|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นโปเลอง (Na-poleon) เป็นผู้นำฝรั่งเศสที่มีสีสันมากที่สุด ดุเดือดเลือดพล่านในการสงคราม สามารถขยายอาณาจักรฝรั่งเศสไปเกือบทั่วยุโรป ทำเอาผู้นำในยุคต่อๆ มาฝันเฟื่องอยากกลับไปรุ่งโรจน์เหมือนในอดีต
ภาพนโปเลองที่ติดตาคือ ชายร่างเตี้ย สวมเสื้อเรอแดงโกต (redingote) สีเทา ด้านหน้าสั้น ด้านหลังยาว กางเกงแนบตัวสีขาว และที่ขาดไม่ได้คือหมวก ซึ่งมีลักษณะที่เรียกว่า bicorne คือมีส่วนโง้งราวกับเขาสองข้าง นโปเลองไม่ต้องการให้เหมือนนายทหารอื่นๆ จึงสั่งทำหมวกดังกล่าว ด้วยผ้าสักหลาดสีดำ มีแถบสีธงชาติ น้ำเงิน ขาว แดง อัดพลีตทำเป็น วงกลม มีแถบริบบิ้นผ้าไหมสีดำอ้อมมาพันและตรึงด้วยกระดุม หมวกนโปเลองผลิตโดย Poupard & Delaunay ในย่าน ปาเลส์ เอกาลิเต (Palais Egalite) ซึ่งคือ ปาเลส์ รัวยาล (Palais Royal) ในปัจจุบัน นั่นเอง แทนที่จะสวมให้ “ปลายเขา” อยู่ข้างหน้าและหลังเหมือนทหารอื่นๆ นโป-เลองสวมขวางเสียนี่ กลายเป็นสัญลักษณ์เฉพาะตัวและมองเห็นได้ง่ายในสนามรบ
ภาพหมวกที่เห็นได้ชัดคือภาพชื่อ Bonaparte au Grand-Saint-Bernard วาดโดยฌาคส์-หลุยส์ ดาวิด (Jacques Louis David) ซึ่งอยู่ที่พระราชวังแวร์ซายส์ (Versailles) นโปเลองสวมแต่หมวกแบบนี้ ตั้งแต่ปี 1803 ภายในหมวกบุด้วยผ้าซาติน เขียนว่า Au temple du gout Poupard MD Chapelier galonnier, Palais Egalite nํ 32 Paris บ่งบอกชื่อผู้ผลิตและที่อยู่ เมื่อสถาปนาจักรวรรดิที่ 1 (1er Empire) Poupard & Delaunay เลิกพิมพ์ยี่ห้อใน หมวกที่ทำให้นโปเลอง
ปูปารด์ (Poupard) เรียกตนเองว่า เป็นช่างทำหมวกและยศทหารของนโป-เลอง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Poupard et Cie และ Poupard & Delaunay ในที่สุดใช้ชื่อร้านว่า Au Temple du Gout
Poupart & Delaunay ทำหมวก ให้นโปเลองปีละ 4 ใบ ซึ่งเรียกว่า cha-peaux franais แต่ละใบใช้งาน 3 ปี นโปเลองจะมีหมวกสำรองไว้ 12 ใบ ตลอดชีวิตใช้หมวกประมาณ 50 ใบ ขนาดหมวกของนโปเลองมีตั้งแต่ 44-46 เซนติเมตร สูง 24-26 เซนติเมตร ขนาดหมวกไม่แน่ นอน ขึ้นอยู่กับว่าสวมในช่วงไหน เพราะนโปเลองขี้หนาว จึงมักสวมหมวกอื่นไว้ข้างใน แล้วจึงสวมหมวก chapeau franais ทับอีกที
หมวกนโปเลองกลายเป็น “ของเก่า” ที่คนที่ชื่นชอบนโป-เลองถามหามากกว่าเสื้อที่ปักอักษร N และมงกุฎจักรพรรดิที่นำออกประมูลที่ปราสาทฟงแตนโบล (Fontainebleau) ในปี 2002 ด้วยราคา 74,277 ยูโร หรือกางเกงชั้นในที่นำออกประมูลที่ดรูโอต์ (Drouot) ด้วยราคา 180,000 ยูโรเสียอีก
ในปี 1969 ในโอกาสชาตกาล 200 ปีของนโปเลอง บริษัทเรือ Compagnie generale transatlantique ได้จัดการประมูลหมวกของนโปเลองบนเรือชื่อ ฟรองซ์ (France) กงต์ เดอ โวกูเอ (Comte de Vogue) เป็นผู้ประมูลได้ในราคา 140,000 ฟรังก์ หมวกใบนี้นำไปแสดงที่สวีเดนในปี 2010 เพื่อรำลึกถึงการขึ้นครองราชย์ของนายพลฝรั่งเศสชื่อ ฌอง-บัปติสต์ แบร์นาดอต (Jean-Baptiste Bernadotte) เมื่อเดือนสิงหาคม 1810
หมวกอีกใบหนึ่งที่มีการประมูลในปี 1975 ที่ดรูโอต์ ตกเป็นของเบน ไวเดอร์ (Ben Weilder) นักธุรกิจชาวเมืองเกเบค (Quebec) พร้อมกับหนังสือที่เจ้าของคนแรกบันทึกไว้ในปี 1812 ช่วงสงคราม กับรัสเซีย “ภรรยาของข้าพเจ้าซึ่งทำงานในแผนกซักรีดในวังของนโปเลอง ได้ไปหานายแจร์เวส์ (Gervais) ผู้ดูแลเสื้อผ้าของจักรพรรดิ เพื่อขอหมวกเก่าๆ มาให้ช่างรีดผ้าพันหูเตารีด เธอได้หมวกมา 2 ใบ ข้าพเจ้าจึงเก็บไว้ใบหนึ่ง” หมวกที่นโปเลอง สวมในสมรภูมิรัสเซียนั้นประเมินราคาไว้ 600,000-800,000 ยูโร ก่อนเบน ไวเดอร์ถึง แก่กรรม เขามอบหมวกใบนี้แก่พิพิธภัณฑ์ วิจิตรศิลป์แห่งมงต์เรอัล (Musee des beaux-arts de Montreal) พร้อมกับสิ่งของอื่นๆ อันเกี่ยวเนื่องกับนโปเลองที่เขาสะสมไว้
ในเดือนพฤศจิกายน 2010 หมวก ใบหนึ่งของนโปเลองจะไปแสดงที่พิพิธ-ภัณฑ์เมืองเซนต์หลุยส์ ในมิสซูรี เป็นหมวกที่นโปเลองมอบให้เป็นรางวัลแก่นายพลมูตง (Mouton) และเป็นหมวกที่นโปเลองสวมในสมรภูมิเอสลิง (Essling) ในปี 1809
พิพิธภัณฑ์ทหารของฝรั่งเศสซึ่งตั้งที่โอเตล เดแซงวาลีดส์ (Hotel des Invalides) มีหมวกนโปเลองในครอบครอง 6 ใบในจำนวน 20 ใบที่เป็นของแท้ หมวกใบแรกนั้นนโปเลองสวมเมื่อครั้งเป็น Premier Consul กงสต็องต์ (Constant) มหาดเล็กของนโปเลองนำออกมาขายให้ ฟรองซัวส์ กีโยต์ (Franois Quillot) ช่างตัดเสื้อที่ฟงแตนโบลในปี 1814 ต่อมาในปี 1928 พันเอกดูร์เตสต์ (Durteste) ประมูลจากดรูโอต์ และมอบให้พิพิธภัณฑ์ทหารในปี 1954
ใบที่สองนั้นนโปเลองสวมในสมรภูมิเอย์โล (Eylau) ได้ให้อองต็วน-ฌอง โกรส์ (Antoine Jean Gros) ไว้สำหรับเขียนรูปที่จะประดับที่ลูฟวร์ (Louvre) หลังจากที่จิตรกรผู้นี้เสียชีวิต ภรรยาม่ายของเขานำไปขายแก่นายแพทย์เดอลาครัวซ์ (Delacroix) ในปี 1835 ในราคา 2,047 ฟรังก์ นายแพทย์ผู้นี้นำไปถวายกษัตริย์หลุยส์-ฟิลิป (Louis-Philippe) เป็นหมวกที่ใส่บนโลงศพของนโปเลอง ในโอกาสที่นำอัฐิของนโปเลองกลับมาฝรั่งเศสในปี 1840
หมวกอีกสองใบเป็นคอลเลกชั่นของโปอิยัก (Pauillac) ใบหนึ่งนโปเลองสวมในสมรภูมิรัสเซียในปี 1812 อีกใบหนึ่งในสงครามเมื่อนโปเลองล่าถอยกลับฝรั่งเศสในปี 1814 เมื่อถูกเนรเทศไปเกาะ แซงต์-เอแลน (Sainte-Helene) นโปเลอง นำหมวกไปด้วย 4 ใบ ใบหนึ่งใส่ในโลงศพ อีกใบหนึ่งอยู่ที่ปราสาทมัลเมซง (Malmai-son) อีก 2 ใบอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ทหาร หนึ่งใบในนั้น คนรับใช้ของนโปเลองที่ลองวู้ด (Longwood) เป็นผู้นำมา และจิตรกรชื่อ เมสซอนนีเอร์ (Meissonnier) เป็นผู้นำมาให้พิพิธภัณฑ์ทหารในปี 1897
ภัตตาคาร Le Procope ซึ่งเป็นร้านกาแฟที่เก่าแก่ที่สุดในปารีส เป็นศูนย์รวมปัญญาชนในศตวรรษที่ 18 รวมทั้งผู้คิดก่อการปฏิวัติ โวลแตร์ (Voltaire) ได้มานั่งเขียนหนังสือที่นี่ ร้านยังเก็บโต๊ะทำงานตัวนี้ไว้บนชั้นสอง
นอกจากนั้นยังมีหมวกนโปเลองใส่ในตู้กระจกหน้าร้าน Le Procope ยืนยันว่าเป็นหมวกของนโปเลองจริงๆ ลืมทิ้งไว้หรือนำมา ‘ตึ๊ง’ เพราะไม่มีค่ากาแฟก็เหลือเดา
|
|
|
|
|