|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ผลจากอุทกภัยร้ายแรงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 50 ปี และยืดเยื้อเป็นระยะยาวเกือบ 6 เดือน ทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบมากที่สุด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้จีดีพีประเทศไทยจะติดลบถึง -3.6 และเศรษฐกิจได้รับความเสียหายมูลค่าราว 2 แสนล้านบาท ซึ่งการประเมินในครั้งนี้เป็นเพียงการคาดการณ์จากธุรกิจเป็นหลัก
ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้สถาบันการเงินหลายแห่งออกมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและบุคคลทั่วไปที่เป็นลูกค้าของแต่ละราย
กฤษฎา ล่ำซำ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เชื่อว่าลูกค้ารายเล็กจะสามารถฟื้นฟูและกลับมาดำเนินกิจการปกติได้เร็วกว่าลูกค้ารายใหญ่ ที่มีการลงทุนสูงและต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูกิจการที่นานกว่า
มีการคาดการณ์ว่าการฟื้นฟูธุรกิจของลูกค้าจะแบ่งเป็น 3 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นช่วงสำรวจความเสียหาย เมื่อน้ำท่วมในบางพื้นที่เริ่มลดระดับลงเรื่อยๆ ลูกค้าสามารถเข้าสำรวจความเสียหายของธุรกิจ อุปกรณ์ เครื่องจักร ทำความสะอาดสถานที่ วางแผนฟื้นฟูกิจการ
ช่วงที่ 2 เป็นช่วงฟื้นฟูกิจการ การซ่อมแซมเครื่องจักร การสั่งซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรมาติดตั้งทดแทนส่วนที่เสียหายจากภาวะน้ำท่วม เริ่มสำรองวัตถุดิบ ช่วงที่ 3 เป็นช่วงเร่งการผลิตเต็มกำลัง เพื่อชดเชยการผลิตที่หายไปในช่วง น้ำท่วมและธนาคารมองว่าในไตรมาสสอง ปี 2555 ธุรกิจต่างๆ จะสามารถกลับมาผลิตได้เต็มกำลังอีกครั้ง
ส่วนแนวทางการช่วยเหลือของธนาคารจะพิจารณาตามความเสียหายและความจำเป็นทางธุรกิจของลูกค้าแต่ละรายเป็นหลักภายใต้แนวคิด K-Value Chain Solutions ซึ่งหมายถึงจะปล่อยสินเชื่อให้กับธุรกิจที่เอื้อต่อกันเป็นหลัก (รายละเอียดสินเชื่อในตาราง)
ปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของไทย ทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใน 32 จังหวัด มีถึง 2.4 แสนราย เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญประมาณ 20% ของจำนวนเอสเอ็มอีทั้งหมดของประเทศ
ส่วนลูกค้าเอสเอ็มอีของธนาคารกสิกรไทยที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยครั้งนี้มีทั้งสิ้น 14,118 ราย คิด เป็นวงเงินสินเชื่อรวมทั้งสิ้น 37,173 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.6% ของสินเชื่อเอสเอ็มอีของ ธนาคาร
ลูกค้าภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ เช่น ธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ก่อสร้าง โครงการหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ ภาคอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์ อาทิ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร จากพื้นที่การเกษตรในหลายจังหวัดได้รับความเสียหาย
ภาคอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยเฉพาะผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชิ้นส่วนสำคัญของประเทศได้รับความเสียหายจำนวนมาก ภาคอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่ จ.อยุธยา และนิคมบางกระดี จ.ปทุมธานี
ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้ปรับวงเงินช่วยเหลือจาก 1 หมื่นล้านบาทเป็น 2 หมื่นล้านบาท (รายละเอียดเพิ่มเติมในตาราง) ด้านธนาคารกรุงเทพได้ช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอีเป็นวงเงิน 5 พันล้านบาท ภายใต้โครงการ ‘สินเชื่อบัวหลวงเอสเอ็มอี บรรเทาทุกข์จากอุทกภัย’ จนถึงสิ้นปีนี้
|
|
|
|
|