Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2528
สถานการณ์เครื่องไฟฟ้าต้องช่วยกันหนัก             
 

   
related stories

สถานการณ์เครื่องไฟฟ้าต้องช่วยกันหนัก
"การประเมินภาวะเศรษฐกิจปี 2529"

   
search resources

Economics
Electronic Components




อุตสาหกรรมไฟฟ้าในเวลา 15 ปีที่ผ่านมานี้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก

1) รัฐบาลมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มีการลงทุนภายในประเทศโดยให้สิทธิประโยชน์มากมาย

2) รัฐบาลให้ความคุ้มครองโดยกำหนดอัตราภาษีอากรขาเข้าและภาษีการค้าไว้สูง

3) พัฒนาไฟฟ้าให้มีใช้ทุกตำบล ทั่วประเทศ และสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์ก็สามารถถ่ายทอดภาพไปยังทุก ๆ จังหวัด

4) เศรษฐกิจของประเทศในระยะ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว รายได้ของประชาชนก็เพิ่มตามไปด้วย มาตรฐานการครองชีพก็สูงตาม เครื่องใช้ไฟฟ้าก็กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต

ทั้ง 4 ประเด็นที่กล่าวมานี้ทำให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหาอยู่ตลอดเวลา เป็นต้นว่า เรื่องภาษีที่รัฐบาลให้ความคุ้มครองนั้น ก็ทำให้มีพวกลักลอบขนของหนีภาษีมากยิ่งขึ้น ภาคเอกชนและรัฐบาลก็ร่วมมือกันอย่างหนักมาเป็นเวลาหลายปีเพื่อที่จะหาอัตราภาษีที่เหมาะสม เพื่อแสดงว่าการนำเข้าโดยการลักลอบเสียภาษีนั้นไม่คุ้ม เมื่อสิงหาคม 2525 ก็มีข่าวดีออกมาว่า รัฐบาลนั้นสามารถหาอัตราภาษีที่เหมาะสมซึ่งเป็นการทำลายตลาดมืดไปโดยสิ้นเชิง

อัตราภาษีที่ตั้งใหม่นั้น โทรทัศน์สีลดลงเหลือ 40% ส่วนภาษีการค้าที่เคยสูงมาก ๆ ถึง 33% ก็ลดเหลือ 9.9% และวันนั้นเป็นวันที่เริ่มต้นยุคทองของเครื่องไฟฟ้า เนื่องจากราคาสินค้าได้ลดลง 10-20% ทำให้ประชาชนที่มีรายได้ปานกลางหรือรายได้ต่ำนั้นมีอำนาจในการหาซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาใช้ได้ มีร้านค้าที่ขายส่ง ขายผ่อน ขายปลีกเกิดขึ้นอย่างมากมาย คือขายส่งประมาณ 70 แห่ง ส่วนขายปลีกและผ่อนประมาณ 4,000 แห่งทั่วประเทศ

แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลง เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยแล้วก็ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเหมือนพายุมา จากปลายปี 1983 ถึงต้นปี 84 นั้นนโยบายการคลังจำกัดสินเชื่อทำให้ทรัสต์ล้ม แชร์หนี เวลานั้นภาวะการเงินตึงเครียด และธุรกิจหาเงินมาหมุนไม่ได้

นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ทำให้เศรษฐกิจเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นในอุตสาหกรรมไฟฟ้า คือกำลังซื้อของประชาชนลดน้อยลง ประชากรที่อยู่ในวัยทำงานมีประมาณ 27 ล้านคน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 52 ล้านคน และในจำนวน 27 ล้านคน มีเกษตรกรประมาณ 19 ล้านคน ส่วนประชากร 2.7 ล้านคนอยู่ในภาคอุตสาหกรรม 350,000 คนอยู่ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 120,000 คนเป็นลูกจ้าง ส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้ามีอยู่ประมาณ49,000คน รวมทั้งผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรม SEMI CONDUCTOR ซึ่งกิจการนี้กำลังซบเซา กิจการตกต่ำไป 40-50% ในญี่ปุ่น SEMI CONDUCTOR ซึ่งเคยรุ่งเรืองมาเมื่อ 2 ปีที่แล้วก็กำลังประสบปัญหา ส่วนอุตสาหกรรมไฟฟ้านั้นก็สรุปได้ว่าไม่ค่อยจะดีนัก

แต่ที่เลวร้ายที่สุด คือวันที่ 5 พฤศจิกายน 2527 ที่ผ่านมานี้ รัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาท ทำให้ราคาต้นทุนของเครื่องใช้ไฟฟ้าสูงขึ้นทันที ซึ่งแล้วแต่ชนิดของเครื่องใช้ไฟฟ้า บางชนิดก็ขึ้นทันที 17.35% บางชนิดก็ขึ้น 3-10% แล้วแต่ชิ้นส่วนที่เราต้องนำเข้าจากต่างประเทศ หลังจากมีการลดค่าเงินบาทแล้วรัฐบาลก็ให้มีการควบคุมราคาสินค้า และซ้ำเติมด้วยการขึ้นภาษีชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และวันที่ประกาศลดค่าเงินบาทนั้น บางบริษัทผู้ผลิตขาดทุนย้อนหลังไป 8-9 เดือน เนื่องจากสินค้าที่ขายไปนั้น ชิ้นส่วนยังไม่ได้จ่ายเงินธนาคาร แต่บางบริษัทก็โชคดีมีสต๊อกของไปได้อีก 3-4 เดือน ทำให้ต้นทุนการผลิตแตกต่างกันมาก บริษัทที่ขาดทุนพยายามที่จะขึ้นราคาโดยอาจจะแนะนำสินค้าใหม่ เป็นต้น แต่เมื่อขึ้นไปแล้ว ราคาสินค้าของบริษัทอื่นก็ยังอยู่ที่เดิม ดังนั้นบริษัทเหล่านั้นก็จำเป็นต้องลดราคาให้เท่าเดิม และเมื่อบริษัทแรกลดลงก็สวนทางกับบริษัทที่สองที่จำต้องขึ้นราคาอีก แล้วก็ไปไม่รอดเช่นกัน การขึ้น ๆ ลง ๆ นี้ทำให้ร้านค้าเอือมระอาและตลาดปั่นป่วนมากในตอนนั้น

บริษัทผู้แทนจำหน่ายก็มีสต๊อกล้นออกมาเช่นเดียวกัน และพยายามใช้กลยุทธ์การตลาดว่าทำอย่างไรจึงจะสามารถผลักดันสินค้านั้นออกไปได้ หรือพยายามช่วงชิงลูกค้าเพื่อรักษาส่วนแบ่งการครองตลาด วิธีการต่าง ๆ เช่น การยืดการชำระเงินสดออกไป บางครั้งอาจใช้การโหมโฆษณา มีการเปิดประชุมสังสรรค์ลูกค้าใหญ่เล็กทั้งหลาย มีการจัดนำเที่ยว พยายามใช้ความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มีมาเก่าแก่แกมบังคับให้ช่วย ถ้าวิธีการเหล่านี้ไม่สำเร็จแล้วก็คงจะต้องใช้วิธีการหั่นราคากัน

สำหรับร้านค้านั้นเมื่อมีการลดค่าเงินบาทต่างก็คิดจะเก็งกำไรกันเพราะคาดว่า ราคาสินค่าจะต้องขึ้นอีกอย่างน้อย 10% จึงเริ่มรับซื้อสินค้าเข้าสต๊อกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม พยายามขอให้รัฐบาลยกเลิกการควบคุมราคาสินค้า ปรากฏว่าร้านค้าเหล่านี้มีสต๊อกค้าง 3-4 เดือน แต่ก็ไม่มีปัญหา เพราะกำลังจะเข้าหน้าร้อน จึงมีความหวังอยู่ แต่ปรากฏว่า ไม่สามารถที่จะเขยิบราคาขึ้นมาได้เลย และหน้าร้อนซึ่งเป็นฤดูการขายก็กำลังผ่านพ้นไป แต่ละแห่งก็ทนต่อภาวะดอกเบี้ยไม่ไหว ก็พยายามระบายเทสินค้าเข้ามาในตลาดพร้อม ๆ กัน ราคาแทนที่จะขึ้นจึงกลับลดลงทุกวัน ๆ แต่นิสัยการซื้อของผู้บริโภคมักจะรอคอยราคาให้ถูกลงไปอีก แต่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมานี้ สถานการณ์ก็เลวร้ายไปกว่าเก่าเนื่องจากเงินเยนได้เพิ่มค่าขึ้นทุกวัน เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วพวกพ่อค้าที่ใช้เงินดอลลาร์ซื้อชิ้นส่วนเข้ามานั้นก็หันมาใช้เงินเยนกัน แต่ตอนนี้เงินเยนขึ้นมาวันละ 1% ทำให้ต้นทุนสูงขึ้นมากอย่างรวดเร็ว

สรุปได้ว่า MATERAIL COST ต่าง ๆ โดยเฉพาะของทีวีสีนั้นเพิ่มขึ้นจนถึงวันนี้ประมาณ 47% ดังนั้นยอดขายก็ตกไปซึ่งแล้วแต่ประเภทของสินค้าตั้งแต่ 10-30% และปัญหาที่สำคัญที่สุดก็คือ ไม่สามารถขึ้นราคาสินค้าของเราได้

ดังนั้นสรุปได้ว่า ภาวะของปี 2528 นั้น ไม่ค่อยจะดี อีก 2 เดือนข้างหน้าก็ยังไม่ดี และในปี 2529 ยังไม่มีท่าทีว่าจะดีเลย เพราะเนื่องจากต่างประเทศมีปัญหา คือมีกำลังผลิตมากเกินไปจึงต้องมีนโยบายทุ่มตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องค่าจ้างแรงงานนั้นก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้น นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุดคือ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรามีแนวโน้มว่าเงินเยนจะตกลงไปอีก

แต่อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไฟฟ้าที่เราเคยประสบความสำเร็จมาตลอด 10 กว่าปีมานี้ เราจะต้องมีความอดทน และต้องต่อสู้กับวิกฤตการณ์ที่เป็นอยู่และปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดมาในอีก 1-2 ปีข้างหน้า แล้วอนาคตของเราจะแจ่มใส ความจริงแล้วอนาคตของเครื่องไฟฟ้ายังต้องไปอีกไกล เพราะประเทศไทยมีประชากร 52 ล้านคน ถ้าประมาณ 9 ล้านครัวเรือนซื้อโทรทัศน์ 1 เครื่อง ก็จะมีความต้องการเท่ากับ 9 ล้านเครื่อง ปัจจุบันตามสถิติมีทีวีสีอยู่ประมาณ 3 ล้านเครื่อง และมีตู้เย็นประมาณ 2 ล้านเครื่อง เครื่องซักผ้าประมาณ 1-2 แสนเครื่อง ดังนั้นพวกเราที่อยู่ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จมาตลอดนั้นเราจะต้องสู้ ที่จริงแล้วเราก็สู้กันจริง ๆ คือตามโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก็ลดสต๊อกสินค้าที่มีอยู่ทั้งชิ้นส่วนและสำเร็จรูป พยายามชะลอการสั่งซื้อ หรือหาแหล่งกู้เงินที่ถูก ๆ โครงการทั้งหลายที่ไม่จำเป็นก็ควรจะต้องระงับไว้ก่อน และยังมีบางอย่างที่ควรจะทำ เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การโฆษณาก็ควรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และในระยะยาวนั้นเราควรจะเพิ่มความสามัคคีในหมู่สินค้าอุตสาหกรรมไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เช่น ชะลอการผลิตอย่าให้มีเกินความต้องการ ต้องพยายามให้มีการผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากขึ้นแทนการนำเข้า ซึ่งในขณะนี้ก็มีโครงการหลอดภาพโทรทัศน์สี ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมกำลังพิจารณาอยู่ และอีกสิ่งหนึ่งคือ ทุกโรงงานควรจะเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตโดยใช้เครื่องจักรที่ทันสมัยขึ้น ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ผู้ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมจะต้องช่วยเหลือกัน

แต่สิ่งที่จะขอร้องกับรัฐบาลก็คือ ขอให้รัฐบาลทบทวนนโยบายที่ให้แรงงานไทยที่อยู่ต่างประเทศสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าเข้าประเทศได้คนละ 1 เครื่อง ตลาดนี้ผู้ผลิตจึงเสียไปปีละ 4 แสนเครื่อง จึงขอร้องให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนในเรื่องนี้ใหม่ อีกเรื่องคือ ขอร้องให้รัฐบาลลดอัตราภาษีขาเข้าของชิ้นส่วนให้เท่ากับอัตราภาษีก่อนเดือนเมษายน 2528 และต้องการให้รัฐบาลกีดกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ในประเทศ โดยอาจจะให้มีนโยบายที่ให้ความสนับสนุนผู้ที่สามารถผลิตในประเทศแล้วจะไม่มีการนำเข้ามา ซึ่งครั้งหนึ่งนโยบายอันนี้ เคยเสนอไปตั้งแต่ปี 2523 แล้ว ควรจะถึงเวลาที่รัฐบาลมาทบทวนนโยบายนี้กันใหม่

นอกจากนี้นโยบายทางอ้อม คือทำอย่างไรจึงจะทำให้เกษตรกรมีรายได้สูงขึ้น ทำอย่างไรจึงจะกระจายอุตสาหกรรมไปสู่ชนบท เพื่อชาวบ้านจะได้มีงานทำมากขึ้นเหมือนในประเทศญี่ปุ่น และขอร้องรัฐบาลทบทวนนโยบายงบประมาณรายจ่ายให้เป็นการสร้างงานแทนที่จะซื้ออุปกรณ์เป็นหมื่น ๆ ล้านเข้ามา และสุดท้ายขอให้รัฐบาลช่วยทบทวนนโยบายแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและตรงกับความต้องการ มิใช่สนับสนุนให้เรียนสูง ๆ แต่ออกมาตกงาน ไม่มีงานรองรับ

ขอให้พวกเราที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าร่วมมือกับรัฐบาลแก้ปัญหาอย่างจริงจัง และจริงใจ และช่วยกันแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ด้วยความอดทน เชื่อว่าเศรษฐกิจของประเทศก็จะดีขึ้น ประชาชนของไทยก็จะมีความหวังมากขึ้น และประเทศชาติของเราก็จะเจริญก้าวหน้าต่อไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us