Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2528
ภาวะคับขันที่จะต้องปรับตัวมาถึงแล้ว             
 


   
search resources

Agriculture




ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ตัวเลขล่าสุดจากเอฟเอโอปรากฏว่าถ้ามีตลาดจริงๆ แล้วจะสามารถผลิตอาหารไปเลี้ยงคนได้ถึง 350 ล้านคน ขณะนี้แนวโน้มในการขยายตัวของพลเมืองลดลงตามลำดับเหลือ 1.6-1.7% สิ้นสุดแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 กรมอนามัยหรือกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่าจะเหลือเพียง 1% เท่านั้น ซึ่งถ้าจริงในระยะยาวเมืองไทยจะมีพลเมืองไม่เกิน 100 ล้านคนก็จริง แต่ก็คงไม่เลวร้ายมากเหมือนหลายประเทศ สรุปแล้วคือ ลำบากแน่ เพราะไต้ฝุ่นมาแต่รากฐานเศรษฐกิจดีพอ มันคงไม่เลวร้ายถึงบ้านแตกสาแหรกขาดเหมือนหลายประเทศ

สมัยก่อนเราแบ่งประเทศเป็นร่ำรวยและประเทศยากจน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลผลิตของแต่ละประเทศ บางประเทศผลิตได้น้อย ประเทศที่ผลิตได้ Productivity ไม่สูงมากก็สามารถเลี้ยงประชากรภายในประเทศ ที่ยังมีรวยมีจนเพราะกำลังผลิตของโลกไม่พอ ถ้านับกำลังผลิตของโลกขณะนี้มีจำนวนมากกว่าพลเมืองของโลกแล้ว แต่โลกกลับมีปัญหามากขึ้นอีก เทคโนโลยีสูงเท่าไรคนทำงานหนักมากเท่าไหร่ปัญหาเศรษฐกิจยิ่งตามมามากเท่านั้น แสดงว่าต้องผิดที่ไหนสักอย่าง ในเรื่องของการบริหารไม่ใช่การบริหารของประเทศไทยหรืออีอีซีหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่มันเป็น World Management ที่จะต้องดูแลกันเพราะในแง่กำลังการผลิตของโลกแล้วสูงกว่าประชาชน แต่แนวโน้มการเจริญเติบโตของประชาชนกลับลดลง มนุษย์มันน่าจะสบายแต่มนุษย์ก็รนหาที่แข่งกันจึงเกิดปัญหา

สาเหตุที่ทำให้สินค้าภาคเกษตรตกต่ำมีสาเหตุ 4 ประการ คือ

1) ผลผลิตด้านการเกษตรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ในประเทศจีนและประเทศในแถบอาเชียน
2)
3) การเปลี่ยนแปลงที่นอกจากจะขึ้นแล้วยังเป็นลักษณะไม่แน่นอน เช่น น้ำตาล เมื่อสมัยก่อนใช้อ้อยทำ แต่ปัจจุบันใช้อย่างอื่นผลิตได้ จึงทำให้ราคาอ้อยตกลง หรือ ยางพาราก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ราคาสูงมาก แต่เมื่อมีการพบน้ำมันและยางเทียม ราคายางพาราก็ตกลง
4)
5) มีหลายๆ ประเทศที่เริ่มปิดประเทศ จึงกลายมาเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกีดกันทางการค้า
6)
การพัฒนาของโลกตั้งแต่ประวัติศาสตร์ เริ่มมีการพัฒนามาจากความเจริญด้านตะวันออกมาสู่ยุโรปแถบตะวันออกกลาง อิตาลี โรม ถึงยุโรปล่าเมืองขึ้น การค้าของโลกติดต่อกันมากขึ้นและเมื่อผลผลิตสู้ประเทศอื่นไม่ได้ก็ปิดประเทศรวมตัวกันเป็นอีอีซี ทำการค้าระหว่างกันขึ้นส่วนค้ากับประเทศอื่นก็ทำเป็นลักษณะกลุ่ม พอสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯ ก็ทำตัวเป็นผู้นำ คือมีเหตุการณ์ยุ่งยากที่ใดก็จะเข้าไปช่วยจนทำให้ผลผลิตต่ำลงสู้ประเทศอื่นๆ ไม่ได้ เกิดการขาดดุลการค้าจึงเริ่มปิดประเทศ แนวโน้มจะมีแต่แรงขึ้นเพราะคนอเมริกันทั้งชาติมีความรู้สึกว่าได้เสียเวลาช่วยชาวโลกมานาน และผลสุดท้ายที่ได้กับคือความลำบาก จากอเมริกาก็เป็นประเทศญี่ปุ่นที่จะทำตัวเป็นผู้นำคนต่อไป ญี่ปุ่นชนะประเทศอื่นๆ เพราะสามารถผลิตสินค้าราคาถูก คุณภาพดีจึงสามารถตีตลาดได้ทั่วโลก หลังจากที่สร้าง Domestic Market สูงขึ้นแล้ว ขณะนี้ก็สามารถลดการนำเข้าให้เหลือเพียง 14% ซึ่งเป็นเหล็กและน้ำมันเป็นหลัก ญี่ปุ่นขณะนี้กำลังพัฒนาอุตสาหกรรมหนักเพื่อดึง Labour Intensive ที่เสียไปให้กับเกาหลี ไต้หวัน ไทย ฯลฯ กลับคืนมา โดยการสร้างแรงงานหุ่นยนต์ แนวโน้มสิ่งนี้เป็นปัญหาใหม่ของโลกต่อไป

ขณะที่ญี่ปุ่นทำตัวเป็นกลุ่มผู้นำชักชวนประเทศในแถบเอเชียแปซิฟิก อเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และอาเซียน มาร่วมกันต่อต้านกลุ่มประเทศอีอีซี

เมื่อโลกโดนกระทบเช่นนี้แล้ว แต่ละประเทศจะมีวิธีการแก้ไขคือ จะแบ่งประเทศเป็น 3 ประเภท คือ หนึ่ง ประเทศอุตสาหกรรมหรือประเทศพัฒนาแล้ว พวกนี้ทำ 2 อย่างคือ กีดกันไม่ให้ใครส่งเข้าและส่งเสริมเกษตรกรของตนเอง รับซื้อสินค้าทั้งหมดในราคาแพง เช่น ญี่ปุ่น อีอีซี ไต้หวัน อเมริกา บางที่นำเงินจากภาคอุตสาหกรรมที่ยังเหลืออยู่ซื้อผลผลิตในราคาสูงที่เกษตรกรอยู่ได้ป้องกันไม่ให้คนนำเข้า

กลุ่มประเทศที่สองคือกลุ่มที่กำลังเจริญอย่างรวดเร็วอย่างไต้หวัน ใช้วิธีปรับตัวทันต่อเหตุการณ์คือรู้ว่ามรสุมจะมาก็หลบไปได้ อย่างรู้ว่าน้ำตาลจะแย่ เขาก็เลิกส่งออกผลิตเฉพาะพอกิน และปรับตัวไปทำอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก และเปลี่ยนไปทางเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา

พวกที่สามคือ ประเทศกำลังพัฒนาและส่งออกด้านเกษตร พวกนี้ไต้ฝุ่นมาแล้วยังไม่ปิดประตูบ้าน อย่างบราซิลส่งออกน้ำตาลมากที่สุด พอโดนมรสุมกลายเป็นประเทศที่มีหนี้สินมหาศาล ฟิสิปปินส์ทั้งน้ำตาล มะพร้าว โดนด้วย ลำบากเช่นกัน การเจริญเติบโตลดลง 5% เป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน ภาวะเงินเฟ้อ 2 ปี ติดต่อกัน 50% ปีหน้าจะเป็นอย่างไรกำลังน่าเป็นห่วงว่าฟิสิปปินส์อาจกลายเป็นคอมมิวนิสต์ไป

ประเทศไทยจะใช้แบบประเทศพัฒนาแล้วคงไม่ได้เพราะไม่มีเงิน เงินรัฐบาลถึงขนาดขาดดุลงบประมาณใช้วิธีพยุงราคา ประกันราคา ชดเชยในรูปต่างๆ ให้ดอกเบี้ยเงินกู้ ให้แพ็กกิ้งเครดิต ยิ่งทางเศรษฐศาสตร์ทำผิดธรรมชาติเท่าไร ยิ่งเปลืองเงินมากเท่านั้น อะไรที่สอดคล้องกับธรรมชาติมากที่สุดก็เปลืองเงินน้อยกว่า

เรื่องที่สองคือปรับโครงสร้างการผลิตให้ทัน ประเทศไทยทำได้ยากมากและคิดว่าไม่น่าจะทำได้ถ้าทำก็ต้องใช้เวลานานมากไม่ทันต่อเหตุการณ์ เพราะโครงสร้างการผลิตขึ้นอยู่กับหน่วยธุรกิจระดับครอบครัว เป็นหน่วยธุรกิจที่ไม่ใหญ่เหมือนไต้หวัน ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วมาก แต่เมืองไทยมีเกษตรกรรายย่อยมากและเป็นประเทศที่มีการถือครองที่ดินมากที่สุดในโลก เพราะ ฉะนั้นการที่จะไปเพิ่มการผลิตหรือลดการผลิตให้ทันกับตลาดนั้นเป็นการยากมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us