Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา มกราคม 2555
จีนได้อะไรจากการช่วยอุ้มวิกฤติหนี้ยุโรป             
 


   
search resources

Economics
International




ในอนาคตข้างหน้า นักเศรษฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ อาจยกให้ช่วงเวลานี้ เป็นจุดเปลี่ยนดุลอำนาจของโลกที่เอียงไปข้างจีนมากขึ้น นั่นคือช่วงเวลาไม่กี่วันระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำยุโรป เพื่อแก้ปัญหาวิกฤติิิหนี้ยูโรโซน ซึ่งจัดขึ้นที่บรัสเซลส์ในวันที่ 26 ตุลาคม 2010 กับการประชุมสุดยอด G-20 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคานส์ของฝรั่งเศส ในวันที่ 3-4 พฤศจิกายน 2010 เหตุผลคือ ในการประชุมสุดยอดที่บรัสเซลส์ ผู้นำยุโรปได้ทำสิ่งที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่ายุโรปจะทำ นั่นคือการขอร้องให้จีนใช้เงินทุนสำรองเงินตราต่างประเทศที่จีนมีอยู่อย่างมหาศาลถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์ มาช่วยอุ้ม 17 ชาติยูโรโซนให้พ้นจากภูเขาหนี้สาธารณะลูกใหญ่

จีนกลายเป็นประเทศที่ยุโรปเล็งให้เข้าไปลงทุนในกองทุนกอบกู้วิกฤติหนี้ยุโรป ซึ่งผู้นำยุโรปได้บรรลุข้อตกลงกันในการประชุมสุดยอดที่บรัสเซลส์ ให้เพิ่มขนาดกองทุนกอบกู้วิกฤติหนี้ยุโรปเป็น 1 ล้านล้านยูโร (1.4 ล้านล้านดอลลาร์) และยังเล็งเลยไปถึงคนนอกอื่นๆ อย่างรัสเซีย บราซิล ชาติในตะวันออกกลาง และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ด้วย

ในวันที่ 27 ตุลาคม ประธานาธิบดี Nicolas Sarkozy แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าภาพการประชุม G-20 ที่เมืองคานส์ ลงทุนโทรศัพท์ถึงประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีนด้วยตนเอง เพื่อขอให้จีนสนับสนุนกองทุนกู้วิกฤติหนี้ Sarkozy เปิดเผยหลังการโทรศัพท์ว่า ถ้าหากว่าจีนซึ่งมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศร้อยละ 60 ของโลก ตัดสินใจเลือกลงทุนในเงินยูโรแทนเงินดอลลาร์สหรัฐ แล้วทำไมยุโรปจะต้องปฏิเสธ และยุโรปควรยอมรับว่าเป็นเพราะจีนเชื่อมั่นในกลุ่มยูโรโซน จึงวางใจที่จะฝากเงินสดไว้ในกองทุนหรือในธนาคารของยุโรป

จีนสามารถจะกันเงินสัก 100,000 ล้านยูโร (140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ได้อย่างสบายๆ เพื่ออุ้มยุโรป แต่คำถามคือ ทำไมจีนจึงต้องทำเช่นนั้น ทำไมจีนจึงจะต้องการลงทุนในกลุ่มประเทศ ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำอย่างกลุ่มยูโรโซนด้วย แม้แต่ตัวกองทุนกู้วิกฤติหนี้ยุโรปเอง ก็ยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ ก่อนหน้านี้ ยังมีเรื่องที่กรีซประกาศจะจัดการลงประชามติ เพื่อให้ชาวกรีซเป็นผู้เลือกเองว่า จะยังใช้เงินยูโรต่อไปหรือไม่ (ภายหลังกรีซได้ยกเลิก ความคิดนี้) ซึ่งยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอนและความเสี่ยงในยูโรโซนมากยิ่งขึ้น แม้แต่สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนยังเตือนยุโรปว่า ไม่ควรเห็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (ซึ่งรวมถึงจีน) เป็นองค์การกุศล

จีนมีเหตุผลหลายอย่างที่จะเทเงินสดๆ ของตัวเอง ลงไปในกองทุนกอบกู้วิกฤติยุโรป หรือโครงการซื้อพันธบัตรอื่นใดของยุโรป ประการแรก จีนเกี่ยวข้องกับยุโรปอย่างมาก เพราะ 1 ใน 4 ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของจีนอยู่ในรูปเงินยูโร และจีนเป็นผู้ซื้อพันธบัตรของกองทุนกู้วิกฤติหนี้ยุโรปอยู่แล้วในอดีต โดยในปีที่แล้ว จีนประกาศจะซื้อพันธบัตรยุโรปหลายครั้ง ทั้งในระดับทวิภาคีกับประเทศยุโรปที่มีปัญหาวิกฤติหนี้สาธารณะโดยตรง อย่างเช่นโปรตุเกส กรีซและฮังการี และในระดับยูโรโซน

ประการต่อมา จีนมีผลประโยชน์โดยตรงที่จะต้องช่วยอุ้มยุโรป เพราะยุโรปเป็นคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 363,000 ล้านยูโร (503,000 ล้านดอลลาร์) หรือเกือบ 10% ของมูลค่าการค้าโลก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนขึ้นอยู่กับผู้บริโภค ชาวยุโรป ซึ่งมีรายได้ต่อ GDP โดยเฉลี่ย 32,500 ดอลลาร์ เทียบกับจีนที่ 4,500 ดอลลาร์ หากปล่อยให้เงินยูโรอ่อนค่าลง สินค้าส่งออก ของจีนจะแพงขึ้นสำหรับชาวยุโรป นอกจากนี้การรักษาเงินยูโรไว้ในฐานะสกุล เงินที่เป็นทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศ ช่วยให้จีนสามารถคานอำนาจของเงินดอลลาร์สหรัฐและสร้างระบบเศรษฐกิจโลกที่มีขั้วอำนาจหลายขั้วได้

ประโยชน์ที่สำคัญที่สุดที่จีนต้องการคือ การช่วยอุ้มยุโรปจะเปิดโอกาสอันดีให้แก่จีน ในการทำให้ยุโรปต้องยอมอ่อนข้อต่อจีนทั้งด้านเศรษฐกิจและการเมือง ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี Wen Jiabao ของจีน เรียกร้องให้ยุโรป “จัดบ้านตัวเองให้เรียบร้อย” ซึ่งเกือบจะมีนัยเป็นการตั้งเงื่อนไขให้ยุโรปต้องทำ ก่อนที่จีนจะยอม “ยื่นมือเข้าช่วย”

หากมองในแง่การค้า คำเรียกร้องที่เป็นเสมือนการตั้งเงื่อนไขดังกล่าวนั้น อาจมีนัยถึงการที่ยุโรปจะต้องยอมรับจีน ให้มีสถานภาพเป็นประเทศที่มี “เศรษฐกิจระบบตลาด” โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับมาตรการลงโทษทางการค้ามากมายที่ยุโรปลงโทษจีนอยู่ การยอมรับสถานภาพจีนเป็นเศรษฐกิจระบบตลาด จะช่วยส่งเสริมการส่งออกของจีน ขณะนี้เจออุปสรรคด้านภาษีศุลกากรของยุโรปอยู่ โดย E.U.มีมาตรการต่อต้านการทุ่มตลาดต่อสินค้าจีนประมาณ 55 มาตรการ ส่วนชาติยุโรปแต่ละชาติก็อาจถูกจีนกดดันให้ผ่อนคลายจุดยืนการสนับสนุนการออกมาตรการลงโทษจีนในอนาคต

นอกจากนี้ยุโรปอาจต้องยอมปล่อยให้ปัญหาการค้าระหว่าง จีนกับยุโรปที่ยังคาราคาซังอยู่หลายอย่างต้องตกไป แม้จะต้องเสี่ยงกับความไม่พอใจของผู้ส่งออกของยุโรปเองก็ตาม ซึ่งมักจะบ่นว่าเกี่ยวกับการที่จีนควบคุมความเป็นเจ้าของของต่างชาติ เงินอุดหนุนที่จีนสงวนไว้สำหรับบริษัทจีนโดยเฉพาะ การกีดกันต่างชาติไม่ให้เข้าถึงตลาดจัดซื้อของภาครัฐ และการบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาแบบเลือกปฏิบัติ

ปัญหาทางการค้าเหล่านี้ถูกหยิบยกขึ้นมาให้เห็นชัดเจนเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว (2011) ในรายงานชื่อ “The Scramble for Europe” ของ European Council on Foreign Relations ซึ่งเตือนเกี่ยวกับการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในยุโรปว่า จะทำให้จีน เป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” ในเกม การค้าระหว่างยุโรปกับจีน โดยเตือนว่า หากจีนเข้ามามีบทบาทมากเกินไปในด้าน การเงิน การลงทุนและประเด็นระดับประเทศต่างๆ ในยุโรป จะทำให้ยุโรปมีอำนาจต่อรองน้อยลงในการพยายามจะเปิดตลาดจีนในภาคธุรกิจเดียวกัน ซึ่งยังคงปิดต่อต่างชาติและถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลจีน

นัยทางการเมืองที่แฝงอยู่ในคำพูดของ Wen ยิ่งน่ายุ่งยาก ใจมากกว่า ยุโรปเห็นว่า เป็นสิทธิ์ กระทั่งเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องตำหนิจีนในประเด็นอย่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ต่อไปยุโรปอาจต้องยอมยกเลิกการห้ามขาย อาวุธให้แก่จีน มาตรการลงโทษที่ยุโรปใช้มาตั้งแต่หลังเหตุการณ์นองเลือดที่จตุรัสเทียนอันเหมินเมื่อปี 1989 หรือไม่ก็องค์ทะไล ลามะคงจะได้รับคำเชิญเยือนยุโรปน้อยลง ถ้าหากว่าจีนไม่ได้รับการอ่อนข้อจากยุโรปอย่างเป็นทางการหรือเปิดเผยจริงๆ แต่อย่างน้อยๆ จีนก็จะต้องได้สิ่งตอบแทนจากยุโรปจากการอุ้มยุโรป ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง หลังจากหลายปีที่จีนเห็นว่ายุโรปมักชอบแทรกแซงเรื่องของจีนอยู่เสมอ อย่างเช่นการเรียกร้องให้ยุโรปเลิก “ยื่นจมูก” เข้าไปในการเมืองภายในของจีน

ในการประชุมที่เมืองคานส์เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดี Hu Jintao ของจีน อาจเลี่ยงการให้สัญญาเป็นมั่นเป็นเหมาะในการลงทุนในกองทุนกอบกู้วิกฤติหนี้ยุโรป แม้จะถูกป้อยอจากผู้นำยุโรปมากเพียงใด

อย่างไรก็ตาม Hu รู้ดีว่า ในขณะที่จีนกำลังแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ บนเวทีโลก ความเสี่ยงในการลงทุนในกองทุนกอบกู้ยุโรป ถือเป็นเพียงราคาเล็กน้อยที่ต้องจ่ายเท่านั้น และคุ้มค่าเมื่อเทียบกับสิ่งที่จีนจะได้รับตอบแทนกลับคืนจากยุโรป

แปล/เรียบเรียง เสาวนีย์ พิสิฐานุสรณ์
เรื่อง นิตยสารไทม์   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us