Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
ธุรกิจฟันปลอมเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์             
โดย นภาพร ไชยขันแก้ว
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด

   
search resources

เอ็กซา ซีแลม, บจก.
อนุชา มีเกียรติชัยกุล




อาคารชั้นเดียวสีเขียวอ่อนรูปทรงคล้ายบ้านจำนวนหลายหลังบนเนื้อที่ 7 ไร่ ในบริเวณภายใต้ต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก ที่แทรกตัวอยู่ในชุมชนตำบลสันพระเนตร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ใครๆ อาจไม่คาดคิดว่าเป็นบริษัทผลิตฟันปลอมที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

บริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตฟันปลอมมาเป็นระยะเวลา 16 ปี เป็นองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตฟันปลอมที่จำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนทำให้บริษัทต่างชาติหลายแห่งเข้ามาศึกษางานและเจรจาขอเข้าร่วมทุนหลายต่อหลายครั้ง

ปัจจุบันบริษัทเอ็กซา ซีแลมมีรายได้ ประมาณ 150 ล้านบาท มีพนักงาน 350 คน ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นแต่ก็มีต่างชาติร่วมทำงาน อยู่หลายคน

อนุชา มีเกียรติชัยกุล วัย 50 ปี กรรมการ ผู้จัดการและผู้ก่อตั้งบริษัท เอ็กซา ซีแลม จำกัดกล่าวถึงอนาคตของบริษัทคือ การขยายตลาดใหม่ให้มากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาร่วมทุนกับบริษัทในต่างประเทศ

โดยเป้าหมายในการร่วมทุนครั้งใหม่นี้ นอกเหนือจากการขยายตลาดแล้วก็เพื่อนำเทคโน โลยีใหม่ๆ เข้ามาบริหารจัดการด้านการผลิต

บริษัท เอ็กซามีผลิตภัณฑ์ฟันเทียม 3 ประเภทคือ แบบติดแน่น แบบถอดได้ และบริการ งานทันตกรรมจัดฟัน ซึ่งผลิตภัณฑ์จะได้รับรองมาตรฐานการจัดการ ISO 9001 มาตรฐานสิ่งแวดล้อม 14000 และ มรท.มาตรการในการดูแลพนักงาน

อนุชาเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการทำธุรกิจร่วมทุน 3 ประเทศ ไทยถือหุ้นร้อยละ 51 ส่วนฮอลแลนด์และเบลเยียมถือหุ้นร้อยละ 49 ซึ่งในตอนนั้นทั้ง 2 ประเทศมีความเชี่ยวชาญทั้งเทคโน โลยีและต้องการเน้นส่งออกเป็นหลัก

บริษัทตัดสินใจเลือกจังหวัดเชียงใหม่เป็นฐานการผลิต เพราะต้องการได้รับสิทธิยกเว้นภาษี 8 ปีจากบีโอไอ เพราะอยู่ไกลจากกรุงเทพฯ 300 กิโลเมตร นอกจากนี้ยังมองเห็นว่าเชียงใหม่มีสนามบินอินเตอร์เนชั่นแนล และคนท้องถิ่น มีฝีมือ เพราะการผลิตฟันปลอมไม่ได้พึ่งพา เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องมีความสวยงามอีกด้วย เพราะฟัน 1 ซี่ จะใช้สีจำนวน 3 สี เริ่มตั้งแต่โคน กลาง และปลาย

ในตอนแรกเน้นจำหน่ายสินค้าไปยัง ประเทศของผู้ถือหุ้น แต่ดูเหมือนว่าจะขาด ความเชี่ยวชาญในการทำตลาด จึงทำให้ตัดสินใจขอทำตลาดในประเทศ เพราะมอง เห็นว่าผู้ประกอบการยังไม่มากนัก แม้ว่าบริษัทคู่แข่งจะมีพื้นฐานอาชีพหมอเป็นส่วนใหญ่

อนุชาบอกว่าเขาได้ให้ช่างจากประเทศฝรั่งเศสออกแบบและผลิต โดยนำสินค้าไปเสนอขายให้หมอ เมื่อได้รับคำตอบ จากหมอทำให้แทบช็อก เพราะหมอบอกว่า ผลิตภัณฑ์ไม่เหมาะกับคนไทย เนื่องจากสรีระฟันของยุโรปและเอเชียมีความแตกต่างกัน ทำให้เขาต้องเริ่มต้นใหม่ หลังจาก เรียนรู้ผลิตภัณฑ์ทำให้พบว่าตะขอที่เป็นส่วนหนึ่งของฟันปลอมส่วนใหญ่เป็นเหล็ก ในตอนนั้นยังไม่มีสีขาวทำให้เห็นโอกาสและสั่งนำเข้าเป็นรายแรกของเมืองไทย

หลังจากมีการปรับปรุงออกแบบฟันปลอมให้เหมาะสมกับคนไทย บริษัทจึงเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังในภาคเหนือ ปัจจุบันมีศูนย์การผลิต 2 แห่งในจังหวัดพิษณุโลก และเชียงราย ส่วนการทำตลาดได้ครอบ คลุมทั้ง 17 จังหวัดในภาคเหนือ ปัจจุบันได้ขยายตลาดไปทั่วประเทศ มีลูกค้าโรงพยาบาล 139 แห่ง และมีลูกค้าคลินิก 203 แห่ง

ส่วนลูกค้าในต่างประเทศ บริษัทจะมีทีมงานต่างชาติส่วนหนึ่งเข้ามาดูแลโดยระบบการสั่งซื้อจะผ่านอินเทอร์เน็ต

สำหรับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท จะได้รับประกันทุกชิ้น ฟันเทียมติดแน่น รับประกัน 5 ปี ฟันเทียมถอดได้รับประกัน 3 ปี และบริการจัดฟันรับประกัน 6 เดือน นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์รับซ่อมฟันปลอมให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้า กรณีเกิดอุบัติเหตุกับฟันปลอมจนได้รับความเสียหาย

ความต้องการของตลาดที่มีเพิ่มมากขึ้น แต่การผลิตไม่สามารถผลิตได้ตามความต้องการ เนื่องจาก บริษัทขาดแคลนบุคลากรด้านการผลิต โดยเฉพาะช่างผู้ชำนาญ ปัจจุบันมีสถาบันการศึกษาเพียงแห่งเดียวที่ผลิตช่างทันตกรรม คือมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถผลิตบุคลากรได้เพียงปีละ 10-15 คน ในขณะที่สถาบันการศึกษาทั้งหมดในประเทศ ไทยผลิตทันตแพทย์ได้ 1 หมื่นคนต่อปี

ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรดังกล่าว ทำให้บริษัทต้องตั้งโรงเรียนสอนช่าง ทันตกรรมขึ้น หลักสูตรการเรียน 4 เดือน มีค่าใช้จ่าย 6,000-7,000 บาท ในแต่ละปีจะสอนได้ 8-10 คน หลังจากจบบริษัทจะรับเข้าทำงานทันที

สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เรียนบริษัทจะดูแลให้ทั้งหมด รวมทั้งค่าจ้างผู้สอนจากต่างประเทศจำนวน 150,000 บาทต่อคน

“การเรียนรู้ของคนไทยที่ผ่านมาจะเป็นรูปแบบของรุ่นพี่ถ่ายทอดให้รุ่นน้อง รู้จักแต่ภาคปฏิบัติ โดยไม่เข้าใจภาพรวมทั้งทฤษฎีและปฏิบัติอย่างแท้จริง การเปิดสอนเพื่อให้เรียนรู้ทั้งสองด้าน แต่ข้อดีของคนไทยในการทำฟันปลอมเป็นคนใจเย็น และมีศิลปะ จึงทำให้งานออกมาสวยงาม”

แม้ว่าความต้องการของตลาดจะมีมากก็ตาม แต่คู่แข่งก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะประเทศจีนสามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและราคาถูก ทำให้บริษัท ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดในอนาคต

ขณะนี้บริษัทเริ่มมองหาเทคโนโลยีดิจิตอลเข้ามาเพิ่มการผลิต เนื่องจากทำให้ระบบการผลิตมีความรวดเร็ว และลดขั้นตอนการผลิตได้

กระบวนการทำงานในปัจจุบันจะต้องเริ่มจากการสร้างโมเดลเพื่อสร้างต้นแบบ และนำไปผลิตเป็นโลหะ เข้าสู่การ สร้างเป็นเซรามิกหลังจากนั้นนำเข้าเตาเพื่ออบให้ได้ฟันปลอม

ในขณะที่ระบบดิจิตอลสามารถถ่ายรูปต้นแบบ และส่งเป็นไฟล์มายังห้องแล็บได้ทันที และจำลองภาพออกเป็น 3 มิติ เพื่อนำไปสู่กระบวนการผลิตต่อไป โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างผ่านระบบ 3 มิติ บริษัทได้นำมาใช้นำกระบวนการผลิตเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา

ระบบดิจิตอลจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 50-60 รวมถึงลดค่า แรงงาน ลดค่าขนส่ง โดยเฉพาะเวลาจะผลิตได้ภายใน 1-2 วัน จากเดิมใช้เวลา 4-7 วัน

แต่การกำหนดราคาจำหน่ายที่สูงกว่าคู่แข่งในตลาดมากกว่าร้อยละ 20 เพราะบริษัทมีต้นทุนในการบริหารจัดการที่สูง มีระบบไอเอสโอ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลพนักงานอย่างใกล้ชิด และมีการตรวจสอบสารเสพติดทุก 2 สัปดาห์

อย่างไรก็ดี กระบวนการผลิตมีระบบดิจิตอลเข้ามาช่วยแล้วก็ตามแต่คนก็ยังเป็นหัวใจสำคัญในการผลิต โดยเฉพาะขั้นตอนสุดท้ายการเลือกใช้สีเพื่อให้เหมาะกับสีฟันของเจ้าของเดิมที่เครื่องจักรยังทำไม่ได้ ดังนั้นต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ของบริษัทเอ็กซายังเป็นเรื่องของคน แม้บริษัทจะมีรายได้ถึง 150 ล้านบาทก็ตาม แต่กำไรจากรายได้มีประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น

อย่างน้อยอนุชาก็เชื่อมั่นว่าธุรกิจ ฟันปลอมยังเป็นธุรกิจที่มีอนาคตสดใส เพราะฟันเทียมยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ต่อไป

แม้อนุชาจะไม่เอ่ยอ้างตัวเลขหรือแนวโน้มผู้สูงวัยในอนาคต แต่ก็มีดัชนีชี้วัดแล้วว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ผู้สูงวัยอายุมากกว่า 60 ปีจะเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ฉะนั้นโอกาสของบริษัทเอ็กซายังมีอยู่ไม่น้อย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us