Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
Kidz Sportland ศูนย์กีฬาเพื่อทักษะสู้ชีวิตของลูกน้อย             
โดย สุภัทธา สุขชู
 


   
www resources

Kidz Sportland Homepage

   
search resources

Sports
Kidz Sportland
ศิรเดช ฐิตะฐาน




“รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” เป็นวลีที่ดูจะผูกขาดอยู่กับคำว่า “กีฬา” จนดูเหมือนว่าทัศนะนี้จะมีอยู่เพียงในสนามกีฬาหรือไร เพราะหลายครั้งเมื่อก้าวสู่สนามชีวิต นักกีฬาบางคนกลับตกอยู่ในหลุมความคิด แบบ “แพ้ไม่ได้ ชนะไม่เป็น” จนชีวิตไปต่อลำบาก เพราะขาดสิ่งที่เรียกว่า “ทักษะสู้ชีวิต”

“กีฬาๆ เป็นยาวิเศษ แก้กองกิเลส ทำคนให้เป็นคน”

คุณงามความดีของการเล่นกีฬาในแง่มุม “เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์” ดูเหมือนถูกพูดถึงน้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะ ในธุรกิจสถาบันกีฬาที่มุ่ง “เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศ” และในกลุ่มผู้ปกครองที่มองกีฬาในมุมที่คับแคบ

นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาสมองเด็ก เคยเขียนถึงมุมมองที่คับแคบของพ่อแม่ ซึ่งมีผลต่อการเล่นกีฬาของลูกน้อย ไว้ว่า พ่อแม่บางคนมองกีฬา เป็นเรื่องของคนที่มีความสามารถพิเศษ แต่กลับคิดว่าลูกของตนไม่มีความสามารถทำนองนี้ จึงไม่สนับสนุนให้ลูกเล่นกีฬา บางส่วนมองว่าการเล่นกีฬาทำให้เสียการเรียน ก็ไม่ยอมให้ลูกเสียเวลาไปกับกีฬา

ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ พ่อแม่ที่มองกีฬาคืออาชีพที่ทำรายได้งาม และอนาคตที่ดี จึงเคี่ยวเข็ญทุกวิถีทางเพื่อให้ลูกเก่งกีฬา โดยไม่ดูว่าลูกมีพื้นฐานทางร่างกายและมีความชอบหรือไม่ ลูกจึงเหมือนตกอยู่ในนรกแห่งความหวังดีของพ่อแม่

ทั้งที่จริง “กีฬา” และ “การเล่น” ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือพัฒนา R.Q. (Resilience Quotient) หรือศักยภาพทางอารมณ์และจิตใจในการปรับตัว และฟื้นตัวภายหลังเหตุการณ์วิกฤติ หรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความยากลำบาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งที่จะช่วยให้เราผ่านพ้นอุปสรรคและดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข บางคนนิยามว่านี่เป็น “พลังสุขภาพจิต” บ้างก็เรียก “ทักษะล้มแล้วลุก” หรือ “ทักษะสู้ชีวิต”

R.Q. จำเป็นสำหรับคนเราทุกคน โดยเฉพาะกับเด็กในวันนี้ เพราะในวันหน้า พวกเขาจะต้องเผชิญกับการแข่งขันและความไม่แน่นอนที่นับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะต่อสู้และปรับตัวอยู่กับสิ่งเหล่านี้ให้ได้ โดย นพ.อุดมย้ำว่า “กีฬา” กับ “การเล่น” เป็นแบบฝึกหัดที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับทักษะด้านนี้

ณ มุมหนึ่งบนชั้น 4 ของห้างเดอะมอลล์ บางแค เสียงเจื้อยแจ้ว เคล้าเสียงหัวเราะของเหล่าเด็กน้อยดังกึกก้อง “น้องจอห์น” วัยเพียง 3 ขวบกำลังสนุกกับเครื่องออกกำลังกายย่อส่วนในห้องฟิตเนสเด็ก “น้องตะวัน” กำลังหัดตีกอล์ฟกับเครื่อง Simulator อย่างเมามัน ส่วน “น้องปิง” ตัวกลมวิ่งวุ่นเก็บลูกเทนนิสในสนามเทนนิสย่อส่วนเพื่อลดน้ำหนักที่เพิ่มมาตอนน้ำท่วม ส่วน “น้องโลตัส” และ “น้องจุ้ย” กำลัง ตีแบดโต้กับผู้สอนอย่างสนุกสนาน โดยข้างสนามเต็มไปด้วยพ่อแม่ที่นั่งอมยิ้มกับพัฒนาการและความซุกซนของลูกน้อย

Kidz Sportland อยู่บนพื้นที่ร่วม 2,000 ตร.ม.ในห้องแอร์ขนาด ใหญ่ที่โปร่งโล่งจนมองเห็นกันทั่วพื้นที่ ที่นี่เป็นพื้นที่เพื่อการเรียนกีฬาและการสร้างพัฒนาการเด็ก ด้วยกิจกรรมต่างๆ กว่า 11 ประเภท เช่น ฟุตซอล แบดมินตัน เทนนิส กอล์ฟ เทควันโดและศิลปะป้องกันตัวอื่น ศูนย์พัฒนาการเด็กและครอบครัว ศูนย์พัฒนาการเด็กด้วยการประกอบ หุ่นยนต์ ฟิตเนสสำหรับเด็ก เป็นต้น

“ตอนนี้เด็กไทยมีปัญหาเชิงพัฒนาการหลายด้าน น่าจะมีสถานที่ สักแห่งที่ช่วยสร้างพัฒนาการให้เด็กได้ทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ เพื่อสร้างสมดุลชีวิตให้แก่เด็ก ให้พวกเขาโตขึ้นเป็น “คนสู้ชีวิต” และอยู่รอดในสังคมได้อย่างแข็งแกร่ง” ศิรเดช ฐิตะฐาน กล่าวถึงแรงบันดาล ในการสร้างศูนย์กีฬาสำหรับเด็กแห่งนี้

โลกกีฬาของเด็กแห่งนี้เปิดตัวในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยเป็นผลงานการพัฒนาพื้นที่ของบริษัท “InterFac” ผู้เชี่ยวชาญด้าน การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ผู้พัฒนาพื้นที่ขายของในโครงการปรับภูมิทัศน์รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิด้านพหลโยธินและฝั่งราชวิถี โครงการ ปรับภูมิทัศน์ด้านหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 6 สวนลุมพินี พื้นที่ค้าขายหลังด่านทางด่วนบางแห่ง และโครงการเซ็นเตอร์ พอยท์ ในเซ็นทรัล เวิลด์ เป็นต้น

ในฐานะนักพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ศิรเดชเล่าเหตุผลที่เลือกมาเปิดสาขาแรกที่เดอะมอลล์ บางแค ว่าส่วนหนึ่งมาจากกำลังซื้อของ ตลาดย่านนี้ ซึ่งเขาเชื่อว่ามีศักยภาพสูง ดูได้จากจำนวนบ้านที่มีราคาเกิน 5 ล้านบาท เกือบ 8 พันยูนิต มีโรงเรียนนานาชาติกว่า 15 แห่ง อีกส่วนมาจากจังหวะเวลาที่ลงตัวกับเดอะมอลล์ ซึ่งมีแผนพัฒนาสาขาบางแคให้เป็นศูนย์การค้าสำหรับเด็กและครอบครัว โดยในชั้นเดียวกันนี้ ยังมีสวนน้ำและสวนสนุกแฟนตาเซีย ที่อยู่ระหว่างปรับปรุง

ศิรเดชรวบรวมสถาบันที่มีชื่อเสียงในการสอนกีฬาสำหรับเด็กถึง 8 สถาบัน มาไว้รวมกันที่นี่ ได้แก่ สถาบันเทนนิสปิรามิด โดย อ.สรวง จันทร์อุไร ผู้ฝึกสอนทีมชาติ, สถาบันเอสเค แบดมินตัน อะคาเดมี โดย อ.สมพล คูเกษมกิจ ผู้จัดการทีมและผู้ฝึกสอนทีมชาติ, สถาบันไทยแลนด์ ฟุตซอล อะคาเดมี โดยอดิศักดิ์ เบ็ญจศิริ วรรณ ประธานพัฒนาฟุตซอลแห่งชาติ, สถาบันโกลบอล มาร์เชียลอาร์ท โดย อ.ทวีวัฒน์ ของสิริ วัฒนกุล นายกสมาคมฮับกิโดแห่งประเทศไทย, สถาบันเฟิร์ส สวิง บาย โปรก็อต โดยอภินัย วรรณไพโรจน ผู้ฝึกสอนและดูแลนักกอล์ฟทีมชาติ, สถาบันเทรนดี้คิดส์ แอนด์ แฟมิลี โดยรักลูก กรุ๊ป และอาจารย์ด้านปฐมวัย, สถาบันโรบ็อท ฟอร์ คิดส์ และวิทยาลัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล (MUSS) ดูแลด้านฟิตเนสสำหรับเด็กและวัดพัฒนาการของเด็กก่อน-หลังคอร์สเรียน

“เป็นความภูมิใจที่ MUSS มาร่วมกับเรา ซึ่งเขายังไม่เคยร่วมกับเอกชนที่ไหน เขาเห็นว่าที่นี่น่าจะเป็นประโยชน์กับเด็ก และสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ที่ไม่เน้นกีฬาเพื่อการแข่งขัน แต่เน้นทักษะ ทางกายและการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งแก่เด็ก ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกเล่นกีฬาที่เหมาะสมในอนาคต” นอกจากนี้ที่นี่ยังถือเป็นการออกนอกสถานที่ครั้งแรกของสถาบันอีก 7 แห่งด้วย

Kidz Sportland มีจุดยืนเป็นศูนย์สร้างพัฒนาการเด็กด้วย กีฬา ตามทฤษฎี Play and Resilience Quotient ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก โดยให้น้ำหนักกับการสร้างพัฒนาการมากกว่า สร้างความเป็นเลิศทางกีฬา ทั้งนี้เพื่อมุ่งสร้าง Healthy Kids ที่หมายถึงความแข็งแรงทั้งสุขภาพกาย สุขภาพจิตใจ และสุขภาวะ ทางอารมณ์

ด้วยจุดยืนนี้ พาร์ตเนอร์ทั้ง 8 ราย แทบจะปิดตำราการสอน แบบเดิม แล้วเขียนหลักสูตรใหม่ให้เหมาะกับที่นี่ เพื่อให้การสอนในแต่ละชั่วโมงสามารถตอบโจทย์การสร้างพัฒนาการให้เด็กครบทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย สติปัญญา จิตใจ-อารมณ์ และสังคม ไม่เพียงทักษะด้านกีฬา ผู้สอนยังต้องเสริมทักษะการสู้ชีวิตลงไปในการสอนด้วย

“น้องโลตัสเลือกลงคอร์สตีแบด เพราะเขาเห็นพ่อเล่นก็อยาก เล่นบ้าง มาตรงนี้แล้วเห็นชัดว่าเขาตีได้ดีขึ้น แต่ที่ตามไปด้วยคือ พัฒนาการด้านอารมณ์ ถ้าเป็นแต่ก่อน พอตีไม่โดน เขาจะหงุดหงิด แต่ตอนนี้โอเคขึ้น เพราะหลังเลิกเรียนที่นี่จะให้เด็กนั่งสมาธิ แล้วเขาก็ชอบมาที่นี่ เพราะสนุก และได้เล่นกับเพื่อน” คุณแม่น้องโลตัส เล่า ขณะนั่งมองดูลูกอยู่ริมสนามพร้อมน้องพอร์ช ลูกสาวคนเล็ก ที่นั่งทำการบ้านอยู่ข้างกัน

ขณะที่คุณแม่น้องตะวันรู้สึกมีความสุขที่เห็นลูกชายเปลี่ยน ตัวเองจากที่เคยเป็นเด็กขี้อาย นิ่งขรึม ไม่กระตือรือร้น กลายเป็น เด็กแอ็คทีฟ ร่าเริง และชอบเล่นกีฬา หลังจากมาเล่นสนุกกับเพื่อนๆ ในคอร์สเทนนิสและฟุตซอล

“ความสนุกทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะแพ้ได้ ชนะเป็น เพราะทัศนคติของพวกเขาจะเห็นว่าแพ้หรือชนะนั้นไม่สำคัญเท่ากับการได้เล่น หรือวันนี้แพ้ พรุ่งนี้ก็มาเล่นใหม่ และความสนุกจะทำให้เด็กง้อเป็นและให้อภัยเป็น เพราะเคยเล่นสนุกด้วยกันมา เราอยาก ทำให้วัฒนธรรมแบบนี้เกิดขึ้นให้ได้”

สนนค่าเรียนแต่ละคอร์ส ระยะเวลาราว 1 เดือนอยู่ระหว่าง 3,500-9,000 บาท ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทกีฬา ทั้งนี้ เด็กที่จะลงเรียนได้ต้องเสียค่าแรกเข้า 2,500 บาท ซึ่งจะได้สิทธิ์เป็นสมาชิกจนอายุ 12 ปี ปัจจุบันมีสมาชิกร่วม 500 คน โดยเปิดรับเด็กตั้งแต่ อายุ 6 เดือน-12 ปี ทว่า อายุต่ำสุดของสมาชิก ณ วันนี้กลับเป็น ทารกในครรภ์ โดยผู้เป็นแม่ถูกใจคอนเซ็ปต์นี้มากจนต้องสมัครทิ้งไว้ให้ลูกทั้งที่ยังไม่ทราบเพศ

แม้ศิรเดชจะยอมรับว่าการสร้างศูนย์พัฒนาการด้านกีฬาเช่นนี้จะไม่ใช่เรื่องง่าย อาจไม่สร้างรายได้มากเท่าการให้เช่าพื้นที่ ค้าขาย ทว่า ในปีหน้าศูนย์นี้จะเปิดอีก 2 แห่งใน กทม. โดยกลาง ปี แว่วว่าจะเปิดที่พาราไดซ์ พาร์ค ย่านบางนา อาจจะสาขาในต่างจังหวัดในเร็ววัน เนื่องจากมีเจ้าของศูนย์การค้าติดต่อเข้ามาหลายแห่ง

สำหรับ InterFac และศิรเดช Kidz Sportland เป็นโครงการชิมลางที่เป็นดุจ “หนังสือชี้ชวน” เพื่อจูงใจนักลงทุน เมื่อบริษัทเข้าระดมทุนในตลาด MAI ราวปลายปีหน้า เขาจะมีเงินมาทุ่มในโปรเจ็กต์ใหญ่ที่ใช้เวลามาหลายปีกับโครงการ “แคมป์เด็กดี” ซึ่งเขาอวดว่า จะยิ่งใหญ่กว่าที่นี่หลายเท่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us