ไม่รวมบัญชีสารบัญอ้างอิงและดรรชนีหัวเรื่องและประเด็นย่อยท้ายเล่ม ผมไม่ได้จับหนังสือวิเคราะห์ธุรกรรมตลาดเงินและตลาดทุนมาเลย
มัวไปสนใจพวกนักยุทธศาสตร์ด้านการบริหารองค์กรทางด้านเศรษฐกิจ หรือพวกองค์กรการเงินและภาคการคลังมานาน
หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็น 4 ส่วนเท่านั้นเอง เราต้องทราบก่อนว่า ดร.มาร์แชล
วางโครงไว้อย่างไร
ส่วนแรก คือ การปูพื้นเรียกว่า Intro-duction แล้วบอกให้รู้ว่าอะไรคือ
แนวคิดพื้นฐานหรือ Basic concept หลังจากนั้นก็นำเสนอ รูปแบบต่างๆ ของ "ความเสี่ยง"
ซึ่งไม่ใช่ทฤษฎี แต่ผมมองว่าเป็นการ "นำเสนอ" วิธีวิเคราะห์มากกว่า ซึ่งตามด้วยบทอื่นๆ
ส่วนที่สอง คราวนี้ลงรากถึงบทใหญ่คือ วิธีวิทยาเน้นลงไปใน Methodology
ของ ORM มีลักษณะคลุมโดยใช้ข้อมูลและมีการประเมิน ส่วนที่สาม ภาคการปฏิบัติเชิงทฤษฎี
และวิธีวิทยา เป็นส่วนสำคัญมากในสายตาของผมเพราะจริงๆ แล้วนี่คือ Optional
Anal-ysis และ Loss ต่างๆ ว่า จะคุ้มครองมันอย่าง ไร จึง "เสียหายน้อยที่สุด"
การพยากรณ์การขาดทุนสูญเสีย การป้องกัน การควบคุมและการลดความเสียหาย รวมทั้งแผนการ
ส่วนสุดท้าย ภาคปฏิบัติมี cases ต่างๆ อ่านเพื่อคิดครับ
ผมจะกล่าวถึงบทท้ายสุดเลยดีกว่า แต่ก่อนอื่นขอให้ทำความรู้จักกับผู้เขียนกันก่อน
คริส มาร์แชล เป็นหัวหน้ากลุ่ม Asia Pacific Head of Financial Engineering
and Corpoate Risk Advisory for UBS Warburg จบจากไหนก็จบแบบ บก.ผู้จัดการ
รายเดือนเลยครับ ดร.มาร์แชลจบเคมบริดจ์ทางด้าน ทฤษฎีฟิสิกส์ครับ แล้วไปจบดอกเตอร์จาก
ฮาร์วาร์ดบิสซิเนสสกูล จบ University of Chicago ได้ MBA ครับ
อยู่ประเทศสิงคโปร์!!!
ขอนำกลับมาบทที่ 16 ว่าด้วย Risk-Based Capital ผมเรียนท่านผู้อ่านว่า
คนพวกนี้เรียนฟิสิกส์มา แต่มาทำยุทธศาสตร์ด้านการเงินและตลาดทุน! ของแบบนี้ธรรมดาครับ
ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เคยเขียนเรื่องฟิสิกส์ แต่ใช้กับ "การเมือง"
ผมเองคลานตามกันมากำลังเขียนเรื่องชีววิทยา แต่ผมจะใช้กับ "การสื่อสาร
มวลชน"
ครับ ผมกล่าวถึง "ระบบวิเคราะห์" ทั้งหมดมีรากที่มาจาก System Analysis
เอา ไปจับศาสตร์ใดๆ ก็ได้ เพราะ Model เดียว กัน ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ ผมอยากให้ได้อ่าน
ทฤษฎีฟิสิกส์กับการเมือง เพื่อเข้าใจต่อวิธีคิดที่ผมอยากเรียกว่ามีลักษณะสากลใช้วิเคราะห์อนุพันธ์
หรือ derivative เยอะแยะ ไม่ว่าใช้วิเคราะห์การเมือง, เศรษฐกิจหรือสังคม
บทที่ 16 เริ่มจากวิธีประเมินความสูญเสีย โดยดูเงื่อนไขครับ ดังนั้นการบริหาร
ต้องทั้งวางเงื่อนปมที่เป็นรูปแบบทางการ ไว้ก่อน แต่ขอให้ตั้งโจทย์ว่าอย่างไร
มันต้อง สูญเสียอย่างแน่นอน ประเด็นจึงอยู่ที่โจทย์ อีกฝั่งคือ รายรับหรือรายได้จะออกมามาก
น้อยเท่าไร?
นอกจากนี้ต้องนิยามก่อนว่าReserve Accounts บัญชีต้นทุนสำรองนั้นคืออะไรแน่?
การบริหารจัดงานต้องเริ่มที่ ฝ่ายบัญชีแล้วดูตัวเลขกันให้ชัด หลังจากนั้นจึงไล่ตามหมวดหมู่ของรายรับ
หรือ รายได้
และใช้ระบบบัญชีไล่ตาม "ความเสียหาย" ด้วยการดูว่าจุดใดมีปัญหา หลัง จากนั้นก็เอาพวกขาดทุนทั้งหลายไปรวมหมู่ไว้ในระบบตั้งรวมอย่างเป็นทางการ
ซึ่งระบบแบบตั้งรวมนี้ธรรมดามักมาจากการประเมินว่าจะสูญเสียในอัตราคิดเป็นร้อยละเท่าไร
จากยอดรายได้ตามประเมิน วิธีไล่ยอดและดูจุดต่างๆ ที่เกิด ความเสียหายนี้อาจเรียกว่า
Analysis Loss ในกระบวนงานที่เป็นจริง สะสมข้อมูลจนเป็น information
ต้นแบบ Determining Provision Levels เขาอธิบายว่าระดับของ provisions
and reserves ควรยืนอยู่บน "ความคาดหมาย" ว่ามีเส้นขอบหรือระดับอยู่ที่ใด
โดย ความคาดหมายเหล่านี้คือ หาปัจจัยและเหตุแห่งความเสียหายให้ได้
เราจะได้สิ่งที่เรียกว่า relative losses
ตัวอย่างนี้ดูในหน้า 494
หลังจากส่วนนี้เสร็จแล้ว ขั้นต่อไปก็อยู่ ในหัวข้อ ECONOMIC CAPITAL ALLOCATIONซึ่งประเด็นแรกคือถามก่อนว่า
Need for Risk Capital จะมีที่มาอย่างไร ต้องวิเคราะห์ให้ออก
ในบริการทางการเงินนั้น ระดับทุนน้อย ที่สุดถูกควบคุม และจะพิจารณาถึงขอบเขตนี้
ว่ามีความหมายอย่างไร ผู้เขียนได้แยกไว้ในหมวดเฉพาะ
เขาชี้ว่าคนไปโฟกัสเรื่องเครดิตกับตลาด ในด้านความเสี่ยงความต้องการเรื่องหาทุน
เพื่อ รองรับความเสี่ยง ต้องพิจารณาว่าทุนต่อความ เสี่ยง ต่างจากการคุ้มครองผ่านความเสี่ยงซึ่งมีเครดิตกับการตลาดต่อความเสี่ยง
ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง ตามปกติจะคำนวณระดับอัตราความเสี่ยง กับทุนที่จะใช้ในการประกันความเสี่ยง
โดยปรับระดับอย่าง เป็นรูปธรรม วิธีการบริหารก็คือทุนเป็นทรัพยากรที่ยากและขาดแคลน
จึงต้องใช้เพื่อรายได้อันเกิดจากภาคธุรกรรมทางเศรษฐกิจและการลงทุน
CaR หรือ Capital at Risk จึงเป็นหลักปฏิบัติ กรณีต้องชำระบัญชีเพื่อปิดบัญชี
และคำนวณหากต้องปิดการขายหรือเกิดวิกฤติโดย ไม่ได้คาดหมาย
ตาราง 16.1 ในหน้า 496 จะเห็นภาพชัดเจนและง่ายในการเรียนรู้ เรียกได้ว่ามีข้อสรุปว่า
ศาสตร์การบริหารจัดการ คือ การแจกจ่ายทุน (ซึ่งเป็นทรัพยากรจำกัด) ลงในส่วนต่างๆ
ซึ่งเป็นองค์ประกอบทั้งหมด
ที่สำคัญก็คือการนำเครดิตเรตติ้งมาอธิบาย ว่าในการออกแบบประเมินระดับความ
น่าเชื่อถือ มีฐานคำนวณจากบริษัทประเมิน ยกตัวอย่าง Moody
มีตารางสำคัญๆ ที่แยกธุรกรรม ว่าแต่ละภาคธุรกรรมกำหนดระดับอย่างไร
และการประเมินผลและวัดผลการปฏิบัติการที่ใช้ฐานความเสี่ยงของหนังสือมีประเด็นทั่วๆ
ไป ทุบโต๊ะก่อนว่า ในตลาดทุน การบริหารมีเป้าหมายว่าหากสินค้าอยู่ในตลาด
ทุน หลักการคือ ต้องวัดผลโดยดูว่าตลาดหลักทรัพย์มีนักลงทุนเข้าซื้อหุ้น
ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) ผล ตอบแทนต่อทุน (ROC) ส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญ
ความเสี่ยงในการลงทุน และไม่สนใจความเสี่ยงต่อการลงทุนซึ่งคำนวณ ยาก ทว่าการใช้
NPV หรือ Net Present Value ดูง่ายดี มูลค่าสุทธิ ณ ปัจจุบันอาจคำนวณได้
แต่ยุทธศาสตร์การบริหารความ เสี่ยงต้องเป็นไปอย่างรอบคอบ คำนวณ ผลได้
ดังนั้น ผลตอบแทนบนความเสี่ยงตามการปรับระดับทุน ที่เรียกว่า RORAC ซึ่งถ้าพิจารณาอาจหลงทางไปใช้ในธุรกรรม
ที่มีความเสี่ยงน้อย ประเด็นคือการคำนวณ และบริหารความเสี่ยงต้องดู Value
at Risk (VaR) โดยใช้ฐานจากศูนย์ เช่น พวกธุร-กรรมการปิดบัญชีการคลังรายวัน
ตัว RO-ROC จึงเป็นมาตรการให้ธุรกรรมมีลักษณะ ตรึงตัวมากกว่าขยายตัว เช่น
ใช้ความเป็นไปได้ในการเพิ่มระดับ ROROC โดยตัดทอน โครงการมีกำไรต่ำดึงออกไปจากการพยา-กรณ์
หรือทำ Risk Level Analysis
สูตรความรู้ต่างๆ มีชัดเจนในบทว่าด้วยการใช้อัตราหรือระดับความเสี่ยงต่อ
ทุน เหมาะเหลือเกินสำหรับสถาบันวิจัย และการศึกษาในการจัดวางยุทธศาสตร์การ
ลงทุนขนาดใหญ่ต้องรอบคอบครับ