Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2528
สถานการณ์สิ่งทอ             
 


   
search resources

Garment, Textile and Fashion




ประเทศที่ตั้งความหวังว่าจะเป็นประเทศอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะต้องเริ่มจากสิ่งทอก่อน แม้แต่ในประเทศอังกฤษเอง อุตสาหกรรมสิ่งทอในศตวรรษที่ 19 นั้น มีความสำคัญมากต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เป็นการเริ่มต้นของการที่มี INDUSTRIAL REVOLUTION ในอังกฤษ

เหตุผลที่อุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นจุดเริ่มต้นของทุก ๆ ประเทศที่จะเริ่มดำเนินการนโยบายอุตสาหกรรมเพราะอุตสาหกรรมสิ่งทอสามารถทำให้ประเทศที่จะเริ่มต้นมีฐานะ COMPARATIVE ADVANTAGE ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยในการผลิต เช่น ค่าแรง ค่าไฟฟ้ามีต้นทุนอยู่ในระดับต่ำกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว ในขณะเดียวกัน COMPARATIVE ADVANTAGE ก็ขึ้นอยู่กับยุทธวิธีของการผลิตและการขาย

ที่ผ่านมา ฮ่องกง เกาหลี ไต้หวัน เป็นผู้นำในเรื่องนี้ ต่อมาก็เป็นประเทศสิงคโปร์ที่เน้นด้านเครื่องนุ่งห่ม แต่ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่กำลังก้าวไปสู่อีกระดับหนึ่งของอุตสาหกรรมสิ่งทอ

อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนดังกล่าวนี้ อุปสรรคก็เริ่มปรากฏให้เห็น ซึ่งเกี่ยวพันกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวนของโลก ตามปกติอุตสาหกรรมสิ่งทอจะดีติดต่อกัน 3-4 ปี แล้วกลับเป็นไม่ดี 3-4 ปีอย่างมาก แต่ในระยะหลัง ช่วงที่ตกต่ำจะยาวนานกว่าเดิม คือนาน 4-5 ปี ทั้งนี้เกิดจากปัญหาน้ำมันและภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

ถ้าพูดถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอทั่ว ๆ ไป ต้องคำนึงว่าสิ่งทอนั้นประกอบด้วย 5 วิธีการ คือเริ่มต้นจากการผลิตฝ้าย การผลิตใยสังเคราะห์ การปั่นด้าย การทอผ้าหรือการถักผ้า การย้อม การพิมพ์ การทำเครื่องนุ่งห่ม ทั้งหมดนี้สำหรับประเทศไทยอยู่ในสภาพที่น่าพอใจ

ยกเว้นปัญหาในเรื่องฝ้ายเท่านั้นที่ต้องอาศัยดินฟ้าอากาศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางปีอาจจะได้ฝ้ายถึง 80,000-90,000 ตัน แต่เนื่องจากในระยะหลังราคาฝ้ายในตลาดโลกตกการผลิตจึงน้อยลง ปีนี้อาจจะได้เพียง 30,000 ตันเท่านั้น ทำให้ไม่เพียงพอกับการใช้ฝ้ายในประเทศจึงต้องนำเข้ามาส่วนหนึ่ง

ปัจจุบันกำลังผลิตของไทยในเรื่องการปั่นฝ้ายและทอผ้า สูงกว่าความต้องการของประเทศเป็นอย่างมาก สภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว ซึ่งภาคเอกชนพยายามที่จะแก้ไขแต่ไม่ค่อยสำเร็จ เพราะการทำ GENTLEMAN AGREEMENT ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น ปรากฏว่าพ่อค้าทุกคนไม่พร้อมเพรียงที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง

เหตุผลอีกประการหนึ่ง ก็คือ นโยบายของรัฐบาลในอดีตมีการกำหนดว่าจะไม่มีการเพิ่มกำลังผลิต แต่บางกิจการก็ไม่ได้ปฏิบัติตาม เป็นการสร้างความปวดหัวให้กับพวกนักอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการค้าอย่างสุจริต

เมื่อกำลังการผลิตของประเทศไทยสูงกว่าความต้องการมาก อุตสาหกรรมของไทยจึงเจริญเติบโตยิ่งใหญ่จนเกือบเข้าไปแทนเกาหลี ไต้หวัน หรือฮ่องกงได้ เพราะประเทศเหล่านี้สามารถไปเพิ่ม VALUE ADDED PRODUCT คือไปทำ CERTIFICATE จาก PRODUCT มากขึ้น ไทยจึงสามารถเข้าไปแทนที่ในสิ่งที่เขาเลิกทำกันแล้ว จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการส่งออกไปขายนอกประเทศ

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญที่สุดของไทย ในปี 2527 ประเทศไทยส่งออกสิ่งทอเป็นมูลค่า 23 พันล้านบาท หรือ 13.14% ของมูลค่าสินค้าส่งออกของไทยทั้งหมด ยกเว้นการส่งออกข้าวแล้ว สิ่งทอถือได้ว่าเป็นสินค้าอันดับสองที่ทำรายได้ให้ประเทศไทยมากที่สุด

และในปี 2527 นั้น เป็นการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปประมาณ 1 หมื่น 2 พันล้านบาท เป็นผ้าผืน 5 พัน 5 ร้อยล้านบาท เป็นด้ายเส้นใยประดิษฐ์ประมาณ 1 พันล้านบาท ทั้ง 3 รายการคิดเป็น 81.46% ของราคาสิ่งทอที่ส่งออกทั้งหมด

มูลค่าการส่งออก 23 พันล้านบาทนั้นเพิ่มขึ้น 37.37% เมื่อเทียบกับปี 2526 แสดงว่าตัวเลขการเพิ่มของสิ่งทอนั้นเพิ่มกันจริง ๆ เมื่อ 2-3 ปีนี้เอง ก่อนหน้านั้นเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เหตุผลก็เนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจของอเมริกาดีขึ้น ราคาน้ำมันถูกลงและสินค้าไทยมีคุณภาพพอที่จะแข่งกับประเทศอื่น ๆ ได้

และการที่ตัวเลขการส่งออกสินค้าสิ่งทอของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้จึงเกิดปัญหาเจนกิ้นส์ บิล ขึ้น

ปัจจุบันนี้สภาวะสิ่งทอของไทยก็ยังไม่พ้นช่วงวิกฤต จะเห็นได้จากเมื่อปีที่แล้วตัวเลขผู้ทำกิจการสิ่งทอจะออกมาขาดทุนทั้งนั้น แต่ในอนาคตสภาวะคงจะแจ่มใสขึ้นเล็กน้อย เพราะอัตราการเติบโตของสิ่งทอในเมืองไทยยังไม่มากนัก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของไทยก็ยังไม่ค่อยดี จะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมที่เป็น DETAIL TRADE อุตสาหกรรมที่เป็น CONSUMER PRODUCT ไม่ค่อยเติบโตหรืออาจจะถอยหลังกลับเสียด้วยซ้ำ กำลังซื้อของคนไทยในปีหน้าก็จะยังไม่ดีขึ้น ตราบใดที่ประชากร 70 % ยังอาศัยรายได้จากการขายพืชผลการเกษตรที่ราคาตกต่ำอย่างมาก

เมื่อ 25 ปีก่อน ประเทศไทยอาจส่งออกพืชผลเพียง 3 รายการ แต่ปัจจุบันได้เพิ่มมากขึ้นถึง 25 รายการ และไม่เคยมีในประวัติศาสตร์การค้าระหว่างประเทศที่ราคาพืชผลเหล่านี้จะตกลงพร้อม ๆ กันอย่างเช่นในปีนี้ จึงน่าเป็นห่วงมากว่ากำลังซื้อของคนไทยจะไม่ดีขึ้นในปีหน้า เพราะฉะนั้นเมื่อกำลังซื้อไม่ดีเราจะต้องมองว่าสิ่งที่คนจะซื้อต่อไปนี้จะต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารและเสื้อผ้า ในกรณีนี้กำลังซื้อเสื้อผ้าอาจจะมากกว่ากำลังซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่ในขณะที่กำลังผลิตสิ่งทอของเมืองไทยเกินความต้องการอยู่แล้ว คาดว่าสภาวะสิ่งทอของเมืองไทยคงจะไม่ดีขึ้นเท่าใดในระยะ 1 ปีข้างหน้า

เมื่อดูตลาดภายนอกแล้ว ประเทศไทยส่งไปขายประมาณ 16 ประเทศ แบ่งเป็นประเทศอเมริกา ประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป และประเทศอื่น ๆ อีกเล็กน้อย มีมูลค่าประมาณ 80% ของการส่งออกทั้งหมด แม้ว่าพยายามหาตลาดในตะวันออกกลางหรือตลาดในแ อฟริกา แต่ตลาดเหล่านี้ก็ยังไม่ใหญ่พอ

ดังนั้นนโยบายการกีดกันการนำเข้าสินค้าสิ่งทอของอเมริกาและกลุ่มประเทศตลาดร่วมยุโรป จึงมีผลกระทบกระเทือนต่อการส่งออกของไทยเป็นอย่างมาก แต่ในความเห็นส่วนตัวแล้วถ้าโรงงานใดในอุตสาหกรรมสิ่งทอสามารถรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ มีฐานะการเงินคล่องตัวพอใช้และสามารถส่งสินค้าได้ตามกำหนดเวลา โอกาสที่จะทำกำไรเล็กน้อยจากการส่งออกจะมีมากกว่าการที่จะพยายามผลักดันสินค้าของตนเข้าไปขายอยู่ในตลาดเมืองไทย

นอกเสียจากโรงงานนั้นจะมีวิธีการพิเศษที่สามารถควบคุมยุทธจักรสิ่งทอของเมืองไทยได้ แต่ถ้าเป็นบริษัทที่ไม่ต้องการที่จะปวดหัวกับการต่อสู้กับกฎเกณฑ์บางอย่างของทางราชการหรือกฎเกณฑ์บางอย่างภายในสังคมไทย ก็ควรหันไปมุ่งส่งออกดีกว่า

อีกประการหนึ่งก็คือ เรื่องกฎหมายเจนกิ้นส์ บิล เมื่อประมาณ 4 เดือนที่ผ่านมา โอกาสของกฎหมายนี้จะผ่านรัฐสภาของอเมริกาและออกมาเป็นตัวพระราชบัญญัติกฎหมายของอเมริกา ซึ่งสามารถกีดกันการส่งออกสินค้าสิ่งทอของไทยได้ถึง 64% มีโอกาสค่อนข้างมาก

แต่เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมานี้ เข้าใจว่าโอกาสที่จะผ่านมาใช้บังคับค่อนข้างน้อยเพราะเข้าใจว่าประธานาธิบดีเรแกนจะวีโต้ร่างกฎหมายฉบับนี้

ปัจจุบันพระราชบัญญัติฉบับนี้ผ่านสภาล่างด้วยคะแนนเสียง 256 เสียง ส่วนสภาสูงมีแนวโน้มว่าจะผ่านด้วยคะแนนเสียง 51-52 เสียง อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติที่จะผ่านสภาสูงมีข้อความที่ต่างไปจากข้อความของสภาล่างมาก กล่าวคือร่างฯ ของสภาล่างจะย้อนไปบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2524 แต่ของสภาสูงสำหรับกรณีประเทศไทยจะย้อนไปเพียงปี 2527 ทำให้โอกาสการส่งออกของไทยดีขึ้น

รายละเอียดข้อหนึ่งของร่างกฎหมายของสภาสูง เดิมนั้นให้เปลี่ยนจากผู้ส่งออกในประเทศอื่นเป็นผู้ถือโควตาให้เป็นผู้นำเข้าในอเมริกาเป็นผู้ถือโควตา และถ้าเป็นเช่นนั้นผู้นำเข้าของอเมริกาสามารถกดราคาได้อย่างเต็มที่ และก็อาจจะลามไปถึงสินค้าอื่นที่มีโควตาอยู่แล้ว ซึ่งเรื่องนี้ทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนของไทยก็ตกลงกันว่าจะคัดค้านอย่างถึงที่สุด

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ LOCAL QUATA ที่ปัจจุบันจะแยกให้เป็นประเทศ ๆ แต่ถ้าเป็นลักษณะในเจนกิ้นส์ บิล LOCAL QUATA จะขึ้นอยู่กับผู้สั่งเข้าของอเมริกาว่าจะให้ประเทศไหนส่งเข้ามาเท่าไหร่ สิ่งนี้ทางไทยเห็นว่าขัดกับ GATT หรือของ MFA

ในเรื่องโอกาสที่ประธานาธิบดีเรแกนจะวีโต้นั้นมีมาก และคิดว่าวีโต้แน่ๆ และเมื่อประธานาธิบดีวีโต้แล้วตามกฎหมายของอเมริกานั้นทั้งสภาล่างและสภาสูงจะต้องได้เสียงเกิน 2 ใน 3 ที่จะสามารถคว่ำวีโต้ของประธานาธิบดี ก็เท่ากับต้องได้เสียงจากสภาล่าง 290 เสียง และเสียงในสภาสูง 67 เสียง เท่าที่มีการโหวตผ่านมา เสียงทั้ง 2 สภายังมีไม่ถึง

เพราะฉะนั้นจึงคิดว่าร่างกฎหมายฉบับนี้คงจะไม่ออกมาบังคับใช้ อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ผู้ส่งออกจะต้องระวัง คือ การประชุม MFA ซึ่งครั้งแรกจะมีการประชุมที่เจนีวาในวันที่ 2-4 ธันวาคมของปีนี้ เพื่อจะเตรียมการประชุมจริงในเดือนพฤษภาคม 2529 และในอดีตจะมีปัญหาตรงที่ว่าจะมีการต่ออายุ MFA หรือไม่

ตามปกติการค้าระหว่างประเทศจะขึ้นอยู่กับ GATT อันเป็นสนธิสัญญาที่ส่งเสริมให้มีการค้าขายแบบเสรี แต่เนื่องจากมีความปั่นป่วนในเรื่องการค้าขายสิ่งทออย่างมากในระยะเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จึงมีผู้เสนอให้มีสัญญา MFA ซึ่งจะเป็นการจำกัดสิทธิการค้าขายสิ่งทอหรือการผลิตสิ่งทอของประเทศทั่วไป ทำให้แคบกว่า GATT และทำให้มีการแบ่งแยกว่าประเทศไหนจะมีการนำเข้าเท่าไหร่

สำหรับการประชุม MFA ที่จะมีในปีหน้านั้นก็คาดว่าจะมีการจำกัดตัวเองมากเข้าไปอีก รวมทั้งถ้าจะมีการทำสัญญาต่ออายุ MFA ในปีหน้าแล้ว ทางอเมริกาคงจะมีกลยุทธ์บางอย่าง เช่น

ประการแรกภายใต้ MFA เก่านั้น อเมริกาจะอนุญาตให้มี ANNUAL GROWTH RATE 6% สมมุติว่าเมืองไทยได้โควตาจากอเมริกา 100 ตัน ในปีต่อไปก็จะได้ 106 ตัน สิ่งนี้คือ PERCENTAGE ที่ MFA กำหนดให้ และในปีต่อ ๆ ไปนั้นคงจะให้เพียง 1% เท่านั้น

ผลสืบเนื่องจากเจนกิ้นส์ บิล ก็คือ MFA ในปัจจุบันไม่รวมผ้าไหม ผ้าลินิน และผ้ารามี แต่ MFA ใหม่จะต้องรวมสินค้าทั้ง 3 ประเภทเข้าไปด้วย สำหรับลินินและรามีนั้นประเทศไทยไม่ได้ผลิตอยู่แล้วจึงไม่น่าเป็นห่วง ที่จะเป็นปัญหาก็คือผ้าไหมซึ่งประเทศไทยผลิตเพื่อส่งออกเพียงเล็กน้อยก็คงกระทบกระเทือนบ้าง

ประการสุดท้ายจะมีการ CONTROL GROWTH คือการควบคุมแต่ละรายการมากขึ้น ซึ่งยังบอกไม่ได้ว่าจะเป็นรายการใดบ้าง เป็นการจำกัดการเจริญเติบโตของสิ่งทอในประเทศกำลังพัฒนา

สรุปแล้วอุตสาหกรรมสิ่งทอในปีหน้าคงจะไม่ดีขึ้น แต่ก็คงจะดีขึ้นกว่าปีที่แล้ว และสภาวะสิ่งทอในประเทศยังอยู่ในระดับที่คับขันมาก รัฐบาลน่าจะได้พยายามพิจารณาแก้ไขให้มากขึ้น

วิธีการแก้ไขก็มีการเสนอมาจากหลายหน่วยงาน เช่น สภาพัฒนาเศรษฐกิจฯ เคยเสนอ RESTRUCKTIONING ของอุตสาหกรรมเท็กซ์ไทล์ ที่จะต้องให้ความสมดุลกันในเรื่องการปั่นด้าย ทำใยสังเคราะห์ การทอผ้า ในขณะเดียวกันก็ควรจะต้องมีการปรับปรุงภาษีให้สมดุลกันด้วย

ยกตัวอย่างในปัจจุบันผ้าผืนของไทยผลิตเกินความต้องการมากจึงทำให้หลายบริษัทต้องส่งออกไปต่างประเทศ ในขณะที่มีโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มอยู่ประมาณ 400-500 โรงงาน และเพราะระบบโครงสร้างภาษีของไทยไม่อำนวยให้โรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่มใช้ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนในประเทศ เนื่องจากถ้าโรงงานนำเข้าจากต่างประเทศจะได้รับการยกเว้นภาษีขาเข้าทำให้ต้นทุนต่ำลง

ในทางตรงข้ามหากโรงงานหันมาซื้อผ้าผืนที่ผลิตในเมืองไทย โรงงานผลิตผ้าผืนจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในวัตถุดิบบางประเภทที่นำเข้า รวมทั้งต้องเสียภาษีการค้า ทำให้ต้นทุนสูงกว่าสั่งผ้าผืนจากต่างประเทศเข้ามา สิ่งเหล่านี้น่าจะมีการปรับปรุงในเรื่องโครงสร้างของภาษีใหม่ให้สมดุลกัน เป็นการช่วยให้ใช้สินค้าที่ผลิตได้ในเมืองไทยตลอดจนเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลด้วย

ภาวะกีดกันของตลาดต่างประเทศยังคงจะมีต่อไป รัฐบาลจะต้องพิจารณาหาทางเปิดตลาดต่างประเทศทั้งสำหรับสินค้าและสินค้าอื่น ในเวลาเดียวกันนั้นก็ต้องวางมาตรการบางประการเพื่อเปิดตลาดในประเทศพร้อม ๆ ไปด้วย เพราะในปัจจุบันนโยบายของรัฐบาลมีลักษณะเป็นการคุ้มครองอุตสาหกรรมในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งบางทีก็มากเกินไป

ตามหลักการแล้วอุตสาหกรรมในประเทศกำลังพัฒนาจะต้องอาศัยการคุ้มครองในระยะหนึ่ง แต่บางคราวก็ทำให้อุตสาหกรรมบางประเภทกลายเป็นเด็กที่เลี้ยงแบบไม่ยอมให้โต เด็กก็ไม่อยากโต มีการเก็บภาษี SERCHARGE ในบางรายการ แม้จะเป็นเรื่องที่จำเป็นในบางครั้ง ก็ควรที่รัฐบาลน่าจะพิจารณาว่าในโลกทุกวันนี้ถ้าต้องการรักษา INTERNATIONAL TRADING SYSTEM ที่เป็นระบบการค้าแบบเสรี

และคำนึงถึงว่าภาวะเศรษฐกิจของโลกจะอยู่ได้ รวมทั้งสามารถปรับตัวแก้ไขให้อยู่ในภาวะเหมือนเดิมนั้น จะต้องอาศัยการค้าแบบเสรี

หากทุกประเทศใช้นโยบายการค้าแบบกีดกันแล้ว ความเสียหายทางเศรษฐกิจจะเกิดขึ้นทั่วหน้ากันหมด

ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลไทยน่าจะทำควบคู่ไปกับการขยายตลาดในต่างประเทศก็คือ มีวิธีการใดที่จะเปิดตลาดภายในให้ประเทศอื่นบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการคลี่คลายบรรยากาศที่แต่ละประเทศให้รัฐบาลของตนปกป้องตลาดของตัวเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us