Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
การขอลี้ภัยในนิวซีแลนด์             
โดย ชาญ เทียบเธียรรัตน์
 


   
search resources

Law




ตอนที่ผมยังเด็กเป็นช่วงที่วงคาราบาวเพิ่งจะออกอัลบั้มเมดอินไทยแลนด์ หนึ่งเพลงในอัลบั้มนั้นที่ผมจำได้คือเพลงเรฟูจี ที่มีเนื้อร้องช่วงหนึ่งที่คุณแอ๊ดร้องว่า “กินมีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ” ซึ่งผมจะยังไม่พูดตอนนี้นะครับว่าผมเห็นด้วยหรือเปล่ากับเนื้อร้องท่อนนี้ ขอไปพูดตอนท้ายบทความแทน ตอนผมฟังเพลงนี้ครั้งแรกผมเป็นเด็ก ป.1 ความรู้ยังไม่มี ผมก็เลยเข้าใจไปตามประสาเด็กๆ ว่าพวกที่มาขอลี้ภัย สงสัยแต่ก่อนจะเคยร่ำรวย แล้วไม่แบ่งปันให้คนอื่น ตอนนี้เลยไม่มีจะกินกันทั้งประเทศ พวกเขาก็เลยอยู่ไม่ได้

จนกระทั่งผมได้เรียนเกี่ยวกับกฎหมายการย้ายมาอยู่อาศัยในนิวซีแลนด์ (Immigration Law) ซึ่งสอน ทั้งหลักกฎหมายสำหรับการทำเรื่องขอสิทธิในการอยู่อาศัยในนิวซีแลนด์และการขอสัญชาติ (Residency and Citizenship) และการขอลี้ภัย (Asylum) ผมถึงได้รู้ว่าผู้ขอลี้ภัย (Refugee) นั้น ไม่ใช่คนที่ร่ำรวยแล้วไม่แบ่งปันอย่างที่ผมเคยคิด แต่จริงๆ แล้วคือคนที่ต้องหนีออก จากบ้านเกิดตัวเอง ด้วยความกลัวว่าจะเกิดอันตรายกับ ชีวิตหรือความปลอดภัยของตัวเขาเอง และไม่สามารถจะคาดหวังให้ทางการของประเทศเขาคุ้มครองเขาได้ ซึ่งนิวซีแลนด์นั้นก็เป็นหนึ่งในประเทศที่คนจะสามารถมาขอลี้ภัยได้ หากเขามีสถานะตามที่กฎหมายกำหนดไว้ และผู้ขอลี้ภัยในปีนั้น ยังไม่เกินโควตา ซึ่งนิวซีแลนด์ มีโควตารับชาวต่างชาติที่ขอลี้ภัยปีละ 750 ราย

โควตา 750 ราย ดูเหมือนจะเป็นจำนวนที่น้อย มากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา (12,000 ราย) หรือออสเตรเลีย (6,000 ราย) ถึงโควตาจะมีแค่ 750 ราย แต่เคยมีเพียง 4 ปีเท่านั้นที่จำนวนผู้ลี้ภัยต่อปี จะถึงจำนวนโควตา เนื่องจากนิวซีแลนด์เป็นเกาะที่แยก ออกมาต่างหากในมหาสมุทรแปซิฟิก การเดินข้ามชายแดนมาขอลี้ภัยจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นผู้ที่ขอลี้ภัยในนิวซีแลนด์สำเร็จนั้น ส่วนใหญ่จึงเป็นคนที่นั่ง เครื่องบินเข้ามาในประเทศแบบผู้โดยสารธรรมดา และพอมาถึงก็แจ้งความจำนงกับเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ว่าขอลี้ภัย ก็จะเริ่มมีการตรวจสอบหลักฐาน สถานะของ ตัวเขาและดำเนินการพิจารณาการขอลี้ภัยของเขาหลังจากเขาแสดงความจำนงขอลี้ภัย

การนั่งเครื่องบินเข้ามาขอลี้ภัยในประเทศนิว ซีแลนด์ได้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะก่อนจะเข้าประเทศ นิวซีแลนด์ได้ก็ต้องขอวีซ่า และถ้าไปบอกสถานทูตนิวซีแลนด์ว่าขอวีซ่าเพราะต้องการลี้ภัย ก็ไม่ต้องฝันว่าเขาจะออกวีซ่าให้ เพราะตามกฎหมายนั้นความรับผิดชอบของนิวซีแลนด์ที่จะให้ที่ลี้ภัย จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคนเหล่านั้นสามารถหนีเข้ามาในเขตแดนนิวซีแลนด์ได้เท่านั้น แต่ก่อนที่พวกเขาจะเข้ามาได้ นิวซีแลนด์มีสิทธิ์ ที่จะปฏิเสธให้พวกเขาเข้ามาในประเทศ ฉะนั้นผู้ขอลี้ภัย ส่วนใหญ่ที่บินเข้ามาขอลี้ภัยในนิวซีแลนด์สำเร็จ คือผู้ที่รู้ตัวล่วงหน้าว่าสถานภาพของพวกเขาเป็นอันตราย แล้วรีบขอวีซ่าเข้านิวซีแลนด์ก่อนที่ทางการของประเทศ เขาจะออกหมายจับ ทางการนิวซีแลนด์เช็กแล้วยังไม่มีหมายจับคดีอาญาจึงออกวีซ่าให้ และเขาก็รีบบินหนีออก มาก่อนที่ทางการของประเทศเขาจะออกหมายจับ หรือ อีกพวกที่เข้ามาได้สำเร็จ คือพวกที่ใช้พาสปอร์ตและวีซ่า ปลอม แล้วเข้ามาในประเทศนี้ได้ แล้วพอนั่งเครื่องบินลงถึงสนามบินก็ขอลี้ภัยที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งถ้าถามว่าทางการนิวซีแลนด์จะส่งเขากลับไปไหมโทษฐาน การใช้พาสปอร์ตปลอม คำตอบคือไม่ เพราะคนเหล่านี้ ส่วนใหญ่ทางการประเทศพวกเขาจะออกหมายจับพวกเขาแล้ว ถ้าเขาใช้พาสปอร์ตจริงออกนอกประเทศที่สนามบินเมื่อไรก็โดนลากเข้าคุกเมื่อนั้น ฉะนั้น หากว่าสถานะของคนเหล่านี้ตรงกับที่สนธิสัญญากำหนดไว้ เขาก็มีสิทธิ์ลี้ภัย ถึงแม้ว่าจะใช้พาสปอร์ตปลอมเข้าประเทศ

สำหรับขั้นตอนการขอลี้ภัยนั้น สิ่งแรกที่ผู้ขอลี้ภัย จะต้องทำคือให้ความร่วมมือกับทางการนิวซีแลนด์ในทุกเรื่องที่ทำได้ เมื่อสิบกว่าปีก่อน เคยมีคดีในนิวซีแลนด์ เรียกว่าคดี “Wat Thai Immigration Scam” หรือคดีสิบแปดมงกุฎจากวัดไทย1 ซึ่งในคดีนี้มีคนไทยพยายาม จะขอลี้ภัยมาอยู่ที่นิวซีแลนด์ แต่ว่าไม่ยอมที่จะพูดภาษาไทยกับล่ามที่ทางการหามาให้ แต่จะให้ข้อมูลกับทางการในภาษาบาลีเท่านั้น ทางการจึงลงความเห็นว่า เขาไม่ยอมให้ความร่วมมือกับทางการ ไม่ยอมแม้กระทั่งจะพูดภาษาของเขาเองเมื่อทางการจัดล่ามมาให้ และส่งเขากลับไปในที่สุด

สิ่งสำคัญต่อไปที่ทางการจะต้องพิจารณาคือว่าสถาน การณ์ร้ายแรงที่ผู้ลี้ภัย อ้างถึงนั้น ทำให้ผู้ลี้ภัยคนนั้นไม่สามารถจะอยู่ในประเทศของ เขาได้อย่างปลอดภัย เลย ไม่ว่าจะในเมืองไหน เขาสามารถย้าย จากเมืองที่เขาอยู่ไปยังเมืองอื่นในประเทศนั้นๆ ที่เขาจะสามารถคาดหวังว่าทางการจะให้ความคุ้มครองเขาได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือได้ ก็จะไม่มีการให้เขาลี้ภัยในต่างประเทศ เพราะการอนุญาตให้ลี้ภัยจะมีการอนุมัติต่อเมื่อคนคนนั้น หมดทางที่จะพึ่งความคุ้มครองใดๆ จากทางการของประเทศเขาได้โดยสิ้นเชิงเท่านั้น ในคดีวัดไทยที่ผมกล่าวถึง ไปข้างต้นนั้น ผู้ขอลี้ภัยบอกทางการว่าเขาถูกปองร้ายและตามล่าจากชาวมุสลิม ทำให้เขารู้สึกไม่ปลอดภัย คำร้อง ของเขาถูกปฏิเสธ เพราะคนไทยที่เป็นพุทธสามารถย้ายไป อยู่ได้เกือบทุกที่ในประเทศไทยอย่างปลอดภัย และทางการ ไทยย่อมให้ความคุ้มครองพวกเขา หากว่าถูกชาวมุสลิมตาม ล่า ฉะนั้นการที่เขาจะอยู่ในเมืองไทยต่อไปอย่างปลอดภัย จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

สิ่งสำคัญสิ่งสุดท้ายคือในขณะที่มีการพิจารณาห้าม ผู้ขอลี้ภัยทำอะไรที่จะทำให้สถานการณ์ของเขาเลวร้ายลงเด็ดขาด ในการพิจารณาสถานะของผู้ขอลี้ภัย ทางการจะพิจารณาเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่เขาจะขอลี้ภัยเท่านั้น ซึ่งสำหรับกฎข้อนี้นั้น ทางการเพิ่งจะออกมาได้ไม่นานนัก หลังจากมีคดีของชาวอิหร่านผู้หนึ่ง ซึ่งเปลี่ยนศาสนาจากอิสลามเป็นคริสต์ แต่ว่าเขาทำเงียบๆ คนอิหร่านไม่รู้เรื่องนี้ ทางการนิวซีแลนด์จึงปฏิเสธให้คนอิหร่านคนนี้ลี้ภัย เขาจึงขออุทธรณ์ ขณะอุทธรณ์อยู่ก็อดอาหารประท้วงและเล่าเรื่อง ของเขาออกสื่อ ทำให้สื่อประโคมข่าวเกี่ยวกับเขาครึกโครม ไปถึงอิหร่าน ซึ่งสำหรับชาวอิหร่าน การไม่นับถือศาสนาอิสลามถือเป็นการกระทำที่เลวร้ายมาก โอกาสที่คนคนนั้นจะโดนรุมทึ้งถ้าเขากลับถึงอิหร่านมีค่อนข้างสูง ทางการ นิวซีแลนด์จึงต้องให้เขาลี้ภัย แต่มีการออกกฎหมายหลังจากคดีนี้ว่าจะไม่มีการเอาการกระทำใดๆ ของผู้สมัครที่ทำโดยเจตนาที่จะให้ตัวเองมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัยหลังการยื่นใบสมัคร มาเป็นหลักฐานในการพิจารณา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ใครเอาโควตาลี้ภัยมาใช้ประโยชน์ ขอสิทธิในการย้ายมาอยู่ประเทศนี้ได้ง่ายๆ

ฉะนั้น ภายใต้กฎข้อใหม่นี้ หากสมมุติว่าผู้ขอลี้ภัย โดนตามล่าโดนรุมรังแกตั้งแต่อยู่ในประเทศเขาแล้ว อันนี้ทางการก็จะให้ลี้ภัย ถ้าผู้ขอลี้ภัยไม่มีอันตรายอะไรในวันที่เขาขอลี้ภัย แต่หลังจากขอลี้ภัยก็ทำอะไรที่ทำให้เพื่อนร่วมชาติของเขาโกรธแค้นโดยเจตนา เพื่อทำให้สถานะตัวเองมีอันตรายพอที่จะเป็นผู้ลี้ภัยได้ อันนี้ทางการนิวซีแลนด์ก็จะไม่มีการพิจารณาการกระทำหลังการยื่นใบสมัครของเขาทั้งนั้น และก็จะส่งกลับประเทศ ผู้ขอลี้ภัยก็เตรียมโดนรุมกระทืบเมื่อกลับไปถึงบ้านเกิดได้

สิ่งต่อไปที่จะต้องมีการพิจารณา คือเหตุผลที่ผู้ลี้ภัย คนนั้นถูกตามล่า ถูกรุมรังแกจากคนในประเทศของเขา จะต้องมาจากหนึ่งใน 5 เหตุผล ซึ่งประกอบด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ, ศาสนา, ความเห็นทางการเมือง, รสนิยมทางเพศ, หรือเหตุผลสุดท้ายคือ การที่เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

เหตุผลทางเชื้อชาติก็เช่นในประเทศเชค ที่ชาวเชค มองชาวยิปซีในประเทศของพวกเขาว่าไม่ใช่คน จะรังแก ด่าว่า ไปทำลายข้าวของ ไปรุมทำร้าย ตำรวจก็ไม่สนใจ จะไปแจ้งตำรวจ มีหลักฐานชัดขนาดไหนตำรวจก็ไม่จับ แบบนี้ ก็เข้าข่ายการถูกรังแกเพราะเชื้อชาติได้ ส่วนเหตุผลทางศาสนาก็อย่างเช่นลัทธิล่าแม่มดในยุโรปสมัยกลาง ใครไม่เชื่อในพระเจ้าก็จะโดนหาว่าเป็นแม่มดแล้วจับไปเผาทั้งเป็น แบบนี้ก็จะเข้าข่ายการถูกรังแกด้วยเหตุผลทางศาสนา

สำหรับเรื่องความเห็นทางการเมือง อันนี้ตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่นเยอรมนีในยุคนาซี ใครไม่สนับสนุนฮิตเลอร์ วิจารณ์ฮิตเลอร์ในทางลบก็จะโดนจับเข้าคุก ส่วนเรื่องรสนิยม ทางเพศ ก็เช่นประเทศอิหร่าน ผู้ชายที่ชอบที่จะมีอะไรกับผู้ชายด้วยกันจะถูกมองว่าเป็นสิ่งชั่วร้าย ใครจะไปรังแกยังไง ก็ได้ กฎหมายไม่คุ้มครอง ก็จะขอลี้ภัยได้ และข้อสุดท้ายคือ สมาชิกของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อันนี้จะต้องเป็นคนกลุ่มหนึ่ง ที่ทำอะไร หรือเชื่ออะไรที่แตกต่างกับความเชื่อที่คนส่วนใหญ่ ในสังคมถูกฝังหัวจนกลายเป็นสิ่งที่คนทุกคนคิดแบบนั้น ใครคิดต่างถือว่าชั่วช้า อยู่ร่วมสังคมกันไม่ได้ เช่นในประเทศ ตุรกี ซึ่งพ่อแม่จะเป็นผู้เลือกเจ้าบ่าวให้ลูกสาว ถ้าแต่งงานแล้วไปด้วยกันไม่ได้ ลูกสาวย้ายออกมาจากบ้านสามี อันนี้จะถือเป็นการทำให้วงศ์ตระกูลเสื่อมเสียอย่างรุนแรง เจอตัว ลูกสาวเมื่อไหร่ต้องจับฆ่าทิ้งเพื่อกู้ชื่อเสียงของตระกูลกลับคืนมา อันนี้ลูกสาวก็จะเข้าข่ายสมาชิกของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง คือเป็นกลุ่ม ‘ผู้หญิงในตุรกีที่ไม่เห็นด้วยกับการคลุมถุงชน’ ถ้ามีหลักฐานว่าพ่อแม่พี่น้องของเจ้าหล่อนหรือของสามีเจ้าหล่อนจะมารุมตามฆ่า ก็จะสามารถขอลี้ภัยได้

สำหรับเหตุผลแรก คือเรื่องเหตุผลทางเชื้อชาติ อัน นี้เป็นเรื่องที่ปกปิดไม่ได้ แต่สำหรับเหตุผลอื่นๆ เช่นความเชื่อทางศาสนา รสนิยมทางเพศ ความเห็นทางการเมือง อันนี้เป็นสิ่งที่ผู้ขอลี้ภัยพยายามปกปิดได้ จึงมีคำถามว่าหากผู้ขอลี้ภัยให้เหตุผลขอลี้ภัยเพราะ ศาสนา การเมือง หรือรสนิยมทางเพศ ทางการนิวซีแลนด์ต้องการให้ผู้ขอลี้ภัยพยายามปกปิดความคิดของตัวเองหรือ เปล่าในขณะที่อยู่ในประเทศตัวเอง อันนี้ได้มีการพิจารณาประเด็นนี้ในคดีของหนุ่มอิหร่านคนหนึ่งที่จิตใจเป็นสาว แถม ยังเป็นสาวที่เซ็กซ์จัดอีกด้วย เพราะตอนเรียนในโรงเรียน คุณเธอก็สะบึมกับเพื่อนชายกลางห้องเรียนเลย จึงต้องออกจากโรงเรียนไปทำงานในร้านเสื้อผ้า ซึ่งคุณเธอก็ไวไฟมาก ไปสะบึมกับเพื่อนร่วมงานชายในร้านเสื้อผ้าต่อทันที ชาวอิหร่านจึงเห็นว่าคุณเธอเป็นสิ่งมีชีวิตที่ชั่วร้าย ควรถูกสังคมลงทัณฑ์ คุณเธอจึงต้องขอลี้ภัย ประเด็นในคดีนี้คือ ในการตีความกฎหมายมาตรานี้จำเป็นหรือเปล่าที่ผู้ลี้ภัยต้องพยายามปกปิดความคิด ความเชื่อหรือความต้องการของตัวเองก่อน แล้วสุดท้ายปิดไม่อยู่ ความแตก โดนสังคม รังแก ถึงจะขอลี้ภัยได้ ทางการตัดสินว่า ผู้ลี้ภัยไม่จำเป็นต้องพยายามปกปิดความคิดตัวเองในตอนที่อยู่ประเทศของพวกเขา เพราะตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน คนทุกคนมีสิทธิ์จะเลือกศาสนา ลัทธิการเมือง และรสนิยมทาง เพศของตัวเองได้ตามชอบใจ การไปจำกัดไม่ให้เขาแสดง ออก ถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน คุณเธอผู้นี้จึงได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยในนิวซีแลนด์ได้ มีโอกาสไปเริงร่าให้ท่าหนุ่ม ฝรั่งมาสะบึมคุณเธอได้สมใจอยาก

การได้ลี้ภัยมาอยู่ในประเทศที่สงบสุขและคุณภาพชีวิตสูงอย่างนิวซีแลนด์ น่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงชีวิตไปใน ทางที่ดีของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากประเทศที่แตกแยก และคุณภาพชีวิตไม่ดีนัก และแน่นอนว่าผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งก็จะมีความทรงจำที่เลวร้ายกับประเทศตัวเองและไม่ต้อง การกลับไปอีก แต่ก็มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากที่ยังรักประเทศของตนและอยากจะกลับไปอยู่ หรือกลับไปเยี่ยมเพื่อนหรือเยี่ยมครอบครัวในวันหนึ่ง ซึ่งสำหรับคนเหล่านี้เป็นเรื่องที่เจ็บปวดมาก เพราะพวกเขาไม่สามารถจะกลับไปยังประเทศ ของพวกเขาได้ และสาเหตุที่พวกเขากลับไปไม่ได้ ก็ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขาได้ทำอะไรผิดตามหลักกฎหมายอาญาสากล เช่น ฆ่าคนตาย หรือทำร้ายใครให้บาดเจ็บ แต่เป็นเพียงเพราะพวกเขามีความเห็นที่ไม่ตรงกับความคิดที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศของพวกเขาถูกสอนอย่างฝังหัวมาตั้งแต่เกิดว่านี่คือสิ่งที่ถูกต้อง ไม่อนุญาตให้ใครคิดต่างในเรื่องนั้นๆ ได้

ฉะนั้น ผมจึงไม่เห็นด้วยกับเนื้อร้องในเพลงเรฟูจีที่ คุณแอ๊ดร้อง ว่าถ้าหากพวกที่ขอลี้ภัยเป็นคนเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว เขาก็จะไม่ต้องลี้ภัย เพราะเหตุผลแท้จริงที่คน คนหนึ่งต้องตัดสินใจหนีออกจากบ้านเกิดตัวเอง เป็นเพราะ เขามีความคิดที่แตกต่างจากคนในสังคมของเขา และเป็นเพราะได้มีการพยายามที่จะยัดเยียดความคิดให้คนส่วนใหญ่ ในสังคมนั้นๆ เห็นเรื่องบางเรื่องเป็น ‘วัฒนธรรม’ และ ‘ธรรมเนียมที่ประชาชนทุกคนต้องปฏิบัติ’ จะไม่ปฏิบัติ หรือไม่คิดแบบนั้นไม่ได้ การเห็นต่างกลายเป็นความผิดขั้นรุนแรง ที่ทำให้คนคนนั้นตกอยู่ในอันตรายจากการไล่ล่า และการถูก เกลียดชังจากเพื่อนร่วมชาติ และก็มีความเป็นไปได้น้อยมาก ที่เขาจะสามารถอธิบายความคิดของตัวเขาเองให้เพื่อนร่วม ชาติของเขาเข้าใจ แล้วอยู่ในสังคมร่วมกันต่อไปอย่างสงบสุข ได้ เพราะความเชื่อทางศาสนา ทางสังคม หรือทางการเมือง ของเพื่อนร่วมชาติของเขา ได้ถูกเปลี่ยนให้เป็น ‘วัฒนธรรม ประจำชาติ’ ไปแล้ว และในความคิดของคนเหล่านี้การที่คน ที่มีสัญชาติเดียวกับเขาไม่ยอมรับวัฒนธรรมนั้นๆ (ซึ่งพวกเขาคิดกันไปเองว่ามันเป็นวัฒนธรรม แต่จริงๆ แล้ว เป็นแค่ความเชื่อที่พวกเขาถูกฝังหัวมาตั้งแต่เด็กเท่านั้น) ถือเป็น เรื่องเลวร้าย เขาจะไม่ยอมฟังเหตุผลของคนที่คิดไม่เหมือน เขา และเขาก็จะไม่ยอมอยู่ร่วมสังคมกับคนที่ไม่เห็นด้วยกับ ธรรมเนียมหรือความคิดที่เขาถูกฝังหัวมา

ฉะนั้น สังคมที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้นั้นคือ สังคมที่ให้อิสระทางความคิดและการแสดงออกกับประชาชน ทุกคนในชาติ โดยไม่พยายามที่จะยัดเยียดความเชื่อใดๆ ให้ประชาชนเห็นว่าเป็นธรรมเนียมที่เปลี่ยนแปลง หรือเห็นต่างไม่ได้ เมื่อคนทุกคนรู้ว่าโครงสร้างต่างๆ ของสังคมเป็น เพียงระบบที่คนคิดค้นขึ้นมาทั้งนั้น เขาจะมีเหตุผลในการเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง และหาทางออกที่น่าพอใจ ให้ทุกฝ่ายได้ ประชาชนก็จะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข

อ้างอิง:
- 1 Refugee Appeal 75252/01 อ่านคดีนี้ได้ที่ http://www.refugee.org.nz/Fulltext/72752-01.htm
- Doug Tennent, Immigration and Refugee Law (2010)’, Wellington, LexisNexis NZ.   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us