Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
“สารสาสน์” ยุคทอง “สองภาษา”             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

   
related stories

RECONSTRUCTURING การศึกษาไทย
สาธิตฟีเวอร์
เดอะรีเจนท์ ส่วนผสมของ “กู๊ดเฮด” และ “กู๊ดฮาร์ท”

   
search resources

Education
พิสุทธิ์ ยงค์กมล
สุทธิพงศ์ ยงค์กมล
โรงเรียนในเครือสารสาสน์




อาคารโดมสไตล์อิตาลีหลังใหญ่ตั้งตระหง่านท่ามกลางท้องฟ้าสีคราม กลายเป็นเอกลักษณ์ที่ใครเห็นก็ต้องรู้ว่าที่นี่คือ โรงเรียนสารสาสน์ ที่วันนี้ขยายเครือข่ายไปทั่วเมือง ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

“สารสาสน์” เปิดโรงเรียนสองภาษา หรือ Bilingual School แห่งแรกในประเทศไทย กลายเป็นต้นแบบที่ได้รับความนิยมมากในหมู่นักเรียนและผู้ปกครอง โรงเรียนเอกชนหลายแห่งเปิดหลักสูตรตามมา แม้กระทั่งโรงเรียนรัฐต้องเพิ่มโปรแกรมภาษาอังกฤษ (English Programme) หรือ “อีพี”

ปฐมเหตุอาจเริ่มจากธุรกิจ เมื่อ “พิบูลย์ ยงค์กมล” เปิดโรงเรียนสารสาสน์พัฒนาและสารสาสน์พิทยา เขาตัดสินใจส่งลูกชาย 2 คน ขณะนั้นทั้งสองคนเป็นครูในโรงเรียนสารสาสน์ คือ สุทธิพงศ์และพิสุทธิ์ไปเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อขยายฐานความรู้และสร้างเครือข่ายครูต่างชาติกลับมาพัฒนาโรงเรียน แต่การเตรียมพร้อมที่คิดว่าดีที่สุดแล้ว สุทธิพงศ์จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรีและปริญญาโทจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนพิสุทธิ์จบมัธยมจากโรงเรียนอัสสัมชัญและจบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชื่อดัง ผลการสอบโทเฟล ไอเอลฟ์ ผ่านในระดับคะแนนค่อนข้างดี ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับที่ไม่น่ามีปัญหาในการศึกษาต่อต่างประเทศ

ผลกลับกลายเป็นว่า ทั้งสองคนเรียนไม่รู้เรื่อง กว่าจะเรียน จบต้องใช้ความพยายามอย่างสูง ชนิดหัวทิ่มหัวตำ โดยเฉพาะการใช้ภาษาอังกฤษ กลายเป็น “ปม” ที่ทั้งสองตั้งใจแน่วแน่ว่าต้องกลับมาปรับปรุงการศึกษาไทย

สุทธิพงศ์กลับมาก่อน หลังเรียนอนุปริญญาโทจบ และเริ่มโครงการทดลองหลักสูตรภาษาอังกฤษที่มีครูต่างชาติเป็นผู้สอน เรียกว่า “เอ็กซ์ตร้า” (Extra) ในชั้นอนุบาลและประถม 1 ที่โรงเรียน สารสาสน์พิทยา ประมาณปี 2535 โดยคัดเลือกเด็กนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอันดับที่ 1-5 จากแต่ละห้องมารวมอยู่ในห้องเอ็กซ์ตร้า เพราะต้องการเด็กคล่องแคล่ว เรียนรู้เร็ว ซึ่งเด็กเสียค่าใช้จ่ายเพียง 2,000 บาท มีอาจารย์ต่างชาติชาวออสเตรเลียมาสอนแบบตัวจริงเสียงจริง สร้างความตื่นเต้นให้ทั้งเด็กและผู้ปกครองอย่างมาก

หลังทดลองได้ 1 ปีและได้รับความนิยมจากผู้ปกครองอย่างล้นหลาม สารสาสน์พิทยาจึงเปิดหลักสูตรเอ็กซ์ตร้าในทุกระดับชั้น ตั้งแต่อนุบาลถึงชั้น ป.6 โดยเปิดสอบคัดเลือกก่อนเข้าเรียน

ยุคนั้น ผู้ปกครองย่านสาธุประดิษฐ์และพื้นที่ใกล้เคียงอยาก ให้ลูกเรียนโปรแกรมเอ็กซ์ตร้า บางคนสอบไม่ได้ถึงขั้นร้องห่มร้องไห้และลงรายชื่อรอคิว “เวสติ้งลิสต์” ยาวเป็นหางว่าว จนโรงเรียนต้องสร้างตึกใหม่และขยายห้องเรียนมาใช้พื้นที่โรงเรียนสารสาสน์โปลีเทคนิคในถนนสาธุประดิษฐ์ เปิดโรงเรียนสอนเฉพาะหลักสูตรเอ็กซ์ตร้า ชื่อ “สารสาสน์เอกตรา”

การเปิดสารสาสน์เอกตราวันแรก ผู้ปกครองมาโรงเรียนอย่างไม่ค่อยชอบใจพื้นที่เท่าไหร่นัก เพราะเป็นป่าช้าเก่า เข้าซอยลึก หลายคนบอกว่าเป็นทุ่งหมาเมิน ขี้หมาเต็มทุ่ง แต่ผู้ปกครองยังพาลูกมาสมัครกันจำนวนมาก เรียกว่า วันสอบ รถติดตลอดถนนสาธุประดิษฐ์ทั้งสาย เด็กต้องสมัครสอบแข่งกัน อัตราส่วน 1:6

กว่าจะเปิดโรงเรียนสองภาษาแห่งแรกได้นั้น “พิสุทธิ์” กับครูอีก 4 คน ซึ่งเป็นทีมบริหารโรงเรียนสารสาสน์เอกตราชุดแรกคือ ครูแน่งน้อย เมรานนท์ ครูนนทลี พุ่มปรีดา ครูบุษรารัตน์ เกิดเพิ่มพูล และครูประวีณารัตน์ บุญสวัสดิ์ ผลัดกันเล่าที่มาที่ไปให้ผู้จัดการ 360 ํ ฟัง

เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อประมาณปี 2537 มีม่ายสาวชาวอเมริกัน ชื่อ “แอนนิต้า” ส่งลูกสาว “ซาร่า” มาสมัครเรียนชั้น ป.1 ทีสารสาสน์เอกตรา ปรากฏว่า เด็กหญิงซาร่ากลายเป็นดาวของห้อง เด็กๆ ที่เป็นเพื่อนกับซาร่าสามารถจำและพูดภาษาอังกฤษได้อย่างอัตโนมัติ

พิสุทธิ์สังเกตเห็นและเริ่มคิดว่า หากผสมผสานภาษาไทยกับภาษาอังกฤษอย่างลงตัวจะส่งผลให้เด็กสามารถเรียนภาษาไทย และพูดภาษาอังกฤษได้อย่างเป็นธรรมชาติ เขาจึงค้นหาโรงเรียนต้นแบบสองภาษา เพื่อจัดหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ จนมาพบ โรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อ Amigos เป็นโรงเรียนที่สอนนักเรียนอเมริกันเชื้อสายเม็กซิกัน โดยสอนภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาสเปนในระดับอนุบาล และมีโรงเรียน Maynard School เป็นเครือข่ายพับลิกสคูล เปิดสอนชั้น ป.1-6

ทีมผู้บริหารตกลงส่งครูบุษรารัตน์ไปใช้ชีวิตในเมนาร์ดสคูล เพื่อเรียนรู้ระบบและการจัดหลักสูตรสองภาษากลับมาปรับใช้ที่สารสาสน์เอกตรา เช่น การจัดตารางเรียน การเปลี่ยนการสอนจาก ภาษาสเปนเป็นภาษาอังกฤษ และการจัดกิจกรรม หลังจากนั้น ทั้งสารสาสน์และเมนาร์ดสคูลมีการทำสัญญาความร่วมมือ เพื่อจัดส่งครูเป็นปีการศึกษา แต่ระยะเวลาการสอนที่สั้นเกินไป ทำให้ พิสุทธิ์ต้องขยายเครือข่ายโรงเรียนต่างๆ ทั้งที่ออสเตรเลีย สหรัฐ อเมริกา สิงคโปร์

หลังจากวางระบบและหาเครือข่ายครูพร้อมแล้ว สุทธิพงศ์ และพิสุทธิ์จึงนำเสนอแนวคิดกับพิบูลย์ เพื่อเปิดโรงเรียนรูปแบบใหม่ และทำโครงการขอจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ แต่กระทรวงศึกษา ธิการไม่อนุมัติ เนื่องจากไม่ผ่านเงื่อนไขของโรงเรียนนานาชาติเรื่องสัดส่วนเด็กไทยกับเด็กต่างชาติ 1:1

ปีที่สอง สารสาสน์ยังเสนอขอจัดตั้งโรงเรียนนานาชาติ แต่ผลติดขัดเหมือนเดิม จนปีที่ 3 เสนอเงื่อนไขขอมีสัดส่วนเด็กไทยมากกว่าเด็กต่างชาติ ปรากฏว่า กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติให้นำเสนอรายละเอียดโครงการ ตอนนั้นทุกคนในครอบครัวปรึกษา และสรุปตรงกันว่า จะไม่เสนอตั้งโรงเรียนนานาชาติ แต่จะทำโรงเรียนสองภาษา หรือ Bilingual School

“เหตุผลที่เราไม่ทำนานาชาติ แต่เปลี่ยนมาทำสองภาษา เพราะสารสาสน์ไม่ได้เริ่มต้นที่คนชั้นอีลิท หรือคนระดับสูง เราเริ่มต้นที่ชนชั้นกลาง จึงไม่ควรละทิ้งชนชั้นกลางและควรทำการศึกษาราคาถูก เพื่อให้คนชนชั้นกลางมีโอกาสเข้าถึง ตอนนั้น โรงเรียนนานาชาติไม่น่าเกินสี่ห้าแห่ง เซเว่นเดย์ฯ บางกอกพัฒนา ร่วมฤดี ถ้าสารสาสน์เปิดอินเตอร์น่าจะเป็นลำดับที่ 4 หรือ 5 แต่เราเลือกมาเปิดสองภาษาเต็มตัวในปี 2538 ตอนนั้นแหละเริ่มบูมเต็มที่” พิสุทธิ์บอก

ในปีนั้น “สารสาสน์” ได้รับอนุญาตเปิดโรงเรียนสองภาษา แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากนั้นเริ่มมีโรงเรียนเอกชนหลายแห่ง ยื่นขอหลักสูตรสองภาษา เช่น โรงเรียนอุดมศึกษาย่านลาดพร้าว โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน โรงเรียนเลิศหล้า โรงเรียนเซนต์ฟรัง ซึ่งพิสุทธิ์กล่าวว่า เอกสารคำขอโครงการที่เขาและพี่ชายเขียนเสนอ กระทรวงศึกษาธิการกลายเป็นต้นฉบับโครงการของโรงเรียนสองภาษาทั่วประเทศ

หลังสารสาสน์เอกตราเปิดจนประสบความสำเร็จ มีนักเรียนจำนวนมากจนล้นสถานที่ พิบูลย์จึงเริ่มขยายโรงเรียนสอง ภาษาแห่งที่สอง คือ สารสาสน์วิเทศศึกษาที่ประชาอุทิศ โดยทีมบุกเบิก ทั้งสุทธิพงศ์ พิสุทธิ์ และครูสาวทั้งสี่ ต้องขึ้นเวทีขายแนวคิด เรื่องหลักสูตรสองภาษาให้ผู้ปกครอง รวมถึงการวางระบบบริหารและอาจารย์ชาวต่างชาติ

แห่งที่สองสำเร็จ แห่งที่สาม แห่งที่สี่ เปิดตามมาอย่างต่อเนื่อง จนล่าสุด “สารสาสน์” มีโรงเรียนหลักสูตรสองภาษาเต็มรูปแบบ รวมทั้งหมด 18 แห่ง

นอกจากการเป็นต้นแบบโรงเรียนสองภาษาแล้ว “สารสาสน์ เอกตรา” ยังผลิตหนังสือสองภาษาเล่มแรก Global Bridge และกลายเป็นหนังสือสองภาษาที่โรงเรียนแห่งอื่นๆ คัดลอกไปสอนนักเรียน

พิสุทธิ์ยังเป็นผู้คิดกระโปรงลายสกอตและนำมาเป็นชุดนักเรียนที่สารสาสน์เอกตราเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ที่มาของกระโปรงลายสกอตฝังใจเขาตั้งแต่อยู่ออสเตรเลีย เขาเห็นกระโปรง ลายสกอตสีเขียวของชาวออสซี ซึ่งให้ความรู้สึกสง่า ดูดีและเลอะ ยาก พอเปิดโรงเรียนสารสาสน์เอกตรา ต้องคิดชุดนักเรียนก็นึกถึง กระโปรงออสซีทันที และชุดนักเรียนเอกตรากลายเป็นเครื่องแบบที่ถูกลอกเลียนแบบอย่างแพร่หลาย ทั้งในกลุ่มโรงเรียนเอกชน โรงเรียนสองภาษาและโรงเรียนนานาชาติ

ปัจจุบันเครือสารสาสน์มีโรงเรียนทั้งหมด 27 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนสองภาษา 18 แห่ง โรงเรียนสายสามัญ 7 แห่งและหลักสูตรอาชีวศึกษาอีก 2 แห่ง ซึ่ง “พิบูลย์” ยังเป็นผู้ดูแลภาพรวมการบริหาร การลงทุนและการขยายสาขาทั้งหมด โดยมีลูกทั้ง 5 คน คือ พีระพันธ์ สุทธิพงศ์ นันทิดา พิสุทธิ์ และรตนพร เข้ามา ช่วยงานและบริหารโรงเรียนคนละ 1-2 สาขา ส่วนที่เหลือ พิบูลย์คัดเลือกผู้บริหารไปเป็นผู้อำนวยการ และมีคณะกรรมการอำนวยการเป็นผู้ตรวจสอบติดตามการบริหารและการทำงานของทุกๆโรงเรียนอีกชั้นหนึ่ง

ในฐานะผู้บุกเบิกหลักสูตรสองภาษา พิสุทธิ์มองภาพสารสาสน์ที่มีสาขาเต็มเมืองเป็นกรณีหนึ่งในการพัฒนาการศึกษาไทย โดยเฉพาะการทำให้การเรียนภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยากและเป็นเรื่องที่ใครๆ สามารถเรียนได้

“เราทำให้เด็กไทยที่เคยมีความรู้สึกว่า ภาษาอังกฤษเป็นเรื่องยาก ผิวเอเชียเป็นได้แค่นี้ คนไปไกลกว่านี้ต้องเป็นชนชั้นหนึ่ง ชนชั้นกลางไปหวังอะไรไม่ได้ มันไม่ใช่ การศึกษาเป็นการยกระดับ ตัวเอง เหมือนสนามแข่งหมา สนามแข่งม้า ชนะไปก็เป็นหมาชนะไปก็เป็นม้า แต่จะเป็นดัลเมเชี่ยน เกรย์ฮาวด์ เราควรเกลี่ยให้ ชนชั้นกลาง หรือรากกลางต้นมีโอกาสเรื่องภาษาอังกฤษมากขึ้น”

ขณะเดียวกัน ตัวพิบูลย์ยังมีแผนเปิดโรงเรียนสารสาสน์แบบ ไม่จำกัดเป้าหมาย ถ้ามีตลาดและกลุ่มลูกค้า โดยมองทำเลตามการขยายตัวของหมู่บ้านจัดสรรในเมืองและรอบนอกเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนชั้นกลาง มีครอบครัวและลูกๆ

ที่สำคัญ การขยายโอกาสทางการศึกษาของภาครัฐยังไปไม่ทันกับการขยายตัวของเมือง โรงเรียนเอกชนจึงมีโอกาสในการเปิดตลาดอีกมาก และ “สารสาสน์” เข้ามาใช้ช่องว่างดังกล่าว เพื่อขยายอาณาจักรใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ

หากมองในแง่ธุรกิจ “สารสาสน์” ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ล่าสุดมีนักเรียนรวมทั้งหมดกว่า 70,000 คน เพิ่มขึ้น ปีละ 4,000-5,000 คน รายได้จากค่าเล่าเรียนคนละ 60,000-70,000 บาท แต่อีกมุมหนึ่งกำลังสะท้อนปัญหาของการศึกษาไทยกับคำว่า “โอกาส” “มาตรฐาน” และ “ความเท่าเทียมกัน”

เพราะถึงที่สุดแล้ว คนมีเงินเท่านั้นที่จะมีโอกาสเลือกการศึกษาที่เขาคิดว่าดีที่สุดและมีคุณภาพนั้นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us