Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2528








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2528
กาญจน์ คูนซ์ นักการเกษตรที่กลายมาเป็นนักคอมพิวเตอร์             
 


   
search resources

KARL M KUNZ




กรรมการผู้จัดการของแอ็คชั่น คอมพิวเตอร์คนนี้เป็นอเมริกัน ชื่อจริง ๆ คือ KARL M KUNZ แต่คงเป็นเพราะอยู่เมืองไทยมานาน พูดภาษาไทยได้คล่องแคล่ว ใคร ๆ ก็เลยมักจะเรียกเขาในชื่อ "กาญจน์" มากกว่าที่จะต้องเรียกกันว่า "มิสเตอร์คูนซ์" อย่างที่ใช้เรียกชาวต่างชาติจากซีกโลกด้านตะวันตกทั่ว ๆ ไป

กาญจน์ ปัจจุบันอายุ 39 ปี เกิดและเรียนหนังสือจนจบปริญญาตรีด้านปรัชญาที่วอชิงตัน ดี.ซี. เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อปี 2512 ในฐานะอาสาสมัครหน่วยสันติภาพ (PEACE CORPS VOLUNTEER) โดยทำหน้าที่เป็นพัฒนากรสังกัดกรมพัฒนาชุมชนอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ดินแดนภาคอีสานของไทย

"ตอนสมัครเป็นอาสาสมัครนั้นก็มีให้เลือกสอนภาษาอังกฤษ 2 แห่ง คือที่ตุรกีกับเกาะฟิจิ แล้วก็มีส่งเสริมการเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูในประเทศไทย ผมไม่อยากสอนภาษาอังกฤษ มันน่าเบื่อ ไม่มีอะไรแปลกใหม่ ก็เลยเลือกมาที่ประเทศไทยซึ่งตอนนั้นยังไม่ทราบเลยว่าประเทศไทยเป็นอย่างไร ต้องไปค้นหนังสืออ่านจากห้องสมุด ก็รู้คร่าว ๆ ว่ามีช้าง มีในหลวง..." กาญจน์เล่ากับ "ผู้จัดการ"

กาญจน์เข้ารับอบรมที่ฮาวาย 3 เดือนเพื่อเรียนภาษาไทยและเรียนการเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ควบคู่ไปด้วย จากนั้นก็ถูกส่งตัวมาประจำที่ห้องพัฒนากรในศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์ มีรถประจำตำแหน่งเป็นมอเตอร์ไซค์ 1 คัน เอาไว้ตระเวนพบปะชาวบ้าน ซึ่งดูเหมือนรถคันนี้จะถูกใช้คุ้มมาก

"มันกำลังมีไฟ 2 ปีที่เป็นพัฒนากรอยู่บุรีรัมย์ผมมีผลงานหลายอย่าง ไม่ได้อวดนะ ตอนนั้นยังหนุ่มอายุเพิ่ง 23-24 ก็สร้างโรงเรียน 13 แห่ง นำไก่พันธุ์เนื้อเข้ามาส่งเสริมในภาคอีสานเป็นครั้งแรก ซึ่งนอกจากจะต้องคอยแนะนำให้ชาวบ้านรู้จักการเลี้ยงแล้วก็ต้องแนะนำร้านอาหารให้รู้จักทำข้าวมันไก่ด้วย เพราะคนยังไม่รู้จัก ช่วงนั้นเหนื่อยมากแต่ก็สนุก เพราะได้ทำงานที่ใจชอบมาก" กาญจน์เล่าอีกตอนหนึ่ง

หมดวาระการทำหน้าที่เป็นพัฒนากรส่งเสริมการเลี้ยงหมูเลี้ยงไก่ในภาคอีสาน กาญจน์เดินทางกลับบ้านที่สหรัฐฯ และได้เข้าเรียนต่อปริญญาโทด้านการเกษตรที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในแคลิฟอร์เนีย "เพราะใจมันรักงานเกษตรเข้าแล้วตอนนั้น" เขาให้เหตุผล

อีกปีกว่า ๆ ต่อมาก็ตัดสินใจมาหาประสบการณ์อีกครั้งในเมืองไทย

คราวนี้กาญจน์เริ่มต้นด้วยการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการไร่ให้กับบริษัทเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งเป็นโครงการนำเมล็ดพันธุ์ผักชนิดใหม่ ๆ มาทดลองปลูกที่แควน้อย จังหวัดกาญจนบุรี

ไม่นานหลังจากนั้นก็ย้ายไปทำหน้าที่เป็นผู้ให้การส่งเสริมการเพาะปลูกพืชไร่ของบริษัทอาหารกระป๋องแห่งหนึ่งที่จังหวัดเชียงใหม่ ก็อยู่ที่นี่ 2 ปี แล้วจึงถูกบริษัท อดัมส์ อินเตอร์เนชั่นแนลดึงตัวมาเป็นผู้จัดการไร่ยาสูบ ที่อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

"อดัมส์ เข้ามาลงทุนทำแปลงสาธิตปลูกยาสูบพันธุ์ เตอร์กิซ มาตั้งเป็น 10 ปีแล้วในเมืองไทย ปลูกแล้วก็ส่งออกไปให้โรงงานยาสูบหลาย ๆ แห่ง ก็ถูกปฏิเสธมาเรื่อย ๆ จนปีที่ 10 ทางโรงงานบุหรี่มัลเบอโร่ เขาก็ตอบกลับมาว่าโอ.เค. เขาจะรับซื้อจำนวนมาก ขอให้ดำเนินการส่งเสริมให้ชาวไร่ปลูกได้ ผมก็ถูกดึงตัวมาทำหน้าที่เป็นผู้ให้การส่งเสริมการปลูกยาสูบทางภาคอีสาน แล้วตอนหลัง ๆ บริษัทอดัมส์ก็เอาพืชอื่น ๆ เข้ามาส่งเสริมด้วย ปัจจุบันเขาส่งออกใบยาสูบไป 26 ประเทศทั่วโลก" กาญจน์พูดถึงบริษัทอดัมส์

กาญจน์ ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการไร่ของอดัมส์ฯ 3 ปี จนเมื่ออดัมส์นำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ ความสนใจของกาญจน์ก็เริ่มพุ่งไปที่เครื่องมือที่เปี่ยมด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวแทนวิชาเกษตรซึ่งพัฒนาไม่ค่อยจะทันใจเหมือนกับคอมพิวเตอร์

"ผมจึงกลับไปเรียนปริญญาโทด้านคอมพิวเตอร์ จบแล้วก็สอนคอมพิวเตอร์อีกพักหนึ่งที่แคลิฟอร์เนีย โปลิเทคนิค ยูนิเวอร์สซิตี้ แล้วจึงกลับมาอยู่เมืองไทยอีกครั้ง"

และคราวนี้กาญจน์เข้ามารับตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทแอ็คชั่น คอมพิวเตอร์ (ประเทศไทย)

"คิดว่าจะอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์ตลอดไปแล้วครับ เพราะมันมีสิ่งใหม่ ๆ ให้ศึกษาอยู่ตลอดเวลา ไม่มีเบื่อ..." กาญจน์กล่าวตบท้ายให้ฟัง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us