เมืองไทยมีฝีมือในการผลิตแต่ของที่ผลิตมักจะราคาไม่ดี ได้มีการศึกษาเรื่องนี้พบว่าถ้าเราเอาราคาเมื่อ
10 ปีที่แล้วคูณด้วยผลผลิตของวันนี้ ประเทศไทยจะไม่ขาดดุลการค้า เมืองไทยขาดดุลการค้า
60,000 ล้านบาท แต่ถ้านับเม็ดนับตันของของที่ผลิตขึ้นมาแล้วคูณด้วยราคาประมาณ
5 หรือ 10 ปีจะพบว่า วันนี้จะไม่พบกับปัญหาขาดดุลการค้า เดิมเคยขายข้าวได้ตันละ
500 กว่าเหรียญ แต่ขณะนี้ขายได้ 200 เหรียญ ตอนราคา 500 เหรียญอาจได้ 2 ล้านตันเศษ
ถ้าทำ 4 ล้านตันเศษมันเพิ่มขึ้น ถ้าไล่ดูผลผลิตเพิ่มขึ้นทั้งหมดแต่ราคาที่คูณเข้าไปต่ำลง และของที่นำเข้ามาขณะนั้นพบปัญหาเรื่องราคาน้ำมันขึ้น
ถ้าคูณราคาน้ำมันกลับไปในปี 2520 กว่า ๆ จะพบว่า ดุลการค้ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นทั้งหมด สามารถอธิบายเป็นคำง่าย ๆ ว่า
เทิร์มออฟ เทรด (term of trade) คือ การส่งไปแล้วเอาเข้ามามันแย่ลง แปลว่าต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้ได้ของเข้ามาน้อยลง
ตั้งแต่ปี 2526 ระบบเศรษฐกิจขยายตัว การลงทุนเพิ่มขึ้น มาเริ่มชะลอตัวลงปี
2527 และ 2528 พื้นฐานที่น่าห่วงและทำให้ปรับตัวยาก คือ ส่วนใหญ่ที่ไปทำเมื่อครั้งปี
2526 เป็นแรงดึงตลาดภายใน ทุกฝ่ายเร่งก่อสร้าง ซึ่งเป็นลักษณะ โดเมสติค โอเรียนเท็ด
ไม่ใช่เอ็กซปอร์ต โอเรียนเท็ด ช่วงนั้นมีการขยายตัวมากเหมือนอเมริกา ซึ่งขณะนี้มีปัญหาสินค้าส่งออกไม่ได้เก่งกาจอะไรเลย
แต่เศรษฐกิจโตร้อยละ 8-9 ในที่สุดก็อยู่ไม่ได้ เพราะฐานรองรับไม่มีเป็นการใช้สอยของรัฐบาลและเอกชนโดยใช้จากสิ่งที่เรียกว่ารีซอร์สตัวเอง
อาการเริ่มเมื่อกลางปี 2526 ถึงต้นปี 2527 ส่วนปี 2528 อยู่ในอาการที่เรียกว่าฝีแตก
ต้องดูว่าปี 2529 นี้เชื้อโรคไม่เข้าไปมากนักก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเข้าไปคงต้องเยียวยาหลายขนาน
ดูภาวะการลงทุนและการค้าเป็นทั้งตัวนำและตัวตามต่อระบบเศรษฐกิจส่วนรวม ตัวเลขการลงทุนของเราดูคร่าว ๆ
ตัวเลขนี้เป็นเพียงภาพส่วนเดียวเท่านั้น เพราะทุกโครงการที่ลงทุนนี้ไม่ได้เป็นโครงการที่ผ่านสำนักงาน
(BOI) บางโครงการลงทุนเองโดยไม่ได้รับการส่งเสริม ใช้ตัวเลขจากดัชนีการลงทุนซึ่งธนาคารชาติที่ประเมินการลงทุนทุกอย่างเอาไว้
เฉพาะในปี 2527 ต่อปี 2528 ถ้านับจุดลดลงถึงเกือบ 20 แห่งจาก 100 แห่ง เศษเหลือ
80 กว่าแห่ง
การส่งเสริมการลงทุนใน 2 ปีนี้ถ้าดูตัวเลขที่มายื่นขอเป็นตัวเลขที่คลาดเคลื่อนเล็กน้อย
เพราะมีโครงการใหญ่หลายโครงการเข้ามา เช่น โครงการปุ๋ยเป็นโครงการหมื่นกว่าล้าน
แต่ละอันสูง ๆ แต่ไม่มีการลงทุนจริง เพราะฉะนั้นในการวิเคราะห์จึงต้องตัดสิ่งเหล่านี้ออก
ถ้าดูจริง ๆ ต้องดูที่เปิดดำเนินการจริงตัวเลขของโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมและเปิดดำเนินการแล้วใน
2 ปีนี้ลดลงแต่ไม่มากนัก ซึ่งเป็นตัวเลขที่ไม่ดีนัก เพราะเป็นการเปิดดำเนินการจริง
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมแล้วทำไม่ได้มีมากขึ้น
ลักษณะการลงทุนในปี 2527 ถึงปี 2529 มีจุดเด่นของโครงการลงทุนในระยะหลัง
คือ ขนาดของโครงการที่มาขอส่งเสริมการลงทุนโดยเฉพาะที่มุ่งส่งออกมีเพิ่มขึ้นจนเห็นได้ชัด
ส่วนใหญ่เป็นโครงการใช้แรงงานมากและเป็นอุตสาหกรรมเบา เช่น ของเด็กเล่น ในช่วง
2-3 ปีนี้ มีโครงการเพิ่มขึ้นเฉพาะคำขอเพิ่มขึ้นเกือบ 20 โครงการ ที่ดำเนินการไปแล้วเกือบ
10 โครงการ
ภาพการลงทุนและการค้าในปี 2529 เชื่อว่าคงไม่เพิ่มขึ้น เพราะในปี 2528 การเติบโตทางอุตสาหกรรมช้าลง
โดยเฉพาะสินค้าขายภายในประเทศ ในปี 2529-30 โอกาสที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการลงทุนยังมี
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ร่วมศึกษาหาลู่ทางเพิ่มการลงทุนซึ่งพบว่า
อุตสาหกรรมเบา เช่น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์การผลิตต่อหน่วยจะถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้านประมาณร้อยละ
10 ถูกกว่าที่ผลิตในแคลิฟอร์เนียร้อยละ 25 ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเฉพาะค่าแรงถูกกว่า
คิดรวมต้นทุนรวมต่อหน่วยแล้วถูกกว่า ตัวเลขนี้เป็นตัวเลขที่มีความหมายต่อระบบอุตสาหกรรมไทยมาก
แปลว่าที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้เพราะเมืองไทยมีความเป็นไปได้ในการแข่งขันอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่ย่ำแย่มากลดลงถึงร้อยละ
40-50 มีการไล่คนงานออกมาก แต่สภาพในเมืองไทยพบว่า เป็นโรงงานที่มีต้นทุนถูกที่สุด
เพราะฉะนั้นสภาพการที่เรียกว่า เลิกจ้างสำหรับอุตสาหกรรมในเมืองไทยยังมีอยู่น้อยเมื่อเทียบกับหลาย ๆ เมือง
ซึ่งผู้ประกอบการหลายคนจะเลือกปิดโรงงานที่มีต้นทุนสูงก่อน แม้แต่ประเทศที่มีค่าแรงต่ำกว่าไทย
เช่น อินโดนีเซีย ปีนัง ก็เลือกปิดโรงงานที่มีต้นทุนสูงกว่า ภาวะในปี 2529
ยังมีความหวังสำหรับอุตสาหกรรมอีกหลายประเทศ แต่ต้องใช้เวลา แต่ทางอุตสาหกรรมเร็วกว่าด้านเกษตรกรรม
หมายถึงช่วงที่รับรู้หรือมีความคิดเห็นจนกระทั่งตั้งโรงงานเร็วกว่าการเกษตร
ยกตัวอย่างต้นปี 2528 มีประกาศเร่งรัดการลงทุนด้านอุตสาหกรรมของเด็กเล่นใช้เวลาเพียง
5 เดือนสำหรับผู้ที่จะทำ จนกระทั่งของผลิตออกมาได้ ลู่ทางด้านการลงทุนสำหรับอุตสาหกรมเบาไม่ต้องใช้เวลานานเท่าอุตสาหกรรมหนัก
หรืออุตสาหกรรมการเกษตร
ในระยะหลังหลายอุตสาหกรรมในเกาหลี ไต้หวัน และฮ่องกง เริ่มจะไม่ได้รับจีเอสพีจากอเมริกาหลายโรงงานได้รับการทาบทามขอย้ายมาผลิตที่นี่
อุตสาหกรรมเหล่านั้นส่วนใหญ่มักจะมาด้วยแผนค่อนข้างรวดเร็ว เช่น มาต้นปี
กลางปีขอออก ดังนั้นเมืองไทยต้องมีบริการโรงงานสำเร็จรูปให้เช่ามีปัจจัยต่าง ๆ พร้อม
แนวโน้มอุตสาหกรรมส่งออกปี 2529 เป็นแนวโน้มที่ค่อนข้างไปได้และแจ่มใส ด้วยเหตุผลเรื่องต้นทุนซึ่งประกอบด้วยค่าจ้างแรงงาน
แต่อันนี้ไม่ใช่คำตอบ เพราะอินเดียหรือบังกลาเทศยังถูกกว่าไทย แต่ระดับกลาง ๆ ปัจจัยอำนวยความสะดวกไม่พอ
สำหรับสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรในปี 2528 มีแนวโน้มออกมา 2-3 ลักษณะ มีโครงการที่เกี่ยวกับอาหารของเข้ามามากในลักษณะที่ทำเป็นอาหารกระป๋อง
น้ำมันปาล์ม ในปี 2528 มีขอเข้ามาถึง 10 กว่าโครงการ เมื่อบอกว่าให้เอาเงินมาวางค้ำประกัน
ทุกคนก็นำเงินมาวางหมด
ในลู่ทางอื่นที่ผลิตเพื่อป้อนตลาดภายใน ในประเด็นของอุตสาหกรรมใหญ่ด้านอีสเทิร์นซีบอร์ด
ปี 2528-29 โครงการเหล่านี้อยู่ในขั้นเตรียมการอันใหญ่อย่างปุ๋ยอยู่ในขั้นหาทุน
ที่จะออกไปแน่คือ ปิโตรเคมีคอล เอทิลีน คอมเพล็กซ์ อุตสาหกรรมต่อเนื่องด้านเอชดีพีอี
ด้านวีซีเอ็ม กำลังดำเนินการ เพราะฉะนั้นในปี 2529 สำหรับโครงการใหญ่มีกลุ่มปิโตรเคมิคอล
กลุ่มกระดาษ อุตสาหกรรมทุบเรือ หรือรื้อเรือ
ในปี 2528 ต่อปี 2529 ข้อสรุปคือในปี 2528 การชะงักงันของอุตสาหกรรมคงเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัดสำหรับในปี
2529 อุตสาหกรรมอาจขยายตัวขึ้นกว่าปี 2528 ระดับราคาสินค้าอุตสาหกรรมคงสูงกว่าปี
2528 เพราะสต๊อกในปี 2528 หลายอุตสาหกรรมได้ระบายออกไปค่อนข้างมาก ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ขายในประเทศหลายอย่างโดยเฉพาะกลุ่ม
ในปี 2528 ถูกกระทบมาก ๆ นั้นราคาจะสูงขึ้นคือ สต๊อกค่อนข้างต่ำ อาจจะประกอบด้วยค่าเงินเยนสูงขึ้น
ราคาเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ผลิตจะกระเตื้องขึ้นบ้าง ในปี 2529 ด้านการลงทุนคงไม่เพิ่มมาก
หรืออาจจะทรงตัว แนวโน้มของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เมืองไทยได้เปรียบจะลงไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร
กลุ่มอุตสาหกรรมเบา อาจมีกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องบางเรื่องของปิโตรเคมิคอลที่ของเข้ามาแต่ไม่มากนัก
สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพื่อการส่งออกมีเพิ่มมากขึ้น
การแก้ไขปัญหาเรื่องการลงทุนและอุตสาหกรรมหรือบริการอื่น ๆ ยอมรับว่ามีปัญหาแต่คงไม่มากจนแก้ไขไม่ได้ ต้องค่อย ๆ แก้
ประการแรก เหตุการณ์ความไม่สงบในต้นเดือนกันยายนส่งผลกระทบถึงการวิจัยจากต่างประเทศ
ประการที่สอง การแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมในภาคราชการหลายเรื่องยังช้าเกินไป
ต้องปรับปรุงวิธีการให้เร็วกว่านี้ ตั้งแต่เรื่องภาษี เรื่องขั้นตอนระเบียบต้องปรับปรุง
ประการที่สาม สำคัญและจำเป็นคือ ขวัญของผู้ประกอบการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระดับต่ำและมีข่าวไม่ดีทุกวันต้องเอาของดีมาพูดกันมากขึ้น
ถ้าจมแต่ปัญหาจะรู้สึกว่าไม่รู้จะไปไหน หาทางออกไม่ได้