Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
RECONSTRUCTURING การศึกษาไทย             
โดย สุพร แซ่ตั้ง
 

   
related stories

สาธิตฟีเวอร์
“สารสาสน์” ยุคทอง “สองภาษา”
เดอะรีเจนท์ ส่วนผสมของ “กู๊ดเฮด” และ “กู๊ดฮาร์ท”

   
search resources

Education
พิสุทธิ์ ยงค์กมล
โรงเรียนในเครือสารสาสน์




จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า
ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า
ขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง
ขอเตียงตั้งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู
ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
ขอคอมพิวเตอร์ติดเน็ต ไอแพด ดาวเทียมทางไกล
ขอโรงเรียนดีๆ ไม่เก็บแป๊ะเจี๊ยะให้ข้าสักโรง
ขอครูเก่งๆ สอนน้องข้าด้วย...

บทเพลงกล่อมเด็ก จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า ในศตวรรษที่ 21 คงต้องเติมความฝันของเด็กอีกมากมาย เพราะกว่า 15 ปีในการปฏิรูปการศึกษา เริ่มตั้งแต่ปี 2539 แม้กระทรวงศึกษาธิการวางแผนและแนวทางการปฏิรูปการศึกษา 4 ด้าน คือ การปฏิรูป โรงเรียนและสถานศึกษา การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา การปฏิรูปหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอน และการปฏิรูป ระบบบริหารการศึกษา โดยตั้งเป้าว่าการเรียนการสอนต้องมีคุณภาพและมีมาตรฐานในระดับสากลภายในปี 2550

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นล่าสุดคือ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกระบุว่า มีประชากรไทย ที่อ่านเขียนภาษาไทยไม่ได้สูงกว่า 4,000,000 คนหรือ 6.3% ของ ประชาชนทั้งประเทศ หลายองค์กรระบุอีกว่า ความสามารถใน การแข่งขันของประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 33 จาก 47 ประเทศ คุณภาพของผู้เรียนไทยสัมฤทธิ์ผลต่ำในทุกวิชา เช่น สังคมศึกษา อยู่ที่ 55% ภาษาไทย 47% ภาษาอังกฤษ 34% คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ 30% ส่งผลถึงอาชีพการงานในอนาคต

ถ้าดูข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวนนักเรียนในทุกระดับชั้นทั่วประเทศไทยมีมากกว่า 13 ล้านคน ขณะที่ครู ทั้งสายสามัญศึกษาและอาชีวศึกษามีเพียง 139,308 คน และยังเจอปัญหาครูที่มีความสามารถกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มโรงเรียนชื่อดัง ซึ่งในวงการธุรกิจโรงเรียนมีการจัดอันดับโรงเรียนที่ดีที่สุด ในประเทศไทย พิจารณาจากสถิติกการสอบแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ O-net โควตา รับตรง admission แพทย์ กสพท. ทุนรัฐบาล ทุน กพ. ทุน พสวท. และรางวัลชนะเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

อันดับในแต่ละปีหมุนเวียนสับเปลี่ยนอยู่ในโรงเรียนชื่อดังไม่กี่แห่งและกลายเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนการสอนของโรงเรียนที่ควรจะเท่าเทียมกัน

“ผู้จัดการ 360 °” พบคำตอบหนึ่งจากนักการศึกษาหลายๆ คน คือ “มาตรฐานครู”

เราดูตัวอย่างกระบวนการผลิตครูในประเทศอังกฤษ ผู้เรียน ต้องศึกษาในสาขาที่สนใจจนจบระดับปริญญาตรี หลังจากนั้นเรียน หลักสูตรครูที่เรียกว่า Post Graduate Certificate of Education หรือ PGCE ในมหาวิทยาลัยอีก 1 ปี เหมือนประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู หรือ ป.บัณฑิตของไทย แต่ยังไม่สามารถประกอบ วิชาชีพครูได้ เพราะเป็นเพียง Newly Qualified Teacher ต้องฝึกสอนอีก 1 ปี จนได้ใบอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการของอังกฤษ เรียกว่า Qualified Teacher Status หรือ QTS

ความเข้มข้นในการผลิตครูที่เน้นหนักด้านเนื้อหาสาขาวิชา อย่างเชี่ยวชาญก่อนที่บัณฑิตคนนั้นจะตัดสินใจเข้าสู่เส้นทางวิชา ชีพครู ระบบการฝึกสอนที่มุ่งฝึกฝนเรื่องการสอน ทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติแบบรายตัว ไม่เว้นแม้กระทั่งเทคนิคการกวาดสายตา เพื่อดึงความสนใจของเด็กแต่ละคน

ขณะที่คณะครุศาสตร์ของไทยเน้นการศึกษาวิธีการเป็นครู การออกข้อสอบ การพูด การสอน แล้วไปเลือกเอก โท ในสาขาวิชาต่างๆ ซึ่งกลับกันกับระบบอังกฤษ

ที่สำคัญ อาชีพ “ครู” เป็นอันดับท้ายๆ ในแง่ความนิยมของนักเรียน หรือเลือกเรียนเผื่อพลาดจากคณะยอดฮิต ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ วิศวะ สถาปัตย์ สื่อสารมวลชน แม้กระทั่งนิติศาสตร์ ด้วยเหตุผลในแง่รายได้ โอกาสด้านอาชีพการงานและชื่อเสียง

ปัญหาข้อนี้ กระทรวงศึกษาธิการรู้เห็นปัญหาและเป็นที่มา ของโครงการผลิต “ครูพันธุ์ใหม่” เพื่อปฏิรูปครูตามกรอบการปฏิรูป การศึกษาในทศวรรษที่ 2 เริ่มตั้งแต่ปี 2553-2562 โดยตั้งเป้าผลิตครูพันธุ์ใหม่จำนวนทั้งสิ้น 30,000 คน จำแนกเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน 27,000 คน และครูอาชีวศึกษา 3,000 คน

ถ้าจำแนกตามหลักสูตรจะประกอบด้วยหลักสูตรครู 5 ปี จำนวน 17,500 คน โดยรับผู้เข้าร่วมโครงการที่สำเร็จชั้นมัธยม ศึกษาตอนปลาย จำนวน 13,500 คน และผู้กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ในระดับอุดมศึกษาอีก 4,000 คน

ส่วนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (หลักสูตร 1 ปี) จำนวน 12,500 คน รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาเข้าศึกษาในสถาบันที่ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรและมาตรฐานการผลิตประกาศนียบัตรวิชาชีพครู หรือ ป.บัณทิต ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบอังกฤษ

หากเป็นไปตามแผน กระทรวงศึกษาธิการวาดความฝันว่า จะสร้างสรรค์ครูที่มีอุดมการณ์และมีความรู้ทางวิชาการที่เหมาะสม กับการสอนในโรงเรียนแต่ละระดับแตกต่างกันและใช้เวลาการผลิต ที่รวดเร็ว

ถือเป็นความหวังอันหนึ่งในการยกระดับการศึกษาไทย

สิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับ “พิสุทธิ์ ยงค์กมล” ทายาทผู้ก่อตั้งโรงเรียนในเครือสารสาสน์ เขาเรียนจบระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนชื่อดัง จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ผลการสอบภาษาต่างประเทศดีเยี่ยม แต่ไปถึงต่างประเทศเหมือน “ศูนย์” ต้องดิ้นรนศึกษาภาษาอังกฤษ และนั่นคือ “ปม” ที่พิสุทธิ์ตัดสินใจว่า ต้องกลับมาพัฒนาโรงเรียนสารสาสน์

แล้วทำไมจึงเกิดค่านิยมในหมู่พ่อแม่ที่ว่า “ประถมดีที่สุดต้องสาธิตจุฬาฯ มัธยมต้องสาธิตปทุมวัน ม.4 ต้องเตรียมอุดม”

หรือการสร้างมาตรฐานการเรียนการสอนอย่างมีคุณธรรมของโรงเรียนนานาชาติเดอะรีเจนท์ การผสมผสานระหว่าง Good Head กับ Good Heart เก่งแล้วต้องมีคุณธรรม

การศึกษาไทยกำลังเป็นไปอย่างไร

นี่น่าจะเป็นกรณีตัวอย่างที่สะท้อนปัญหาที่รอการปฏิรูปได้ชัดเจนยิ่งขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us