ในความเป็นรัฐวิสาหกิจที่เก่าแก่ทรุดโทรมของธนาคารกรุงไทยร่วมสองทศวรรษ ทีผ่านมา
นั้น ยังปรากฏมีแสงริบหรี่ของคนทีมีจิตใจและการทำงานแบบเอกชนอยู่ด้วยในมุมหนึ่งของแบงก์
ซึ่งวันนี้มันได้กลายเป็นไฟติดเชื้อที่กำลังจะลุกโชติช่วงท้าทายการพิสูจน์อย่างยิ่ง
เขาคนนั้น คือ " สหัส ตรีทิพยบุตร" ผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์และรักษาการผู้จัดการฝ่ายบัตรเครดิตกรุงไทย
ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่ สหัส ได้ชื่อว่า ผู้บุกเบิกงาน คอมพิวเตอร์ ของธนาคารกรุงไทย
มาตั้งแต่ยุคแรก เริ่มจนถึงวันนี้ ซึ่งล่าสุดเป็นเจ้าของโครงการบริการบัตรเครดิตกรุงไทย
ที่คู่แข่งในวงการกำลังจับตามองอยู่อย่างไม่กระพริบในปัจจุบัน
สหัส เป็นคนจังหวัดพิษณุโลก พอเรียบจบชั้นมัธยมจากโรงเรียนประจำจังหวัดก็เข้ามาเรียนต่อคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
จุฬาลวกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกสถิติ ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนต่อปริญญาโทสาขาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
ที่มหาวิทยาลัยซิราคิวส์ สหรัฐอเมริกา( computer information sciences, s.y
raucuse university new york)
ในยุคที่นักคอมพิวเตอร์เมืองไทยขาดแคลนชนิดที่เรียกว่าคนไทยยังไม่รู้ด้วยซ้ำ
ว่ามีอาชีพประเภทนี้อยู่ในโลก เขาเริ่มทำงานตามที่ได้ร่ำเรียนมา โดยเข้าเป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาและอบรมคอมพิวเตอร์
ศูนย์ประมวลผลด้วยเครื่องจักรแห่งประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันของราชการซึ่งเป็นแหล่งป้อนนักคอมพิวเตอร์ให้ธุกริจเอกชนหลายแห่งในในเวลาต่อมา
หน้าที่ของเขาก็คือ เป็นที่ปรึกษาด้านการวาแผนและอบรมใช้คอมพิวเตอร์ให้แก่หน่วยงานราชการ
และรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงธนาคารกรุงไทยที่เขาตัดสินใจเข้ามาเป็นผู้บุกเบิกระบบคอมพิวเตอร์ในเวลาต่อมาด้วย
สหัส ตัดสินใจย้ายงานจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ มาทำงานเป็นลูกจ้าง
ธนาคารกรุงไทย เมื่อ 10 กว่าปี ก่อนด้วยเหตุว่าสมัยเขาเป็นที่ปรึกษาในฐานะเจ้าหน้าที่ของสำหนักงานสถิติแห่งชาตินั้น
ธนาคากรุงไทยยังไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้เลย เครื่องมือที่ดีที่สุดก็มีแต่เพียงเครื่องจักรลงบัญชี
ในขณะที่ความจำเป็นในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้กับงานธนาคารนั้นนับวันมีสูงขึ้น
เมื่อถูกทาบทามก็เลยตัดสินใจทันที
" สิ่งที่ทันสมัยที่ดีที่สุด ในตอนนั้น ก็คือเครื่องจักรลงบัญชี คุณคิดดูว่ามันล้าสมัยขนาดไหน
และถ้าไม่มีนักคอมพิวเตอร์สักคนสนใจ บุกเบิกงานทางด้านนี้ เพราะเห็นว่าเงินเดือนมันน้อย
แล้วใครจะทำ มันท้าทายผมมาก และผมเองก็ยังไม่มีความคิดที่จะทำงานให้หน่วยงานเอกชน
เพราะราชการยังไม่มีใครที่จะพัฒนามันอย่างจริงจัง" สหัส ตรีทิพยบุตร
กล่าวถึงการตัดสินใจเข้าร่วมงานกับกรุงไทยครั้งแรก
เขาเริ่มงานที่ธนาคารกรุงไทย ในตำแหน่งหัวหน้าศูนย์คอมพิวเตอร์ของธนาคาร
ซึ่ง
ศูนย์นี้เป็นศูนย์ที่เขาตั้งขึ้นมาด้วยมือของเขาเอง เริ่มต้ำแต่การทำรายละเอียดเกี่ยวกับการตั้งศูนย์
การหาคนมาร่วมงานทั้งการสรรหาในธนาคารเองและจากข้างนอก ไปจนถึงแผนและเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของธนาคารในอนาคต
" เราเริ่มนำเครื่อง micro computer เข้ามาปรับปรุงใชั้กับธุกริจ
ธนาคารอย่างจริงจัง ก่อนที่จะสร้าง electronic banking ขึ้นมาใช้จนถึง ATM
เป็นงานส่าสุดในแง่ของการบริการ จากนั้นเราได้พัฒนาข้อมูลจากระบบที่เราสร้างขึ้นมาเป็น
MIS สำหรับนักบริหารตอนนี้กล่าวได้ว่า เราก็เป็นแบง์ที่มีระบบการใช้คอมพิวเตอร์สารสนเทศที่ใหญ่แบงก์หนึ่งเหมือนกัน"
อดีตหัวหน้า ศูนย์คอมพิวเตอร์พูดถึงภารกิจที่ได้ทำให้แบง
ก์ตั้งแต่เริ่มต้นมาจนได้ยกฐานะขึ้นเป็นสำนักคอมพิวเตอร์และเป็นฝ่ายในปัจจุบัน
ซึ่งก็มีผลทำให้ฐานะทางตำแหน่งของเขาถูกยกขึ้นมาตามงานนั้น ด้วยเช่นนกัน
ปัญหาและอุปสรรค ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของธนาคารกรุงไทย ในการพัฒนาด้านต่างๆ
ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ โดยเฉพาะช่วงก่อนที่ธนาคารกรุงไทยจะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
เมื่ปลายปีที่ผ่านมา ก็คือ เรื่องขั้นตอนเกี่ยวกับระบบระเบียบ ความคิดในเชิงบริหารการจัการของคนในธนาคาร
รวมไปถึงปัญหาพนักงานและโครงสร้างรายได้ของพนักงาน
ส่วนที่กระทบกับงานพัฒนาคอมพิวเตอร์โดยตรงนั้ ก็คือเรื่องงบประมาณซึ่งจะต้องใช้ไม่น้อย
และเรื่องคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่จะดึงเข้ามาร่วมงานซึ่งค่าตัวแพง
มีการแย่งชิงตัวกันมาก และต้องเป็นคนที่ทุ่มเทกับงานอย่างมาก เพราะว่าทั้งหมดนั้นเป็นงานบุกเบิกทั้งสิ้น
" ก็เป็นปัญหาสำหรับเราอย่างมาก แต่เราทำมาได้ตามเงื่อนไขที่มีอยู่
ซึ่งอาจจะทำให้ช้ากว่าแบงก์อื่น ๆ แต่ถ้าจะวัดกันด้วยฝีมือแล้ว ผมกล้าพูดได้ว่าเราไม่แพ้ใคร
งบประมาณเราก็มีอยู่แค่นี้ เรื่องของคนของเราผมก็ยอมรับว่ามีการเข้า ๆ ออกๆ
แต่ตัวหลัะกของเรายังอยู่ ทำงานหนักกว่าเขา หน่อย งานเราก็เดินไปได้"
สหัส กล่าวถึงวิธีการทำงานที่เรียกว่า ได้รับความสำเร็จพอสมควรในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแห่งนี้
ตัวหลักที่สหัส พูดกันนั้น ก็คือตัวเขาเองกับรองผู้จัดการฝ่าย อีกสองคน
คือวราวุธ เครือสินธุ ปริญญาโททางด้านคอมพิวเตอร์จากสหรัฐอเมริกา เพื่อนที่ดึงมาจากสำนักงานสถิตแห่งชาติ
กับ สุวารี เสือสง่า เพื่อรุ่นน้องอีกคนที่เขาดึงมาจากสำนักงาน สถิติแห่งชาติ
กับ สุวารี เสือสง่า เพื่อรุ่นน้องอีกคน ที่เขาดึงมาจากสำนักงานสถติแห่งชาติเช่นกัน
ซึ่งสวารี เป็นเศรษฐศาสตร์บัณฑิตที่หันเอาดีทางด้านคอมพิวเตอร์และอยู่กับแบงก์กรุงไทยยาวนานตั้งแต่ยุคบุกเบิกเช่นกัน
เมื่ปลายปีที่ผ่านมา พร้อม ๆ กับการยื่นเรื่องราวเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ในประเทศไทย ของธนาคารกรุงไทย ทีประชุมคณะกรรมการธนาคารเห็นชอบ
ที่จะให้ธนาคารกรุงไทยออกบัตรเครดิตมาบิรการปรชาชนทั้งนี้สถานการร์การแข่งขันของระบบแบงก์บีบบังคับให้กรุงไทยจำเป็นต้องปรับตัวอย่างมาก
ซึ่งถ้าพิารณาจากขนาดและเครือข่ายของกรุงไทยแล้ว ก็สมคววรจะมีบริการนี้ออกมาตั้งนานแล้ว
คนในกรุงไทยที่มีคุณสมบัติ พอที่จะทำเรื่องนี้ก็คือ สหัส ตรีทิพยบุตร นั่นเอง
เพราะเหตุว่างานส่วยใหญ่ของบริการบัตรเครดิตนั้นเป็นงานเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
เขาเพียงแต่ติดอาวุธทางการตลาดเข้าไปเท่านั้น ก็สามารถเดินไปอย่างราบรื่น
เขาจึงได้รับมอบหมายให้ศึกษาและทำโครงการนี้ขึ้นมา
สหัส กล่าวว่า เขาใช้เวลาในการศึกษาและทำโครงการเพียงสามเดือนเท่านั้น
เพราะเป็นการพัฒนาระบบต่อจากคอมพิวเตอร์ที่เขาทำได้แล้ว ส่วนทางด้านการตลาดนั้นเขามีความมั่นใจว่า
เขามีประสบการณ์เพียงอจากากรทำ ATM ขอ
งบธนาคารที่เกิดขึ้นทีหลัง เพื่อนเช่นกัน ซึ่งในวันนี้เขายืนยันว่า บัตรATM
ของธนาคารซึ่งเกิดขึ้นทีหลังเช่นกัน ซึ่งในวันนี้เขายืนยันว่า บัตร ATM ของกรุงไทยมีคนถือมากทึ่สุดแห่งหนึ่งในประเทศทย
มีเครือข่ายและตู้กระจายอยู่ทั่วประเทศมากที่สุด
" คุณก็รู้ว่า เรืองขนาดและเครือข่ายของเรานั้นใหญ่โตขนาดไหน สองปีมานี่เราเปิดสาขาเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า
ปีล ะ30 แห่ง ตู้ ATM ที่เปิดให้บริการเป็นจุด ๆ ตามสถานที่ราชการต่าง ๆ
นั้เราทำได้มากกว่าเพราะหน่วยงานราชการทั้งหลายนั้น ล้วนแต่เป็นลูกค้าของเราทั้งในนามของน่วยงานและรายบุคคล
ข้าราชการทุกคนเวลานี้จ่ายเงินเดือนฝ่าน ATM ของธนาคารทั้งสิ้น และล่าสุด
นี้เราก็ได้สาขาจากากรวมธนาคารสยามเข้ามาอีก ถึง 30 แห่ง เพราะฉะนั้น เรื่องอย่างนี้เราได้เปรียบอยู่แล้ว"
สหัส กล่าวถึงความเป็นใหญ่ของธนาคารของกรุงไทย
เขาเสนอโครงการและแผนงานเกี่ยวกับการออกบัตรเครดิตกรุงไทยขึ้นไปพรอ้มกัน
สิ่งที่ " ผู้จัดการ" มองเป็นว่า จะเป็นย่างก้าวที่สำคัญของธนาคารกรุงไทย
นั้นไม่ใช่การมีบริการบัตรเครดิตออกมาให้บริการแก่ลูกค้าตามแบบที่ธนาคารอื่น
ๆ เขาล้วนมีกันแล้ว
แต่เรากลับมองเห็นถึงการยอมรับในหลัการทำงานและการบบิหารที่เป็นแบบมืออาชีพมากขึ้น
ของผู้บริหารระดับสูง ในธนาคารกรุงไทย นั้นเป็นเรื่องที่น่าจับตามองมากว่า
ว่ากันที่จริงมันควรจะเป็นแบบนี้มานานแล้ว นั่นก็คือ ว่าคณะกรรมการของธนาคารให้ความเห็นชอบโครงการและแผนงานตามที่สหัสเสนอ
ซึ่งหัวใจที่สำคัญนั้นคือให้ตั้งฝ่ายงานด้านบัตรเครดิตนี้ขึ้นมาเป็นฝ่ายใหม่
และดึงงาน ATM ซึ่งเดิมอยู่กับฝ่ายคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน ให้ชื่อว่าผ่ายบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม
มีผู้บังคับบัญชาสูงสุดเป็นผู้จัดการฝ่าย โดยให้สหัส ตรีทิพยบุตร รักษาการผู้จัดการฝ่ายนี้ในขณะที่เขาตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายคอมพิวเตอร์อยู่ด้วยอีกตำแหน่ง
ดึงเอา ปรัชญา ธัญญสิริ นิติศาสตร์บัญฑิต ที่หันเอาดีทางด้านงานส่งเสริมพัฒนาธุรกิจธนาคารจนมาเป็นรองผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมพัฒนาธุกริจของกรุงไทย
เป็นตำแหน่งล่าสุด มาเป็นรองผู้จัดการฝ่ายบัตรเครดิตที่ตั้งขึ้นมาใหม่ ได้รับมอบหมายให้ดูแลทางด้านการตลาด
พร้อมกันนั้น ก็เอา ชุติมา ศุภพิพัฒน์ นักสถติจากจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับปริญญาโท
ด้านการบริหารจากมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จากตำแหน่งรองผู้จัดการฝ่ายการธนาคารในประเทศมาเป็นรองผู้จัดการฝ่ายที่ตั้งขึ้นใหม่อีกคน
ก่อนหน้านี้ การตั้งฝ่ายขึ้นมาสักฝ่าย ในธนาคารกรุงไทย ไม่ใช่เรื่องง่าย
ๆ แม้แต่การปรับเปลี่ยนยกฐานะฝ่ายต่าง ๆ ขึ้นมานั้น ก็เป็นเรื่องที่ยากยิ่ง
เพราะฉะนั้นการให้ความเห็นชอบให้ตั้งฝ่ายบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม ขึ้นมาโดยใช้เวลาในการพิจารณา
อันรวดเร็วเช่นนี้ถือว่า เป็นย่างก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของธนาคารกรุงไทยทีเดียว
" ผมว่าผู้ใหญ่ในบอร์ดรูม เริ่มมีแนวความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปมากนั่นและการหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง น่าจะเป็นเพราะผลงานของคุณสหัส ที่ผ่านมา เป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
จึงทำให้ผู้ใหญ่ไว้ใจ และเห็นด้วยในทันทีก็ว่าได้" แหล่งข่าวในธนาคารกรุงไทย
ให้ข้อสังเกตุ
ที่น่าพิจารณาในความสอดคล้องที่ " ผู้จัดการ" มองเห็นก็คือฝ่ายบัตรเครดิตและเทีเอ็ม
ที่ตั้งขึ้นมาใหม่ นี้เป็นฝ่ายที่เรียกได้ว่ามีอิสระมากที่สุดกว่าทุก ๆ ฝ่าย
ก็ว่าได้ เพราะผู้บริหารระดับสูงเพียงแต่ให้ความเห็นชอบในโครงการและแผนงานแล้วก็ปล่อยให้ทำงานกันอย่างอิสระ
ทั้งในด้านการใช้งบประมาณและวิธีการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายต่าง ๆ เพียงแต่รายงานให้กรรมการผู้จัดการใหญ่ทราบเท่านั้น
ก็พอ ไม่มีคณะกรรมการหรืออนุกรรมการใดมาพิจารณาซ้ำอีก
" อย่างกรณีการลดแลกแจกแถม ก่อหน้านี้ จะทำทีต้องขออนุมัติกันหลายขั้นตอน
แต่ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตในช่สวงโปรโมทนี่ลดได้เลยครึ่งหนึ่ง เขาทำได้เร็วมาก"
แหล่งข่าวในธาคารกรุงไทยคนหนึ่งกล่าวตัวอย่าง
งานโฆษณาประชาสัมพันธ์ และการตลาดหรือที่เรียกว่า งานส่ง
เสริมธุกริจตองธนาคารด้านอื่น ๆ น้นจะต้องชึ้นกับฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและสำนักประชาสัมพันธ์
แต่ตามแผนงานที่สหัสได้รับคววามเห็นชอบนั้น ปรากฏว่าให้ฝ่ายบัตรเครดิตและเอทีเอ็ม
เป็นผู้ดำเนินการเองบทั้งสิ้น ซึ่งทำให้งานเดินเร็วออกมาได้อย่างรวดเร็ว
และสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทุกขั้นตอนของการนำสินค้าออกสู่ตลาด
เริ่มตั้งแต่การออกแบบบัตรเครดิต ซึ่งเป็นรูปพระอาทิตย์ทรงรถ ซึ่งต้องจ้างจักรพันธ์
โปษยกฤต ด้วยเงินเป็นหลักแสนบาท ขึ้นไปนั้น สหัสร่วมกับทีมงานเป็นคนคิดและดำเนินการด้วยตัวเอง
โดยไม่ผ่านหลายขั้นตอน เหมือนที่ผ่านมา ทำให้งานมันเร็วขึ้นอย่างมาก รวมทั้งการจ้างบริษัท
บิก คอมมิวนิเคชั่น เป็นตัวแทนดำเนินการด้านโฆษณาในงบประมาณกว่า 10 ล้านบาทเช่นกัน
ทั้ง ๆ ที่ผู้จัดการสาขาของธนาคารกรุงไทย บางสาขา ยังไม่มี
อำนาจที่จะอนุมัติสินเชือ่ได้ถึงแสนบาท แต่โครงการบริการบัตรเครดิตกรุงไทย
ต้องอนุมัติวงเงินซึ่งเปรียบเสมือนสินเชื่ออย่างหนึ่ง นั้น ผู้จัดการสาขาสามารถทำได้ถึง
200,000 บาท ในโครงการของสหัส ที่มอบหมายให้สาขาเป็นเอเยนต์บัตรเครดิต
โดยผู้จัดการสาขามีสทธิอนุมัติวงเงินได้ถึง 200,000 บาท และให้ถือว่า เป็นผลงานและรายได้
ของสาขาเหมือนกับรายได้ดอกเบี้ยด้านอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดความพอใจในระดับผู้บริหารสาขาและเกิดความคล่องตัวจึ้นมาทันทีในการทำงาน
แทนที่จะให้เป็นเพียงงานฝากและส่งมาอนุมัติที่สำนักงานใหญ่ ๆ เหมือนงานอื่น
นี่ถือเป็นภาพใหม่ที่กำลังเปรียบเสมือนไฟได้เชื้อซึ่งกำลังลุกโชติช่วงเพื่อให้พิสูจน์ว่าการเสนอรูปแบบการทำงาน
ที่เน้นความคล่องตัวแบบเอกชน มกาขึ้น นั้นจะประสบความสำเร็จแค่ไหน เป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่งทั้งต่อธนาคารกรุงไทยและตัวสหัส
ตรีทิพยบุตร เอง
การแย่งชิงตัวนักบริหาร คอมพิวเตอร์ ในวงการธุรกิจนับวันจะเข้มข้นขึ้นทุกวัน
เรียกว่ามีการประมูลตัวกันตั้งแต่หลักแสนขึ้นไป ในขณะที่ระดับฝ่ายของธนาคารกรุงไทยกินเงินเดือนเพียงสองหมื่นกว่าบาท
แต่สหัสก็ภูมิใจทีเขาได้ทำงานที่ท้าทายอย่างเช่นปัจจุบัน ที่กรุงไทย และที่เขาภูมิใจมากที่สุดคือทำงานให้หน่วยงานของรัฐบาล
ซึ่งเป็นงานในอุดมการณ์ของเขามาตั้งแต่เรียนหนังสือจบมาแล้ว
" ตอนนี้ชีวิตผมไม่ได้ร่ำรวย แต่ก็ไม่อยู่ในขั้นตอนดิ้นรนอะไรมากมาย
ปัยหาที่ผมมองเห็นและเป็นห่วงอยู่ตลอดเวลาก็คือถ้างานของภาคราชการไม่พัฒนาได้ดีกว่าแล้ว
งานด้านเอกชนจะพัฒนได้ดีกว่าอย่างไร เพราะเบสิกจริง ๆ เอกชนยังต้องพึ่งพารัฐบาลอยู่มาก
ผมอยากให้ระรบบคอมพิวเตอร์ของรับบาล เป็นผู้นำ ซึ่งตอนนี้เราทำไม่ได้ อุปสรรคปัญหาต่าง
ๆ มันถึงเกิดแก่เอกชนมาก ซึ่งไม่ใช่เฉพาะธนาคารกรุงไทยเท่านั้น หมายถึงหน่วยงานอื่น
ๆ ที่จำเป็นต้องรองรับการพัฒนาของประเทศต่อไป สหัส กล่าวด่วยสีหน้าจริงจังขึ้นมาทันที
ปีนี้สหัสอายุเพียง 44 ปี เขายังเหลือเวลาทำงานอีกมาก ไม่ว่าเขาอยู่กรุงไทยหรือไม่
สิ่งหนึ่งที่เป็นปรากฏการณ์สำคัญของคนในอาชีพมนุษย์คอมพิวเตอร์ อย่างเขาก็คือเก้าอี้ผู้บิรหารระดับสูงในองค์กรธุกริจต่าง
ๆ ปัจจุบันเริ่มจะถูกแทรกด้วยคนพวกนี้ มากึ้นเรื่อย ๆ และเชื่อว่าคงไม่ยกเว้นสำหรับสหัส
ในธนาคารกรุงไทยในอนาคตด้วย
เพราะนอกจากงาน ที่ชื่นชอบท้าทาย เงินที่ใช้เพียงพอแล้ว สิ่งหนึ่งที่มีคนกล่าวว่าติดตัวสหัสเหมือนกับทุกคนก็คือ
เกียรติ ศักดิ์ศรีและมันได้สะท้อนความเป็นตัวเขาออกได้ดีที่สุด แล้วในรูปบนบัตรเครดิตบนธนาคารกรุงไทยพระอาทิตย์ทรงรถ
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ของธนาคารใหญ่ ๆ กำลังจะเริ่มเปลี่ยนจากนักเศรษฐศาสตร์หรือนักบัญชี
มาเป็นนักคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเรื่อย ๆ ประธานใหญ่ซิตี้แบงก์คนปัจจุบัน จอห์น
ริดนั้น ก็มาจากสายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นหัวใจของธุกริจสินเชื่อส่วนบุคคล และบริการทางการเงินเพื่อการบริโภคจนสามารถทำกำไรมหาศาล
สำหรับในเมืองไทยเรา กำลังได้เห็นคนอย่าง บรรณวิทย์ บุญญรัตน์ แห่งธนาคารไทยพาณิชย์
ก้าวขึ้นมาจากหัวหน้า ศูนย์คอมพิวเตอร์ จนเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่
และกล่าวกันว่าเขายังมีเวลาอีกมากที่จะก้าวขึ้นไปอีก
ธีระ อภัยวงศ์ ก็ขึ้นมาตามเส้นทางเดียวกับบรรณวิทย์ ก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ของแบงก์กรุงเทพเช่นกัน
ย้อนกลับมาที่ธนาคารกรุงไทยจะเป็นว่า งานหลายฝ่ายในธนาคารล้วนแล้วแต่เป็นงานที่คอมพิวเตอร์จะเข้ามีบทบาทด้วยทั้งสิ้น
ซึ่งนอกจากฝ่ายคอมพิวเตอร์ บัตรเครดิต เอทีเอ็ม โดยตรงแล้ว ก็มีงบระมาณ วิชาการ
การธนาคาร ต่างประเทศ การพนักงาน สำนักกรรมการผู้จัดการและอีกมากมาย มีคนกล่าวว่าถ้าระบบคอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทเต็มที่ตามที่มันควรจะเป็นแล้วศักยภาพของฝ่ายงานนั้น
ๆ จะเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 20% ทีเดียว