|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |

อุโมงค์ยักษ์ กทม.เพิ่งเปิดตัวส่วนอุโมงค์ช่วงพระรามเก้า-รามคำแหง ซึ่งเป็นเฟสแรกของโครงการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ไม่กี่เดือนหลังจากนั้นก็ได้ใช้งานจริงทันที ช่วงที่น้ำเริ่มรุกเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน ประชาชนจำนวนหนึ่งหวังเต็มที่ว่า ถึงเวลาแล้วที่อุโมงค์ยักษ์โครงการที่กรุงเทพมหานครภูมิใจเสนอได้เวลาแสดงความสามารถเต็มที่แล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นหลังได้เห็นประสิทธิภาพ กลับกลายเป็นข้อสงสัยที่เข้ามาแทนว่า ตกลงคนกรุงเทพฯ จะพึ่งพาอุโมงค์นี้ได้จริงไหม หรือจะเรียกว่านี่คือการทดสอบที่จะทำให้อุโมงค์ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่งปรับปรุงได้ถูกทาง
อุโมงค์ยักษ์ กทม.เริ่มต้นดำเนินงาน ไล่หลังอุโมงค์ฉลาดของมาเลเซียไม่กี่ปี (อ่าน Malaysia ‘SMART’ Tunnel Beyond Flood Management) งบประมาณการก่อสร้างก็ไม่ต่างกันมาก ที่มาเลเซียอุโมงค์ ที่สร้างขึ้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 เมตร ระยะทาง 9 กิโลเมตร ใช้งบประมาณประมาณ 19,000 ล้านบาท ได้รับการยกย่องจากการออกแบบและประสิทธิภาพการใช้งานว่าเป็นอุโมงค์มหัศจรรย์ เพราะแก้ได้ทั้งน้ำท่วมเมืองจากฝนตกหนัก และป้องกันน้ำไหลบ่าจากพื้นที่ตอนเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์ แถมยังใช้ช่วยระบายรถติดในศูนย์กลางเมืองได้อีกด้วย
ส่วนอุโมงค์ยักษ์ กทม.รวมแล้วมีระยะทางยาวมากกว่ามาก เส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า และใช้งบประมาณรวม 16,000 ล้านบาท เป็นโครงการที่ไฮไลต์มาตั้งแต่เริ่มว่า จะเกิดมาเพื่อระบายน้ำท่วมจากฝนตกหนักในพื้นที่ กทม.เท่านั้น ส่วนน้ำเหนือที่ไหลล้นเข้าไปเหมือนเหตุการณ์น้ำท่วมล่าสุดในปีนี้ ไม่ได้อยู่ในจินตนาการ มาก่อน และระบบน้ำที่จะไหลเข้าอุโมงค์ก็ไม่ได้จินตนาการไว้เผื่อว่า หากกรณีมีขยะจำนวนมากไหลรวมมาด้วยจะมีปัญหาต่อ ระบบอย่างไร เราจึงไม่เห็นระบบตักขยะอัตโนมัติ นอกจากพนักงานทำความสะอาดของ กทม.ที่เข้ามาจัดเก็บขยะที่ไหลมาติดตะแกรงบริเวณที่น้ำจะไหลเข้าอุโมงค์แทน
ถึงขั้นที่เจ้าหน้าที่ กทม.ต้องออกมาขอความร่วมมือประชาชนอย่าทิ้งขยะลงคลอง ในช่วงที่น้ำท่วมหนัก เพื่อไม่ให้ขยะและสิ่งต่างๆ ไปกีดขวางทางน้ำ เพราะขยะยิ่งมากประสิทธิภาพการระบายน้ำก็ยิ่งลดลง
อุโมงค์ยักษ์สายแรกพระรามเก้า-รามคำแหง ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างคลองลาดพร้าวกับคลองแสนแสบ ระยะทาง 5 กิโลเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อระบายน้ำใน กทม.เดิมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 1.8 เมตรปลายทางอุโมงค์คือแม่น้ำเจ้าพระยา รองรับการแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่รัศมี 50 กิโลเมตรในเขตลาดพร้าว วังทองหลวง บางกะปิ ห้วยขวาง บึ่งกุ่ม และสะพานสูง เป็นจุดที่ กทม. เลือกสร้างอุโมงค์เพราะเป็นพื้นที่ต่ำและมีปัญหาน้ำท่วมทุกปี สามารถระบายน้ำได้ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
ส่วนอุโมงค์ส่วนที่เหลือได้แก่ สายรัชดาภิเษก-สุทธิสาร จากจุดตัดของถนนสองสายลงสู่เจ้าพระยา ระยะทาง 6.5 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จใน 4 ปี รับผิดชอบระบายน้ำในพื้นที่ห้วยขวาง ดินแดง จตุจักร พญาไท ดุสิต และบางซื่อ สายที่สามจากสวนหลวง ร.9 ลงแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 9.5 กิโลเมตร สำหรับพื้นที่ประเวศ พระโขนง บางนา และสวนหลวง จะแล้วเสร็จปี 2555 และสายสุดท้ายยาว 13.5 กิโลเมตรจากบริเวณสนามบินดอนเมืองลงแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายที่ยาวที่สุดและมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร รับระบายน้ำในพื้นที่จตุจักร หลักสี่ บางเขน ดอนเมือง และบางส่วนของพื้นที่เขตสายไหม
ทั้ง 4 อุโมงค์รวมกันจะสามารถระบายน้ำได้ 240 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะทำให้ กทม.เพิ่มศักยภาพการระบายน้ำเพิ่มมากกว่า 2 เท่าภายใน 5 ปีเมื่ออุโมงค์ทุกสายแล้วเสร็จ
“เวลาน้ำท่วมส่วนใหญ่ก็ระบายโดยธรรมชาติได้ แต่ระบบอุโมงค์ยักษ์จะเหมือนทางด่วนทำให้น้ำไหลผ่านไปลงเจ้าพระยาเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็ดีใจที่วันนี้เราได้เริ่มก้าวแรกที่ได้เริ่มต้นระบบอุโมงค์เพื่อลดความเสี่ยงของพื้นที่เสี่ยงที่พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมานาน พี่น้องที่สัญจรไปมาใช้พื้นที่เสี่ยงเป็นทางผ่านหรือมาทำงานในพื้นที่นี้จะสบาย ขึ้นอีกเยอะ” คำพูดของ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งกล่าว ไว้ในวันทำพิธีเปิดอุโมงค์สายแรก
ความรู้สึกดีใจของผู้ว่าฯ จะส่งผ่านไปถึงชาว กทม.ได้ทั่วถึงหรือไม่ คงไม่มีใครตอบได้ดีกว่าชาว กทม.ซึ่งสัมผัสกับประสบการณ์จากอุโมงค์ยักษ์สายแรกกันแล้วถ้วนหน้า
|
|
 |
|
|