Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
บทบาทที่ต้องติดตามของเวียดนาม             
โดย เจษฎี ศิริพิพัฒน์
 


   
search resources

International
Vietnam
Cambodia




เวียดนามกำลังเดินบทบาทเชิงลึก ท่ามกลางความตื่นตัวในการรวมกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียนที่กำลังจะมาถึงในอีก 3 ปีข้างหน้า บทบาทนี้น่าติดตามยิ่ง

เหงียน ฟุ ตร่องได้ไปเยือนกัมพูชาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 ต่อจากลาวและจีน เป็นครั้งแรกที่เขาไปเยือนกัมพูชา นับตั้งแต่ได้รับเลือกเข้าดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม

เปรียบเทียบกับการเยือนอย่างเป็นทางการเมื่อเร็วๆ นี้ของแกนนำเวียดนามใน บางประเทศ เช่น การเดินทางของเหงียน ฟุ ตร่องไปยังจีน หรือของประธานประเทศ เตรือง เติ๊น ซางไปยังอินเดียและฟิลิปปินส์ หรือของนายกรัฐมนตรี เหงียน เติ๊น หยุง ไปยังญี่ปุ่น การเดินทางเที่ยวนี้ของเหงียน ฟุ ตร่องดึงดูดความสนใจของสื่อมวลชนน้อยมาก

การเยือนมิตรภาพ

ยกเว้นหนังสือพิมพ์เวียดนาม กัมพูชาและหนังสือพิมพ์จีน ส่วนหนังสือ พิมพ์ในภูมิภาคดูเหมือนไม่รายงานข่าวหรือวิเคราะห์เหตุการณ์นี้ อาทิ หลังการเยือนวันแรก หนังสือพิมพ์รายวันใหญ่ที่สุด ของประเทศ ASEAN เช่น The Straits Times (Singapore), The Nation และ The Bangkok Post (ของไทย) หรือ The Jakarta Post (Indonesia) ไม่รายงานข่าว หรือวิจารณ์เกี่ยวกับการเดินทางครั้งนี้

สำหรับสาธารณชน การเดินทางเที่ยวนี้อาจจะไม่มีผลกระทบมากนักต่อสถานการณ์ความมั่นคงโดยรวมของภูมิภาคด้านการเมือง แม้กัมพูชาได้รับจัดตั้งตามรูปแบบทหารมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ประมุขหน่วยงานบริหารคือพระราชา และ มีพรรคฝ่ายค้าน แต่พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งครองอำนาจบริหารประเทศมาตั้งแต่ปี 2522 โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซ็น เป็นผู้นำตั้งแต่ 25 ปีมานี้ ยังคงเป็นพรรคที่ควบคุมกิจกรรมการเมืองทุกอย่างของประเทศนี้ ดังนั้นการที่ผู้นำพรรคคอมมิว นิสต์เวียดนามมีการ “เยือนมิตรภาพระดับ รัฐ” ที่กัมพูชา จึงไม่มีอะไรเป็นที่แปลกใจ

พิจารณาด้านเศรษฐกิจ กัมพูชาก็ไม่ใช่เป็นหุ้นส่วนสำคัญชั้นนำของเวียดนาม รวมทั้งอีกหลายประเทศในภูมิภาค

ตามข้อมูลของ ASEAN ในปี 2553 ระบุว่าปี 2552 ผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของกัมพูชามีสัดส่วนเพียงเกือบ 0.7% ของ GDP รวมของ 10 ประเทศ ASEAN ทางด้านการค้า ประเทศนี้มีสัดส่วนเพียงเกือบ 0.6% ของยอดรวมการค้าประเทศ ASEAN และกัมพูชาก็ดึงดูดเงินลงทุนต่างประเทศ (FDI) น้อยอย่างยิ่ง เพียง 1.3% ของยอดรวม FDI ทั้งกลุ่ม ASEAN

ตามข้อมูลของ EUROSTAT (หน่วยงานสถิติของ EU) ในปี 2554 ระบุว่าปี 2553 กัมพูชาจัดอยู่อันดับที่ 17 ในจำนวนคู่ค้าของเวียดนาม ด้วยดัชนีส่งออก-นำเข้ามูลค่า กว่า 1,000 ล้านยูโร มีสัดส่วนเพียง 0.9% ของยอดรวมมูลค่าการค้าของเวียดนาม

ส่งเสริมความสัมพันธ์

แต่ข้อนั้นไม่ได้หมายความว่าการเยือน 3 วันนี้ของเหงียน ฟุ ตร่อง รวมทั้งความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างเวียดนามและกัมพูชา ไม่มีความหมายต่อทั้งสองประเทศ

กับกัมพูชา เวียดนามเป็นหนึ่งในบรรดาหุ้นส่วนเศรษฐกิจสำคัญ ตามข้อมูล ของ EUROSTAT ด้วยดัชนีส่งออก-นำเข้ามูลค่าเกือบครึ่งพันล้านและเท่ากับ 4.6% ของยอดรวมมูลค่าการค้าของกัมพูชา ในปี 2553 เวียดนามจัดอยู่อันดับที่ 7 ในบรรดาคู่ค้าชั้นนำของกัมพูชา และอันดับที่ 3 (รองจากไทยและสิงคโปร์) ในกลุ่มประเทศ ASEAN

การลงทุนของเวียดนามเข้ากัมพูชา ในหลายปีมานี้ก็เพิ่มขึ้น ประมาณว่าถึงวันนี้ ด้วยจำนวนเงินลงทุนกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามมีการลงทุนที่นี่เกือบ 100 โครงการในหลายขอบเขตต่างกันเช่น การบิน ธนาคาร ยางพารา ฯลฯ

ก็เหมือนลาวและจีน กัมพูชามีแนว ชายแดนร่วมทางแผ่นดินยาวที่สุดกับเวียดนาม (ประมาณกว่า 1,000 กิโลเมตร) ถึงแม้มีแนวชายแดนร่วมกันเช่นนั้น สองฝ่ายก็ได้รับความสำเร็จในการปักปันหลักเขตแดน หลีกเลี่ยงความขัดแย้งและการปะทะระหว่างสองข้างชายแดน

ในขณะที่มีชายแดนร่วมกับไทยเพียงกว่า 800 กิโลเมตร การปะทะและความตึงเครียดเกี่ยวข้องถึงการพิพาทชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชาเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ได้ก่อความห่วงใยให้แก่หลายประเทศในภูมิภาค

เพิ่มอิทธิพล

นอกจากการเร่งความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และอีกหลายขอบ เขตต่างกันระหว่างสองประเทศ การเยือนครั้งนี้ก็มุ่งช่วยเวียดนามเพิ่มอิทธิพลและฐานะของตนต่อที่นี่ และเพื่อลดอิทธิพลของจีนลง

ถึงแม้กัมพูชาและลาวไม่ใช่เป็นสองประเทศสำคัญเมื่อพิจารณาทางด้านเศรษฐกิจ แต่เพราะทั้งเวียดนามและจีน ต่างต้องการดำรงและเสริมอิทธิพลของตนในสองประเทศเพื่อนบ้านนี้ เพื่อจำกัดการแข่งขันซึ่งกันและกัน กัมพูชาและลาวกลาย เป็นความสำคัญกับฮานอยและปักกิ่ง

ในหลายปีผ่านมาด้วยศักยภาพทาง เศรษฐกิจของจีน ดูเหมือนว่าปักกิ่งกำลังมีอิทธิพลมากขึ้นในสองประเทศนี้มากกว่าฮานอย

ตามบทความของ Brian Mc Cartan ที่ได้มีการลงบนหน้าเว็บของ Asia Times วันที่ 23 สิงหาคม 2554 จีนเป็นประเทศสนับสนุนรายใหญ่ที่สุดให้แก่กัมพูชา จีนก็เป็นประเทศมีเงินลงทุนมากที่สุดในกัมพูชา ด้วยมูลค่าเกือบ 8,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับ 360 โครงการต่างกันในห้วง 7 เดือนแรกของปี 2554

ตามข้อเขียนของ Brian Mc Cartan จีนก็เป็นประเทศมีเงินลงทุนรายใหญ่ที่สุดในลาวเมื่อปี 2553 ลาวเป็นหนึ่งในสามประเทศ (พร้อมด้วยกัมพูชาและพม่า) ที่ปักกิ่งหาวิธีเสริมความสัมพันธ์เพื่อสร้างอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในบทความที่ได้ลงบนหน้าเว็บของ The Diplomat เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2554 Minxin Pei ได้เขียนว่า ในขณะที่เกือบทุกประเทศเข้าประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS) ที่บาหลี อินโดนีเซีย ในนั้นมีทั้งรัสเซียที่ตำหนิท่าทีของจีนในการพิพาททะเลตะวันออก ส่วนกัมพูชาและพม่าสองประเทศนี้ (และอาจจะมีทั้งลาว) ต่างนิ่งเงียบ

เมื่อเร็วๆ นี้มีสิ่งบอกเหตุแสดงให้เห็นว่าพม่ากำลังค่อยๆ ห่างไกลวงจรปักกิ่ง และร้อยโซ่เข้าใกล้เวียดนามและอีกบางประเทศในภูมิภาค

(อ่าน “การเดินบทบาทที่มีนัยสำคัญ ของพม่า” นิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ฉบับเดือนธันวาคม 2554 หรือใน www.goto manager.com ประกอบ)

ในสภาวการณ์นั้นถึงแม้มีการพูดเป็นทางการหรือไม่ หนึ่งในบรรดาจุดประสงค์สำคัญของการเดินทางเที่ยวนี้ของเหงียน ฟุ ตร่อง คือมุ่งสร้างอิทธิพลของเวียดนามเพิ่มขึ้นในกัมพูชา

ด้วยจุดประสงค์เช่นนั้น การเยือนที่มีขึ้นในเวลานี้ก็มีระดับความสำคัญของตัวเอง เพราะในปีนี้ (2555) กัมพูชาจะเป็น ประเทศประธานหมุนเวียนของ ASEAN ในตำแหน่งนั้น ประเทศนี้จะเป็นเจ้าภาพประเทศจัดประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ปีหน้าด้วย

เหมือนสิ่งต่างๆ ซึ่งมีขึ้นที่บาหลีที่เพิ่งผ่านมา แสดงให้เห็นว่า EAS นับวันยิ่งมีความสำคัญเพราะมีการเข้าร่วมของสหรัฐฯ รัสเซีย และประเทศใหญ่อีกหลายประเทศในภูมิภาค การประชุมนี้ก็ไม่เพียงเป็นสถานที่เพื่อ “พูดคุยกันเฉยๆ” เพราะมีหลายปัญหาสำคัญทางด้านความมั่นคงในภูมิภาค เช่นการพิพาททะเลตะวันออก ก็ได้มีการพูดถึงหรือถกแถลงในกรอบและนอกกรอบการประชุม

เพราะฉะนั้นถ้าเสริมความสัมพันธ์ กับกัมพูชาและสร้างอิทธิพลเพิ่มขึ้นกับพนมเปญได้ เวียดนามก็อาจจะมีอิทธิพลต่อโครงการทำงานของ ASEAN มีบทบาทเป็นพิเศษต่อการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกปีหน้า เพื่อนำเข้าระเบียบวาระประชุมปัญหาภูมิภาคตามที่เวียดนามสนใจ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาตามทิศทางที่ฮานอยต้องการ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us