|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
เมื่อสิ้นเดือนตุลาคมของปีที่แล้ว ประเทศสหรัฐอเมริกาได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Cooperation and Development หรือ OECD) ในการจัดประชุม Pre-G20 Event ในหัวข้อ Growing Economies through Women’s Entrepreneurship เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของผู้หญิงที่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้นได้
ในการประชุมครั้งนี้มีทั้งหมด 20 ประเทศด้วยกันที่เข้าร่วม ซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศที่อยู่ในกลุ่ม G20 อย่างเช่น ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ และอเมริกา เป็นต้น ทุกประเทศในกลุ่มนี้ถูกจัดให้เป็น ประเทศที่พัฒนาแล้ว และมีฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง จะช่วยกันสนับสนุนให้ผู้หญิงได้มีโอกาสที่เป็นเจ้าของกิจการมากขึ้น
สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประเทศในกลุ่ม G20 หันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มจำนวนนักธุรกิจหญิงก็เพราะว่าบริษัทการเงินระหว่างประเทศ (International Finance Corporation หรือ IFC) ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของธนาคารโลก (World Bank) ได้รายงานว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วหรือประเทศส่วนใหญ่ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม OECD นั้น ผู้หญิงจะมีความคิดริเริ่มในการทำธุรกิจเร็วกว่าผู้ชาย และธุรกิจเหล่านี้ก็มีส่วนช่วยให้มีตำแหน่งงานว่างมากขึ้น จำนวนคนที่ว่างงานก็ลดน้อยลงและทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นอีกด้วย
ยกตัวอย่างเช่น ที่แคนาดา มีจำนวนผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ชายเป็นเจ้าของกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลาง IFC ยังได้รายงานเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ปัจจุบันมีผู้หญิง เป็นเจ้าของกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาดกลาง (Small and medium enterprises หรือ SME) ประมาณ 8-10 ล้านคน เรียกได้ว่าผู้หญิงเป็นเจ้าของ กิจการ SME ประมาณ 38% ของจำนวนธุรกิจ SME ทั้งหมด และ 21% เป็นเจ้าของบริษัทขนาดกลาง
ในรายงานยังระบุอีกว่า ในบางประเทศยังพบว่า บริษัทที่มีเจ้าของกิจการเป็นผู้หญิงนั้นจะเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่าบริษัทที่มีผู้ชายเป็นเจ้าของ กิจการ เช่นที่อเมริกา บริษัทที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของกิจการจะสามารถเติบโตได้เร็วกว่าเป็นสองเท่าของบริษัทที่มีผู้ชายเป็นเจ้าของ และบริษัทที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของกิจการทั้งหมดยังสามารถช่วยให้มีตำแหน่ง การจ้างงานเพิ่มขึ้นถึง 23 ล้านตำแหน่งด้วยกัน ซึ่งตำแหน่งงานเหล่านี้ยังช่วยทำให้เศรษฐกิจของอเมริกาดีขึ้นได้เป็นอย่างมาก
การที่มีจำนวนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจ SME มากขึ้นเรื่อยๆ นั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะธุรกิจ เหล่านี้จะช่วยให้เศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ดีขึ้น และ ยังช่วยลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่าง ชายหญิงและช่วยให้ชื่อเสียงของประเทศในเรื่องนี้ดีขึ้นอีกด้วยเพราะว่าในทุกๆ ปี จะมีการจัดอันดับประเทศที่มีช่องว่างระหว่างชายหญิงน้อยที่สุดในสังคม
เพียงแต่ว่าการที่จำนวนเจ้าของธุรกิจหญิงมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั้น ไม่ได้หมายความว่า พวกเธอเหล่านี้ ไม่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องความไม่เสมอภาคกันในสังคม ปัญหาเหล่านี้ยังคงมีอยู่ และทำให้ในที่สุดอาจจะมีผลกระทบถึงเศรษฐกิจของประเทศได้
ปัญหาหลักๆ 2 อย่างที่ผู้หญิงจะต้องเผชิญเหมือนกันคือ 1) ผู้หญิงมักจะขาดประสบการณ์ในการทำงาน ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะได้ทำงานที่ไม่ค่อยมั่นคง หรือไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจโดยตรง เช่น พนักงานฝ่าย บุคคล ทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่ขาดโอกาสที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมจากประสบการณ์การทำงานในการทำธุรกิจและ เสียเปรียบผู้ชายที่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมากกว่า เมื่อผู้หญิงขาดประสบการณ์ในการทำงาน ทำให้ผู้หญิง ส่วนใหญ่เลือกที่จะทำธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งเน้นไปที่งานทางด้านการบริการเป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น ร้านขายเสื้อผ้า ร้านขายรองเท้า และร้านอาหาร เป็นต้น ซึ่งธุรกิจเหล่านี้เป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยจะทำให้เกิดผลกำไร ทำให้ผู้หญิงต้องพบเจอกับปัญหาเรื่องการเงินเป็นลำดับต่อมา
2) ผู้หญิงมักจะถูกจำกัดสิทธิในเรื่องการเงิน เช่น ในบางประเทศผู้หญิงไม่สามารถกู้เงินหรือเปิดปัญชีธนาคารในชื่อของตัวเองได้ นอกจากนี้ผู้หญิงยังมีจุดอ่อน อยู่ที่ธุรกิจที่ทำเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ดังเช่นที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า ผู้หญิงจะเน้นไปที่งานด้านบริการ ซึ่งทำให้ขาดความน่าเชื่อถือสำหรับทางธนาคารในการที่จะปล่อยให้กู้ยืมเงิน ซึ่งนี่ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่สามารถขยายกิจการของตัวเองให้มีขนาดใหญ่ขึ้นได้ และปัญหานี้ยังทำให้มีผู้หญิงเป็นจำนวนมากหันไปหาแหล่งเงินทุนจากที่อื่น และมีจำนวน น้อยที่จะเข้าไปติดต่อธนาคารเพื่อทำเรื่องกู้เงิน
จากการศึกษาของ IFC ในเรื่องของการเงินพบว่า มีจำนวนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในประเทศกำลังพัฒนาน้อยมากที่ไปทำเรื่องขอกู้ยืมเงินมาจากธนาคารเพื่อมาลงทุนแล้วประสบความสำเร็จ และในหลายๆ ประเทศ เจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราที่สูงกว่าและมีระยะเวลาในการขอกู้ยืมเงินได้น้อยกว่าเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้ชาย
เช่น มีผู้หญิงประมาณ 76% ที่ตูนิเซีย 62% ที่อาหรับเอมิเรตส์ และ 59% ที่จอร์แดน ถูกธนาคารปฏิเสธที่จะให้กู้ยืมเงินไปลงทุนในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้หญิงที่เป็นเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ก็จะเข้าไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้ยืมเงินมาลงทุนในอัตราส่วนที่เกือบจะเท่ากับผู้ชาย และส่วนใหญ่ธนาคารก็จะอนุมัติให้กู้ยืมเงินได้ เพราะธุรกิจขนาดใหญ่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า และสามารถมองเห็นผลกำไรได้อย่างชัดเจน
สำหรับกรณีของประเทศที่กำลังพัฒนานั้น นอกจากปัญหาเรื่องของการขาดประสบการณ์และการเงินแล้ว ปัญหาที่ผู้หญิงเหล่านี้จะต้องเผชิญอีกด้วยคือ เรื่องของสิทธิการถือครองทรัพย์สินและเป็นเจ้าของกิจการ เพราะในบางประเทศมีกฎหมายว่า ถ้าผู้หญิงแต่งงานแล้วจะไม่สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สินใดๆ ได้ โดยเฉพาะบ้านและที่ดิน และในบางประเทศยังไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมีบัตรประชาชนได้ จึงทำให้ผู้หญิงไม่สามารถไปติดต่อขอกู้ยืมเงินจากธนาคารได้
ดังนั้นความเสียเปรียบ ของผู้หญิงในเรื่องการขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจและการเงิน จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงขาดโอกาส ที่จะมีกิจการของตัวเองและขยายกิจการให้ใหญ่โตได้ ปัญหาเหล่านี้ยังอาจจะส่งผลให้จำนวนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของ ธุรกิจลดน้อยลงอีกด้วยในอนาคต เพราะตอนนี้ในบางประเทศก็เริ่มที่จะมีเจ้าของกิจการหญิงลดน้อยลง
ยกตัวอย่างเช่น ในบาง ประเทศของกลุ่มประเทศใน OECD มีผู้หญิงเพียงแค่ 2.3% ที่สามารถเป็นเจ้าของกิจการได้ ในขณะที่มีจำนวนผู้ชายถึง 6% ด้วยกัน ซึ่งนี่เป็นจำนวนตัวเลขที่เห็นได้ชัดเจนว่า แม้จะเป็นประเทศ ที่พัฒนาแล้ว จำนวนผู้หญิงที่จะเป็นเจ้าของกิจการก็ยังมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ชาย
ผู้หญิงสามารถเป็นกำลังสำคัญของประเทศในการช่วยทำให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้นได้ ปัญหาที่กล่าว มาจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลต้องให้ความสนใจในการแก้ไข หลังจากที่การประชุมครั้งนี้จบลง อเมริกาจึงได้ออกมายืนยันว่า อเมริกาจะสนับสนุนให้เจ้าของกิจการหญิงหรือผู้บริหารธุรกิจหญิงมีโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานมากขึ้นและได้รับโอกาสมากขึ้นในสังคม ซึ่งน่าจะช่วยให้มีจำนวนผู้หญิงที่เป็นเจ้าของกิจการทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางเพิ่มมากขึ้น และเรื่องนี้ยังจะช่วยลดช่องว่างความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย
นอกจากนี้ IFC ยังได้เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องของการขาดประสบการณ์และปัญหาทางการเงินไว้ด้วยกัน 3 วิธี คือ 1) รัฐบาลควรจะมีนโยบาย สนับสนุนให้ธนาคารอนุมัติการกู้ยืมเงินให้กับผู้หญิงที่ทำธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางง่ายขึ้น โดยเฉพาะเวลา ที่ผู้หญิงเข้ามาขอกู้ยืมเงินเพื่อไปเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจ หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยให้เจ้าของธุรกิจเหล่านี้มีทางเลือกมากขึ้นในการกู้ยืมเงิน 2) รัฐบาลควรที่จะจัดให้มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของธุรกิจและการเงินสำหรับผู้ที่สนใจจะมีธุรกิจเป็นของตัวเอง 3) รัฐบาลควร มีนโยบายที่จะสนับสนุนให้ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจมากขึ้น 5) ถ้าหากเจ้าของธุรกิจหญิงท่านใดที่ประสบ ความสำเร็จ รัฐบาลควรจะให้การสนับสนุนให้เจ้าของ ธุรกิจท่านนั้นเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้หญิงคนอื่นๆ เพื่อที่นักธุรกิจท่านอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจจะได้มีกำลังใจและยังมีแบบอย่างของผู้ที่ทำธุรกิจแล้วประสบความสำเร็จ
ปัจจุบันในบ้านเราก็มีผู้คนเป็นจำนวนมากที่หันมาให้ความสนใจในการมีกิจการขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นของตัวเอง ผู้เขียนเชื่อว่าเจ้าของธุรกิจ หญิงในบ้านเราก็คงต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ เช่นกัน รัฐบาลควรที่จะหันมาให้ความสนใจและส่งเสริม ให้ผู้หญิงเหล่านี้สามารถกู้ยืมเงินและขยายกิจการของตัวเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาที่เศรษฐกิจ ในบ้านเราต้องรีบฟื้นฟูหลังจากมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ เจ้าของธุรกิจหญิงจึงน่าจะมีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติในครั้งนี้ได้
ข้อมูลอ้างอิง:
- International Finance Corporation (2011) Strengthening Access to Finance for women-owned SMES in developing countries, http://www.gpfi.org/sites/default/files/documents/Strengthening.pdf
|
|
|
|
|