|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2.5 ของมูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารทั้งหมดของจีน แต่จีนมีการนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการขยายตัวในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยไปยังตลาดจีนมีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์สูงมาตั้งแต่ปี 2552 โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากพืชที่จีนมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้น จากปัญหาสภาพอากาศ ที่แปรปรวนในจีนทำให้จีนมีปริมาณผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ กอปรกับอานิสงส์ของกรอบการค้าเสรีอาเซียนจีนที่ส่งผล ให้จีนลดภาษีนำเข้าสินค้าเหลือร้อยละ 0 และรายได้เฉลี่ยของคนจีนเริ่มปรับตัวสูงขึ้นทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าอาหารนำเข้าเพิ่มสูงขึ้นด้วย
สำหรับในปี 2554 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารจากไทยเพิ่มขึ้นเป็น 1,837.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.4 เมื่อเทียบกับปี 2553 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าผู้ส่งออก สินค้าอาหารของไทยยังมีโอกาสในการขยายสินค้าอาหารของจีนอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าในปี 2555 มูลค่าการนำเข้าสินค้า อาหารของจีนจากไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3
เมื่อพิจารณาแยกประเภทสินค้าอาหารที่จีนนำเข้าจากไทย พบว่าร้อยละ 74.1 เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช (ไม่รวมผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากจีนนำเข้าเพื่อผลิตเอทานอลเป็นหลัก) รองลงมาร้อยละ 14.9 เป็นอาหารปรุงแต่ง และร้อยละ 7.4 เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากพืชที่จีนนำเข้าจากไทยแยกออก ได้เป็นผลไม้ร้อยละ 55.1 รองลงมาได้แก่ผลิตภัณฑ์จากธัญพืชร้อยละ 23.3 และธัญพืชร้อยละ 18.8 ที่เหลืออีกร้อยละ 2.8 เป็นเมล็ดพืชและผลไม้ ผัก กาแฟ ชา และเครื่องเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่าในปี 2555 มูลค่าการนำเข้าสินค้าอาหารของจีนจากไทยมีโอกาสเพิ่มขึ้นแตะระดับ 2,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.3 ซึ่งสินค้าอาหารกลุ่ม ที่ยังเป็นตัวหลักในการขับเคลื่อนการส่งออก ยังคงเป็นผลไม้เมือง ร้อน แป้งมันสำปะหลัง และข้าว กล่าวคือ สินค้าประเภทผลไม้เมืองร้อน ยังจะได้อานิสงส์จากการขยายความเจริญไปยังดินแดน แถบตะวันตกของจีนและการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าที่ช่วย เพิ่มโอกาสในการขยายการส่งออกผลไม้ของไทยไปยังตลาดจีน สินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ธัญพืช
โดยเฉพาะแป้งมันสำปะหลังและแป้งมันสำปะหลังแปรรูป ที่จีนยังผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ ขณะที่ ไทยมีศักยภาพในการขยายตลาดส่งออก ส่วนสินค้าธัญพืชที่ไทยยังสามารถขยายตลาดส่งออกไปยังจีนได้คือ ข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งยังเป็นที่ต้องการของตลาดจีน โดยเฉพาะตลาดระดับภัตตาคารขนาดใหญ่หรือโรงแรม และกลุ่มคนรายได้สูง แต่ต้องเร่งแก้ปัญหาในเรื่องการปลอมปน
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยต้องคำนึงถึงคือ แนวโน้มการแข่งขันในสินค้าอาหารที่เป็นสินค้าตัวหลักที่ไทยส่งออกไปจีนเริ่มเผชิญการแข่งขันที่รุนแรงจากประเทศ ในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ รวมทั้งเกษตรกรของจีนเองก็มีการพัฒนาทั้งในด้านปริมาณการผลิตและคุณภาพของผลผลิต ดังนั้น หากผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยต้องการจะรักษาตลาดจีนเอาไว้และเจาะขยาย ตลาดเพิ่มเติมจะต้องพยายามชี้ให้ผู้บริโภคหรือโรงงานที่ผลิตสินค้าในจีนเห็นข้อแตกต่างระหว่างสินค้าอาหารจากไทยและคู่แข่ง
สำหรับสินค้าอาหารส่งออกของไทยที่มีศักยภาพในการขยายตลาดในจีนเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารของจีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของประชากร ในขณะที่พื้นที่ทำการเกษตรมีแนวโน้มลดลง รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากระดับรายได้ที่เพิ่มสูงขึ้นและสัดส่วนประชากรเมืองที่เพิ่มขึ้น
ดังนั้น สินค้าอาหารที่น่าจับตามอง คือ อาหารปรุงแต่ง (ปลากระป๋อง น้ำตาล ผลไม้กระป๋อง) ผลิตภัณฑ์กุ้ง (โดยเฉพาะ กุ้งแปรรูป) เครื่องปรุงรสอาหาร และผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน ซึ่งไทยมีศักยภาพในการขยายการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดจีน และสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าที่สร้างมูลค่า เพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกสินค้าอาหารที่มีโอกาสประสบความสำเร็จในการเจาะขยายตลาดอาหารในจีนคงต้องมีการเตรียมความพร้อมในการศึกษาวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภค ในจีนที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและหาช่องทางในการจัดจำหน่ายเพื่อการกระจายสินค้า อาหารให้ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงด้วย
|
|
 |
|
|