Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กุมภาพันธ์ 2555
ไต้หวันกับฝันที่เป็นไปไม่ได้             
 


   
search resources

International
Taiwan
Political and Government




"การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน กับการตื่นจากฝันดีเกี่ยวกับจีน"

ครั้งหนึ่ง Ai Weiwei ศิลปินชาวจีนผู้มีชื่อเสียงระดับโลก เคยเป็นศิลปินคนโปรดของบรรดาคนใหญ่คนโตในจีน แต่บัดนี้ แม้กระทั่งผลงานศิลปะของเขาก็อย่าได้คิดฝันว่าจะอวดผลงานในจีนได้ รวมไปถึงในดินแดนบริวารที่อยู่ในอาณัติของจีนอย่างฮ่องกงและมาเก๊าด้วย แม้ว่าทั้งสองดินแดนนั้นจะได้ชื่อว่าเป็นเขตปกครองตนเองก็ตาม บัดนี้ Ai กลายเป็นหนึ่งในศัตรูของชาติ เนื่องจากการกล้าพูดแตะต้องสิ่งที่ผิดพลาดของจีน เขาถูกจำคุกนานเกือบ 3 เดือนเมื่อปี 2011 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในที่สุด ผลงานของ Ai ได้พบ “บ้าน” ที่ พักพิงแล้ว บ้านที่มีจิตวิญญาณอิสระ เหมือนกับตัว Ai เอง

ไต้หวันแตกต่างไปจากฮ่องกง และมาเก๊า แม้ว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะประกาศนโยบาย “จีนเดียว” และอ้าง อธิปไตยเหนือไต้หวันตลอดเวลา โดยที่บรรดาประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมไปถึงสถาบันระหว่างประเทศ ต่างก็เคารพเชื่อฟังจีนแต่โดยดี โดยเห็นไต้หวันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของจีน และไม่เคยเห็นไต้หวันเป็นประเทศที่เท่าเทียมกัน แต่นั่นก็หาได้ทำลายจิตวิญญาณอันเสรีของไต้หวันไม่

Ai ถูกจับขังคุกให้ไร้อิสรภาพ ไต้หวันก็เช่นเดียวกัน เหมือน ถูกกักขังอยู่ในกรง ด้วยนโยบายจีนเดียว ทำให้ไต้หวันต้องถูกจำกัด พื้นที่เคลื่อนไหวเพียงน้อยนิด ในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมโลก ซ้ำยังถูกมองข้ามดูแคลน ไม่เคยอยู่ในสายตาของใครๆ

อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน เมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา ไต้หวันนับเป็นประเทศแรกที่มีการเลือกตั้ง ก่อนใครในปีนี้ ซึ่งนับเป็นปีแห่งการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก โดยจะปิดท้ายกันที่การเลือกตั้งประธานาธิบดีของ ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายปี ได้เตือนเราให้ไม่ลืมความสำคัญของเกาะเล็กๆ แห่งนี้ที่มีต่อสังคมโลก

ในด้านเศรษฐกิจ ถ้าเป็นนักมวย ไต้หวันก็ชอบชกข้ามรุ่น อุตสาหกรรม IT ของไต้หวัน ติดอันดับใหญ่ที่สุดในโลก เช่นเดียวกับทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมหาศาล ในด้านภูมิรัฐศาสตร์ ไต้หวันเป็นประเด็นร้อนและอ่อนไหวที่จะเกิดการปะทะกันทางทหารได้ตลอดเวลา สำหรับทั้งผู้นำจีนและชาวจีนทุกคน ประเด็นไต้หวันเป็นประเด็นที่อ่อนไหวและสั่นสะเทือนอารมณ์ความ รู้สึกของชาวจีน จีนมองว่าไต้หวันเป็นจังหวัดกบฏที่ทรยศต่อจีน แต่สักวันหนึ่ง จะต้องหวนคืนกลับมาเป็นของจีนดังเดิม แม้ว่าจะต้องถึงกับใช้กำลังก็ตาม มีการประเมินกันว่า จีนตั้งขีปนาวุธถึง 2,000 ลูกล็อกเป้าไปที่ไต้หวัน

ส่วนสหรัฐฯ มีกฎหมายที่มีชื่อว่า Taiwan Relations Act ที่มีมาตั้งแต่ปี 1979 กำหนดให้สหรัฐฯ มีพันธะจะต้องติดอาวุธให้ แก่ไต้หวัน เมื่อใดก็ตามที่สหรัฐฯ ขายอาวุธยุทโธปกรณ์แก่ไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินรบ จะถูกจีนประท้วงอย่างรุนแรงและ กล่าวหาสหรัฐฯ แทรกแซงกิจการภายในของตน ดังนั้น โอกาสที่ 2 มหาอำนาจยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกจะปะทะกันทางทหารเพราะ ไต้หวัน จึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้

ไต้หวันไม่เพียงมีค่าควรแก่การปกป้องในแง่ของดินแดน แต่ไต้หวันมีสิ่งที่มีค่าอีกหลายอย่างที่ควรค่าแก่การปกป้อง ไต้หวัน แสดงให้เห็นว่า เสรีภาพสามารถอยู่ร่วมกับคนจีนได้ ไต้หวันยังมีความสามารถมากกว่า ในการเคารพหลักนิติธรรมและการปราบคอร์รัปชั่น แต่เหนืออื่นใด คือการที่ไต้หวัน “ไม่ใช่จีน” (un-China) แต่เป็นดินแดนที่เป็นประชาธิปไตยที่กระตือรือร้นเป็นตัวเลือกแทนจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เพราะใช้ทั้งภาษาจีนและมีวัฒนธรรมเดียวกับจีน สื่อไต้หวันมีการแข่งขันกันอย่างเสรีและดุเดือด ไต้หวันยังเป็นแหล่งของความคิดสร้างสรรค์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ภาพยนตร์ อาหาร ชาวไต้หวันมีจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมอย่างสูงและนิสัยดีกว่า เพราะเป็นสังคมพลเรือน จีนอาจจะมีกล้ามโต แต่ไต้หวันมีเลือดเนื้อและจิตวิญญาณที่ดี

และเสียงของชาวไต้หวัน โดยเฉพาะในการเลือกตั้งประธานาธิบดี มีเสียงดังพอที่จะสะท้อนสะเทือนไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ได้ ชาวไต้หวันจริงจังกับการเมืองเป็นอย่างมาก เหมือนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต เพราะพวกเขารู้ว่า เสียงของตนมีค่าและความสำคัญ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน คาดว่าจะมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์ถึง 99%

แม้ว่าในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี Tsai Ing-wen ผู้นำหญิงของพรรคฝ่ายค้านไต้หวัน คือพรรค Democratic Progressive Party (DPP) จะเน้นหนักที่การโจมตีประธานาธิบดี Ma Ying-jeou และพรรครัฐบาลก๊กมินตั๋ง (Kuomintang: KMT) ในด้านเศรษฐกิจ เช่นการเอาใจธุรกิจขนาดใหญ่มากเกินไป และไม่สนใจปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ แต่เหนือขึ้นไปจากปัญหาปากท้องของชาวไต้หวัน ยังมีเงาขนาดยักษ์ของจีนแผ่นดินใหญ่ทาบทับอยู่ แท้ที่จริงแล้ว การเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันคือ การลงประชามติของชาวไต้หวันเกี่ยวกับเรื่องจีนแผ่นดินใหญ่

ตลอด 4 ปีของการเป็นประธานาธิบดีไต้หวันสมัยแรก ประธานาธิบดี Ma วัย 61 ปี ทำข้อตกลงทางการค้ากับจีนแผ่นดิน ใหญ่มากมาย ทำให้ขณะนี้จีนกลายเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน และเป็นเป้าหมายการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของนักลงทุนไต้หวัน มีการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรมเกิดขึ้นอย่างมากในสมัยของ Ma นักท่องเที่ยวจากจีนแผ่นดินใหญ่เดินทางมาเที่ยวไต้หวันเป็นว่าเล่นวันละเป็นพันๆ คน ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันขณะนี้อบอุ่นที่สุด นับตั้งแต่ปี 1949 ซึ่งเป็นปีที่พรรคก๊กมินตั๋งรบแพ้พรรคคอมมิวนิสต์จีน ในสงคราม กลางเมืองจีน จนต้องถอยร่นไปอยู่ที่ไต้หวัน พร้อมด้วยผู้อพยพอีกหลายแสนคน ซึ่งกลาย เป็นชาวไต้หวันจนถึงทุกวันนี้ ทั้ง Ma จีนและสหรัฐฯ ต่างก็ต้องการเห็นไต้หวันสุขสงบ เช่นนี้ต่อไป Ma เชื่อว่า ในโลกที่เป็นโลกาภิวัตน์อย่างทุกวันนี้ ไม่มีประเทศใดสามารถแยกตัวออกไปจากคนอื่นๆ ได้ การเข้าไปผูกพันกับจีน “แม้จะมีความเสี่ยง” Ma กล่าว “แต่คือประโยชน์ของไต้หวันเอง”

แต่คู่ปรับของเขา Tsai วัย 55 ไม่เห็นด้วย เธอบอกว่าเต็มใจ ทำธุรกิจกับจีนก็จริง แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขของไต้หวัน เธอเห็นว่า Ma ยอมให้แก่จีนมากเกินไป “เราควรปฏิบัติต่อจีนอย่างเป็นคู่ค้าปกติและเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ” Tsai กล่าวและชี้ว่า มีคนจำนวนมากวิตกว่า ไต้หวันกำลังพุ่งเข้าไปหาจีนอย่างใกล้ชิดมากเกินไปและเร็วเกินไป จนอาจจะถึงจุดที่ถลำลึกจนเกินจะถอนตัวกลับได้ และจะทำให้ไต้หวันเหลือเพียงทางเลือกเดียวคือ ต้องกลับ ไปอยู่กับจีนในอนาคต แทนที่จะอยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่เนื่องจากพรรค ฝ่ายค้าน DPP ของ Tsai มีนโยบายต้องการประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากจีนอย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นสิ่งที่จีนจะยอมไม่ได้อย่าง เด็ดขาด ทำให้หลายฝ่ายโดยเฉพาะจีนและสหรัฐฯ รู้สึกกลัว ถ้าหาก Tsai ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดี

เพราะผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ ไต้หวันอาจหวนกลับไปสู่ความตึงเครียดแบบสงครามเย็น เหมือนยุคที่พรรค DPP ชนะเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีไต้หวันนาน 8 ปี ก่อนที่ Ma จากพรรคก๊กมินตั๋งจะพลิกกลับมาชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2008 จีนกับสหรัฐฯ อาจแทบไม่เคยเห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเลย แต่เรื่องหนึ่งที่ 2 มหาอำนาจกลับเห็นพ้องต้องกันคือ ความรู้สึกวิตก ถ้าหาก Tsai ชนะเลือกตั้งในครั้งนี้ เหตุผลของจีนคือ Ma มีความ เป็นมิตรมากกว่า ส่วนเหตุผลทางด้านสหรัฐฯ คือ ไม่อยากไปอยู่ตรงกลางความขัดแย้งระหว่างจีนกับไต้หวันอีก ถ้าหากว่า Tsai ชนะเลือกตั้ง

น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ไต้หวันซึ่งมีทั้งระบบการเมือง เศรษฐกิจ การทหารและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเอง เป็นสังคมที่เปิดกว้างและมีคุณสมบัติพร้อม แต่กลับไม่อาจเป็นประเทศปกติเหมือนใคร เขาได้ แม้ว่าหลายคนคงจะโทษจีนเต็มๆ ที่ใช้อิทธิพลขัดขวางไต้หวันทุกวิถีทาง ไม่ให้มีบทบาทในสังคมโลกได้ แต่ไต้หวันก็คงต้องโทษตัวเองด้วย ตลอดเวลาที่ผ่านมา ไต้หวันอยู่มาได้ด้วยการละเมอเพ้อพกอยู่กับความฝันและการตั้งความหวังอย่างผิดๆ ระหว่าง 2 ขั้ว หนึ่งคือไต้หวันฝันว่า จะสามารถเอาชนะจีนแผ่นดิน ใหญ่ได้ และรวมประเทศกันกลายเป็นจีนที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์ และสองคือไต้หวันฝันว่า จะได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการให้เป็นประเทศเอกราช ความคิดแรกเป็นของพรรคก๊กมินตั๋ง ส่วนความคิดหลังเป็นของพรรค DPP แต่มาจนถึงบัดนี้ เริ่มมีการตระหนักมากขึ้นในไต้หวันว่า ความคิดทั้งสองเป็นแต่เพียงความเพ้อฝันที่ไม่มีวันเป็นไปได้ ทั้งการรวมประเทศกับจีนโดยไม่เป็นคอมมิวนิสต์ และการได้รับรองเอกราช

ถ้าเช่นนั้นไต้หวันควรจะเป็นอะไร ทั้ง Ma และ Tsai ต่างก็ไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ เพราะพวกเขาเองก็ยังคงไม่หลุดพ้น ออกจากความเพ้อฝันเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม ทั้งสองเป็นบุคคลที่ชาวไต้หวันภาคภูมิใจ ทั้งคู่เป็นผู้รอบรู้ เชื่อมั่นในตัวเอง สื่อสารเก่ง พูดภาษาอังกฤษเก่ง การศึกษาดี (Ma จบปริญญาเอกจาก Harvard ส่วน Tsai จบจาก London School of Economics) เดินทางมาก มีความมุ่งมั่นที่จะสร้างความแตกต่าง และเป็นห่วงอนาคตของไต้หวันอย่างจริงใจ ทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติที่ชาวไต้หวันต้องการเห็นในตัวผู้นำของพวกเขา และไม่ว่าใครในสองคนนี้จะเป็นผู้ชนะ หรือแพ้ในการเลือกตั้ง ไต้หวันก็ยังคงชนะในฐานะของดินแดนที่มีเสรีภาพมากที่สุดในโลกของสังคมจีน


แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิตยสารไทม์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us