Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
แซงต์-ปอล เดอ วองซ์             
โดย สุภาพิมพ์ ธนะพรพันธุ์
 


   
search resources

Entertainment and Leisure




CROUS เป็นหน่วยงานที่ดูแลนักศึกษา มีรายการเที่ยวทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลฝรั่งเศส จึงได้เที่ยวเมืองที่ไม่ไกลจากเมืองนีซ (Nice) มากนัก เป็นการเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ หนึ่งในจุดหมายปลายทางคือแซงต์-ปอล เดอ วองซ์ (Saint-Paul de Vence) โดยแวะชม Fondation Maeght ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่มีงานศิลป์เป็นจำนวนมากเพราะเจ้าของเป็นพ่อค้างานศิลป์คือ เอเม มากต์ (Aime maeght) พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เปิดในปี 1964 กล่าวคือเพียงไม่กี่ปีก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาที่เมืองนีซ เพียงแต่ในวัยเยาว์ยังไม่ทราบซึ้งศิลปะนัก

การไปแซงต์-ปอล เดอ วองซ์ในครั้งนั้น จำได้แต่ว่าชอบมาก หมู่บ้านบนเขาที่ไม่สูงนัก ผ่านร้านอาหาร Colombe d’Or พลันนึกถึงภาพเงานกพิราบขาวที่ทอดลงมา เดินชมเมืองแล้วเดินชอปปิ้ง ได้จี้ห้อยคอและแหวนที่เป็นโลหะลงยา

แซงต์-ปอล เดอ วองซ์เป็นเมืองที่มีมาแต่โบราณอยู่ในโปรวองซ์ (Provence) เคยถูกกรีซและโรมยึดครอง เมื่ออาณา จักรโรมันล่มเกิดโรคระบาดและถูกรุกราน ชาวบ้านจึงพากันหนีขึ้นไปสร้างบ้านเรือนบนชะง่อนผามาถึงยุคกลาง แซงต์-ปอล เดอ วองซ์อยู่ในอาณัติของเจ้าเมืองโปรวองซ์ (Provence) โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ยุคกงต์ เรย์มงด์ เบรองเจร์ที่ 5 (Comte Raymond Beranger V) และกงแตส ฌานแห่งอองจู (Comtesse Jeanne d’Anjou) หลังยุคฌานแห่งอองจู แซงต์-ปอล เดอ วองซ์ตกเป็นของอองจู ในปี 1482 แซงต์-ปอล เดอ วองซ์เป็นส่วนหนึ่ง ของราชอาณาจักรฝรั่งเศส เนื่องจากกษัตริย์ชาร์ลส์ แกงต์ (Charles Quint) แห่งสเปนยกทัพมารุกรานบ่อยๆ กษัตริย์ฟรองซัวส์ที่ 1 (Fran”ois Ier) ของฝรั่งเศส จึงให้สร้างกำแพงเมือง บ้านเรือนที่อยู่ในเส้นทางการก่อสร้างต้องโยกย้ายไปที่อื่น

หลังยุคจักรวรรดิ (Empire) แซงต์-ปอล เดอ วองซ์ถูกละเลย ในปี 1832 ทหารจึงมาบูรณะและใช้เป็นกรมทหาร ต่อเมื่อปี 1870 แซงต์-ปอล เดอ วองซ์จึงปลอดทหาร รัฐบาลเสนอให้ทุบทิ้งกำแพง เมืองและขายเป็นเศษอิฐเศษหิน ทว่านายกเทศมนตรีของแซงต์-ปอล เดอ วองซ์ต้องการคงกำแพงเมืองไว้ จึงขอซื้อจากรัฐบาลเป็นเงิน 400 ฟรังก์ แซงต์-ปอล เดอ วองซ์จึงยังคงความขลังและสวยงาม สามารถดึงดูดพวกอาร์ทิสต์ เช่น ซูติน (Soutine) มาร์ก ชากาล (Marc Chagall) ปอล ซีญัก (Paul Signac) ปิแอร์-โอกุสต์ เรอนัวร์ (Pierre-Auguste Renoir) อะเมเดโอ โมดิกลีอานี (Amedeo Modigliani) ปาโบล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) แฟร์นองด์ เลเจร์ (Fernand Leger) ราอูล ดูฟี (Raoul Dufy) ซึ่งมารังสรรค์งานที่นี่ นักเขียนอย่างอองเดร จีด (Andre Gide) ฌอง กอคโต (Jean Cocteau) ฌาคส์ เพรแวรต์ (Jacques Prevert) นักแสดงอย่างอีฟส์ มงตองด์ (Yves Montand) ซีโมน ซีญอเรต์ (Simone Signoret) โรมี ชไนเดอร์ (Romy Schneider) โรเจอร์ มัวร์ (Roger Moore) โทนี เคอร์ติส (Tony Curtis) ล้วนแต่หลงเสน่ห์แซงต์-ปอล เดอ วองซ์ทั้งสิ้น

โรงแรมที่เหล่าคนดังไปพักคือ La Colombe d’Or ซึ่งมีภัตตาคารหรูชื่อเดียวกันเป็นสถานที่ที่อีฟส์ มงตองด์ได้พบ กับซีโมน ซีญอเรต์ ซึ่งภายหลังได้แต่งงาน กัน

ในศตวรรษที่ 20 ลูกค้าของ La Colombe d’Or ล้วนเป็นคนดัง จิตรกร อิมเพรสชั่นนิสต์ที่มุ่งสู่ใต้จะแวะมาที่แซงต์-ปอล-เดอ วองซ์เพื่อเขียนรูปปอล รูซ์ (Paul Roux) ซึ่งเป็นเจ้าของในขณะนั้น ยอมให้อาร์ทิสต์เหล่านี้พักฟรีแลกกับภาพเขียนอองรี มาติส (Henri Matisse) ซึ่งป่วยและสูงอายุแล้ว เดินทางมาถึง La Colombe d’Or เขาไม่ลงจากรถ แต่ขอให้ปอล รูซ์มาร่วมดื่มชาในรถ แสดงถึงสัมพันธ์หนาแน่นระหว่างปอล รูซ์และจิตรกรทั้งหลาย ปาโบล ปิกัสโซมอบภาพ ช่อดอกไม้ให้ปอล รูซ์ก่อนที่ฝ่ายหลังจะเสียชีวิตไม่นาน จอร์จส์ บราค (Georges Braque) ทำโมเสกรูปนกพิราบบนหลังคา ให้โฆอัน มิโร (Joan Miro) มอบภาพ Femmes, lune, oiseaux ให้อเล็กซานเดอร์ คัลเดอร์ (Alexander Calder) มอบ โมบายรูปนกสีขาวให้ ทว่าภรรยาของฟรองซิส รูซ์ (Francis Roux) ลูกชายที่เข้า บริหารต่อจากพ่อ นำไประบายเป็นสีแดงเพื่อจะได้ตัดกับผนังสีขาว แฟร์นองด์ เลเจร์ (Fernand Leger) มอบภาพ Femme au perroquet rouge แม้แต่ประติมากรรุ่นหลังอย่างเซซาร์ (Cesar) ก็มอบรูปปั้น ชื่อ Violon brule ให้ฟรองซิส รูซ์

กวีอย่างฌาคส์ เพรแวรต์ (Jacques Prevert) เดินทางมาแซงต์-ปอล-เดอ วองซ์กับกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง Les visiteurs du soir ในปี 1941 มื้ออาหารที่ฉลอง การแต่งงานระหว่างอีฟส์ มงตองด์และซีโมน ซีญอเรต์ที่ La Colombe d’Or ปอล รูซ์ปล่อยนกพิราบขาว นกตัว หนึ่งมาเกาะศีรษะของเจ้าสาว

แซงต์-ปอล เดอ วองซ์และ La Colombe d’Or เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์หลายเรื่อง เหล่าผู้สร้างและนัก แสดงมาพักที่ La Colombe d’Or ไม่ว่า จะเป็นฟรองซัวส์ ทรุฟโฟต์ (Fran”ois Truffaut) จีน ซีเบอร์ก (Jean Seberg) ออร์สัน เวลส์ (Orson Welles) อัลเบิร์ต ฟินนีย์ (Albert Finney) อานุค เอเม (Anouk Aime) เดวิด นีเวน (David Niven)

ปัจจุบัน La Colombe d’Or ยังเป็นสถานที่ดึงดูดคนดัง ทั้งอาร์ทิสต์และปัญญาชนด้วยการรักษาบรรยากาศเดิมๆ โรงแรมและภัตตาคารมีผลงานของอาร์ทิสต์ดังให้ชม

ในบั้นปลายชีวิต อองรี มาติสมาพักรักษาตัวที่นีซ (Nice) โดยจ้างนักศึกษา พยาบาลชื่อ โมนิค บูร์จัวส์ (Monique Bourgeois) มาดูแลตอนกลางคืน และ กลายเป็นแบบให้เขาเขียนหลายรูปด้วยกัน ต่อมาโมนิค บูร์จัวส์ไปบวชเป็นชีสายโดมินิแกง (dominicain) ที่อะเวย์รง (Aveyron) ได้ชื่อใหม่ว่า แม่ชีฌาคส์-มารี (Jacques-Marie) ทั้งสองเขียนจดหมายติดต่อกัน แม่ชีฌาคส์-มารีมีปัญหาสุขภาพ จึงขอย้ายมายังแซงต์-ปอล เดอ วองซ์ อองรี มาติสก็ย้ายมาพักรักษาตัวที่นี่เช่นกัน และแล้ววันหนึ่งเธอเอ่ยปากขอให้เขาช่วยตกแต่งโบสถ์ของคอนแวนต์ หากอองรี มาติสอยากสร้างโบสถ์ ใหม่ จึงออกแบบตกแต่งภายในและออกแบบลายกระจกสีเองหมด ได้โบสถ์เล็กที่สมัยใหม่ ไม่มีอะไรต้องตรงกับโบสถ์แบบเดิมๆ จนแม่ชีฌาคส์-มารีเกรงจะไม่ผ่าน “การตรวจรับ” ภาพเขียนฝาผนังเป็นพระ แม่มารีที่เห็นถัน เพราะต้องการแสดงให้เห็นความเป็นแม่ของพระแม่มารี และหากจะมี “เส้นทางสู่กางเขน” (chemin de croix) ก็เพราะเป็นเหตุการณ์ที่เป็นโศกนาฏกรรมของคริสต์ศาสนิกชน

แล้วก็เป็นไปตามความกริ่งเกรงของแม่ชีฌาคส์-มารี เพราะโบสถ์เล็กแห่งนี้ไม่ได้รับการยอมรับเมื่อทำพิธีเปิดในปี 1951 เกิดการประท้วงภายในโบสถ์หรือเขียนประท้วงในสมุดเยี่ยมชม หากกาลเวลาผ่านไป โบสถ์ของมาติส (chapelle de Matisse) มีผู้เข้าชมปีละ 70,000 คนเพราะทุกคนต้องการมาเห็นผลงานของอองรี มาติส จิตรกรที่ยิ่งใหญ่ผู้หนึ่ง

อองรี มาติสใช้เพียง 3 สี คือ สีเขียวของต้นไม้ใบหญ้า สีฟ้าของฟ้าและทะเล สีเหลืองซึ่งคือสีแดดที่ทอดเข้ามา สำหรับอองรี มาติสแสงสว่างคือ ภาพลักษณ์พระผู้เป็นเจ้าซึ่งไม่อาจเห็นด้วยตาเปล่า อองรี มาติสติดกระจกสีที่ผนังด้านหนึ่ง เพื่อให้แสงสาดส่องไปยังผนังทึบ อีกด้านหนึ่ง

Chapelle des Penitents blancs เป็นโบสถ์เล็กอีกแห่งหนึ่งที่มีอาร์ทิสต์ ชาวเบลเยียม ชื่อโฟลง (Folon) ตกแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระจกสี

มาร์ก ชากาล จิตรกรใหญ่อีกคนหนึ่งมาพำนักที่แซงต์-ปอล เดอ วองซ์ระหว่างปี 1966-1985 อีฟส์ มงตองด์รักแซงต์-ปอล เดอ วองซ์มากจนซื้อบ้านไว้เป็นที่พำนักถาวรจนวาระสุดท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us