Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
ลดความเสี่ยงในอนาคต             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
search resources

Knowledge and Theory
ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส, บจก.




เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในรอบ 50 ปีของประเทศ สร้างความเสียหายอย่างรุนแรง ทำให้หลายต่อหลายคนพยายามตั้งคำถามว่า เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในปีหน้าหรือปีอื่นๆ แต่ดูเหมือนว่าจะไร้คำตอบอย่างสิ้นเชิง

ความไม่แน่นอนว่าเหตุการณ์อุทกภัย หรือมหาตภัยต่างๆ ในอนาคตจะเป็นรูปแบบใด ไม่ว่าจะเป็นสึนามิ แผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือพายุ แต่ก็คงจะมีหลายคนเชื่อว่าเหตุการณ์เหล่านั้นจะต้องเกิดขึ้นอีกไม่ช้าก็เร็ว เพราะสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป

มูลค่าความเสียหายที่รัฐบาลบอกว่าทำให้เศรษฐกิจเสียหายกว่า 1 ล้านล้านบาทนั้น คาดการณ์ว่าเป็นตัวเลขในส่วนของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ 7 นิคมอุตสาหกรรมที่จมน้ำ

แม้ว่ารัฐบาลหรือภาคเอกชนจะประเมินกันว่าในไตรมาส 2 ของปี 2555 ภาพรวมธุรกิจจะกลับมาฟื้นใหม่อีกครั้ง แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้นยังต้องมีกระบวนการ ฟื้นฟูของแต่ละองค์กรที่มองไม่เห็น เพราะบริษัทที่ประสบอุทกภัยมีบริษัทที่ทำประกัน และไม่ทำประกัน

ก่อนหน้านี้ พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นกับนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่ง มีโรงงานและเครื่องจักรที่ลงทุนทั้งหมด 4 แสนล้านบาท มีบริษัทที่ทำประกันความเสียหายประเมินไว้จำนวน 2 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือเสียหายอีก 1-3 แสนล้านไม่มีประกัน

ดังนั้น สถานการณ์นับจากนี้ไปองค์กรแต่ละแห่งจะต้องตรวจสอบสัญญาประกัน เพื่อให้มีการจ่ายค่าชดเชย แต่ดูเหมือนว่าจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะบรรยา กาศเริ่มมีการโต้เถียงกันอย่างเข้มข้นว่า อุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทยครั้งนี้เกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัย (Act of God) หรือ การบริหารจัดการไม่ดี

ชาญชัย ชัยประสิทธิ์ หุ้นส่วนสายงานการให้บริการด้านการบัญชีและตรวจสอบบัญชี บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด บอกว่าผู้ประกอบ การใช้เวลาในการเจรจากับบริษัทประกันประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี เมื่อมีข่าวน้ำท่วม ผ่านสื่อของต่างประเทศและในประเทศว่าเป็นการบริหารจัดการไม่ดี อาจจะเป็นไปได้ที่บริษัทประกันจะไม่จ่าย

“เหตุสุดวิสัยหมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดคิด เช่น น้ำท่วมหรือ ดินถล่มบ้านเนื่องจากอยู่ใกล้ภูเขา แต่เมื่อน้ำท่วมต้นทางมาจากภาคเหนือและไหลลง มาเรื่อยๆ ใช้เวลาหลายวันก่อนที่จะมาถึงโรงงาน นั่นหมายถึงการบริหารจัดการหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรองกับบริษัทประกัน”

ข้อแนะนำของบริษัท ไพร้ซวอเตอร์ฯ บริษัทที่มีประกันหรือไม่มีประกัน ต้องบันทึกความเสียหายของกิจการที่เกิดขึ้นอย่างละเอียดทั้งภาพ หรือข้อมูล

บริษัทไพร้ซวอเตอร์ฯ และสำนัก งานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้ร่วมมือจัดทำรายงานเกี่ยวกับความเสี่ยงในอนาคตของประเทศ โดยประเมินความเสี่ยงในอดีต น้ำท่วม สึนามิ ความไม่สงบทางการเมือง และได้ประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น น้ำท่วม สภาพสิ่งแวดล้อม แผ่นดินไหว เป็นต้น ซึ่งรายงานดังกล่าวใช้ เวลาทำงานประมาณ 1 ปี

นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากคู่กรณี โดยเฉพาะบริษัททำธุรกิจส่งออกไปยังต่างประเทศ แม้ว่าคู่ค้าต่างประเทศจะรับทราบ เป็นอย่างดีกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นในเมืองไทย แต่นักธุรกิจต่างประเทศบางรายอาจไม่ยินยอมเพราะจะใช้เหตุผลว่าได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน จากการไม่ได้รับสินค้าตรงต่อเวลา ปัญหาดังกล่าวจะกลายเป็นลูกโซ่

ดังนั้น เหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการหลายๆ แห่งได้เรียนรู้ และเพิ่มความระมัดระวังกับสิ่งที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้นในอนาคต กำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญ

บริษัทไพร้ซวอเตอร์ฯ จึงใช้โอกาสและจังหวะเหตุการณ์น้ำท่วมมาให้ความรู้กับลูกค้าประมาณ 400 ราย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำระบบบัญชีและแผนการ รับมือภัยพิบัติ ที่เรียกว่า การบริหารจัดการ ความต่อเนื่องทางธุรกิจ หรือ Business Continuity Management: BCM)

แผนธุรกิจบีซีเอ็มไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ เป็นบริการที่กลุ่มบริษัทผู้ตรวจสอบบัญชียักษ์ใหญ่ให้บริการอยู่แล้ว เพราะภัยพิบัติได้เกิดขึ้นทั่วโลก และปัจจุบันมีลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัทแล้วบางส่วน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ธุรกิจโทรคมนาคม สถาบันการเงิน และองค์กรขนาดใหญ่

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอฟเอเอส จำกัด บอกว่า แผนธุรกิจบีซีเอ็มเป็นแผนเพื่อรับมือกับภัยพิบัติให้ธุรกิจสามารถ ทำงานอย่างเนื่อง และแผนดังกล่าวมีหลาย ระดับในการทำงาน เริ่มตั้งแต่ระดับชาติ ผู้กำกับดูแลในหน่วยงานรัฐ และระดับองค์กร ซึ่งประเทศที่ใช้ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และแผนธุรกิจบีซีเอ็มเป็นจุดขายหนึ่งของสิงคโปร์ที่เชิญชวนให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนภายในประเทศ

แผนธุรกิจบีซีเอ็มจะบอกถึงวิธีการจัดการกู้คืนธุรกิจอย่างไรให้รวดเร็วที่สุดหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยเริ่มจากการบริหารเหตุวิกฤติ (Crisis Management) การกู้คืน (Recover) และการกู้คืนกลับสู่สภาวะปกติ (Restoration)

โดยแผนบีซีเอ็มจะแยกการแก้ปัญหาออกเป็น 2 ส่วน ระยะสั้น และระยะกลาง-ยาว โดยแผนระยะสั้น เริ่มต้นจากการประเมินองค์กร และพนักงาน ด้วยการตรวจสอบความเสียหายของอาคาร เครื่องจักร ระบบไฟฟ้า ระบบคอมพิวเตอร์ เอกสาร และพนักงานได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตหรือไม่


การตรวจสอบอาคารและเครื่อง จักร เพื่อทำความ สะอาด แผนบีซีเอ็มจะระบุรายละเอียด เช่น กลิ่นแก๊ส ผนัง เพดาน พรม อุปกรณ์ไอที เป็นต้น

จากนั้นแผนดังกล่าวจะให้ตรวจสอบ ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่จะต้องเพิ่มขึ้นในส่วนใด คู่ค้าได้รับผลกระทบหรือไม่ ประเมินราคาทรัพย์สิน และดูแลพนักงานเพิ่มจากการได้รับผลกระทบ หรือเชื้อโรคที่มากับน้ำ

การดูแลพนักงานเป็นเรื่องสำคัญสำหรับองค์กร ผู้ประกอบการจะต้องดูแลการจ่ายเงินล่วงหน้าให้เงินกู้ ทำความสะอาดบ้านให้กับพนักงาน หรือปล่อยเงินกู้ โดยไม่มีดอกเบี้ย เป็นต้น

กรณีเอกสารสูญหาย หรือเสียหาย ให้ผู้ประกอบการขอเอกสารจากธนาคาร หรือคู่ค้า เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำรองต่อไป

การดูแลลูกค้า และแบรนด์องค์กร หรือสินค้า เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เช่น ติดต่อกับลูกค้าอย่างต่อเนื่องให้รับรู้สถานการณ์ในปัจจุบัน โดยผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก อีเมล หรือเว็บไซต์ ตรวจสอบสัญญากับลูกค้า

การบริหารการเงินอย่างเร่งด่วน ติดต่อบริษัทประกันเพื่อจ่ายค่าชดเชยให้เร็วที่สุด ประเมินเงินสดที่มีอยู่ในระยะสั้น และระยะกลาง ยืดแผนการลงทุน และติดตามข่าวสารของรัฐบาลว่ามีมาตรการความช่วยเหลืออย่างไร

กรณีที่ไม่สามารถกลับมาดำเนินงาน ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ จะต้องเร่งประเมินว่าสินค้าหรือบริการที่จำเป็น เพื่อนำกลับมาผลิตใหม่ด้วยการซ่อมแซม หรือเลือกใช้อุปกรณ์ใหม่ทดแทน รวมถึงย้ายการดำเนิน งานไปสถานที่สำรอง และจัดลำดับความสำคัญความต้องการของตลาด

การร่วมมือกับคู่แข่งเป็นอีกทางรอด หนึ่งในการฟื้นฟู เหมือนดังเช่นเหตุการณ์ สึนามิที่ผ่านมา ทำให้บริษัทนิสสัน โตโยต้า และฮอนด้า ร่วมมือผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ให้กันและกัน

เมื่อลงมือปฏิบัติแผนระยะสั้นแล้ว แผนระยะยาว เป็นการระบุสิ่งที่ต้องทำเพื่อ ป้องกันความเสียหาย เช่น การทำงานร่วม กับซัปพลายเชนหลัก ต้องมองหาซัปพลาย เออร์สำรองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และต้องมีการตรวจสอบการพึ่งพาระบบทั้งภายนอก และภายในอย่างต่อเนื่อง เช่น ตัวแทนจำหน่าย คู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน รวมถึงระบบเทคโนโลยีต่างๆ คอมพิวเตอร์ ข้อมูล และระบบเครือข่าย เป็นต้น

การบริหารจัดการความต่อเนื่องทางธุรกิจหรือบีซีเอ็มกำลังกลายเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่องค์กรหลายแห่งกำลังมองหาหลังจากได้เรียนรู้บทเรียนจากภัยพิบัติแล้ว พบว่า ตนเท่านั้นจะเป็นที่พึ่งแห่งตน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us