|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
วิกฤติน้ำท่วมครั้งร้ายแรงในรอบ 50 ปีของประเทศไทย ทำให้นักธุรกิจต้องวางแผนและปรับตัวอย่างมากและติดตามอย่างใกล้ชิด
ในงานสัมมนาทิศทางการปรับตัวทางธุรกิจหลังวิกฤติน้ำท่วมของธนาคารกรุงเทพ ได้นำเสนอความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้ประกอบการที่มีต่อเหตุการณ์ในครั้งนี้
พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า น้ำท่วมในครั้งนี้นับว่ารุนแรงที่สุด และไม่เคยเห็นมาก่อน จนทำให้นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งได้รับความเสียหาย มีโรงงานและเครื่องจักรที่ลงทุนทั้งหมด 4 แสนล้านบาท ประเมินความเสียหายเบื้องต้น 6 แสนล้านบาท และธุรกิจอยู่นอกนิคมฯ อีก 5 หมื่นกว่าล้านบาท
บริษัทที่มีประกันความเสียหาย ประเมินไว้จำนวน 2 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 30 ส่วนที่เหลือเสียหายอีก 1-3 แสนล้านไม่มีประกัน ทำให้ความเสียหายที่เกิดขึ้นเศรษฐกิจเสียหายเดือนละ 1 แสนล้านบาท โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมชิ้นส่วน ส่งผลกระทบต่อการส่งออก
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประกอบ การมีหลากหลายอารมณ์ เช่น ต้องการย้าย ฐานการผลิต หรือฟ้องร้อง เป็นต้น เพราะ ผู้ผลิตร้อยละ 70 เป็นประเทศญี่ปุ่น
พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย บอกว่า น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากพระเจ้าเป็นผู้กำหนด แต่เกิดจากการจัดการ และความเสียหายที่เกิดขึ้นเชื่อว่ามีถึง 1 ล้านล้านบาท เพราะความเสียหายไม่ได้กระทบทรัพย์สิน ธุรกิจ แต่กระทบการค้าหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงธุรกิจ ไปสู่ภาคการบริโภค
ผลกระทบได้เชื่อมโยงธุรกิจส่งออกทำให้ตกวูบเกือบจะศูนย์ ตลอด 2 เดือนที่ผ่านมาคอนเทนเนอร์กว่า 1 พันตู้ค้างอยู่ ท่าเรือไม่สามารถนำออกไปได้เพราะไม่มีสถานที่จัดเก็บสินค้า ทำให้ต้องทิ้งสินค้าไว้ ที่ท่าเรือและต้องจ่ายค่าเช่า เช่น ท่าเรือแหลมฉบังต้องจ่ายค่าเช่าตู้วันละ 1,600 บาท
นอกจากนี้ปัญหาแรงงานที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เพราะถูกจำกัดเขตใน การทำงาน ทำให้ผู้ประกอบการขาดแคลน แรงงาน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
แต่สิ่งที่ควรแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ให้กับผู้ประกอบการ คือรัฐควรเร่งเจรจาบริษัทประกันภัยให้จ่ายเงินชดเชย โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายทั้งหมดในระยะแรก แต่อาจจ่ายก่อนร้อยละ 20-25 เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจดำเนินการได้ และเพื่อเป็นการผ่อนหนักให้เป็นเบา
กงกฤช หิรัญกิจ ประธานนโยบายสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศ ไทย กล่าวในมุมมองธุรกิจท่องเที่ยวว่า ภัยน้ำท่วมดูเหมือนจะไม่รุนแรงต่อธุรกิจท่องเที่ยว และจากการประเมินนักท่องเที่ยว ในปี 2554 พบว่า มีมากกว่า 1 ล้านคน แบ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 730,000 คน คนไทย 420,000 คน แต่หลังจากประสบปัญหาน้ำท่วมทำให้เส้นทางการเดินทางตัดขาด กรุงเทพฯ ไปภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคเหนือ ทำให้นักท่องเที่ยวไทยหายไป 5 หมื่นคน มีมูลค่าเสียหาย 250 ล้านบาทต่อวัน
โดยเฉพาะเทศกาลวันลอยกระทงความเสียหายมีถึง 1 หมื่นล้านบาท ธุรกิจท่องเที่ยวความเสียหายที่เกิดขึ้น หายแล้ว หายเลย ไม่สามารถเรียกร้องให้กลับมาได้
ทองมา วิจิตรพงศ์พันธ์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทพฤกษาเรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการรายเดียวที่อยู่บนเวทีสามารถแบ่งปันประสบการณ์ตรง เพราะให้บริการธุรกิจสร้างบ้าน ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียม ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ในครั้งนี้
ทองมาเล่าว่าโครงการใหม่ของบริษัทที่เกิดขึ้นในช่วงปีนี้มีทั้งหมดราว 140 โครงการ และมี 70 โครงการได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ตั้งแต่ระดับ 20 เซนติเมตรไปจนถึงกว่า 50 เซนติเมตร และความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้บริษัทตั้งประเมินรายได้ใหม่จากเดิมกำหนดเป้าหมายในปี 2554 รายได้ 30,000 ล้านบาท เหลือ 22,000 ล้านบาท
เงินจำนวน 8 พันล้านบาทที่หายไป เกิดจากโครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการจัดการบริหารใหม่ หลังน้ำท่วม
จากปัญหาดังกล่าว ทำให้บริษัทเร่ง บริหารจัดการ โดยเฉพาะในช่วงระยะเวลา เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน เป็นช่วงเฝ้าระวัง จะมีการประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับ สูง 18 คนบ่อยครั้งมากขึ้นเพื่อประเมินภาวะตลาดอย่างไรให้อยู่รอด เช่น โครงการน้ำไม่ท่วม บริษัทต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าเพื่อให้มีการโอน
ส่วนโครงการที่ติดน้ำท่วม บริษัทจะมีมาตรการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า เช่น สร้างให้สูงกว่าน้ำท่วม สร้างรั้วรอบโครงการใหม่ หรือการติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปา รวมไปถึงห้องสุขาให้พ้นจากน้ำ เป็นต้น
สำหรับโครงการคอนโดมิเนียมหรือบ้านใหม่ได้ชะลอการก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 3 เดือน เนื่องจากมองว่ายังอยู่ในภาวะไม่ปกติ รวมไปถึงการลงทุนในต่าง ประเทศเลื่อนออกไปจนถึงกลางปีหน้า
บริษัทยังต้องบริหารเงินสดเงินเข้า กับเงินออกให้มีปริมาณเพียงพอ รวมถึงลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป
ทองมากล่าวว่าการบริหารจัดการทั้งหมดขององค์กรในปัจจุบันเป็นการปรับแผนธุรกิจรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อประคอง ธุรกิจให้รอดพ้นไปถึงไตรมาสแรกปี 2555
พยุงศักดิ์แนะนำวิธีการปรับตัวว่า กรณีมองใน 6 เดือนข้างหน้าจะอยู่ในภาวะ ซ่อม สร้าง ฟื้นฟู จะต้องปรับปรุงการบริหารจัดการ และมองหาตัวอย่างที่มีการบริหารจัดการที่ดีที่สุด เชื่อว่าผู้ประกอบการ ร้อยละ 80-90 จะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ในเดือนมีนาคม 2555
พรศิลป์กล่าวว่า น้ำเป็นบทเรียนที่ดี สำหรับประเทศไทย แต่สิ่งสำคัญทั้งหมดผู้ประกอบการต้องช่วยเหลือตนเองเป็นหลัก และมองว่าธุรกิจของตนเองเชื่อมโยงกับธุรกิจใดบ้าง และผูกให้ติด อย่าทำธุรกิจเพียงลำพัง และมีองค์ประกอบ 4 ส่วนหลัก ที่จะช่วยผลักดันธุรกิจในอนาคตคือ หุ่นยนต์ การตัดแต่งพันธุกรรม นาโนเทคโนโลยี และอินเทอร์เน็ต
กงกฤชแนะนำแนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคตว่า พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนแปลงเร็วมาก จากเดิมเน้น ชะโงกทัวร์จะกลายเป็นนักท่องเที่ยวที่คำนึง ถึงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ธรรมชาติ ส่วนการ เข้าถึงแหล่งข้อมูลจะอ่านจากอินเทอร์เน็ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 61 และเชื่อมโยงเข้าสู่สังคม ออนไลน์ร้อยละ 26
ส่วนผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวต้องปรับตัว เพราะหลังจากมีการร่วมมือกันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2558 พนักงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้สามารถเคลื่อนย้ายแหล่งงานได้ไปอยู่ใน 10 ประเทศที่เปิดการค้าเสรี เช่น พนักงานต้อนรับส่วนหน้า หรือพนักงานดูแลห้องพัก เป็นต้น
|
|
|
|
|