|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ เอ่ยถามอนุชา มีเกียรติชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด ถึงความสำเร็จของบริษัทคืออะไร เขาตอบว่า “เคารพพนักงาน”
ปัจจุบันบริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด มีพนักงาน 350 คน จากเริ่มต้นมีเพียง 3 คนเท่านั้น กว่าครึ่งหนึ่งของพนักงานเกือบทั้งหมดเป็นช่างทำฟันที่นั่งเรียงกันอยู่ที่โต๊ะยาว โดยเฉพาะในห้องทำงานเซรามิก ซึ่งเป็นขั้นตอนทำงานขั้นสุดท้ายต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงต่อฟัน 1 ซี่ เพื่อแต่งแต้มสีให้ออกมาเหมือนของจริงมากที่สุด
จากประสบการณ์ 16 ปีที่ผ่านมา ทำให้อนุชาสามารถเล่าระบบบริหารการจัดการ การตลาด รวมถึงด้านการผลิตได้อย่างละเอียด แม้ว่าเขาจะมีตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้งก็ตาม อีกด้านหนึ่งเขาก็เป็นหัวเรือหลักในการทำตลาดทั้งหมด
เริ่มแรกเดิมที อนุชาไม่มีความรู้ด้านทันตกรรม หรือธุรกิจฟันปลอมแม้แต่น้อย เพราะสิ่งที่เขาเรียนมาเป็นด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส และทำงานอยู่กับขุนนางเก่าอีก 4 ปี หลังจากนั้นกลับมาประเทศไทยพร้อมภรรยาและลูกจากครั้งแรกที่เดินทางไปเพียงลำพัง
เริ่มต้นทำงานที่กระทรวงต่างประเทศ จากนั้นทำงานที่บีโอไอ ทำให้พบกับนักลงทุนมากมาย จนกระทั่งนักธุรกิจจากบริษัท Niort Ceram จำกัด ชักชวนมาลงทุนร่วมสร้างห้องแล็บ ลงทุนคนละ 5 แสนบาท ตั้งบริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด
ด้วยประสบการณ์ที่ไม่มี และเป็นบริษัทหน้าใหม่ ในตอนนั้นคนหัวเราะเรา เพราะคู่แข่งส่วนใหญ่เป็นหมอมีประสบการณ์และทำธุรกิจ
“ผมให้ช่างต่างประเทศออกแบบต้นแบบฟันปลอมและเอาไปให้หมอดู หมอทักผมว่าคุณล้อเล่นหรือเปล่า มันใช้ไม่ได้ เพราะอนาโตมีคนไทยและคนต่างชาติไม่เหมือนกัน”
อนุชาต้องเรียนรู้และศึกษาใหม่ แต่เขาก็ยังเชื่อมั่นในเทคโนโลยีว่าจะต้องออกแบบใหม่ได้ อนุชาทำหน้าที่ตั้งแต่เริ่มสั่งของและทำตลาด เดินเคาะประตูหาลูกค้าจากเชียงใหม่ไปถึงพิษณุโลก
จนกระทั่งเห็นช่องการทำตลาด เขาพบว่าตะขอซึ่งเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของฟันปลอม ส่วนใหญ่ทำจากโลหะ ไม่มีสีขาว เขาจึงนำเข้าตะขอจากฝรั่งเศส และขายให้กับลูกค้า
หลังจากนั้นก็เริ่มผลิตฟันปลอมของบริษัทพร้อมกับสร้างบุคลากรขึ้นมาทุกภาคส่วน โดยเฉพาะช่างด้านเทคนิค เป็นส่วนที่ขาดแคลนมากที่สุด จึงทำให้เขาต้องลงทุนสร้างหลักสูตร เพื่อผลิตช่างขึ้นเอง โดยมีผู้สอนมาจากต่างประเทศ
ธุรกิจฟันปลอมจึงไม่ใช่ธุรกิจซื้อมาขายไปเพียงอย่างเดียว แต่เบื้องหลังการผลิตคือการดูแลพนักงานของบริษัทที่อนุชาจะเน้นย้ำให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ฉะนั้นในแต่ละปีเขาจะมีจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและเกือบทุกเทศกาล วันพ่อ วันแม่ วันเด็ก ที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว แม้แต่การเช่าโรงหนังทั้งโรง เพื่อให้พนักงานและครอบครัวมีเวลาชมภาพยนตร์ร่วมกัน รวมทั้งการดูแลสังคม การบริจาคฟันปลอมให้กับองค์กร หรือสถานสงเคราะห์คนชรา
“เวลาผมไปขายสินค้า หมอบางคนจะถามผมว่า คนทำเรียนจบอะไรมา ผมมักจะตอบไปว่า จบอะไรไม่สำคัญ แต่เขาเหล่านั้นมีความเชี่ยวชาญด้านการทำฟันปลอมอย่างแน่นอน” การเคารพพนักงานทำให้องค์กรประสบความสำเร็จได้จนถึงทุกวันนี้
|
|
|
|
|