Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา ธันวาคม 2554
10 ข้อเสนอแนะ มุมมองต่ออุทกภัยไทยปี 2011             
โดย ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย
 

   
related stories

“น้ำ” จัดการได้
“บางลี่” ที่นี่เคยเป็น “ตลาดเก็บน้ำ”
ปฏิบัติการแก้แล้งแบบอีสาน
ทางด่วนสายน้ำที่จันทบุรี
Malaysia 'SMART' Tunnel Beyond Flood Management
อุโมงค์ยักษ์ กทม. ทางแก้หรือปัญหายั่งยืน
สันเขื่อนแม่น้ำแดง ดัชนีความเชื่อมั่นของฮานอย
Function และ Emotion ของคันดินที่ริมโขงเวียงจันทน์

   
www resources

International Union of conservation or Nature and Natural Resources Homepage

   
search resources

Environment
สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ




เพราะสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ปีนี้ ทำให้น้ำหนักของการจัดการน้ำเทไปที่เรื่องปัญหาน้ำท่วมเป็นหลัก เช่นเดียวกันโครงการน้ำแห่งเอเชียของ IUCN โดย Ganesh Pangare หัวหน้าโครงการน้ำแห่งเอเชีย (Water Programme) ระบบนิเวศและกลุ่มอาชีพ IUCN สำนักงานภูมิภาคเอเชีย (Ecosystems and Live-lihoods Group, IUCN Asia Regional Office) สรุปมุมมองที่เป็นต้นเหตุปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นของไทยในครั้งนี้ให้กับผู้จัดการ 360 ํ

IUCN หรือสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากร ธรรมชาติ (International Union of con-servation or Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union: IUCN) เป็นองค์กรระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เมื่อ พ.ศ.2491 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองแกลนด์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศสมาชิก 83 ประเทศ ประกอบด้วยตัวแทนรัฐบาล 108 กลุ่ม องค์กรอิสระ 766 กลุ่ม และองค์กรระหว่างประเทศ มีนักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญในสังกัดประมาณ 10,000 จากทั่วโลก พันธกิจของ IUCN คือ การโน้มน้าว สนับสนุน และส่งเสริมสังคมทั่วโลกให้ร่วมกันสงวนไว้ซึ่งความสมบูรณ์และความหลากหลายของธรรมชาติ และการรับประกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติใดๆ จะเป็นไปอย่างเที่ยงธรรมและรักษาสภาพเชิงนิเวศไว้ได้

หลายประเด็นคือสิ่งที่เราคนไทยรู้กันอยู่แก่ใจ เมื่อมองด้วยสายตาคนนอก ไม่ใช่คนในที่คุ้นเคยหรือเติบโตมาบนแผ่นดินนี้ยังมองเห็นต้นเหตุปัญหาได้ชัดเจน ไม่ต่างกัน บทสรุปนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือนใจและช่วยสะกิดเตือนทุกคนให้หันมาใส่ใจและมีส่วนร่วมเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นกันได้อย่างจริงจังเสียทีแล้ว

อย่างน้อยก็คิดเสียว่า นี่คือมุมมองและข้อเสนอแนะที่เราสามารถนำไปทบทวนกัน อีกครั้ง โดยหัวหน้าโครงการน้ำแห่งเอเชียของ IUCN สรุปมุมมองของเขาไว้ดังนี้

การเข้าใจระบบนิเวศของที่ราบน้ำท่วมถึง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบรรเทาผลกระทบของอุทกภัยต่อพื้นที่อื่นที่มีภูมิประเทศคล้ายคลึงกัน

1. แม่น้ำ ลำธาร ห้วยหนองคลองบึง และพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำหน้าที่เป็นทั้งทางน้ำไหล และที่เก็บกักน้ำในระบบการระบายน้ำตามธรรมชาติ การวิเคราะห์เชิงพื้นที่เพื่อดูว่า ทาง น้ำเหล่านี้ซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นระบบการระบายน้ำ มีผลต่อกันและกันและสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร บวกกับการวัดค่าต่างๆ ในเชิงอุทกวิทยา (Hydrological measure-ments) เป็นระยะๆ จะทำให้มองเห็นภาพทางไหลของน้ำและรูปแบบการไหลของน้ำในยามปกติได้

2. การวัดค่าในเชิงอุทกวิทยาควรทำซ้ำในปีที่เกิดน้ำท่วมด้วย เพื่อตรวจดูความเบี่ยงเบนทางอุทกวิทยาเมื่อเกิดน้ำท่วม และข้อมูลทางอุทกวิทยาที่วัดได้นี้ จะเป็นพื้นฐาน สำหรับการสร้างแบบจำลองน้ำท่วม ซึ่งสามารถนำไปใช้ประเมินการไหลและความหนาแน่นของน้ำได้

เพิ่มอำนาจให้หน่วยงานและสถาบันที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกี่ยวกับน้ำ

3. การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นงานที่ยากและซับซ้อน จึงมักต้องแบ่งงานกันทำในหลายหน่วยงานที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ดังนั้น การมีหน่วยงานที่จะคอยประสานงาน อย่างเช่นการมีองค์กรที่ราบลุ่มแม่น้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้เป็นองค์กรที่จะมีบทบาท สำคัญ ในการดูแลการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำให้ทำงานสอดคล้องประสานกันและไม่ขัดแย้งกันเอง

4. ยามเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ภัยธรรมชาติขึ้น สิ่งสำคัญคือจะต้องประสานการทำงานของหน่วยงานและสถาบันที่มีอยู่หลายแห่งให้ดี ซึ่งอาจทำได้โดยการจัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการภัยพิบัติขึ้นมาโดยเฉพาะ ที่มีอำนาจสั่งการและดูแลการแก้ไขปัญหาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ ตั้งแต่การช่วยเหลือผู้ประสบภัย การฟื้นฟูเยียวยา การบรรเทาความเดือดร้อน ไปจนถึงการบริหารสื่อ

5. เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานของศูนย์บัญชาการกลาง หน่วยงานและสถาบันที่มีหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ควรได้รับทรัพยากรเพิ่มเติมสำหรับใช้แก้ไขปัญหาในพื้นที่และสำหรับการฟื้นฟูเยียวยา การเพิ่มความสามารถให้หน่วยงานและสถาบัน ที่เกี่ยวกับการจัดการน้ำ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการอุทกภัย จะเป็นประโยชน์ อย่างยิ่ง เมื่อรัฐเริ่มดำเนินการตามมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

ควรรวมการระบายน้ำตามธรรมชาติ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าไว้ในการวางผังเมืองและการพัฒนาเมือง

6. การวางผังเมืองแบบยั่งยืน จะมีส่วนช่วยอย่างมากในการลดผลกระทบของการ พัฒนาเมืองที่มีต่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ ตัวอย่างของการวางผังเมืองโดยคำนึงถึงลักษณะธรรมชาติทางภูมิศาสตร์ ก็อย่างเช่นการปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำไว้ให้เป็นพื้นที่สันทนาการของคนเมือง เป็นต้น

7. แม้จะเป็นไปไม่ได้ที่จะคาดการณ์ว่าภัยธรรมชาติจะเกิดขึ้นเมื่อใด แต่การเตรียม ตัวเพื่อรับมือผลกระทบจากภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ การกันพื้นที่บางส่วนในที่ราบน้ำท่วมถึงไว้เป็นเขตกันชน และการทำทางเฉพาะให้น้ำไหลผ่านจะสามารถป้องกัน การสูญเสียที่ไม่พึงประสงค์ได้

8. นอกจากจะลงทุนในการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการระบายน้ำตามธรรมชาติ แล้ว ประชาชนยังจะได้รับประโยชน์จากการใช้กลไกเตือนภัยแต่เนิ่นๆ จะให้ข้อมูล แก่ชุมชนที่มีความเสี่ยงจะเกิดน้ำท่วม เราสามารถใช้เว็บไซต์ประเภท social media และเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ มาช่วยกระจายข้อมูลเหล่านี้ได้

9. การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนรับมือภัยพิบัติ จะช่วยในแง่ของการลงมือแก้ปัญหาได้ทันเวลาเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น นอกจากนี้การให้ประชาชน มีส่วนร่วมตั้งแต่แรกเริ่มของการวางแผน จะทำให้ชุมชนมีความพร้อมมากกว่าในกรณีที่ต้องอพยพเมื่อเกิดภัยพิบัติ

10. แม้ว่ามาตรการแก้ปัญหาด้วยโครงการด้านวิศวกรรมขนาดใหญ่จะสามารถบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างได้ผลในทันที แต่การแก้ปัญหาระยะยาวซึ่งรวมเอากระบวนการทางระบบนิเวศเข้าไว้ด้วย ก็เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการอุทกภัยในระยะยาว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us