีที่ผ่านมา และในปีเดียวกันทรูก็เปิดแบรนด์ใหม่เรียกว่า ทรูมูฟ เอช (true move H) เปิดตัว อย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2554 ให้บริการเครือข่าย 3G+ บนเทคโนโลยี HSPA ภายใต้สัญญาร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ทรูมูฟ เอช จะให้บริการในลักษณะผู้ขายต่อบริการ (รีเซลเลอร์)

“ทรูเริ่มทดลอง 3G และยึดตำแหน่งความเป็นผู้นำในเทคโนโลยี 3G มาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งเป็นปีที่เราเปิด iPhone โดยทรูเป็นรายแรกที่นำ iPhone เข้ามา มาถึงวันนี้ก็ยัง ถือได้ว่าทรูยังคงความเป็นผู้นำในเรื่อง 3G เพราะเราริเริ่มและเปลี่ยนแปลงเป็นรายแรก”

ทรูได้พยายามสร้างจุดขายทรูมูฟ เอช ว่าเป็นเครือข่าย 3G+ ที่มีความเร็วสูงสุด 42 เมกะบิตต่อวินาที ครอบคลุมกรุงเทพฯ และอีก 16 จังหวัด

ทรูใช้ความได้เปรียบของการได้มาของ 3G ที่เหนือกว่าดีแทคและเอไอเอส เพราะทั้ง 2 รายเปิดให้บริการ 3G ก็จริงแต่พื้นที่ครอบคลุมยังไม่มาก ค่ายเอไอเอสเน้นติดตั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดเชียงใหม่ ในขณะที่ดีแทคทดลองในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน

ความได้เปรียบดังกล่าวทำให้ทรูรุกแผนปฏิบัติการอย่างรวดเร็ว ในปีนี้จะใช้เงินลงทุนโครงข่าย 3G เป็นจำนวนเงิน 23,000 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายในไตรมาสแรกของ ปีนี้บริษัทจะต้องติดตั้งระบบโครงข่ายให้ได้เทียบเท่า 2G ของทรูมูฟ และภายในสิ้นปีนี้จะต้องติดตั้งเครือข่ายให้ได้มากกว่าเอไอเอส

ส่วนด้านการตลาดบริษัทได้จัดรายการส่งเสริมการขายให้ลูกค้าจำนวน 8 แสนรายของฮัทช์มาใช้บริการทรูมูฟ เอช รวมถึงลูกค้าอีก 4 แสนรายที่อยู่ในทรูมูฟ แผนธุรกิจ ดังกล่าวทำให้ทรูมีส่วนแบ่งการตลาด 3G อยู่ 80%

สิ้นปีที่ผ่านมาทรูตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้าใช้บริการ 3G ถึง 1 ล้านราย แต่ด้วยเหตุอุทกภัยทำให้ตัวเลขไม่ถึงเป้า ทว่าในปีนี้ก็รุกตลาดอย่างหนักด้วยการเปิดบริการเติมเงิน 3G และคาดการณ์ว่าบริการใหม่นี้จะคุ้มทุนทันทีเมื่อลูกค้าใช้บริการครบ 5 ล้านราย

ทรูเชื่อว่าจะใช้เวลาไม่นาน เพราะมองว่าแนวโน้มของตลาดผู้บริโภคจะหันมาใช้บริการข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่บริการเสียงเข้าสู่จุดอิ่มตัว

จากตัวเลขของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยพบว่าปีนี้โทรศัพท์ที่ใช้เสียงจะเติบโต เพียง 3% ในขณะที่ข้อมูล (data) จะโตถึง 26% ดังนั้นแนวโน้มการเติบโตของข้อมูลจึงกลายเป็นโอกาสของทรู เพราะมองว่าดาต้าจะมีการบริโภคสูงขึ้นเรื่อยๆ และไม่จำกัดอยู่ที่การสื่อสาร แต่มีโอกาสเติบโตในเนื้อหา (content) และการซื้อขายสินค้าบริการผ่านออนไลน์ (commerce)

หากพิจารณาธุรกิจของกลุ่มทรูหลัก ประกอบด้วยโทรศัพท์บ้าน อินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี และโทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงทำให้ ทรูกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กรว่า ต้องเป็น Convergence Play ในฐานะผู้หลอม รวมบริการและเทคโนโลยีให้กับผู้บริโภค ภายใต้แนวคิดที่มองว่า จริงๆ แล้ว สิ่งที่ผู้ บริโภคต้องการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เป็น “4C” อันประกอบด้วย Community, Content, Commerce และ Communicator

“ในด้านเทคโนโลยี จริงๆ แล้ว คนเราบริโภคสิ่งเดียวกันหมด คือสิ่งที่เรียกว่า Bandwidth หรือความจุข้อมูลในแง่ของดาต้า ตั้งแต่สมัยที่ยังใช้โมเด็มมาถึงยุค 2G และ 3G พวกเราล้วนบริโภค Bandwidth เพื่อเข้าถึงดาต้าที่ต้องการ นี่จึงเป็นสิ่งที่ผม เชื่อมั่นว่า เรามาถึงยุคของ Convergence แล้วด้วย 3G”

ยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ของทรูได้มีการพูดถึงมามากกว่า 7 ปี และยืนยันที่จะเดินไปในทิศทางนี้ในอนาคต เพราะทรูเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวจะสร้างการเติบโตให้กับองค์กรอย่างแน่นอน เพราะเทคโนโลยีความเร็วสูงทั้งมีสายและไร้สายจะนำพาคอนเทนต์ไปสู่ผู้บริโภค ทำให้เกิดการค้าและสังคมออนไลน์ เทคโนโลยี 3G จะเติมเต็มให้ยุทธศาสตร์ คอนเวอร์เจนท์ของทรูสมบูรณ์มากขึ้น

นอกจากการตอบโจทย์ในแง่ของการเติมเต็มไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป ในแง่ความต้องการขององค์กรธุรกิจก็เป็นสิ่งที่เทคโนโลยี 3G จะต้องถูกนำไปต่อยอดเพื่อ ตอบสนองวิถีในการทำธุรกิจที่เปลี่ยนไปตามขีดความสามารถของเทคโนโลยี ซึ่งศุภชัยบอก ว่า นับจากนี้เทคโนโลยีการสื่อสารจะเปลี่ยนภาพของธุรกิจไปได้อีกเยอะ

วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนของกลุ่มทรูทำให้สามารถกู้เงินมูลค่า 48,940 ล้านบาท จากสถาบันการเงิน 4 แห่งเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารยูโอบี และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เพื่อชำระหนี้ และส่วนหนึ่งนำไปลงทุนเพื่อต่อเติมยุทธศาสตร์คอนเวอร์เจนท์

กิตติพันธ์ อนุตรโสตถิ ผู้ช่วยผู้จัด การใหญ่อาวุโส สายธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ธนาคารได้ปล่อยเงินกู้ให้กับ บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่นกว่า 2 หมื่นล้านบาท เพราะเชื่อว่าการที่บริษัทเป็นรายแรกที่ให้บริการ 3G จะทำให้ คอนเวอร์เจนท์เติบโตได้ดีและเป็นรายเดียว ที่มีมีเดีย คอนเทนต์ และโทรศัพท์ เมื่อเทียบกับคู่แข่งเอไอเอสและดีแทค ธุรกิจของ ทรูจะสร้างโอกาสให้เกิดลูกค้าใหม่

แม้ก่อนหน้านี้ทรูมีปัญหาโครงสร้าง การเงิน แต่ได้ปรับปรุงค่อนข้างมาก มั่นใจว่าจะมีรายได้จากการลงทุน แม้ในระยะแรกจะขาดทุนจากการดำเนินธุรกิจก็ตาม และศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นคนรักษาคำมั่น สัญญา ทำให้ผู้ใหญ่เชื่อมั่น

โครงสร้างด้านการเงินของกลุ่มทรู แม้จะมีรายได้ 5-6 หมื่นล้านบาทในช่วงระยะหลังนี้ก็ตามแต่กำไรที่อยู่ในระดับพันล้านบาทถือว่าค่อนข้างบาง แม้ว่าจะมีทรัพย์ สินกว่า 1 แสนล้านบาท หรือ 141,743.18 ล้านบาท (ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์) แต่บริษัทก็คาดหวังไว้ว่าจะกลับมามีกำไรอีกครั้งในปี 2556 ขณะที่ปีนี้อาจจะไม่มีกำไรเพราะใช้เงินลงทุน 23,000 ล้านบาท

ผลประกอบการที่ผ่านมา ธุรกิจส่วนใหญ่สร้างกำไรให้กับองค์กร เช่น โทรศัพท์บ้านและอินเทอร์เน็ต เคเบิลทีวี แต่ธุรกิจที่ยังขาดทุนอยู่คือโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยศุภชัยยอมรับว่า สาเหตุหลักที่ทำให้ธุรกิจมือถือของทรูยังขาดทุนมาจากการลงทุนที่ไม่เพียงพอ จึงไม่สามารถแข่งขันได้

“เหตุที่เราลงทุนไม่พอ เพราะสัมปทานเหลืออยู่น้อย ฉะนั้นการระดมทุนหรือการกู้เงินก็มีขอบเขตจำกัด พูดง่ายๆ ก็คือ สัมปทานเหลืออยู่น้อย ลงทุนต่อไป 2G ก็ไม่กำไร แต่ตอนนี้เราลงทุนทำ 3G ได้ในอายุที่สามารถคืนทุนได้แบบนี้ เราทำได้ดีแน่นอน ฉะนั้น ธุรกิจมือถือก็น่าจะพลิกกลับมาทำกำไรได้”

สำหรับผลประกอบการที่ผ่านมา มีสัดส่วนรายได้จากโทรศัพท์มือถือ 3 หมื่นล้านบาท ธุรกิจทรูวิชั่นส์ (เคเบิลทีวี) 1 หมื่นล้านบาท โทรศัพท์บ้านและอินเทอร์เน็ตบรอดแบรนด์ 2 หมื่นล้านบาท

แผนธุรกิจปี 2555 นอกจากจะลงทุนขยายโครงข่ายและบริการ 3G แล้ว กลุ่มทรู จะทดลองติดตั้งโครงข่าย 4G บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิร์ตซ์

นอกจากนี้จะนำเทคโนโลยี DOCSIS 3.0 ให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็ว โดยมีเป้าหมายพัฒนาบริการบรอดแบรนด์ให้มีความเร็วสูงสุด 200 เมกะบิตต่อวินาที จากปัจจุบัน ความเร็วอยู่ที่ 100 เมกะบิตต่อวินาที ส่วนบริการเคเบิลทีวีอยู่ระหว่างการปรับเทคโนโลยี MPEG 4 จากเดิม MPEG 2 เพื่อให้สามารถชมรายการต่างๆ ได้มากขึ้น

ดูเหมือนว่าธุรกิจกลุ่มทรูล้วนมีโอกาสมากมายรออยู่ข้างหน้า แต่ความเสี่ยงทางธุรกิจของทรูก็มีเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะการเข้าซื้อกิจการของฮัทชิสัน ทำให้ดีแทคฟ้องร้อง ถึงความไม่เป็นธรรม และจะต้องพิจารณาว่าเข้าข่าย พ.ร.บ.กิจการร่วมทุนหรือไม่

ส่วนธุรกิจเคเบิลทีวี แม้ว่าปัจจุบันจะมีลูกค้าเกือบ 2 ล้านรายก็ตาม แต่ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงของกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมีนาคม 2551 ที่ผ่านมา อนุญาตให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ระบบบอกรับสมาชิก (ระบบเคเบิล ทีวีและระบบดาวเทียม) สามารถโฆษณาได้ ทำให้มีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาด โดยเฉพาะผู้ประกอบการโทรทัศน์ดาวเทียม

แม้ว่าทรูจะมีอุปสรรค และความเสี่ยงรออยู่เบื้องหน้า แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่อย่าง บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด กลุ่มซีพี สนับสนุนทั้งเงินทุนและร่วมกำหนดนโยบาย ย่อมสร้างความเชื่อมั่นและความแข็งแกร่งให้ กับนักลงทุน สถาบันการเงินได้เป็นอย่างดี แม้ราคาหุ้นในวันนี้จะมีมูลค่า 3.24 บาท

เพราะการลงทุนขยายเทคโนโลยี 3G อย่างแข็งขัน กำลังสร้างโอกาสใหม่ ส่วนเทคโนโลยีนี้จะมาถูกจังหวะ ถูกเวลาหรือไม่ต้องลุ้นกันอีกที

ขณะที่พูดถึงเทคโนโลยี 3G ก็เริ่มมีเทคโนโลยี 4G เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดเข้ามาทดลองอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา มีความเร็วรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที โดยมีกลุ่มเอไอเอสเป็นแม่งานใหญ่ ทดสอบ 2 เทคโนโลยี

มีผู้ร่วมทดลอง 4 ราย คือ เอไอเอส ร่วมกับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ติดตั้งระบบบรอดแบนด์ไร้สายความเร็วสูง Broadband Wireless Access-BWA ในย่านความถี่ 2300 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้ความถี่ในลักษณะ Time Division Duplex หรือ TDD ทดลองในเขตกรุงเทพมหานคร บริเวณพระรามหนึ่งตั้งแต่มาบุญครองถึงเซ็นทรัลเวิลด์ รวมถึงชั้นนอกจากศูนย์ราชการ กระทรวงไอซีทีและสำนักงานทีโอที มีจำนวนสถานีฐาน 20 แห่ง

ส่วนอีกหนึ่งโครงการเป็นโครงการ ทดสอบระบบระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 4 ในย่านความถี่ 1800 MHz ด้วยเทคโนโลยี Long Term Evolution ซึ่งใช้คลื่นความถี่ในลักษณะ Frequency Division Duplex หรือ FDD ในเขตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยผู้ทดลองคือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ในเครือเอไอเอส)

นับเป็นช่วงเวลาท้าทายของกลุ่มทรู ในยุคเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี จะทำให้กลายเป็นเสือติดปีกหรือไม่?   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us