Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
ซาอุดีอาระเบียคุกที่ใหญ่ที่สุดสำหรับผู้หญิง             
โดย ศศิภัทรา ศิริวาโท
 


   
search resources

Social




ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียถือได้ว่าเป็นผู้หญิงที่ถูกจำกัดสิทธิค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ กฎหมายส่วนใหญ่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ค่อนข้างเข้มงวดมากสำหรับผู้หญิง เช่น ถูกจำกัดสิทธิทางการเมือง การแต่งตัว และการขับรถ เป็นต้น ผู้หญิงซาอุดีอาระเบียจะต้องแต่งกายมิดชิดและคลุมหน้าเพื่อไม่ให้ผู้ชายอื่นเห็นหน้าตา ยกเว้นสามีและบุคคลในครอบครัว และยังไม่สามารถออกไปทำงานได้ถ้าหากว่าไม่ได้รับอนุญาตจากสามี

แม้ว่าผู้หญิงจะมีสิทธิและเสรีภาพน้อยมากในสังคม แต่กษัตริย์ Abdullah แห่งซาอุดีอาระเบีย ได้พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงกฎต่างๆ เหล่านี้ เพื่อให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียได้มีสิทธิและเสรีภาพมากขึ้น เช่น เรื่องการให้สิทธิกับผู้หญิงในการลงคะแนนเลือกตั้ง

ประเทศส่วนใหญ่ได้ให้สิทธิกับผู้หญิงในการลงคะแนนเลือกตั้งมาเป็นเวลานานแล้ว อย่างเช่นที่นิวซีแลนด์ ผู้หญิงสามารถลงคะแนนเลือกตั้งได้เป็นครั้งแรกของโลกในปี 2436 ประเทศไทยของเรา ผู้หญิงก็สามารถเลือกตั้งได้ในปี 2475 แม้กระทั่งประเทศพม่าเองก็ยังให้สิทธิกับผู้หญิงในปี 2478

แม้ว่าประเทศซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมดีกว่าประเทศพม่า แต่กลับไม่ให้สิทธิกับผู้หญิงในการลงคะแนนเลือกตั้ง จนกระทั่งเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ทางรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ตัดสินใจอนุญาตให้ผู้หญิงสามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งและสามารถลงสมัคร เป็นผู้แทนในการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นได้ ซึ่งกฎหมายนี้จะมีผลบังคับ ใช้ในปี 2558 การที่ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียได้รับสิทธิในการลงคะแนนเลือกตั้งนั้นนับว่าเป็นเรื่องดี เพียงแต่ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบีย เป็นจำนวนมากยังคงสงสัยและไม่เข้าใจว่าในเมื่อเรื่องที่เป็นเรื่องใหญ่อย่างการให้สิทธิกับผู้หญิงในเรื่องการเมืองยังให้ได้ แต่ทำไมเรื่องเล็กๆ อย่างเช่นเรื่องของการขับรถของผู้หญิง และเรื่องที่ผู้หญิงต้องการที่จะซื้อชุดชั้นกับพนักงานขายหญิงเท่านั้น ถึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่ค่อยให้ความสนใจในการแก้ไข

การห้ามผู้หญิงขับรถฟังดูแล้วอาจจะคิดว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลก เพราะผู้หญิงในประเทศอื่นๆ ต่างก็ขับรถไปไหนมาไหนกันเองทั้งนั้น แต่ทาง รัฐบาลซาอุดีอาระเบียกลับไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมีใบขับขี่ได้ เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจของสังคม เมื่อผู้หญิงซาอุดีอาระเบียถูกจับ เพียงเพราะว่าเธอขับรถบนถนนในประเทศซาอุดีอาระเบีย

เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ผู้หญิงซาอุดีอาระเบียคนหนึ่งได้ตัดสินใจที่จะขับรถบนถนนในประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำให้เธอโดนตำรวจจับและถูกกล่าวหาว่าเธอพยายามจะก่อความ ไม่สงบในสังคม ด้วยการทำตัวให้เป็นตัวอย่างกับผู้หญิงคนอื่นๆ ในสังคมให้หันมาขับรถเหมือนเธอ ดังนั้นผู้หญิงคนนี้จึงถูกคุมขังเป็นเวลา 5 วัน เพราะคดีของเธออยู่ในระหว่างการสอบสวนและหาข้อมูล ซึ่งหลังจากที่เธอถูกปล่อยตัวออกมา เธอตัดสินใจอัพโหลดวิดีโอที่แสดงให้เห็นว่าเธอกำลังขับรถอยู่ในซาอุดีอาระเบียลงบนอินเทอร์เน็ต และมีหน้าเฟซบุ๊กที่ตั้งขึ้นโดยใช้หัวข้อว่า “Teach me how to drive so I can protect myself” เพื่อที่จะได้รวบรวมผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียให้มารวมตัวกันแล้ว ชวนกันขับรถไปตามถนนในซาอุดีอาระเบีย เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเปลี่ยนกฎหมายนี้ แต่ในที่สุดหน้า เฟซบุ๊กนี้และเว็บไซต์ต่างๆ ที่ให้การสนับสนุนหรือพูดถึงการรณรงค์ให้ผู้หญิงสามารถขับรถเองได้ก็ถูกรัฐบาลสั่งปิดทั้งหมด

อีกตัวอย่างหนึ่งที่ผู้หญิงซาอุดีอาระเบียขับรถ ไปส่งลูกของเธอที่โรงเรียน แต่เธอโดนตำรวจจับระหว่างทาง ถึงแม้ว่าผู้หญิงคนนี้จะใช้ข้ออ้างว่าเธอมีใบขับขี่สากลและก็ขับรถอยู่เป็นประจำ เพราะว่าเธออาศัยอยู่ที่ต่างประเทศมาก่อน ทางตำรวจก็ไม่อนุญาตให้เธอขับรถได้ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำให้ผู้หญิงคนนี้ถูกจับและจะได้รับการปล่อยตัวก็ต่อเมื่อเธอสัญญาว่าจะไม่ขับรถอีกเลย

ผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียเชื่อว่าไม่มีกฎหมาย ไหนที่จะสั่งห้ามไม่ให้ผู้หญิงขับรถ ยกเว้นแต่ความเชื่อทางศาสนาและสังคมที่มีมาแต่โบราณเท่านั้นที่จะห้ามไม่ให้ผู้หญิงขับรถ และผู้หญิงชาวซาอุดีอาระเบียก็ยังไม่เข้าใจว่า ทำไมพวกเธอถึงไม่ได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ในขณะที่ผู้หญิงที่อาศัยอยู่ในประเทศมุสลิมอื่นๆ สามารถขับรถได้ การที่พวกเธอ เหล่านี้ขับรถไปไหนเองได้ก็ไม่ได้ทำให้ความเป็นมุสลิม ลดลงแม้แต่น้อย และพวกเธอก็ไม่เข้าใจว่าเรื่องการ ขับรถนั้นดูแล้วเป็นเรื่องเล็กมากเมื่อเทียบกับการได้รับสิทธิในทางการเมือง แต่ทำไมเรื่องนี้ถึงไม่มีการพูดถึงและไม่มีแนวโน้มว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น

ที่แย่ไปกว่านั้นคือ พวกเธอไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นรถเมล์ หรือหากต้องการใช้บริการรถสาธารณะ เช่น แท็กซี่ ผู้หญิงจะต้องมีผู้ชายที่เป็นคนในครอบครัว ไปไหนด้วยตลอด ทำให้ผู้ชายจะต้องรับหน้าที่หลักในการรับส่งผู้หญิงไปทำงาน ไปห้างสรรพสินค้า แม้ กระทั่งไปตลาด เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก สำหรับผู้หญิง เพราะถ้าผู้ชายไม่ว่าง ผู้หญิงก็จะไม่สามารถ ออกไปไหนได้ ดังนั้นผู้หญิงซาอุดีอาระเบียส่วนใหญ่ ที่ค่อนข้างมีฐานะจึงต้องจ้างผู้ชายมาเป็นคนขับรถส่วนตัว ซึ่งเรื่องนี้ผู้หญิงหลายคนได้ออกมาตั้งคำถาม ว่า การที่ผู้หญิงจะต้องไปไหนมาไหนกับคนขับรถผู้ชายตลอดเวลาจะไม่อันตรายมากกว่าการที่พวกเธอขับรถเองหรือ

สำหรับเรื่องการห้ามผู้หญิงในการขับรถ ทางรัฐบาลซาอุดีอาระเบียได้ออกมาชี้แจงว่า เป็นเรื่องของความปลอดภัยของตัวผู้หญิงเอง เพราะถ้าหากผู้หญิงมีสิทธิและเสรีภาพในการขับรถไปไหนมาไหน เองได้ ก็จะทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะไปไหน คนเดียว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายได้ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดปัญหาในสังคมมากขึ้น เช่น อาจทำให้ เกิดช่องว่างและโอกาสในการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือการถูกทำร้ายร่างกายได้ ดังนั้นการที่ห้ามไม่ให้ผู้หญิงขับรถเอง ไม่สามารถใช้บริการรถเมล์หรือรถสาธารณะตามลำพังได้ ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้หญิงเองทั้งนั้น

ในขณะเดียวกันก็มีผู้หญิงซาอุดีอาระเบียบางคนที่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ห้ามผู้หญิงขับรถ เพราะพวกเธอเชื่อว่า พวกเธอจะได้ไม่ต้องเครียดจากการขับรถ ไม่ต้องยุ่งยากในการหาที่จอดรถ ดังนั้นเมื่อมีคนขับรถ พอถึงห้างสรรพสินค้าพวกเธอก็สามารถ ลงจากรถไปเดินซื้อของได้ทันที

ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการห้ามผู้หญิงขับรถเท่านั้น ที่ซาอุดีอาระเบียผู้หญิงที่ต้องการซื้อชุดชั้นใน ต้องซื้อกับคนขายที่เป็นผู้ชายเท่านั้น เพราะรัฐบาล ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงไปทำงานเป็นพนักงานขายในห้าง ปกติ ผู้หญิงจะทำงานเป็นพนักงานขายได้เฉพาะในห้างสรรพสินค้าสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ หรือเฉพาะ ชั้นที่ถูกจำกัดบริเวณให้มีไว้สำหรับผู้หญิงเท่านั้น ซึ่งห้างเหล่านี้มีค่อนข้างน้อย ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องข่มความอายไปซื้อชุดชั้นในกับคนขายที่เป็นผู้ชาย

ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียได้ออกมาเรียกร้องตั้งแต่ปี 2550 ให้รัฐบาลอนุญาตให้พนักงานขายชุดชั้นในเป็นผู้หญิงแทนที่จะเป็นผู้ชาย เพราะผู้หญิงซาอุดีอาระเบียรู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าอายมากที่จะต้องเดินเข้าไปบอกพนักงานขายที่เป็นผู้ชายว่าตัวเองใส่ชุดชั้นในไซส์ไหน และในบางครั้งที่ไปเดินเลือกชุดชั้นในแล้วมีพนักงานขายผู้ชายเดินตาม ทำให้พวกเธอรู้สึกไม่สะดวกใจในการที่จะเดินเลือกซื้อ และยังรู้สึกอายอีกด้วย ถึงแม้ว่าพนักงานขายที่เป็นผู้ชาย อาจจะไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้พวกเธอรู้สึกไม่สะดวกใจหรือรู้สึกอาย เพียงแต่ต้องการที่จะคอย อำนวยความสะดวกให้กับพวกเธอเหล่านี้

หากคุณเป็นผู้หญิงซาอุดีอาระเบียที่ต้องการซื้อชุดชั้นใน มีเพียงแค่ 2 วิธีเท่านั้น คือ 1) ข่มความ อายแล้วเดินเข้าไปซื้อกับพนักงานขายที่เป็นผู้ชาย ซึ่งผู้หญิงบางคนมักจะได้ของที่ไม่ตรงกับความ ต้องการหรือได้ไซส์ที่ผิดไป เพราะเป็นการยากที่จะต้องอธิบายลักษณะชุดชั้นในที่ต้องการ แม้กระทั่งจะต้องบอกไซส์ที่ถูกต้องกับผู้ชายที่เป็นพนักงานขาย หรือ 2) สั่งซื้อชุดชั้นในจากทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งคุณไม่สามารถจะลองสวมใส่ได้ทำให้ไม่สามารถรู้ได้ว่า ไซส์นี้เป็นไซส์ที่ถูกต้องหรือไม่ ดังนั้น ผู้หญิงซาอุดี อาระเบียบางคนที่มีฐานะจะบินไปซื้อชุดชั้นในที่ต่าง ประเทศ เพราะไม่ต้องการที่จะซื้อชุดชั้นในกับผู้ชาย

เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา รัฐบาลซาอุดี อาระเบียได้อนุญาตให้ผู้หญิงไปเป็นพนักงานขายใน ร้านชุดชั้นใน แต่ว่าในช่วงแรกเริ่มนี้ทางกระทรวงแรงงานจะมีการออกตรวจอยู่เรื่อยๆว่า ทางห้างสรรพสินค้าได้เปลี่ยนพนักงานขายชุดชั้นในจากผู้ชายเป็นผู้หญิงทั้งหมด และในเดือนกรกฎาคมปีนี้ ทางรัฐบาลจะอนุญาตให้เปลี่ยนพนักงานขายเครื่องสำอางจากผู้ชายเป็นผู้หญิงเช่นกัน

การอนุญาตให้ผู้หญิงมาเป็นพนักงานขายชุดชั้นในแทนผู้ชายในครั้งนี้ ทำให้ผู้ชายหลายๆ คน ที่เคยเป็นคนขายมาก่อนไม่ค่อยเห็นด้วย เพราะคนที่มาซื้อชุดชั้นในส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นผู้ชายที่มาซื้อชุดชั้นในให้ภรรยา

แต่การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ก็ทำให้ผู้หญิงซาอุดีอาระเบียรู้สึกดีขึ้นมากๆ และก็หวังว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียมีโอกาสเพิ่มมากขึ้นในการจ้างงาน เพราะว่าในปัจจุบันนี้มีผู้หญิงเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่มีงานทำ เพราะผู้หญิงสามารถทำงานได้เพียงแค่เป็นครูในโรงเรียนที่มีแต่เด็กผู้หญิง หรือในที่ทำงานที่มีแต่ผู้หญิง อย่างเช่นเป็นพนักงานขายในห้างสรรพ สินค้าสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ เพราะกฎหมายไม่อนุญาตให้ผู้หญิงกับผู้ชายทำงานร่วมกันได้

ดังนั้น หากเราลองมาคิดเปรียบเทียบดูแล้ว ก็เรียกได้ว่า การเกิดเป็นผู้หญิงไทยนั้นช่างโชคดีกว่าผู้หญิงซาอุดีอาระเบียมากมายนัก อย่างน้อยที่สุดเราก็สามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้เป็นเวลานานแล้ว สามารถขับรถไปไหนมาไหนเองได้ และยังไม่ต้องเดินเข้าไปในห้างสรรพสินค้าอย่างอายๆ เพื่อไปซื้อชุดชั้นในกับพนักงานขายที่เป็นผู้ชายด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us