ในปี 2526 เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ชัดเจนมาก แต่ฝ่ายภาคอื่นไม่ได้สังเกตเท่าที่ควร
ในปี 2526 มีการส่งออกที่ต่ำมากถึงติดลบ 8% กว่า เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ตัวเลขสั่งเข้าเพิ่มขึ้นถึง
20% ซึ่งในปีนั้นฐานะการเงินของประเทศเริ่มลำบาก มีการขาดดุล 90,000 ล้านบาท
ขณะนั้นเราควรจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งแล้ว แต่ไม่ได้ทำ ปล่อยให้เหตุการณ์เพิ่มขึ้นมาจนถึงปี
2527 จึงพยายามแก้ไขให้การส่งออกดีขึ้นประมาณ 19% กว่า คิดเป็นเงินแสนเจ็ดหมื่นกว่าล้านบาท
ทำให้การสั่งเข้าลดลงเหลือ 3% กว่า โดยใช้วิธีกำจัดการปล่อยเครดิตบ้าง การที่ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้ไม่เกิน
18% เมื่อปี 2527 ผลทำให้ผู้ประกอบธุรกิจโวยวายมาก ความจริงการแก้ไขเรื่องค่าของเงินหรือการลดการสั่งเข้าควรทำตั้งแต่ปลายปี
2526 แต่เหตุการณ์นั้นได้ดำเนินผ่านไปแล้วจึงมาเริ่มดำเนินการ ซึ่งเป็นลักษณะของคนไทยที่จะรอให้เหตุการณ์ผ่านไปก่อนโดยไม่เคยวางแผนแล้วทำทีหลัง
ในปี 2528 การส่งออกดีขึ้นเพราะเกิดการลดค่าเงินบาททำให้ดีขึ้นประมาณ 10%
คือคาดว่าปีนี้จะส่งออกได้ 203,000 ล้านบาท แต่เมื่อได้รีวิวตัวเลขเมื่อสัปดาห์ที่แล้วคาดว่าปีนี้คงส่งได้เพียง194,000 ล้านบาท
หรือสูงขึ้นประมาณ 10.7% เท่านั้น แต่การสั่งเข้าน่าสนใจมาก คาดว่าจะสั่งเข้าถึง 260,000 ล้านเศษ
เพราะฉะนั้นขาดดุลคงเกิน 70,000 ล้านบาท ทั้ง ๆ ที่มีการลดค่าเงินบาทเป็นเม็ดเงินในเงินตราต่างประเทศก็คงจะต่ำลง
มีสัญญาณบ้างว่าเราจะลดลง จุดนี้ทำให้คนในหลายภาคมีปฏิกิริยาเมื่อภาคของตนได้รับความกระทบกระเทือน
ซึ่ง ดร.โชคชัย และคุณพงส์ สารสิน ก็มีปฏิกิริยาว่าควร Protect อุตสาหกรรมของไทยบ้าง
เพราะปล่อยฟรีมานานแล้ว เห็นภาคเกษตรทำมานาน ชุมนุมสหกรณ์เกษตรพยายามแม้แต่ภาคอื่นๆ
ที่กระทบก็จะมีเสียงออกไปแล้ว แต่อุตสาหกรรมไม่ค่อยส่งเสียงอะไร น่าจะเตือนให้มีการนำเข้าลดลงเพราะลดลงได้
ปีหน้าที่บ่นกันนั้นคงจะแก้ได้ ถ้าลดการสั่งเข้าได้ และหันมาผลิตและใช้กันในประเทศได้ก็จะสามารถทดลองได้ว่าปี
2529 จะเป็นปีที่เราจะอยู่รอดได้ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เพราะภาคเกษตรกรรมทำอะไรไม่ได้มากเท่าไหร่นัก
เป็นหน้าที่ของภาคอุตสาหกรรมจะต้องทำอะไรที่ผลิตได้ในประเทศไทย เมื่อทั่วโลกเขาพยายามจะ
Protect ตัวเขาเอง ภาคอุตสาหกรรมไทยไม่คิดจะ Protect อุตสาหกรรมของเราเองโดยที่เรามีพลังอย่างมากแต่ไม่ทำ
ที่จริงมันสายไปแล้ว เพราะถ้าเปิดประตูโดยไม่วางมาตรการไว้จนส่งของออกไปไม่ทันต่อการสั่งเข้าจะอาศัยภาคเกษตรหรืออุตสาหกรรมบางอย่างออกไปเมื่อเราถูก
Protect ไปทุกอย่าง ในฐานะนักการเงินคิดว่าทำไมภาคอุตสาหกรรมยังไม่ทำ ซึ่งคิดว่ารัฐบาลก็คงจะใจกว้างพอที่จะเอาปัญหามาแก้ไข
เมื่อไม่ทำก็ไม่มีใครมาช่วยได้ เมื่อถึงวันนั้นอุตสาหกรรมก็จะเจ๊งไป พวกที่อยู่ภาคการเงินก็รับภาระไป
ซึ่งไม่รู้ว่าจะแบกไปถึงไหนแล้ว ในเมื่อคนอื่นอยู่ไม่ได้สิ่งที่เขาจะร้องก่อนคือให้รัฐบาลพยายาม
Protect ผลประโยชน์ ทำไมสหรัฐฯ ซึ่งแข็งแรงถึงต้องป้องกันตัวเอง ญี่ปุ่นไม่เคยเลยที่จะไม่
Protect จนถึงขณะนี้ เราต้องปลุกทั้งรัฐบาลให้มี Protection บ้าง และปลุกให้ประชาชนใช้ของไทยบ้าง
และไม่ต้องติดป้ายภาษาฝรั่ง เวลานี้ต้องติดป้ายชื่อญี่ปุ่นจึงจะขายได้ ในสมัยจอมพล
ป. บอกให้นิยมไทย แต่เวลานี้ไม่มีคนทำ เพราะเราไปสร้างค่านิยมให้คนไทยไปซื้อของที่เป็นชื่อต่างชาติ แล้วมาบ่นว่าผลิตแล้วขายไม่ได้
เงินฝากหรือเงินกู้ของไทยพัฒนาการค่อนข้างจะดีในระบบ หมายความว่าความเชื่อของคนและการออมของเราค่อนข้างจะดีมาก
และดีกว่าอัตราถัวเฉลี่ยของหลายประเทศ แม้ในประเทศที่เจริญแล้ว ในปีที่เศรษฐกิจมันเร็วมากดูด้านการค้าระหว่างประเทศ
ในช่วงนั้นเงินฝากและเงินกู้ค่อนข้างจะสูงมาก ถึงปี 2526 เงินฝากขึ้นถึง
81,000 ล้านบาท หรือ 26% แต่ในปีนั้นก็จ่ายอย่างเต็มที่สั่งเข้ามหาศาล กู้เงินในระบบ
97,000 ล้านบาท ในปีนั้นจึงเป็นการกู้เงินในระบบถึง 34% ซึ่งปีนี้กู้เพียง
11% คือกู้ถึง 3 เท่าของปีนี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้น ในปี 2527
เริ่มปรับตัวดีขึ้น เงินฝากกลับดีขึ้นจาก 81,000 ล้านบาทในปี 2526 ขึ้นถึง
86,000 ล้านบาท ในปี 2527 คิดเป็นเพิ่ม 21% แต่การปรับตัวทันกับที่ทางราชการสั่งคือให้เพิ่มสินเชื่อ
18% ซึ่งก็เพิ่ม 69,000 ล้านบาท คนไทยมีมาตรการอะไรออกมาก็ตามทันได้ทันที
ในปี 2527 การสั่งเข้าลดลงเหลือ 3% กว่า เพิ่ม 3% กว่าเท่านั้นจากการเพิ่มถึง
21% ตัวสำคัญที่สุดคือมาตรการใดก็ตามถ้าใช้แล้วคนเห็นด้วยจะปฏิบัติทันที
ยกตัวอย่าง เช่น มาตรการทางการเงิน แต่ในปีนี้ทั่วโลกเกิดวิกฤตการณ์เช่นนี้
ดังนั้นการเพิ่มของเงินฝากจึงเหลือเพียง 63,000 ล้านบาท หรือ 33% ตามที่คาดกันไว้
ส่วนเงินกู้ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11% สรุปแล้วจะตกลงทั้งหมดเพราะเหตุการณ์ทั่วไปไม่ดี
แต่อย่างไรก็ตาม เงินออมก็ยังสูงกว่าปี 2527 และปี 2528 คือเงินออมและเงินให้กู้สูงกว่าปี
2527 คิดเป็นเงิน 17,000 ล้านบาท และในปี 2528 ประมาณ 14,000 ล้านบาท แต่เงินจำนวนนี้มิได้อยู่ในระบบ
เพราะสาเหตุมาจากนำเงินไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจประมาณเกือบหมื่นล้าน
เพราะฉะนั้นจึงไม่เหลือไปถึงภาคเอกชนให้ขยายธุรกิจนอกจากนี้ยังต้องนำเงิน
3-4 พันล้านไปชำระหนี้ของประเทศด้วย
ลักษณะการเงินของปี 2528 นั้น เมื่อต้นปีขาดเงิน แต่พอปลายปีการเงินคล่องตัวมากซึ่งตรงข้ามกับปี
2526 ที่ไม่มีเงินตอนต้นเงินกู้สูงขึ้นมาก แต่พอปลายปีเงินล้นถึงปัจจุบันเงินเหล่านี้หายไปหมด
เพราะอัตราแลกเงินไม่คงที่
สภาวะการเงินปี 2529 คาดว่าเงินฝากจะสูงสุดประมาณ 70,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับมาตรการต่าง ๆ เป็นส่วนประกอบด้วย
เช่น ภาษีดอกเบี้ยจะต้องไม่ขึ้น ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และอัตราดอกเบี้ยจะต้องไม่ลดต่ำไปกว่านี้
สรุปแล้วในปี 2529 นั้นจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาการนำเข้า ส่วนการส่งออกคาดว่าจะสามารถทำมูลค่าเกิน
200,000 ล้านบาท แต่ต้องขึ้นอยู่กับหลายประการ คือ เนื่องจากสินค้าทางเกษตรราคาตก
ถ้าอุตสาหกรรมไม่สูงนักรวมทั้งค่าเงินดอลลาร์อ่อนก็อาจจะทำไม่ถึงเป้าที่ตั้งไว้
แต่ถ้าสามารถลดการสั่งเข้าได้ก็จะช่วยได้มาก สำหรับสถาบันการเงินนั้นในปี
29 คงจะสามารถจัดหาเงินประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท ส่วนเงินกู้นั้นถ้าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีขึ้นก็คงอยู่ในอัตราที่ให้กู้ต่ำ
แต่ภาระหนักของสถาบันการเงินคือจะต้องหาเงินมาช่วยงบขาดดุลของรัฐบาลซึ่งค่อนข้างจะสูงมาก
ดังนั้นภาวะการเงินปีหน้าคงไม่สดใสนัก แต่ก็คงจะไม่มืดมนเกินไปถ้าทุกคนช่วยกันแก้ไขปัญหาต่าง ๆ